นางสาวเชียงใหม่
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2477 |
---|---|
ประเภท | การประกวดความงาม |
สํานักงานใหญ่ | จังหวัดเชียงใหม่ |
ที่ตั้ง | |
ภาษาทางการ | ไทย |
เว็บไซต์ | เพจหลักอย่างเป็นทางการ |
นางสาวเชียงใหม่ เป็นการประกวดนางงามประจำจังหวัดเชียงใหม่ เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์จัดขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นทูตสายสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ฟองจันทร์ อินทขัติย์ ดำรงตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่เป็นคนแรกของการประกวด และมีผู้ชนะนางสาวเชียงใหม่ไปประกวดเวทีระดับประเทศ เช่น เช่น นางสาวไทย, มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์, มิสไทยแลนด์เวิลด์ เป็นต้น จากเวทีนี้มีผู้เข้าประกวดจำนวนหนึ่งได้รับตำแหน่งในการประกวดระดับชาติและระดับสากล เช่น ดวงจันทร์ บุญศรี นางสาวเชียงใหม่ 2495 ได้รับตำแหน่งรองอันดับ 1 นางสาวไทย 2495, รุ่งทิพย์ ภิญโญ นางสาวเชียงใหม่ 2510 ได้รับตำแหน่งรองอันดับ 1 นางสาวไทย 2510, สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงษ์ นางสาวเชียงใหม่ 2529 ได้รับตำแหน่งรองอันดับ 1 นางสาวไทย 2529 และ รองอันดับ 2 มิสเอเชียแปซิฟิก 2529, ภาสินี วงษ์บุญตรี นางสาวเชียงใหม่ 2546 ได้รับตำแหน่งนางสาวถิ่นไทยงาม 2547 และ มิสยังอินเตอร์เนชันแนล 2550, กฤชกร หอมบุญญาศักดิ์ นางสาวเชียงใหม่ 2553 ได้รับตำแหน่งนางสาวไทย 2553 เป็นต้น[1]
ประวัติ
[แก้]เวทีการประกวดความงามของสาวงามเชียงใหม่นั้นสืบสาวไปได้ราวปี พ.ศ. 2473 ในงานรื่นเริงฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้น มีการประกวดสาวงามประจำท้องถิ่นโดยใช้ชื่อการประกวดว่า นางงามประจำร้าน กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ในยุคนั้น งานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญจะมีบทบาทต่อสังคม ประชาชน อย่างมาก ในพระนครจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นในช่วงประมาณวันที่ 8-12 ธันวาคม ของทุก ๆ ปี
ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2477 คณะกรรมการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญมีความประสงค์ที่จะสร้างสีสันและดึงดูดความสนใจจากประชาชนให้มาร่วมงานมากขึ้น จึงได้จะการประกวดนางงามขึ้นภายในงานฉลองรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดชื่อของการประกวดว่า นางงามสยาม ทั้งนี้ ในปีเดียวกันนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดงานรื่นเริงเพื่อเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญขี้นบ้าง โดยจัดให้มีการออกร้านของหน่วยงานราชการและเอกชนต่าง ๆ มากมาย พร้อมกันนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อการประกวดนางงามภายในงาน จากนางงามประจำร้าน เป็นการประกวดนางงามเชียงใหม่ ในปีนั้น มีสาวงามจากอำเภอต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้าร่วมประกวดอย่างคึกคัก ในยุคนั้นผู้เข้าประกวดส่วนใหญ่มักจะมีอายุเพียง 16-17 ปี เท่านั้น มีการประกวดเพียงวันเดียว ไม่มีการคัดเลือกเป็นรอบๆ ดังเช่นสมัยนี้ การแต่งกายใส่ผ้าถุงห่มสไบ ไม่มีการแต่งหน้า ทำผม ไม่ใส่รองเท้า ต้องเดินเท้าเปล่า เกณฑ์การตัดสินจะดูหน้าตาและวัด X ส่วนเท่านั้น
