ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอไชยปราการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอไชยปราการ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chai Prakan
น้ำแม่ฝาง
น้ำแม่ฝาง
คำขวัญ: 
พระเจ้าพรหมสร้างเมือง รุ่งเรืองวัฒนธรรม
งามล้ำถ้ำตับเต่า เมืองเก่าไชยปราการ
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอไชยปราการ
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอไชยปราการ
พิกัด: 19°43′56″N 99°8′25″E / 19.73222°N 99.14028°E / 19.73222; 99.14028
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด510.9 ตร.กม. (197.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด50,729 คน
 • ความหนาแน่น99.29 คน/ตร.กม. (257.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50320
รหัสภูมิศาสตร์5021
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอไชยปราการ 717 หมู่ 2 ตำบลปงตำ อำเภอไชยปราการ
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ไชยปราการ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอไชยปราการมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ประวัติ

[แก้]

"ไชยปราการ" ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองไชยปราการเคยเป็นราชธานีของ อาณาจักรโยนกเชียงแสน (ล้านนา) มาก่อน ตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าพรหมกุมาร หรือพระเจ้าพรหมมหาราชพระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างเมืองขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1599 ตรงบริเวณลำแม่น้ำฝาง ฝากฝั่งด้านทิศตะวันออก ได้ขนานนามเมืองว่า "นครเวียงไชยปราการราชธานี" และพระเจ้าพรหมราชกุมาร ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อปี พ.ศ. 1600 เมืองไชยปราการนี้อยู่ห่างเมืองโยนกเชียงแสน หรือเมืองเวียงไชยบุรี – ศรีเชียงแสน เป็น ระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร (คือเมืองเชียงแสนกับเมืองฝางในปัจจุบัน)[1]

เมืองไชยปราการที่กล่าวถึงนี้ ศาสตราจารย์แคมแมน นักสำรวจโบราณวัตถุแห่ง มหาวิทยาลัยมลรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า เมืองไชยปราการที่พระเจ้าพรหม มหาราชทรงสร้างขึ้นนั้น มิใช่ตัวเมืองฝางในปัจจุบัน แต่เป็นริมแม่น้ำฝางด้านทิศตะวันออกอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่ข่า ทางทิศใต้ของอำเภอฝาง (เขตติดต่ออำเภอฝาง – อำเภอไชยปราการ) เมืองไชยปราการตั้งอยู่ห่าง อำเภอฝาง เป็นระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายหัวใจ เมืองไชยปราการเป็นเมืองร้างซึ่ง ปรากฏซากกำแพงเมือง ซุ้มประตู และซากพระราชวังอยู่โดยชัดแจ้ง ส่วนตัวเมืองฝางนั้น เป็นเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ภายหลัง

ต่อมาเมืองไชยปราการได้เสื่อมอำนาจลงเมื่อปี พ.ศ. 1702 พระยามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ผู้สร้างเมืองเชียงราย ได้ขยายอำนาจ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1893 ตรงบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง (ระมิงค์) เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความมั่นคงแข็งแรงกว่าเมืองอื่น ๆ และพระองค์ได้ขนานเมืองว่า เมืองเชียงใหม่ ดังนั้น เมืองไชยปราการจึงได้ถูกรวมเข้ากับเมืองฝางและอยู่ในเขตอำเภอฝาง[2]

ต่อมาในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เนื่องจากพื้นที่ทางทิศใต้ของอำเภอฝางมีปัญหาความห่างไกลจากศูนย์ราชการ จึงแยกพื้นที่ตำบลปงตำ ตำบลศรีดงเย็น ตำบลแม่ทะลบ และตำบลหนองบัว ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ใช้ชื่อว่า "ไชยปราการ"[3] ตามพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอ ณ บ้านท่า ตำบลปงตำ และเปิดใช้ที่ว่าการกิ่งอำเภอในวันที่ 1 มกราคม 2531 เมื่อพื้นที่มีความเจริญมากขึ้น พ.ศ. 2536 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งอำเภอ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ได้เสนอขอยกฐานะอำเภอไชยปราการในท้องที่อำเภอฝาง ซึ่งกรมการปกครองได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งอำเภอ (พ.ศ. 2536 - 2537) และแยกออกเป็นเอกเทศอย่างเป็นทางการจากอำเภอฝางในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537[4]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอไชยปราการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 44 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2566)[5]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2566)[5]
1. ปงตำ Pong Tam 8 7,842 7,842 (ทต. ไชยปราการ)
2. ศรีดงเย็น Si Dong Yen 18 17,493 5,847
11,646
(ทต. ไชยปราการ)
(อบต. ศรีดงเย็น)
3. แม่ทะลบ Mae Thalop 7 7,948 7,948 (อบต. แม่ทะลบ)
4. หนองบัว Nong Bua 11 17,446 1,829
15,617
(ทต. ไชยปราการ)
(ทต. หนองบัว)
รวม 44 50,729 31,135 (เทศบาล)
19,594 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอไชยปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลไชยปราการ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปงตำทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลศรีดงเย็นและตำบลหนองบัว
  • เทศบาลตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัว (นอกเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดงเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีดงเย็น (นอกเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทะลบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ทะลบทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

