รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นปกครองโดยจักรพรรดิตั้งแต่สมัยโบราณ ลำดับ ตำแหน่ง และวันที่ของจักรพรรดิในยุคแรกเกือบทั้งหมดอิงตามนิฮงโชกิในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ซึ่งมีจุดประสงค์ทำให้ราชวงศ์ถูกต้องตามกฎหมายย้อนหลังด้วยการระบุวันก่อตั้งย้อนหลังไปถึง 660 ปีก่อนคริสตกาล[1][2][3] มีทฤษฎีหลายประการเกี่ยวกับผู้ปกครองญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ผู้ที่น่าสังเกตได้แก่ จักรพรรดิยูเรียกุ (ครองราชย์ ค.ศ. 456–479) และจักรพรรดิคิมเม (ครองราชย์ ค.ศ. 539–571) กับพระองค์อื่น ๆ[4][5]
คำว่า เท็นโน ('จักรพรรดิ', 天皇) กับ นิฮง ('ญี่ปุ่น', 日本) ยังไม่ปรากฏใช้จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7[6][2] ในระบบเน็งโงที่ใช้งานมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ปีต่าง ๆ นับโดยใช้ชื่อศักราชญี่ปุ่น และจำนวนปีที่ผ่านไปนับตั้งแต่เริ่มต้น"เน็งโง"ใหม่[7]
จักรพรรดิและจักรพรรดินีญี่ปุ่น
[แก้]ลำดับ | พระบรมสาทิสลักษณ์/ พระบรมฉายาลักษณ์ |
พระนามส่วนพระองค์ | พระปัจฉามรณนาม | รัชสมัยและชื่อศักราช[8][9][i] | รายละเอียดพระชนม์ชีพ |
---|---|---|---|---|---|
1 | ฮิโกโฮโฮเดมิ 彦火火出見 |
จักรพรรดิจิมมุ 神武天皇 |
660–585 ปีก่อน ค.ศ. (75 ปี) |
721 หรือ 711–585 ปีก่อน ค.ศ. (126 หรือ 136 พรรษา) พระโอรสในคามิอูงายาฟูกิอาเอซุ อ้างว่าสืบเชื้อสายจากเทพีสุริยะ อามาเตราซุ ทรงเอาชนะนางาซูเนฮิโกะในการสำรวจทางตะวันออกเพื่อขึ้นเป็นจักรพรรดิ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[11] | |
2 | คามูนูนากาวามิมิ 神渟名川耳 |
จักรพรรดิซูอิเซ 綏靖天皇 |
581–549 ปีก่อน ค.ศ. (32 ปี) |
632–549 ปีก่อน ค.ศ. (83 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิจิมมุ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[12] | |
3 | ชิกิตสึฮิโกตามาเตมิ 磯城津彦玉手看 |
จักรพรรดิอันเน 安寧天皇 |
549–511 ปีก่อน ค.ศ. (37 ปี) |
567–511 ปีก่อน ค.ศ. (56 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิซูอิเซ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[13] | |
4 | โอยามาโตฮิโกซูกิโตโมะ 大日本彦耜友 |
จักรพรรดิอิโตกุ 懿徳天皇 |
510–477 ปีก่อน ค.ศ. (33 ปี) |
553–477 ปีก่อน ค.ศ. (76 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิอันเน สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[14] | |
5 | มินัตสึฮิโกกาเอชิเนะ 観松彦香殖稲 |
จักรพรรดิโคโช 孝昭天皇 |
475–393 ปีก่อน ค.ศ. (82 ปี) |
506–393 ปีก่อน ค.ศ. (113 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิอิโตกุ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[15] | |
6 | ยามาโตตาราชิฮิโกกูนิโอชิฮิโตะ 日本足彦国押人 |
จักรพรรดิโคอัง 孝安天皇 |
392–291 ปีก่อน ค.ศ. (101 ปี) |
427–291 ปีก่อน ค.ศ. (136 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคโช สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[16] | |
7 | โอยามาโตเนโกฮิโกฟูโตนิ 大日本根子彦太瓊 |