หลังจากที่ได้รับตำแหน่ง นางงามเชียงใหม่ จะได้รับเงินรางวัล 100 บาท ในปีแรก ๆ รางวัลที่ได้รับจะเป็นเพียงสายสะพายประจำตำแหน่ง และขันน้ำพานรอง เท่านั้น โดยผู้ที่มอบรงวับ คือ ราชบุตร ณ เชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 จึงได้เริ่มมีมงกุฎเป็นรางวัล ในการประกวดนางงามเชียงใหม่ โดยมีลักษณะเป็นแถบผ้ากำมะหยี่สีดำ ปักด้วยดิ้นเวลาสวมก็จะใช้ติดตะขอด้านหลัง มงกุฎนี้จะให้ผู้ดำรงตำแหน่งนางงามเชียงใหม่ครองเพียง 6 เดือน เท่านั้น จากนั้นจะต้องส่งมอบให้กับนางงามเชียงใหม่คนต่อไป ซึ่งมงกุฎปรากฏว่ามีผู้ที่ครอบครองอยู่เพียง 2 ท่านเท่านั้น คือ นางสาวบัวแก้ว อินทร์สุวรรณ นางงามเชียงใหม่ 2483 และนางสาวลมุน พันธ์มินทร์ นางงามเชียงใหม่ 2484 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นจึงต้องงดการประกวดไป
หลังจากหยุดการประกวดนางงามเชียงใหม่ไปเกือบ 10 ปี มีการรื้อฟื้นการประกวดขึ้นมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2492 และมีการเปลี่ยนชื่อในการประกวดจากนางงามเชียงใหม่ เป็นนางสาวเชียงใหม่แทน โดยมีสางงามจาก อ.สันกำแพง นางสาวสุมิตรา กัญชนะ เป็นผู้คว้าตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่คนแรกในยุคที่สองนี้ไปครอง การประกวดในปีนั้นถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก จนต้องขอความร่วมมือจากนางงามและคณะกรรมการว่าให้มีการประกาศผล 2 รอบ เพราะมีผู้ชมบางส่วนไม่สามารถเข้าไปชมในรอบแรก ต้องการจะดูรอบตัดสินอีกครั้ง การคัดเลือกสาวงามในยุคนี้ ช่วงแรกยังคงจัดขึ้นที่หอประชุมโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยมีการจัดเวทีเป็นรูปตัวที่ประธานการดำเนินงาน คือ คุณชาย บุนนาค ผู้จัดการธนาคารออมสิน มีวงดนตรีเล่นเพลงประกอบการเดิน ส่วนมากใช้วงดนตรีของธนาคารออมสิน ซึ่งโด่งดังมากในสมัยนั้น เล่นเพลงนางฟ้าจำแลง ลีลาการเดินนิยมเดินแบบช้า (แบบสโลโมชั่น) เพลงที่ใช้ก็ดัดแปลงให้ช้าลงให้เข้ากับจังหวะการเดิน ผู้เข้าประกวดจะคัดเลิกเป็นรอบๆ รอบสุดท้ายเหลือ 3 คน จะมีการซ้อมเดินในตอนกลางวัน จึงต้องมีลูกเสือเดินถือร่มตาม ส่วนชุดที่ให้เดินเป็นชุดว่ายน้ำทั้งหมด โดยในสมัยนั้นจะเรียกว่า ชุดอาบน้ำ เป็นลักษณะชุดกระโปรง สั้น รัดรูป ผูกคอ และมีกางเกงอยู่ในข้างในอีกหนึ่งตัว ในปีต่อมา หอประชุมคับแคบลง จึงได้ย้ายการประกวดมาประกวดที่สนามฟุตบอลข้างๆ หอประชุมโรงเรียนยุพราช จัดเวทีเป็นรูปเกือกม้า ปีนั้น คุณทิม โชตนา นายช่างแขวงการทางเชียงใหม่ เป็นประธานการตัดสิน และพระองค์เจ้าพีรพงศ์ ภานุเดช เสด็จมาดูการประกวดด้วย นอกจากนี้สิ่งที่สร้างความฮือฮาให้การประกวดนางสาวเชียงใหม่ในปีนั้นเป็นอย่างมากก็คือ การที่เวทีสร้างอยู่ใกล้กับต้นงิ้ว แต่นายแพทย์อารี แสงสว่างวัฒนะ ผอ.โรงพยาบาลสวนปรุงในสมัยนั้น เห็นว่าเวทีอยู่ใต้ต้นงิ้วดูไม่ดี เลยขอแก้อาถรรพ์โดยการทำรูปขวานไปสับต้นงิ้วไว้เป็นสัญลักษณ์ว่าไปทำลายหนามงิ้วแล้ว ทำให้คนที่เข้ามาดูการประกวดสงสัย และเป็นที่ฮือฮาอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2494 มีการริเริ่มจัดการประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม โดยเปิดโอกาสให้สาวงามจาก 8 จังหวัดภาคเหนือ สามารถเข้ามาสมัครได้ เนื่องจากเวทีการประกวดนางสาวเชียงใหม่นั้นจะเปิดรับสมัครเฉพาะผู้ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าประกวดเวทีนางสาวเชียงใหม่สามารถลงสมัครเวทีนางสาวถิ่นไทยงามได้ แต่ผู้เข้าประกวดนางสาวถิ่นไทยงามจะไม่สามารถเข้าประกวดนางสาวเชียงใหม่ หากขาดคุณสมบัติดังกล่าว
