ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 48

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คิงส์คัพ 2022
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพประเทศไทย ประเทศไทย
เมืองจังหวัดเชียงใหม่
วันที่22–25 กันยายน พ.ศ. 2565
ทีม(จาก 2 สมาพันธ์)
สถานที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (ใน 1 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศ ทาจิกิสถาน (สมัยที่ 1)
รองชนะเลิศ มาเลเซีย
อันดับที่ 3 ไทย
อันดับที่ 4 ตรินิแดดและโตเบโก
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน4
จำนวนประตู(2 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม36,207 (9,052 คนต่อนัด)
2019
2023

การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 48 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22–25 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 4 ทีม คือ ไทย (เจ้าภาพ), มาเลเซีย, ทาจิกิสถาน และ ตรินิแดดและโตเบโก

ทีมที่เข้าร่วม

[แก้]
ประเทศ สมาคม สมาพันธ์ อันดับโลกฟีฟ่า1 ผลงานที่ดีที่สุดครั้งที่ผ่านมา
 ไทย (เจ้าภาพ) เอฟเอ ไทยแลนด์ เอเอฟซี 111 ชนะเลิศ (15 สมัย; สมัยล่าสุด: 2017)
 มาเลเซีย เอฟเอเอ็ม เอเอฟซี 148 ชนะเลิศ (4 สมัย; สมัยล่าสุด: 1978)
 ทาจิกิสถาน เอฟเอฟที เอเอฟซี 109 ครั้งแรก
 ตรินิแดดและโตเบโก ทีทีเอฟเอ คอนคาแคฟ 101 ครั้งแรก
  • 1 อันดับโลกฟีฟ่า ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565[1]

สถานที่แข่งขัน

[แก้]

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เปิดให้จังหวัดที่มีความพร้อมเสนอแผนจัดการแข่งขันฟุตบอล International ‘A’ Match ตามปฏิทิน ฟีฟ่า เดย์ โดยให้ส่งเอกสารยื่นความจำนงภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565[2] โดยเบื้องต้นมี 3 สนามที่ถูกเสนอให้พิจารณาเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันครั้งนี้ คือ สนามกีฬาติณสูลานนท์ ในจังหวัดสงขลา, ลีโอ เชียงราย สเตเดียม ในจังหวัดเชียงราย และสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ในจังหวัดเชียงใหม่ สุดท้ายในวันที่ 27 กรกฎาคม สมาคมฯ จึงเลือกสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันครั้งนี้[3]

จังหวัดเชียงใหม่
สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
18°50′23″N 98°57′34″E / 18.83972°N 98.95944°E / 18.83972; 98.95944 (สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี)
ความจุ: 25,000 ที่นั่ง

ผู้เล่น

[แก้]

นัด

[แก้]

เวลาทั้งหมดเป็นเวลาท้องถิ่น, เวลาอินโดจีน (UTC+7)

กฎกติกาการแข่งขัน

[แก้]
  • 90 นาที
  • การดวลลูกโทษ ถ้าในกรณีที่จำเป็นโดยไม่มีการต่อเวลาพิเศษ
  • เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้สูงสุด 5 คน

สายการแข่งขัน

[แก้]
  รอบรองชนะเลิศ นัดชิงชนะเลิศ
22 กันยายน – เชียงใหม่
  ตรินิแดดและโตเบโก  1  
  ทาจิกิสถาน  2  
 
25 กันยายน – เชียงใหม่
      ทาจิกิสถาน
(ลูกโทษ)
 0 (3)
    มาเลเซีย  0 (0)
นัดชิงอันดับที่ 3
22 กันยายน – เชียงใหม่ 25 กันยายน – เชียงใหม่
  ไทย  1 (3)   ตรินิแดดและโตเบโก  1
  มาเลเซีย
(ลูกโทษ)
 1 (5)     ไทย  2

รอบรองชนะเลิศ

[แก้]

ไทย 1–1 มาเลเซีย
พรรษา ประตู 90+5' รายงาน Corbin-Ong ประตู 32'
ลูกโทษ
3–5

นัดชิงอันดับที่ 3

[แก้]

นัดชิงชนะเลิศ

[แก้]

อันดับการแข่งขัน

[แก้]
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน สรุปผลงาน
1  ทาจิกิสถาน 2 1 1 0 2 1 +1 4 แชมเปียนส์
2  มาเลเซีย 2 0 2 0 1 1 0 2 รองชนะเลิศ
3  ไทย (H) 2 1 1 0 3 2 +1 4 อันดับ 3
4  ตรินิแดดและโตเบโก 2 0 0 2 2 4 −2 0 อันดับ 4
แหล่งข้อมูล: ฟีฟ่า
(H) เจ้าภาพ

ชนะเลิศ

[แก้]
 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 48
ชนะเลิศ 

ทาจิกิสถาน
สมัยที่ 1

การถ่ายทอดสด

[แก้]
ประเทศ สถานีโทรทัศน์ สตรีมมิงอย่างเป็นทางการ อ้างอิง
 ไทย ไทยรัฐทีวี เอไอเอส เพลย์

อ้างอิง

[แก้]
  1. FIFA.com. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking - Ranking Table - FIFA.com". FIFA.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-08-25.
  2. สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2022-07-01). "สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดให้จังหวัดที่มีความพร้อมเสนอแผนจัดการแข่งขันฟุตบอล International 'A' Match ตามปฏิทิน ฟีฟ่า เดย์". fathailand.org. สืบค้นเมื่อ 2022-09-15.
  3. สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2022-07-27). ""เชียงใหม่" ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอล ฟีฟ่า เดย์ เดือนกันยายน". fathailand.org. สืบค้นเมื่อ 2022-09-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]