แคว้นสุพรรณภูมิ
แคว้นสุพรรณภูมิ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ก่อน ค.ศ. 807 –1438 | |||||||||||||||
ที่ตั้งของสุพรรณบุรี ศูนย์กลางของแคว้นสุพรรณภูมิ (จุดแดง) และเมืองอู่ทอง (จุดน้ำเงิน) | |||||||||||||||
![]() แผนที่สุพรรณบุรีในปัจจุบันแสดงคูเก่าทางตะวันตกของนครรัฐสุพรรณภูมิ คูตะวันอกถูกทำลาย ขนาดพื้นที่โดยรวมก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาอยู่ที่ 1900x3600 เมตร และตั้งคร่อมแม่น้ำท่าจีนในทิศเหนือ-ใต้[1] | |||||||||||||||
เมืองหลวง |
| ||||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||||
• 807–867 | กง | ||||||||||||||
• 1408–1424 (สุดท้าย) | เจ้าอ้ายพระยา | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยหลังคลาสสิก | ||||||||||||||
• สถาปนากาญจนบุรีเก่า | 807 | ||||||||||||||
• สถาปนาสุพรรณบุรี | 877 | ||||||||||||||
• ละโว้เข้ายึดสุพรรณภูมิ | 928/929 | ||||||||||||||
• สุพรรณภูมิ/หริภุญไชยเข้ายึดอาณาจักรละโว้ | 1052 | ||||||||||||||
• รัฐบริวารของอาณาจักรสุโขทัย | 1283–1298 | ||||||||||||||
• เข้าร่วมสหพันธรัฐกับละโว้และสถาปนาอาณาจักรอยุธยา | 1351 | ||||||||||||||
• อ้างสิทธิ์ราชบัลลังก์อยุธยา | 1370 | ||||||||||||||
• เสียอยุธยาแก่ละโว้ | 1388 | ||||||||||||||
• ได้อยุธยาคืน | 1424 | ||||||||||||||
• ผนวกเข้ากับอาณาจักรอยุธยา | 1438 | ||||||||||||||
1569 | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ประเทศไทย |
ประวัติศาสตร์ไทย |
---|
![]() |
ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง ปีพุทธศักราช |
อาณาจักรสุพรรณภูมิ, แคว้นสุพรรณภูมิ หรือ สุวรรณภูมิ ภายหลังรู้จักกันในชื่อ สุพรรณบุรี เป็นนครรัฐสยามที่ปรากฏในช่วงต้นของ"พื้นที่สยาม" (Siam proper) ที่ขยายขอบเขตจากภาคกลางฝั่งตะวันตกในปัจจุบันถึงคอคอดกระตอนเหนือ พร้อมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ อู่ทอง,[2]: 4–6 นครปฐม,[3]: 140 [4] สุพรรณบุรี[5]: 40 และบ้านดอนตาเพชร[6] บันทึกประวัติศาสตร์จีนเรียกอาณาจักรนี้เป็น เซียน ตั้งแต่ ค.ศ. 1349[5]: 40 แต่ตามหลักฐานทางโบราณคดี มีการคาดเดาว่าอาณาจักรนี้เกิดขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12[7]: 276–7
เมื่อไม่เกิน ค.ศ. 1349 สุพรรณภูมิกลายเป็นจุดศูนย์กลางของเซียนต่อจากอาณาจักรพริบพรี เมื่อเซียนพ่ายแพ้ต่อหลัวหู (ละโว้) และมีการส่งบรรณาการแก่จีนภายใต้ชื่อ เซียหลัวหู (สยาม-ละโว้ หรืออาณาจักรอยุธยา) ที่นำโดยพระเจ้า Su-men-bang แห่งเซียน โดย Su-men-bang ระบุเข้ากับสุพรรณบุรี[5]: 40 นับแต่นั้นมา สุพรรณภูมิจึงกลายเป็นหนึ่งในอาณาจักรภายใต้มณฑลสหพันธรัฐของอาณาจักรอยุธยาและถูกผนวกเข้ากับอยุธยาโดยสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1438[7]: 282 อย่างไรก็ตาม นักวิชาการสมัยใหม่เสนอแนะว่าเซียนที่ปรากฏในเอกสารจีนและ Đại Việt ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 อาจเป็นอยุธยา ซึ่งเป็นหน่วยการเมืองที่ต่อมาเรียกว่าอาณาจักรอยุธยา (Xiānluó hú หรือ Xiānluó) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14[8][9]
ประวัติ
[แก้]การกำเนิด
[แก้]สืบเนื่องจากพระเจ้าไชยสิริ กษัตริย์โยนกเชียงแสน ครองเมืองชัยปราการ (เมืองฝาง) อพยพผู้คนหนีการโจมตีจากพวกมอญลงมาทางใต้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และผู้คนต่างที่อพยพลงมาด้วยได้พากันแยกย้ายไปตั้งบ้านเมืองของตนอยู่ตามแคว้นต่าง ๆ โดยมีเมืองใหญ่ ๆ 2 เมืองคือ เมืองอโยธยา แคว้นละโว้ และเมืองอู่ทอง แคว้นสุพรรณภูมิ ต่อมา พระเจ้าไชยสิริทรงขยายอาณาเขตไปทางใต้และได้ปกครองแคว้นศิริธรรมราช[10] และได้ตั้งเมืองนครศิริธรรมราช (นครศรีธรรมราช) เป็นเมืองหลวง
ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ในช่วง พ.ศ. 1843-พ.ศ. 1893 เมืองอู่ทองอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แต่มีหลายความคิดเกี่ยวกับเมืองสุพรรณภูมิ เช่น ต้นกำเนิดของพระเจ้าอู่ทองที่ยังคงมีความไม่ชัดเจน[11] การปกครองแคว้นสุพรรณภูมิควบคู่ไปกับการปกครองอาณาจักรสุโขทัย ในช่วงหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ภายหลังแคว้นสุพรรณภูมิได้ถูกลดความสำคัญลงเป็นหัวชั้นเมืองเอก (เมืองหน้าด่าน) เท่านั้น การปกครองจะมีการแต่งตั้งผู้ปกครองที่มีเชื้อสายราชวงศ์ทั้งทางสุโขทัยและอยุธยามาปกครองโดยมีตำแหน่ง "เจ้าเมืองอู่ทอง" ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองแคว้นสุพรรณภูมิสำหรับพระราชโอรสมักเรียกตามตำแหน่งสกุลยศว่า "ขุนหลวง" ในลักษณะคล้ายกับเมืองพิษณุโลกสองแคว และปกครองเมืองสรรค์ (แพรกศรีราชา) นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยาต้องทรงแต่งตั้งพระชายาผู้สืบเชื้อสายจากผู้ครองอาณาจักรสุพรรณภูมิในตำแหน่ง "ท้าวอินทรสุเรนทร" ด้วย