ในปี พ.ศ. 2496 ประธานาธิบดี ซูกาโน่ ของฟิลิปปินส์เยือนประเทศไทย และได้เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนั้น นางสาวบัวเขียว โสมนัส ซึ่งเป็นนางสาวเชียงใหม่ ได้ให้การรับรองสร้างความประทับใจแก่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยิ่งนัก ซึ่งต่อมาเวลามีพระราชอาคันตุกะหรือแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่ มักจะให้นางสาวเชียงใหม่เป็นผู้ให้การรับรองจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติและกลายเป็นภารกิจหนึ่งของนางสาวเชียงใหม่ในยุคต่อมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2498 ทางจังหวัดได้ย้ายการจัดงานรื่นเริงฤดูหนาวจังหวัดเชียงใหม่ ไปยังสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ จึงได้ย้ายเวทีการประกวดนางสาวเชียงใหม่ไปด้วยในช่วงนั้นการประกวดนางสาวเชียงใหม่ ถือเป็นหัวใจสำคัญของงานฤดูหนาว จนเกิดเป็นเรื่องล้อเลียนว่า หากงานฤดูหนาวปีไหนไม่มีการประกวดนางสาวเชียงใหม่ ปีนั้นประชาชนจะพากันเรียกงานฤดูหนาวว่าเป็น งานปอยหลวงวัดกู่เต้า (เนื่องจากสนามกีฬาเทศบาลอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดกู่เต้า) ลักษณะของการจัดงานจะให้หน่วยงานรัฐหรือองค์กรต่างๆ เช่น สมาคมชมรมสโมสร เข้ามารับผิดชอบจัดงานเป็นปี ๆ ไป โยจะดูแลครอบคลุมทั้งงาน มิใช่แยกเป็นส่วน ๆ ดังเช่นปัจจุบันในส่วนของการจัดการประกวดนางสาวเชียงใหม่จะมีการล้อมรั้วอีกชั้น แล้วขายบัตรให้คนเข้าไปนั่งดู โดยบัตรมี 2 ราคา คือชั้นริงไซด์ จะมีเครื่องดื่มไว้บริการ และชั้นธรรมดา ประกวดกันประมาณ 5-6 คืน (งานฤดูหนาวสมัยนั้นมี 7 คืน) คืนแรกจะเป็นการเดินโชว์ตัว จากนั้นก็จะประกวดกันเป็นรอบ ๆ ไปจนถึงคืนสุดท้ายเป็นการตัดสิน ในส่วนของสื่อก็จะไห้ความสำคัญการการประกวดนางสาวเชียงใหม่อย่างมาก มิใช่เพียงสื่อท้องถิ่นเท่านั้น หากยังรวมถึงสื่อส่วนกลางจากกรุงเทพมหานครอีกด้วย ก่อนการประกวดจะมีการเผยแพร่รูปนางสาวเชียงใหม่มีการเขียนวิพากษ์วิจารณ์ว่าใครเป็นตัวเก็ง ในช่วงของการประกวดก็จะเอารูปนางงามไปลงนสพ.หน้าหนึ่งมีการติดตามการประกวดทุกวัน
สมัยนั้นงานฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานที่หนาวจริงๆ หลังเวทีก็จะมีเตาอั้งโล่ให้นางงาม นั่งผิงไฟคลายหนาว ช่างภาพก็จะพยายามเข้าไปถ่ายรูปด้านหลังเวที เป็นการประกวดที่มีบรรยากาศคึกคัก มีการเชียร์ โดยแต่ละอำเภอก็จะพากันมาเชียร์นางงามของตนเอง ขณะนั้นไม่มีนางงามเดินสาย ผู้เข้าประกวดจะเป็นตัวแทนของแต่ละอำเภอ เป็นงานที่มีความสำคัญมากที่สุดของงานฤดูหนาวในช่วงปี 2514 มีการท้วงติงเกี่ยวกับความเหมาะสมของการแต่งกายของผู้เข้าประกวด ที่ต้องใส่ชุดว่ายน้ำเดินประกวด อย่างไรก็ตาม ปีนั้นยังคงมีการจัดการประกวดขึ้น โดยเลี่ยงไปใช้ชื่อการประกวดว่า ยอดพธูแผ่นดินทอง และให้ยกเลิกการใส่ชุดว่ายน้ำ โดยใส่ชุดไทยแทนจากนั้น ได้งดการประกวดลงอีครั้งในช่วงปี 2515-2518 และจัดการประกวดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2519 โดยคุณปวีณา แสงศิริ สาวงามจากลำพูน เป็นผู้คว้ามงกุฎไปครอง จากนั้นงดการประกวดลงอีกครั้งจนถึงปี พ.ศ. 2526