จักรพรรดิโคเร 孝霊天皇 |
290–215 ปีก่อน ค.ศ. (75 ปี) |
342–215 ปีก่อน ค.ศ. (127 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคอัง สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[17] | |
8 | โอยามาโตเนโกฮิโกกูนิกูรุ 大日本根子彦国牽 |
จักรพรรดิโคเง็ง 孝元天皇 |
214–158 ปีก่อน ค.ศ. (56 ปี) |
273–158 ปีก่อน ค.ศ. (115 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคเร สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[18] | |
9 | วากายามาโตะ เนโกฮิโกะ โอบิบิ 稚日本根子彦大日日 |
จักรพรรดิไคกะ 開化天皇 |
157–98 ปีก่อน ค.ศ. (59 ปี) |
208–98 ปีก่อน ค.ศ. (110 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคเง็ง สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[19] | |
10 | มามากิ 御間城 |
จักรพรรดิซูจิง 崇神天皇 |
97–30 ปีก่อน ค.ศ. (67 ปี) |
148–30 ปีก่อน ค.ศ. (118 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิไคกะ จักรพรรดิพระองค์แรกที่มีความเป็นไปได้ว่ามีอยู่จริง[20] ยังคงสันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[21] | |
11 | อิกูเมะ 活目 |
จักรพรรดิซูอินิง 垂仁天皇 |
29 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 70 (99 ปี) |
69 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 70 (127 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิซูจิง สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[22] | |
12 | โอตาราชิฮิโกะ 大足彦 |
จักรพรรดิเคโก 景行天皇 |
ค.ศ. 71–130 (59 ปี) |
13 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 130 (143 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิซูอินิง สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[23] | |
13 | วากาตาราชิฮิโกะ 稚足彦 |
จักรพรรดิเซมุ 成務天皇 |
ค.ศ. 131–190 (59 ปี) |
ค.ศ. 84–190 (106 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเคโก สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[24] | |
14 | ทาราชินากัตสึฮิโกะ 足仲彦 |
จักรพรรดิชูไอ 仲哀天皇 |
ค.ศ. 192–200 (8 ปี) |
ค.ศ. 149–200 (51 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิเคโก พระราชนัดดาในจักรพรรดิเซมุ จักรพรรดิองค์แรกที่ขึ้นครองราชย์โดยไม่ได้เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิองค์ก่อนหน้า สวรรคตขณะทำการทัพต่อเผ่าคูมาโซะ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[25] | |
– | โอกินางาตาราชิ 息長帯比売 |
จักรพรรดินีจิงงู 神功皇后 |
ค.ศ. 201–269 (68 ปี) |
ค.ศ. 170–269 (99 พรรษา) พระมเหสีของจักรพรรดิชูไอ; พระราชมารดาและผู้สำเร็จราชการของจักรพรรดิโอจิง ไม่นับรวมในรายพระนามจักรพรรดิที่นับอย่างเป็นทางการ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[26] | |
15 | โฮมูตาวาเกะ 誉田別 |
จักรพรรดิโอจิง 応神天皇 |
ค.ศ. 270–310 (40 ปี) |
ค.ศ. 201–310 (109 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิชูไอกับจักรพรรดินีจิงงู เลื่อนสถานะเป็นเทพเจ้าในชินโตและศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นในฐานะ ฮาจิมัง สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[27] | |