ผู้ปกครอง
[แก้]- พระยาอู่ทอง - พระราชบิดาในขุนหลวงพะงั่วและพระสสุระ (พ่อตา) ของพระเจ้าอู่ทองในช่วงก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา (มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง)
- พระเจ้าอู่ทอง - ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ครองเมืองต่อจากพระราชบิดาในขุนหลวงพะงั่ว
- ขุนหลวงพะงั่ว - เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 1893 ในการนั้นพระองค์ทรงสถาปนาขุนหลวงพะงั่วขึ้นเป็น "สมเด็จพระบรมราชาธิราช"
- พระศรีเทพาหูราช - เป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) กับพระมหาเทวีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาที่ ๑
- เจ้าอ้ายพระยา - เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระอินทราชาและพระเชษฐาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
รายพระนามพระมหากษัตริย์ ที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุพรรณภูมิ
[แก้]- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 - ทรงปกครองแคว้นสุพรรณภูมิก่อนทรงย้ายไปตั้งพระนครใหม่ที่เมืองอยุธยา
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 - มีพระนามเดิมว่า ขุนหลวงพะงั่ว เป็นพระเชษฐาของพระมเหสีในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 และได้ครองเมืองสุพรรณบุรี เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เสด็จสวรรคต พระองค์ได้นำกำลังจากเมืองสุพรรณบุรีมาประชิดกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรได้อัญเชิญพระองค์เข้าเมืองแล้วถวายพระราชสมบัติให้ พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 1913 เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 1931
- สมเด็จพระอินทราชา - สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีนครินทราธิราช หรือ สมเด็จพระนครินทราธิราช แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็เชื่อว่าพระองค์คือ พระยาศรีเทพาหูราช
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์". culturalenvi.onep.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2022. สืบค้นเมื่อ 15 December 2024.
- ↑ Phrakhru Sophonweeranuwat; Phrakhru Wiboonjetiyanurak; Phrakhru Siribuddhisart; Phrakhru Baidika Sakdanal Netphra; Aekmongkol Phetchawong (2021). "การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา" [An Analytical Study Of U-Thong City As A History Of Buddhist Propagation]. Journal of Buddhist Studies Vanam Dongrak. 8 (1): 1–14.
- ↑ Luce, G.H. (1958). "The Early Syam in Burma's History" (PDF). Journal of the Siam Society. 46: 123–213. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-07-01.
- ↑ Keatkhamjorn Meekanon (14 July 2024). "ตามพรลิงค์: สมาพันธรัฐที่โลกลืม ตอน ความสัมพันธ์กับรัฐไทย" [Tambralinga: the World's Forgotten Confederation: The Relationship with the Thai State]. Manager Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-11-06. สืบค้นเมื่อ 7 November 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 5.2 Yoneo Ishii (2004). "Exploring a New Approach to Early Thai History" (PDF). Journal of the Siam Society. 92: 37–42. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-15.
- ↑ Phanomkorn Navasela (14 June 2018). "รายการ "อดีตในอนาคต" ตอนที่ ๑๓ อู่ทอง นครรัฐเมืองท่าสมัยฟูนัน" ["The Past in the Future" Episode 13: U Thong, a port city-state during the Funan period]. lek-prapai.org. สืบค้นเมื่อ 10 November 2024.
- ↑ 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อsuphan
- ↑ Baker, Chris; Phongpaichit, Pasuk (2017). A History of Ayutthaya: Siam in the Early Modern World. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-19076-4.
- ↑ Kasetsiri, Charnvit. "Review Article: A New Tamman About Ayudhya – The Rise of Ayudhya: A History of Siam in the Fourteenth and Fifteenth Centuries" (PDF).
- ↑ พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ.ประวัติศาสตร์ไทย หน้า 525 - 527.
- ↑ พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ.ประวัติศาสตร์ไทย ตำนานพระเจ้าอู่ทอง หน้า 535.
บทอ่านเพิ่มเติม
[แก้]- ฉันทัส เพียรธรรม. การสังเคราะห์องค์ความรู้ประวัติศาสตร์รัฐสุพรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรีด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE Vol.11 No.1 January –April 2017. p. 272–290.