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2527 มีการริเริ่มจัดการประกวดนางสาวเชียงใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2529 สมัยผู้ว่าชัยยา พูนศิริวงศ์ ได้ติดต่อไปทางสโมสรไลออนส์เชียงใหม่ โฮสต์ ให้เข้ามาดำเนินการจัดงานฤดูหนาวและกาชาดจังหวัดเชียงใหม่รวมถึงการประกวดนางสาวเชียงใหม่ด้วย ในปีพ.ศ. 2530 ทางกองประกวดได้พาคณะผู้เข้าประกวดเดินทางไปประชาสัมพันธ์การประกวดนางสาวเชียงใหม่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับจากนสพ.ต่างๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะนสพ.ไทยรัฐถึงกับเปิดห้องประชุมที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ต้อนรับคณะผู้เข้าประกวดนางสาวเชียงใหม่เป็นคณะแรกเลยทีเดียว ในช่วงนั้น มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ทั้งนี้ เวทีการประกวดนางสาวเชียงใหม่ในขณะนั่นเป็นเวทีที่ยิ่งใหญ่และได้รับความสนใจอย่างมากเพราะเป็นรองเพียงแค่เวทีนางสาวไทยเท่านั้น
คอนเซ็ปต์ของการประกวดที่เป็นที่นิยมในช่วงนั้นก็จะเน้นความเป็นล้านนา เอกลักษณ์ของชาวเหนือ ในส่วนของการจัดกิจกรรมต่างๆ ก็มักจะเกี่ยวข้องกับการส่งเสริม วัฒนธรรมประเพณี ของชาวเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 เริ่มมีบริษัทจากส่วนกลาง เข้ามาดำเนินการจักการประกวดคือ บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดีย จำกัด ซึ้งหลังจากเสร็จสิ้นการประกวดแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ในปีนั้น คือ ประภัสสร บุญญาภรณ์ ก็ได้ทำสัญญา เป็นนักแสดงกับทางบริษัท เป็นเวลา 1 ปี และหลังจากนั่นก็จะมีหน่วยงาน องค์กร หรือบริษัทในท้องถิ่น สลับกับริษัทจากส่วนกลาง เข้ามาดำเนินงาน สมัยก่อนเวทีนางสาวเชียงใหม่ได้รับการออกแบบอย่างสวยงามอลังการอย่างมาก ส่วนมากเป็นคอนเซ็ปต์เกี่ยวกับ สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณีของชาวเหนือ บางปีก็ถึงกับให้นางงามนั่งสะพานลื่นไหลลงมา หรือใช้ไฮโดรลิกหมุนขึ้นมาเพื่อเปิดตัวเลยทีเดียว ผู้จัดให้ความสำคัญกับการจัดงานอย่างมาก เป็นการจำลองแบบ มาจากร้านค้าจริงๆ ใช้เวลาสร้างร่วมเดือนเลยทำเดียว ในช่วงที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยนายองค์กรบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายอุดรพันธ์ จันทรวิโรจน์ เข้ามาดูแลการจัดงานนั้นเป็นปีที่ฮือฮาอย่างมาก เนื่องจากการประกวดนางสาวเชียงใหม่ มีการให้เงินรางวัลสูงสุดเป็นประวัติกาล โดยให้เงินรางวัลแก่ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นนางสาวเชียงใหม่ 300,000 บาทพร้อมรถยนต์เก๋งอีก 1 คัน และในปีนั้นมีการเปิดกว้างรับสมัครผู้เข้าประกวดทั่วประเทศ ทำให้มีสาวงามจากที่ต่าง ๆ เข้ามาร่วมประกวดอย่างคึกคัก และมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 หลังจากที่มีการสร้างศาลากลางหลังใหม่ที่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้ประมาณ 2 ปี ต่อมาก็มีการย้ายการจัดงานฤดูหนาวไปจัดภายในบริเวณสนามด้านหลังศาลากลางหลังใหม่ เนื่องจากสถานที่จัดงานเดิมนั้นอยู่ในอำเภอเมือง และการจัดงานแต่ละครั้งทำให้สนามกีฬาเสียหาย ยิ่งในช่วงหลังที่เพิ่มการจัดงานจาก 7 วัน เป็น 10 วัน ทำให้เกิคความเสียหายกับสนามกีฬาเป็นอย่างมาก หลังจากเสร็จงานแล้วก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซ่อมแซมสนามกีฬา