16 | โอโฮซาซากิ 大鷦鷯 |
จักรพรรดินินโตกุ 仁徳天皇 |
ค.ศ. 313–399 (86 ปี) |
ค.ศ. 290–399 (108–109 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโอจิง สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[28] | |
17 | โอเอโนอิซาโฮวาเกะ 大兄去来穂別 |
จักรพรรดิริจู 履中天皇 |
ค.ศ. 400–405 (5 ปี) |
ค.ศ. 336–405 (69 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดินินโตกุ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[29] | |
18 | มิซูฮาวาเกะ 瑞歯別 |
จักรพรรดิฮันเซ 反正天皇 |
ค.ศ. 406–410 (5 ปี) |
ค.ศ. 352–411 (59 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดินินโตกุ พระอนุชาในจักรพรรดิริจู สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[30] | |
19 | โออาซัตสึมะ วากูโงะ โนะ ซูกูเนะ 雄朝津間稚子宿禰 |
จักรพรรดิอิงเงียว 允恭天皇 |
ค.ศ. 411–453 (42 ปี) |
ค.ศ. 376–453 (77 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดินินโตกุ พระอนุชาในจักรพรรดิริจูกับจักรพรรดิฮันเซ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[31] | |
20 | อานาโฮะ 穴穂 |
จักรพรรดิอังโก 安康天皇 |
ค.ศ. 453–456 (3 ปี) |
ค.ศ. 401–456 (55 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิอิงเงียว ถูกเจ้าชายมาโยวะลอบปลงพระชนม์ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[32] | |
21 | โอฮัตสึเซะ โนะ วากาตาเกรุ 大泊瀬稚武 |
จักรพรรดิยูเรียกุ 雄略天皇 |
ค.ศ. 456–479 (23 ปี) |
ค.ศ. 418–479 (61 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิอิงเงียว พระอนุชาในจักรพรรพดิอังโก สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[33] | |
22 | ชิรากะ 白髪 |
จักรพรรดิเซเน 清寧天皇 |
ค.ศ. 480–484 (4 ปี) |
ค.ศ. 444–484 (40 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิยูเรียกุ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[34] | |
23 | โวเกะ 弘計 |
จักรพรรดิเค็นโซ 顕宗天皇 |
ค.ศ. 485–487 (2 ปี) |
ค.ศ. 450–487 (37 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิริจู ลูกพี่ลูกน้องและพระราชโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิเซเน สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[35] | |
24 | โอเกะ 億計 |
จักรพรรดินิงเก็ง 仁賢天皇 |
ค.ศ. 488–498 (10 ปี) |
ค.ศ. 448–498 (50 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิริจู ลูกพี่ลูกน้องและพระราชโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิเซเน พระเชษฐาในจักรพรรดิเค็นโซ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[36] | |
25 | โอฮัตสึเซะ โนะ วากาซาซากิ 小泊瀬稚鷦鷯 |
จักรพรรดิบูเร็ตสึ 武烈天皇 |
ค.ศ. 499–506 (7 ปี) |
ค.ศ. 489–506 (17 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดินิงเก็ง สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[37] | |
26 | โอโฮโดะ[ii] 袁本杼 |
