ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชียงใหม่ เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเชียงใหม่
ฉายาพยัคฆ์ล้านนา
ก่อตั้ง1999; 26 ปีที่แล้ว (1999)
สนามสนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ดอยสะเก็ด
ความจุ3,000 ที่นั่ง
ประธานอนันต์ อมรเลิศศักดิ์
ผู้จัดการภูริทัต สืบภา
ผู้ฝึกสอนอมเรศ อมรเลิศศักดิ์
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 2, อันดับที่ 4
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพจากจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคเหนือ

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 โดยส่งลงแข่งขันนาม สมาคมกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ และได้ทำการแข่งขันใน โปรวินเชียลลีก ตั้งแต่ปีแรกที่มีการก่อตั้งลีก

ปี พ.ศ. 2549 สโมสรได้กลับมาร่วมการแข่งขันรายการ ฟุตบอลโปรเฟสชัลแนลลีก ในนามของสมาคมกีฬาจังหวัดเชียงใหม่

ปี พ.ศ. 2550 มีการรวมลีก ทำให้เชียงใหม่ที่ได้ อันดับสุดท้ายในโปรเฟสชัลแนลลีก ต้องเล่นลีก ดิวิชั่น 2 โดยมี เฮียตั่ว ชัดชาญ เอกชัยพัฒนากุล เจ้าของร้านขายของฝาก วนัสนันท์ เป็นประธานสโมสร และในปี พ.ศ. 2552 ด้วยระเบียบของ AFC ที่ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ในปีดังกล่าวทีมจึงใช้ชื่อทีมลงแข่งขันในชื่อ "เชียงใหม่ยูไนเต็ด"

ปี พ.ศ. 2553 สโมสรได้ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ พร้อมตั้งฉายาใหม่"พยัคฆ์ล้านนา" ให้แก่สโมสร และจบอันดับที่ 9 ในลีกภูมิภาคโซนภาคเหนือ ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นแข่งขัน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ใน พ.ศ. 2554 จากการจบอันดับ 2 ของสาย เอ โดยหลังจากนั้นทีมได้ตกชั้นลงไปแข่งขันในไทยลีกดิวิชั่น 2

ปี พ.ศ. 2556 ได้กลับมาแข่งขันในไทยลีกดิวิชั่น 1 อีกครั้ง แต่ในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล 2556 ประธานสโมสร อุดรพันธ์ จันทรวิโรจน์ ประกาศถอนทีมไม่ร่วมแข่งขันต่อในฤดูกาลนั้น โดยหลังจากการหารืออย่างยาวนาน ประธานสโมสรจึงตัดสินใจส่งทีมร่วมแข่งขันต่อไป

ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ได้บริหารโดย สิงห์คอปเปอร์เรชั่นและเป็นพันธมิตรกับ บีจี (2559–2560 และ 2563–ปัจจุบัน) และ เชียงรายยูไนเต็ด (2561–2562) ที่เข้ามาช่วยบริหารทีม

ปีพ.ศ. 2565 บริหารโดย สิงห์คอปเปอร์เรชั่นและเป็นพันธมิตรกับ บีจี ประกาศถอนการสนับสนุน เชียงใหม่ เอฟซี ในซีซั่นหน้าเป็นต้นไป ปวิณ ภิรมย์ภักดี ประธานสโมสร บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ยืนยันผ่านรายการ The Sound Stand (Live) ว่าจะยุติการสนับสนุน เชียงใหม่ เอฟซี ตั้งแต่ฤดูกาล 2023/24 เป็นต้นไป

และในฤดูกาล 2023-2024 บิ๊กแซน ยศเมธา จันทรวิโรจน์ ซึ่งเป็นหลานของพ่อเลี้ยงอี๊ด อุดรพันธ์ จันทรวิโรจน์ อดีตประธานสโมสรเชียงใหม่เอฟซี ได้เข้ามาสานงานบริหารเชียงใหม่ เอฟซี ต่อ โดยตั้งเป้าพาทีมเชียงใหม่ เอฟซี ก้าวขึ้นสู่ลีกสูงสุดของประเทศไทย และพัฒนาโครงสร้างอย่างยั่งยืนกับสโมสรทั้งในการพัฒนาเยาวชน สนามซ้อม และส่งเสริมนักเตะเลือดล้านนา