สูญเสียงบประมาณไปเป็นอันมาก จึงมีความพยายามผลักดันให้มีการย้ายการจัดงานออกไปยังบริเวณด้านหลังศาลากลางและจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และในปี 2549 นี้ 70 กว่าปี แห่งความทรงจำบทบันทึกความงามของเอื้องเหนือกับการประกวดนางสาวเชียงใหม่ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด 70 ปี นางสาวเชียงใหม่ ดอกเอื้องเวียงพิงค์ สายสัมพันธ์แห่งอารยธรรม ดำเนินงานโดย บริษัท แมค มีเดีย เชียงใหม่ จำกัด รับสมัครสาวเหนือ 8 จังหวัด ทั้งนี้ ความพิเศษของเวทีนางสาวเชียงใหม่ปี 2549 นี้คือการที่ทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงประทานมงกุฎและถ้วยรางวัล ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจและเป็นเกียรติยศอย่างสูงแก่คณะผู้จัดการประกวดและนางสาวเชียงใหม่[2]
ปัจจุบันเวทีนางสาวเชียงใหม่ ได้สรรหาเพื่อเฟ้นหาตัวแทนร่วมประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ซึ่งมีหลายท่านที่สร้างผลงาน เช่น นฤมล สิทธิวัง นางสาวเชียงใหม่ 2562 เจ้าของตำแหน่ง Top 20 มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2019 , เทียน อัจฉรี บัวเขียว นางสาวเชียงใหม่ เจ้าของตำแหน่งรองอันดับ 1 มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2016, โบว์ สุภาภรณ์ ฤทธิพฤกษ์ นางสาวเชียงใหม่ 2560 เจ้าของตำแหน่งรองอันดับ 1 มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2017 ผู้ชนะคนล่าสุดคือ แก้วทิพย์ นรนิธิวรรณ
รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่
[แก้]ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่[3]
ปี พ.ศ. | ลำดับที่ | นางสาวเชียงใหม่ | รองอันดับ 1 | รองอันดับ 2 | รองอันดับ 3 | รองอันดับ 4 | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2477 | 1 | ฟองจันทร์ อินทขัติย์ | |||||
2478 | 2 | ประภา ไวเวกข์ | |||||
2479 | 3 | สมถวิล แควน้อย | |||||
2480 | 4 | บัวเที่ยง พรหมชนะ | |||||
2481 | 5 | กาพแก้ว เทพมา | |||||
2482 | 6 | บัวแก้ว อินทร์สุวรรณ | |||||
2484 | 7 | ลมุน พันธุมินทร์ | |||||
2492 | 8 | สุมิตรา กัญชนะ | |||||
2493 | 9 | อร โศภนะศุกร์ | |||||
2494 | 10 | จันทรา อุปนันท์ | |||||
2495 | 11 | ดวงจันทร์ บุญศรี | |||||
2496 | 12 | บัวเขียว โสมนัส | |||||
2497 | 13 | ประทุมพร สมเกตุ | |||||
2498 | 14 | นวลอนงค์ แก้วยานะ | |||||
2499 | 15 | พรรณนิภา นันทยา | |||||
2500 | 16 | สำรวย อุดมศรี | |||||
2501 | 17 | สำราญ อุดมศรี | |||||
2502 | 18 | ศิรินาถ ขัดสงคราม | |||||
2503 | 19 | จันทร์ฉาย วรมิตร์ | |||||
2504 | 20 | รัชฎาพร ศรีวิชัย | |||||
2505 | 21 | ฉวีวรรณ ไชยทา | |||||
2506 | 22 | วาสนา บุตรโสภา | |||||
2507 | 23 | ประภัสสร ไชยยศ | |||||
2508 | 24 | ศิริพรรณ จอมวัง | |||||
2509 | 25 | เรวดี มูลประการ | |||||
2510 | 26 | รุ่งทิพย์ ภิญโญ | |||||
2511 | 27 | เนตรทราย ชลาธาร | |||||
2512 | 28 | สุพัตรา กัญชนะ | |||||
2513 | 29 | เบญจวรรณ วรรณประกาย | |||||
2514 | 30 | จารุณี ชัยมงคล | |||||
2519 | 31 | ปวีณา แสงศิริ | |||||
2527 | 32 | วิจิตรา กุลวารินทร์ | |||||
2528 | 33 | วราวรรณ กรใหม่ | |||||
2529 | 34 | จันทิพา ไชยวารินทร์ (สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงษ์) | |||||