จักรพรรดิเคไต 継体天皇 |
ค.ศ. 507–531 (24 ปี) |
ค.ศ. 450–531 (81 พรรษา) พระราชนัดดารุ่นที่ 5 ของจักรพรรดิโอจิง กลายเป็นจักรพรรดิตามคำแนะนำของโอโตโมะ โนะ คานามูระ อาจเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[38][39] | |
27 | มางาริ 勾 |
จักรพรรดิอังกัง 安閑天皇 |
ค.ศ. 534–535 (1 ปี) |
ค.ศ. 466–535 (69 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเคไต สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[40] | |
28 | ฮิโนกูมะ-โนะ-ทากาตะ 檜隈高田 |
จักรพรรดิเซ็งกะ 宣化天皇 |
ค.ศ. 536–539 (3 ปี) |
ค.ศ. 467–539 (72 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเคไต พรอนุชาในจักรพรรดิอังกัง สันนิษฐานว่าเป็นตำนาน[41] | |
29 | อาเมกูนิโอชิฮารากิฮิโรนิวะ 天国排開広庭 |
จักรพรรดิคิมเม 欽明天皇 |
ค.ศ. 540–571 (31 ปี) |
ค.ศ. 509–571 (62 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเคไต พระอนุชาในจักรพรรดิอังกังกับจักรพรรดิเซ็งกะ จักรพรรดิองค์แรกที่พิสูจน์ประวัติศาสตร์ได้[5][42] | |
30 | นูนากูระ โนะ ฟูโตตามาชิกิ 渟中倉太珠敷 |
จักรพรรดิบิดัตสึ 敏達天皇 |
ค.ศ. 572–585 (13 ปี) |
ค.ศ. 538–585 (47 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิคิมเม[43] | |
31 | ทาจิบานะ โนะ โทโยฮิ 橘豊日 |
จักรพรรดิโยเม 用明天皇 |
ค.ศ. 586–587 (1 ปี) |
ค.ศ. 517–587 (70 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิคิมเม พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดิบิดัตสึ[44] | |
32 | ฮัตสึเซเบะ 泊瀬部 |
จักรพรรดิซูชุง 崇峻天皇 |
ค.ศ. 588–592 (4 ปี) |
ค.ศ. 522–592 (70 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิคิมเม พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดิบิดัตสึกับจักรพรรดิโยเม โซงะ โนะ อูมาโกะแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดิหลังความขัดแย้งโซงะ–โมโนโนเบะ ถูกปลงพระชนม์โดยยามาโตโนอายะ โนะ โคมะ ตามคำสั่งของโซงะ โนะ อูมาโกะ[45] | |
33 | นูกาตาเบะ 額田部 |
จักรพรรดินีซูอิโกะ 推古天皇 |
ค.ศ. 593–628 (35 ปี) |
ค.ศ. 554–628 (74 พรรษา) พระราชธิดาในจักรพรดริคิมเม พระกนิษฐภคินีร่วมพระราชบิดาและพระมเหสีในจักรพรรดิบิดัตสึ กษัตริย์หญิงที่ไม่ใช่ตำนานองค์แรก เจ้าชายโชโตกุทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน[46] | |
34 | ทามูระ 田村 |
จักรพรรดิโจเม 舒明天皇 |
ค.ศ. 629–641 (12 ปี) |
ค.ศ. 593–641 (48 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิบิดัตสึ พระราชนัดดาองค์โตในจักรพรรดินีซูอิโกะ[47] | |
35 | ทาการะ 宝 |
จักรพรรดินีโคเงียวกุ 皇極天皇 |
ค.ศ. 642–645 (3 ปี) |
ค.ศ. 594–661 (67 พรรษา) พระราชปนัดดาในจักรพรรดิบิดัตสึ พระมเหสีในจักรพรรดิโจเม ครองราชย์ครั้งแรก สละราชสมบัติตามผลจากอุบัติการณ์อิชชิ[48] | |
36 | คารุ 軽 |
จักรพรรดิโคโตกุ 孝徳天皇 |
ค.ศ. 645–654 (9 ปี) ไทกะ, ฮากูจิ |
ค.ศ. 597–654 (57 พรรษา) พระราชปนัดดาในจักรพรรดิบิดัตสึ พระอนุชาในจักรพรรดิโคเงียวกุ ตั้งชื่อศักราชแรก[49] | |
37 | ทาการะ 宝 |
จักรพรรดินีไซเม 斉明天皇 |