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอ คัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ดาวซัลโว
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อ ประตู
2542/43 โปรลีก 22 5 4 13 21 45 19 อันดับ 11
2543/44 โปรลีก 22 12 1 9 29 22 37 อันดับ 4 ไทย บัณฑิต เพชรอำไพ 11
2545 โปรลีก 10 4 5 1 16 9 17 อันดับ 3 ไทย บัณฑิต เพชรอำไพ 13
2546 โปรลีก 22 9 8 5 39 28 35 อันดับ 4 ไทย ศุภกิจ จินะใจ 12
2547 โปรลีก 18 1 5 12 10 34 8 อันดับ 10 ไทย ศุภกิจ จินะใจ 6
2548 โปรลีก 2 4 2 0 2 6 7 6 อันดับ 3
2549 โปรลีก 30 3 4 23 19 75 13 อันดับ 16
2550 ดิวิชั่น 2 22 9 5 8 30 38 32 อันดับ 7
2551 ดิวิชั่น 2 20 3 6 11 25 34 15 อันดับ 9
2552 ดิวิชั่น 2 ภาคเหนือ 20 4 4 12 24 44 16 อันดับ 9 รอบแรก
2553 ดิวิชั่น 2 ภาคเหนือ 30 26 1 3 65 14 79 ชนะเลิศ
2554 ดิวิชั่น 1 34 7 9 18 36 55 30 อันดับ 16 รอบสอง รอบสาม ไทย ศรัณย์ ศรีเดช 6
2555 ดิวิชั่น 2 ภาคเหนือ 34 24 8 2 78 30 80 ชนะเลิศ เซเนกัล Aliou Seck 18+(4 รอบแชมเปียนชิพ)
2556 ดิวิชั่น 2 ภาคเหนือ 30 21 6 3 70 20 69 ชนะเลิศ ไทย ฉัตรชัย นาควิจิตร 27+(5 รอบแชมเปียนชิพ)
2557 ดิวิชั่น 1 34 15 10 9 51 36 55 อันดับ 5 รอบสาม รอบแรก ปารากวัย Anggello Machuca 16
2558 ดิวิชั่น 1 38 12 12 14 43 54 48 อันดับ 15 รอบสอง รอบแรก ไทย ฉัตรชัย นาควิจิตร 8
2559 ดิวิชั่น 1 26 8 8 10 36 34 32 อันดับ 9 รอบสอง รอบแรก ไทย อภิวัฒน์ เพ็งประโคน 10
2560 ไทยลีก 2 32 12 3 17 46 52 39 อันดับ 10 รอบ 32 ทีม รอบ 32 ทีม มาซิโดเนียเหนือ ฮริสติยาน คิรอฟสกี 10
2561 ไทยลีก 2 28 13 11 4 45 31 50 อันดับ 3 รอบ 32 ทีม รอบเพลย์ออฟ บราซิล อีเซียล โซซา ซัวรีช 10
2562 ไทยลีก 30 7 7 16 39 62 28 อันดับ 16 รอบ 64 ทีม รอบ 32 ทีม บราซิล เอลียังดรู 12
2563–64 ไทยลีก 2 34 16 8 10 56 45 56 อันดับ 7 รอบ 16 ทีม ญี่ปุ่น เรียว มัตสึมูระ 16
2564–65 ไทยลีก 2 34 10 8 16 34 50 38 อันดับ 14 รอบ 64 ทีม รอบ 32 ทีม ญี่ปุ่น เซยะ ซูงิชิตะ 7
2565–66 ไทยลีก 2 34 13 7 14 49 41 46 อันดับ 11 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบ 8 ทีมสุดท้าย เกาหลีใต้ อิม ชัง-กยุน 9
2566–67 ไทยลีก 2 34 17 8 9 55 34 59 อันดับ 4 รอบแรก รอบเพลย์ออฟ เกาหลีใต้ ยู บย็อง-ซู 11
2567–68 ไทยลีก 3 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม รอบลีก
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ที่ตั้งสโมสรและสนามเหย้า