2530 | 35 | มัลลิกา เกรียงไกร | |||||
2531 | 36 | พิมพิไล ไชยโย | |||||
2532 | 37 | อรัญญา เดชารัตน์ | |||||
2533 | 38 | วิภาวรรณ จันทรวงค์ | |||||
2534 | 39 | วาสนา มงคลรอบ | |||||
2535 | 40 | นริศรา เมืองเงิน (ถูกถอดออกจากตำแหน่ง) | |||||
2536 | 41 | ประภัสสร บุญญาภรณ์ | |||||
2537 | 42 | กาญจนา รุ่งเรืองมณีรัตน์ | |||||
2538 | 43 | แสงเทียน ศรีนพรัตน์ | |||||
2539 | 44 | วริศรา อัศวรานนท์ (นิรัชยา คำยา) | |||||
2540 | 45 | อิสรีย์ ศรีจันทร์เที่ยง | |||||
2541 | 46 | กนกรัตน์ งามจิตต์ | |||||
2542 | 47 | ชนัญชิดา สิรภัทร | |||||
2543 | 48 | ฉัตรวิไล สินธุไชย | |||||
2544 | 49 | ดวงใจ วินิจกุล | |||||
2545 | 50 | ณภาพร เจริญทรัพย์ | |||||
2546 | 51 | ภาสินี วงษ์บุญศรี (วาสนา วงษ์บุญตรี) | |||||
2547 | 52 | วันจุฬา ศรลัมพ์ | |||||
2549 | 53 | ตรีชฎา วาณิชย์กุล | |||||
2550 | 54 | รยากร สุวรรณ์ | |||||
2551 | 55 | เสาวลักษณ์ พรหมศร | วิลาวัณย์ เป็งปัน | วรางคณา มงคลทวีกุล | มนัฐษญา จินเจา | สุทธิดา แก้วรัตน์ |
เสาวลักษณ์ พรมศร เข้ารอบ 10 สุดท้าย นางสาวไทย 2551 และรางวัลพิเศษ Miss Think Positive |
2552 | 56 | ผ่องพรรณ แก้วมโน | รังสิมา โรจน์รันตน์ | ชญาณิศา เจิดจำรัส | อมรรัตน์ ปัญญา | สุวลักษณ์ ก้องสมุท |
ผ่องพรรณ แก้วมะโน ได้รองอันดับ 2 มิสทัวร์ลิซึมควีนเอเชีย 2013 ที่ซีถาง, ประเทศจีน |
2553 | 57 | กฤชกร หอมบุญญาศักดิ์ | ธัญนุช สิงห์คำ | ชนันภรณ์ วงศ์ษา | อาทิตยา คุณนะลาภัทร | มัชฌิมาลา สุทธนะ | |
2554 | 58 | เก็ตถวา วิศัทวัฒนา | รุ้งสินี ปัญจบุรี | ฑิตยา บำรุงรัตน์ | ชนิศา เหลี่ยวไชยพันธุ์ | ณัฐธิดา ทองเกษม | |
2555 | 59 | สิริน ไตรวุฒิพิพัฒนกุล | เสาวลักษณ์ แปงใจ | นัฐนรี ศรีบัว | กรรณิกา ขันแก้ว | ปรางทิพย์ ภัณฑารักษ์สกุล | |
2556 | 60 | พัทยาภรณ์ เทพวีระพงศ์ | เรวิญานันท์ ทาเกิด | คเณพร อินต๊ะมูล | บงกช อิ่นคำ | ธัญญารัตน์ ปิฎิโชติ | |
2557 | 61 | วรลักษณ์ ใจจา | วีนัส นันทะชัย | สุวัสสาวิ ปันเขต | ธนพร โพธาติ๊บ | สาลิกา ฟอร์เมิรต | |
2558 | 62 | อลิษา สันติธรรม | วริญร์ ชื่นชอบ | กวินทิพย์ จินดารัศมี | วริศรา ชัยเลิศ | วรารัตน์ เต็มปัน |
ส่วนรองอันดับ 2 มี 3 คน |
2559 | 63 | อัจฉวี บัวเขียว | จิณณ์ณิตา บุดดี | นิสารัตน์ วงศ์ชมพู | สุทธิดา บังใบ | ณัฎชญาภา ศรีจุมพล |
ส่วนรองอันดับ 2 มี 2 คน และรองอันดับ 3 มี 1 คน |
2560 | 64 | สุภาภรณ์ ฤทธิพฤกษ์ | ประภาศิริ อินทะรังษี | ชญานิศ ต.เจริญ | พิจิกา กองสถาน | วาลุลี ดวงวะนา |
ส่วนรองอันดับ 2 มี 3 คน สุภาภรณ์ ฤทธิพฤกษ์ รองอันดับ 1 มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2560 และชนะเลิศมิสไทยแลนด์อินเตอร์เนชั่นแนล 2023 เป็นตัวแทนเข้าร่วมประกวดนางงามนานาชาติ 2023 และผ่านเข้ารอบ 7 คนสุดท้าย (ลำดับที่ 6) ที่โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น |
2561 | 65 | วธูสิริ ใจกลาง | วรรณษภรณ์ วุฒิวัฒนากุล | ลิขิตภัคษรณ์ วจิตรสุวรรณ | กันยารัตน์ วัจรินทร์ | ดารารัตน์ ศรีเบญจรัตน์ |
ส่วนรองอันดับ 2 มี 3 คน วธูสิริ ใจกลาง เข้ารอบ 15 สุดท้าย มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2561 และถูกแต่ตั้งให้เป็นนางสาวเชียงใหม่ 2561 และเป็นตัวแทนภาคเหนือภูมิภาคละ 10 คน เข้าร่วมประกวดนางสาวไทย 2562 และผ่านเข้ารอบ 20 สุดท้าย |