ค.ศ. 655–661 (6 ปี) |
ค.ศ. 594–661 (67 พรรษา) พระเชษฐภคินีในจักรพรรดิโคโตกุ ก่อนหน้านั้นครองราชย์เป็นจักรพรรดินีโคเงียวกุ ครองราชย์ครั้งที่ 2[50] | |
38 | คาซูรากิ 葛城 |
จักรพรรดิเท็นจิ 天智天皇 |
ค.ศ. 662–672 (10 ปี) |
ค.ศ. 626–672 (46 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโจเมกับจักรพรดริโคเงียวกุ[51] | |
39 | โอโตโมะ[iii] 大友 |
จักรพรรดิโคบุง 弘文天皇 |
ค.ศ. 672 (8 เดือน) |
ค.ศ. 648–672 (24 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรเท้นจิ ถูกถอดถอนและทรงพระราชอัตวินิบาตกรรมในช่วงสงครามจินชิน ไม่ได้รับการรับรองเป็นจักรพรรดิจนกระทั่ง ค.ศ. 1870[52] | |
40 | โออามะ 大海人 |
จักรพรรดิเท็มมุ 天武天皇 |
ค.ศ. 673–686 (14 ปี) ชูโจ |
ค.ศ. 622–686 (56 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโจเมกับจักรพรรดินีโคเงียวกุ พระอนุชาในจักรพรรดิเท็นจิ ทรงถอดถอนจักรพรรดิโคบุง พระราชนัดดา ในช่วงสงครามจินชิน[53] | |
41 | อูโนโนซาราระ[iv] 鸕野讚良 |
จักรพรรดินีจิโต 持統天皇 |
ค.ศ. 687–697 (10 ปี)[v] |
ค.ศ. 646–703 (57 พรรษา) พระราชธิดาในจักรพรรดิเท็นจิ พระราชนัดดาและพระมเหสีในจักรพรรดิเท็มมุ สละราชสมบัติ[55] | |
42 | คารุ[vi] 珂瑠 |
จักรพรรดิมมมุ 文武天皇 |
ค.ศ. 697–707 (10 ปี) ไทโฮ, เคอุง |
ค.ศ. 683–707 (24 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิเท็มมุกับจักรพรรดินีจิโต[56] | |
43 | อาเฮะ[vii] 阿閇 |
จักรพรรดินีเก็มเม 元明天皇 |
ค.ศ. 707–715 (8 ปี) เคอุง, วาโด |
ค.ศ. 660–721 (61 พรรษา) พระราชธิดาในจักรพรรดิเท็นจิ พระกนิษฐภคินีร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดินีจิโต พระราชมารดาในจักรพรรดิมมมุ สละราชสมบัติ[57] | |
44 | ฮิดากะ[viii] 氷高 |
จักรพรรดินีเก็นโช 元正天皇 |
ค.ศ. 715–724 (9 ปี) เรกิ, โยโร |
ค.ศ. 681–748 (67 พรรษา) พระราชธิดาในจักรพรรดินีเก็มเม พระเชษฐภคินีในจักรพรรดิมมมุ เป็นตัวอย่างจักรพรรดินีผู้ครองราชย์พระองค์เดียวที่สืบราชบัลลังก์จากจักรพรรดินีผู้ครองราชย์อีกพระองค์หนึ่ง สละราชสมบัติ[58] | |
45 | โอบิโตะ 首 |
จักรพรรดิโชมุ 聖武天皇 |
ค.ศ. 724–749 (25 ปี) จินกิ, เท็มเปียว, เท็มเปียว-คัมโป |
ค.ศ. 699–756 (57 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิมมมุ พระราชนัดดาในจักรพรรดินีเก็นโช สละราชสมบัติ[59] | |
46 | อาเบะ 阿倍 |
จักรพรรดินีโคเก็ง 孝謙天皇 |
ค.ศ. 749–758 (9 ปี) เท็มเปียว-คัมโป, เท็มเปียว-โชโฮ, เท็มเปียว-โฮจิ |
ค.ศ. 718–770 (52 พรรษา) พระราชธิดาในจักรพรรดิโชมุ ครองราชย์ครั้งแรก สละราชสมบัติ[60] | |
47 | โออิ 大炊 |
จักรพรรดิจุนนิง 淳仁天皇 |
ค.ศ. 758–764 (6 ปี) เท็มเปียว-โฮจิ |
ค.ศ. 733–765 (32 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิเท็มมุ ลูกพี่ลูกน้องของจักรพรรดินีโคเก็ง ถูกถอดถอน ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิหลังสวรรคตใน ค.ศ. 1870[61] | |
48 | อาเบะ 阿倍 |
จักรพรรดินีโชโตกุ 称徳天皇 |
ค.ศ. 764–770 (6 ปี) เท็มเปียว-โฮจิ, เท็มเปียว-จิงโงะ, จิงโงะ-เคอุง |