[แก้]
พิกัด ที่ตั้ง สนามเหย้า ความจุ ปี
18°48′03″N 98°59′22″E / 18.800807°N 98.989501°E / 18.800807; 98.989501 เชียงใหม่ สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ 2,500 2550-2551
18°50′23″N 98°57′34″E / 18.839722°N 98.959444°E / 18.839722; 98.959444 เชียงใหม่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี 25,000 2552-2560, 2561–2562
18°48′03″N 98°59′22″E / 18.800807°N 98.989501°E / 18.800807; 98.989501 เชียงใหม่ สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ 5,000 2563- 2567
18.8753°N, 99.0673°E. เชียงใหม่ สนามกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ดอยสะเก็ด 3,000 2567 -

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย วิรุฬห์ บุญยืน
4 DF ไทย เมธาวินท์ เชื้อนุ่น
7 MF ไทย พิษณุศักดิ์ ชื่นบัวอินทร์
9 MF ไทย วุฒิไกร ปาทาน
10 MF จีน หลิว เชาหยาง
11 FW ไทย พิชัย ทองวิลาศ
12 DF ไทย ธนัท เรืองกลั่น
16 MF ไทย อันตอนิโอ แวร์ซูรา (กัปตันทีม)
19 FW ไทย ฤทธิเดช เพ็ญสวัสดิ์
20 MF ไทย ทวีชัย ลามือ
21 MF ไทย ธนดล ชายป่า
22 MF ไทย วิเศษ มนสิการพร
23 GK ไทย ไพรพนา บุญมา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
27 DF ไทย พงษ์ศักดิ์ วะตินา
28 FW ไทย เมธี เชวาเงา
30 FW ไทย โอฬาร ศิริกุลเสถียร
45 DF ไทย วรากร ปู่หล้า
49 MF ไทย ธีรเทพ คีรีประสพทอง
68 DF ไทย ภาคภูมิ ขุนคงมี
77 FW ไทย โชติชัย มะโท
91 DF ไทย จักรพล อุปการะ
99 FW ไทย อัฐเศรษฐ์ ทองหนัก
FW เกาหลีใต้ พัก ซัง-มย็อง
FW ไทย ชโนทัย คงเหม็ง (ยืมตัวจาก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)
DF ไทย ภูริณัฐ จรเทศ (ยืมตัวจาก เชียงใหม่ ยูไนเต็ด)
DF ไทย ชนพัฒน์ วงศ์คำ (ยืมตัวจาก เชียงใหม่ ยูไนเต็ด)
DF ไทย สิรดนัย แสงงาม (ยืมตัวจาก เชียงใหม่ ยูไนเต็ด)

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

[แก้]

ทีมงานสตาฟ

[แก้]

ทีมงานผู้ฝีกสอน

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร อนันต์ อมรเลิศศักดิ์
ผู้จัดการทีม ภูริทัต สืบภา
หัวหน้าผู้ฝึกสอน อมเรศ อมรเลิศศักดิ์
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน ทนงสักธิ์ ประจักกะตา
ผู้ฝีกสอนผู้รักษาประตู นิวัฒน์ วงษ์อารี
ผู้ฝีกสอนฟิตเนส ชัยวัฒน์ ปริสุทธิอมร
นักวิเคาะห์การแข่งขัน รอระบุ
ทีมแพทย์ประจำสโมสร รศ.นพ.ชนะการ พรพัฒน์กุล
นักกายภาพบำบัด ภัทรพงษ์ แก้วมหาวัน
พีระศักดิ์ มโนทา
เจ้าหน้าที่ทีม คเณศ ธนสุนทรสุทธิ์
เดชาธร มานะลี
ฌานุภัส วิสุทธิไพบูลย์
ธนากร อาษาสิงห์
พชรพร จันทร์วัฒนภัณฑ์
อิทธิศักดิ์ เสนาคบุตร

ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

สโมสรพันธมิตร

[แก้]

พันธมิตรในประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]