2562 | 66 | นฤมล สิทธิวัง | กัญจน์รัตน์ ตันติฤทธิพร | ภัสสร บุษดี | ธัญญา เทพวงศ์ | ภัทราวดี จันทร์แจ้ง |
นฤมล สิทธิวัง เข้ารอบ 20 สุดท้าย มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2562 |
2563 | 67 | อเล็กซานดร้า แฮงกี่ | กัลย์สุดา ชนาคีรี | พิมพ์ผกา สุวรรณรัตน์ | วชิราภรณ์ นันทวาศ | ชุติกาญจน์ อารีลักษณ์ |
อเล็กซานดร้า แฮงกี่ รองอันดับ 4 มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563 รางวัลพิเศษMiss Prissana Popular Vote และกัลย์สุดา ชนาคีรี เข้ารอบ 20 สุดท้าย มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2562 และเข้ารอบ 15 สุดท้ายมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2564 |
2564 | 68 | ชนนิกานต์ สุพิทยาพร | ธัญจิรา ยารังษี | ธิดาพร เกตุทอง | ปิยธิดา ใจดี | สุจารี กาญจนกฤต |
ชนนิกานต์ สุพิทยาพร ชนะเลิศนางสาวไทย 2566 และเป็นตัวแทนเข้าร่วมประกวดมิสโกลบอล 2023 ที่เวียดนาม และกัมพูชา |
2565 | 69 | ศิรดา โล บูลโย่ | วิชญฎา วิชญพงษ์กุล | สุพรรณิการ์ จำเริญชัย | ปฏิมาภรณ์ ขยันชม | ปิยมน ปกปิงเมือง | |
2566 | 70 | เกศวริน ศรีปิ่นเป้า | สุพรรษา กันนะ | กวินธิดา วสุวัต | สกุณา ปาปวน การศึกษา | ปองทิพย์ธิดา วจิตรสุวรรณ |
เกศวริน ศรีปิ่นเป้า ได้รองอันดับ 3 มิสซูปราเนชันแนลไทยแลนด์ 2023 รางวัลพิเศษ C2 Influencer และSwimsuit Challenge |
2567 | 71 | แก้วทิพย์ นรนิธิวรรณ | จิณณ์พัชญ์ชา กนกรัตนาธรรม | ศิริญาณี ลิ้มทองเจริญ | สุชาวดี ฤกษนันทน์ | กัญญารัตน์ สายสวาท |
รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งมิสเตอร์เชียงใหม่
[แก้]ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งมิสเตอร์เชียงใหม่
ปี พ.ศ. | ลำดับที่ | มิสเตอร์เชียงใหม่ | รองอันดับ 1 | รองอันดับ 2 | รองอันดับ 3 | รองอันดับ 4 | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2559 | 1 | ธวัชชัย ใจคาร | กิตติคุณ ตันสุหัส | ณาธิป ธวิตอังกูร | ภานุพงศ์ นันตา | ศักดิ์ดา สารพันธ์ |
ส่วนรองอันดับ 2 มี 3 คน ธวัชชัย ใจคาร ชนะเลิศมิสเตอร์โกลบอลไทยแลนด์ 2016 และรางวัลพิเศษหนุ่มเจ้าเสน่ห์ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดมิสเตอร์โกลบอล 2016 ได้รองอันดับ 1 และรางวัลพิเศษพีเพิลส์ชอยซ์อะวอดส์ ที่เชียงใหม่, ประเทศไทย |
2560 | 2 | ถิรวัฒน์ มาตยบุญ | เดชาวัต หงอกชัย | พงศกรณ์ สุริยะดี | นนทกร อัมพุธ | ตรีทศ แก้วไทรเกิด |
ถิรวัฒน์ มาตยบุญ ชนะเลิศมิสเตอร์ยูนิเวอร์แซลแอมบาสซเดอร์ไทยแลนด์ 2017 และรางวัลพิเศษหนุ่มเจ้าเสน่ห์ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดมิสเตอร์ยูนิเวอร์แซลแอมบาสซเดอร์ 2017 ได้ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้าย ที่ประเทศอินโดนีเซีย |
2561 | 3 | สถาพร มูลลิสาร | ภีรวัฒน์ สารีวงษ์ | ธนพัตฒ์ คนึงเหตุ | โชตินรินท์ ชูนำชัย | ศิรวัชร พลพิพัฒนพงศ์ |
สถาพร มูลลิสาร เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดมิสเตอร์โกลบอล 2018 ได้รองอันดับ 1 ที่กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
2566 | 4 | พทิตย์ธฎา โพธาเจริญ | กมลภพ แก้วเดียว | ธีรภัทร สิทธิชัย | ธีรศักดิ์ แก้วยอดดี | จิรายุ ทักเกอร์ |