ค.ศ. 718–770 (52 พรรษา) ทรงถอดถอนจักรพรรดิจุนนิง ลูกพี่ลูกน้อง เคยครองราชย์ในฐานะจักรพรรดินีโคเก็ง ครองราชย์ครั้งที่ 2[62] | |
49 | ชิรากาเบะ 白壁 |
จักรพรรดิโคนิง 光仁天皇 |
ค.ศ. 770–781 (11 ปี) โฮกิ, เท็นโอ |
ค.ศ. 708–782 (73 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิเท็นจิ พระเทวันในจักรพรรดินีโชโตกุ สละราชสมบัติ[63] | |
50 | ยามาเบะ 山部 |
จักรพรรดิคัมมุ 桓武天皇 |
ค.ศ. 781–806 (25 ปี) เท็นโอ, เอ็นเรียกุ |
ค.ศ. 736–806 (70 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคนิง[64] | |
51 | อาเตะ 安殿 |
จักรพรรดิเฮเซ 平城天皇 |
ค.ศ. 806–809 (3 ปี) ไดโด |
ค.ศ. 773–824 (51 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิคัมมุ สละราชสมบัติ[65] | |
52 | คามิโนะ 神野 |
จักรพรรดิซางะ 嵯峨天皇 |
ค.ศ. 809–823 (14 ปี) ไดโด, โคนิง |
ค.ศ. 785–842 (57 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิคัมมุ พระอนุชาในจักรพรรดิเฮเซ สละราชสมบัติ[66] | |
53 | โอโตโมะ 大伴 |
จักรพรรดิจุนนะ 淳和天皇 |
ค.ศ. 823–833 (10 ปี) โคนิง, เท็นโจ |
ค.ศ. 786–840 (54 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิคัมมุ พระอนุชาในจักรพรรดิเฮเซและจักรพรรดิซางะ สละราชสมบัติ[67] | |
54 | มาซาระ 正良 |
จักรพรรดินิมเมียว 仁明天皇 |
ค.ศ. 833–850 (17 ปี) เท็นโจ, โจวะ, คาโช |
ค.ศ. 808–850 (41 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิซางะ พระราชนัดดาและพระราชโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิจุนนะ[68] | |
55 | มิจิยาซุ 道康 |
จักรพรรดิมนโตกุ 文徳天皇 |
ค.ศ. 850–858 (8 ปี) คาโช, นินจุ, ไซโก, เท็นอัง |
ค.ศ. 827–858 (31 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดินิมเมียว[69] | |
56 | โคเรฮิโตะ 惟仁 |
จักรพรรดิเซวะ 清和天皇 |
ค.ศ. 858–876 (18 ปี) เท็นอัง, โจงัง |
ค.ศ. 850–881 (30 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิมนโตกุ สละราชสมบัติ[70] | |
57 | ซาดาอากิระ 貞明 |
จักรพรรดิโยเซ 陽成天皇 |
ค.ศ. 876–884 (8 ปี) โจงัง, กังเงียว |
ค.ศ. 869–949 (80 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเซวะ ถูกถอดถอนโดยฟูจิวาระ โนะ โมตตสึเนะ[71] | |
58 | โทกิยาซุ 時康 |
จักรพรรดิโคโก 光孝天皇 |
ค.ศ. 884–887 (3 ปี) กังเงียว, นินนะ |
ค.ศ. 830–887 (57 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดินิมเมียว พระปิตุลาในจักรพรรดิโยเซ กลายเป็นจักรพรรดิตามคำแนะนำของฟูจิวาระ โนะ โมตตสึเนะ[72] | |
59 | ซาดามิ 定省 |
จักรพรรดิอูดะ 宇多天皇 |
ค.ศ. 887–897 (10 ปี) นินนะ, คัมเปียว |
ค.ศ. 866–931 (65 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคโก สละราชสมบัติ[73] | |
60 | อัตสึฮิโตะ[ix] 敦仁 |
จักรพรรดิไดโงะ 醍醐天皇 |
ค.ศ. 897–930 (33 ปี) คัมเปียว, โชไต, เอ็งงิ, เอ็นโจ |
ค.ศ. 884–930 (46 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิอูดะ สละราชสมบัติ[74] | |
61 | ยูตาอากิระ[x] 寛明 |
จักรพรรดิซูซากุ 朱雀天皇 |
ค.ศ. 930–946 (16 ปี) เอ็นโจ, โจเฮ, เท็งเงียว |