วัดถ้ำตับเต่า[6] บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 120 และ 121 แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดร่มรื่น มีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเต่า มีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเต่านี้แยกออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำผาขาว และถ้ำปัญเจค บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา มีน้ำตกหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่เส้นทางยังไม่สะดวกนัก เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างพัฒนาพื้นที่ น้ำตกที่เดินทางเข้าถึงสะดวกที่สุดคือ น้ำตกห้วยทรายขาว ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกับที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีแอ่งน้ำให้นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำได้แต่ในช่วงฤดูแล้งน้ำจะน้อยมาก จะมีน้ำเยอะช่วงเดือนพฤษภาคมแต่น้ำจะขุ่น น้ำจะใสช่วงหลังฝน ชั้นบนของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและมีทรายอยู่เนื่องจากน้ำพัดเอาทราย มาจากการกัดกร่อนของหินทราย ชั้นบน อากาศบริเวณน้ำตกชื้นจนทำให้มีมอสจับอยู่ มีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกแม่ฝางหลวง น้ำตกดอยเวียงผา น้ำตกห้วยหาน และจุดชมวิวดอยเวียงผา อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 583 ตารางกิโลเมตร สภาพป่าในพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ นอกจากนี้ยังมีป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าสนเขา นกที่พบ เช่น นกกินปลี และนกพญาไฟ สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่จะเป็นขนาดกลางและสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ กระรอก กระต่าย หมูป่า อีเห็น เก้ง เลียงผา เสือไฟ เม่น หมีควาย เป็นต้น

วัดพระเจ้าพรหมมหาราช (วัดป่าไม้แดง)

บ้านถ้ำง๊อบ[7] เป็นหมู่บ้านของอดีตทหารจีนคณะชาติ ที่ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมหมู่บ้านถ้ำง๊อบเป็นสถานที่ตั้งของกองทหารจีนคณะชาติ กองทัพที่ 3 หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กองพล 93" โดยมีนายพลหลี่ เหวิน ฮ้วน เป็นผู้นำ ก่อนที่กองกำลังทหารจีนคณะชาติจะได้อพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านถ้ำง๊อบแห่งนี้ สาเหตุมาจากจีนแผ่นดินใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงลัทธิการแกครองไปเป็นแบบคอมมิวนิตส์ ผู้นำของชาวจีนส่วนหนึ่งไม่สามารถทนต่อความกดขี่ของลัทธิคอมมิวนิตส์ได้ จึงได้อพยพพรรคพวกออกนอกประเทศ มาทางประเทศพม่า และเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยความเมตตากรุณาของรัฐบาลไทยและความเห็นอกเห็นใจจากประชาชนชาวไทย เมื่อ พ.ศ. 2495 ทำให้กลุ่มอดีตทหารจีนคณาชาติได้ตั้งหลักแหล่งเพื่อประกอบอาชีพอยู่บนดอยถ้ำง๊อบ โดยความควบคุมของ บก.04 กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม ในสมัยเมื่อปี พ.ศ. 2518 กลุ่มอดีตทหารจีนคณะชาติ กองทัพที่ 3 ได้ร่วมมือกับ รัฐบาลไทยดำเนินการสู้รบและต่อต้านผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิตส์ในเขตภาคเหนือจนได้รับความไว้วางใจและเห็นใจจากกองบัฐชาการทหารสูงสุดได้ให้ดอกาสอดีตทหารจีนคณะชาติที่ร่วมสู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิตส์และไม่ประสงค์จะขอกลับไปประเทศไต้หวันตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้มีดอกาสโอนและแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย ซึ่งมีสิทธิและเสรีภาพภาพเหมือนคนไทยทุกประการ นาบพลหลี่ เหวิน ฮ้วน ผู้นำของอดีตทหารจีนคณะชาติ กองทัพที่ 3 ได้โอนสัญชาติเป็นคนไทยและมีชื่อว่า นายชัย ชัยศิริ ปัจจุบันบ้านถ้ำง๊อบมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มบ้าน คือบ้านสินชัย ผาแดง และบ้านถ้ำง๊อบ

วัดถ้ำผาผึ้ง เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานในถ้ำ มีพื้นที่ร่มรื่น สงบ ร่มเย็นมีมหาเจดีย์อรุสรณ์ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่บุญจันทร์ จนทวโร สร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือน ของหลวงปู่บุญจันทร์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานและเป็นสถานที่เก็บของใช้ส่วนตัว ของท่านหลวงปู่ ซึ่งเป็นนักปฏิบัติสายพระอาจารย์มั่น ถือว่าเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตั้งอยู่ ณ บ้านถ้ำผาผึ้ง

ฮิโนกิแลนด์ (Hinoki land)[8] อาณาจักรไม้ฮิโนกิแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย เปิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พื้นที่กว่า 100 ไร่ สร้างเป็นเมืองจำลองแบบญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยการประดับตกแต่งอย่างโคมแดงขนาดยักษ์แบบวัดอาซากุสะที่โตเกียว เสาแดงโทริอิเหมือนที่[วัดฟูชิมิอินาริที่เกียวโต ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ปราสาทฮิโนกิ สร้างจากไม้หอมทั้งหลัง ขนาดสูง 4 ชั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติเมืองไชยปราการ". องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  2. "ประวัติเมืองเก่าไชยปราการ". ประวัติเมืองเก่าไชยปราการ.ไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอไชยปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (5 ง): 107. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2531
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
  5. 5.0 5.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.
  6. ถ้ำตับเตา มากเรื่องราวธรรมชาติและประวัติศาสตร์
  7. "หมู่บ้านถ้ำง๊อบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-11. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11.
  8. ฮิโนกิแลนด์ เบื้องหลังแลนด์มาร์กเมืองญี่ปุ่นกลางหุบเขาในเชียงใหม่