พทิตย์ธฎา โพธาเจริญ ได้รองอันดับ 1 มิสเตอร์ซูปราเนชันแนลไทยแลนด์ 2023 และรางวัลพิเศษUS Master Polo Club และActing Challenge กมลภพ แก้วเดียว รองอันดับ 2 แมนฮันต์ไทยแลนด์ 2023 และรางวัลพิเศษCHAT Influencer เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดแมนออฟเดอะเยียร์ 2023 ได้รองอันดับ 4 และรางวัลพิเศษแมนออฟเดอะเยียร์ซุปเปอร์โมเดล ที่ประเทศอินโดนีเซีย ธีรภัทร์ สิทธิชัย รองอันดับ 4 แมนฮันต์ไทยแลนด์ 2023 และรางวัลพิเศษCHAT Influencer เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดมิสเตอร์ทัวริซึมเวิลด์ 2023 ได้รับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลพิเศษ, ชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยม, ร่างกายยอดเยี่ยม, รองอันดับ 1 ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม, รองอันดับ 1 ความสามารถพิเศษยอดเยี่ยม, และรองอันดับ 2 มิสเตอร์ป๊อบปูลาร์รีตี ที่ประเทศบราซิล |
2567 | 5 | อาร์คอส เบค | ชินโชติ คำสุวัตร์ | ธาดา ตาวงค์ | ธนกร รัตนสิทธิ์ | ศักดา แซ่ซวง |
รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ในดวงใจ
[แก้]ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ในดวงใจ
ปี พ.ศ. | ลำดับที่ | นางสาวเชียงใหม่ในดวงใจ | รองอันดับ 1 | รองอันดับ 2 | รองอันดับ 3 | รองอันดับ 4 | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2560 | 1 | วัชรากานต์ กันใหม่ "พิมพิไล ไชโย" |
พีรานันท์ บุญมา "แสงเทียน ศรีนพรัตน์" |
แก้วลอดฟ้า รัตนภาเทวี "พรรณิภา นันทยา" |
ตะวัน วงค์ใจ "วรลักษณ์ ใจจา" |
||
2561 | 2 | หยาดพิรุณ ปู่หลุ่น "อลิษา สันติธรรม" |
|||||
2562 | 3 | ||||||
2563 | 4 | ศรุดา ธนาดุลกุลนันท์ |
|||||
2564 | 5 | ธนัชพันธ์ บูรณาชีวาวิไล "อเล็กซานดร้า แฮงกี่" |
นาตาเลีย เพลียแคม "อเล็กซานดร้า แฮงกี่" |
||||
2565 | 6 | กานต์รวี ศรีตระพันธ์ "ประภัสสร บุญญาภรณ์" |
จิรสิตา หลิมภากรกุล "ฟองจันทร์ อินทขัติย์" |
พิมพ์นิภา เดชกุล "สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์" |
ทิพย์เกสร อุปโยคิน "ฟองจันทร์ อินทขัติย์" |
วรัญญา วงค์ปัญญา "รยากร สุวรรณ์" |
จิรสิตา หลิมภากรกุล รองอันดับ 2 UNIVERSE IS U "จักรวาลนี้คือเธอ" 2022 |
2566 | 7 | นาตาเลีย เพลียแคม "ฟองจันทร์ อินทรขัติย์" |
ปิยะนุช ฉ่ำบุญ "เสาวลักษณ์ พรหมศร" |
นริศรา ซื่อตรง "เสาวลักษณ์ พรหมศร" |
เหมือนกุลสตรี ศรีเชียงใหม่ "ลมุน พันธุมินทร์" |
ไหมแก้ว สิงห์แก้วฟู "นวลอนงค์ แก้วยานะ" |
|
2567 | 8 | รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงษ์ |
ลลิลทิพย์ อนาตาเซีย |
มนปรียา ปริยัติสกุล แคทนริน วิลสัน |
เอมธิดา จารุวรรณกร อภิสรา ปรียาธนะสกุล |
แทมมี่ แทมมี่ |
ส่วนรองอันดับ 2 มี 5 คน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "นางสาวเชียงใหม่". lib.payap.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-08. สืบค้นเมื่อ 2023-01-21.
- ↑ "8 ทศวรรษ... นางสาวเชียงใหม่ เอื้องฟ้าแห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ | Dek-D.com". Dek-D.com > Board (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ""The Power of Unity" "พลังแห่งความสามัคคี"มาส่งกำลังใจเชียร์ฟ้าใส คว้ามงกุฎนางงามจักรวาล คนที่3 ของประเทศไทย พรุ่งนี้เช้า 7.00 ตามเวลาประเทศไทย... | By Yupparaj Wittayalai School | Facebook". www.facebook.com.