ค.ศ. 921–952 (30 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิไดโงะ สละราชสมบัติ[75] | |
62 | นาริอากิระ 成明 |
จักรพรรดิมูรากามิ 村上天皇 |
ค.ศ. 946–967 (21 ปี) เท็งเงียว, เท็นเรียกุ, เท็นโตกุ, โอวะ, โคโฮ |
ค.ศ. 924–967 (42 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิไดโงะ พระอนุชาในจักรพรรดิซูซากุ[76] | |
63 | โนริฮาระ 憲平 |
จักรพรรดิเรเซ 冷泉天皇 |
ค.ศ. 967–969 (2 ปี) โคโฮ, อันนะ |
ค.ศ. 949–1011 (62 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิมูรากามิ สละราชสมบัติ[77] | |
64 | โมริฮิระ 守平 |
จักรพรรดิเอ็นยู 円融天皇 |
ค.ศ. 969–984 (15 ปี) อันนะ, เท็นโรกุ, เท็นเอ็ง, โจเง็ง, เท็งเง็ง, เอกัง |
ค.ศ. 958–991 (32 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิมูรากามิ พระอนุชาในจักรพรรดิเรเซ สละราชสมบัติ[78] | |
65 | โมโรซาดะ 師貞 |
จักรพรรดิคาซัง 花山天皇 |
ค.ศ. 984–986 (2 ปี) เอกัง, คันนะ |
ค.ศ. 968–1008 (39 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเรเซ พระราชนัดดาในจักรพรรดิเอ็นยู สละราชสมบัติ[79] | |
66 | คาเนฮิโตะ 懐仁 |
จักรพรรดิอิจิโจ 一条天皇 |
ค.ศ. 986–1011 (25 ปี) คันนะ, เอเอ็ง, เอโซะ, โชเรียกึ, โชโตกุ, โชโฮ, คันโก |
ค.ศ. 980–1011 (31 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเอ็นยู สละราชสมบัติ[80] | |
67 | โอกิซาดะ[xi] 居貞 |
จักรพรรดิซันโจ 三条天皇 |
1011–1016 (5 ปี) คันโก, โชวะ |
ค.ศ. 975–1017 (42 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเรเซ พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดิคาซัง ลูกพี่ลูกน้องของจักรพรรดิอิจิโจ สละราชสมบัติ[81] | |
68 | อัตสึฮิระ[xii] 敦成 |
จักรพรรดิโกะ-อิจิโจ 後一条天皇 |
ค.ศ. 1016–1036 (20 ปี) โชวะ, คันนิง, จีอัง, มันจุ, โชเง็ง |
ค.ศ. 1008–1036 (27 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิอิจิจโจ ลูกพี่ลูกน้องของจักรพรรดิซันโจ[82] | |
69 | อัตสึนางะ 敦良 |
จักรพรรดิโกะ-ซูซากุ 後朱雀天皇 |
ค.ศ. 1036–1045 (9 ปี) โชเง็ง, โชเรียกุ, โชกีว, คันโตกุ |
ค.ศ. 1009–1045 (37 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิอิจิโจ พระอนุชาในจักรพรรดิโกะ-อิจิโจ สละราชสมบัติ[83] | |
70 | ชิกาฮิโตะ 親仁 |
จักรพรรดิโกะ-เรเซ 後冷泉天皇 |
ค.ศ. 1045–1068 (23 ปี) คันโตกุ, เอโช, เท็งงิ, โคเฮ, จิเรียกุ |
ค.ศ. 1025–1068 (42 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ซูซากุ[84] | |
71 | ทากาฮิโตะ 尊仁 |
จักรพรรดิโกะ-ซันโจ 後三条天皇 |
ค.ศ. 1068–1073 (5 ปี) จิเรียก, เอ็นกีว |
ค.ศ. 1032–1073 (40 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ซูซากุ พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดิโกะ-เรเซ สละราชสมบัติ[85] | |
72 | ซาดาฮิโตะ 貞仁 |
จักรพรรดิชิรากาวะ 白河天皇 |
ค.ศ. 1073–1087 (14 ปี) เอ็นกีว, โจโฮ, โจเรียกุ, เอโฮ, โอโตกุ |
ค.ศ. 1053–1129 (76 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ซันโจ สละราชสมบัติ[86] | |
73 | ทารูฮิโตะ[xiii] 善仁 |
จักรพรรดิโฮริกาวะ 堀河天皇 |
ค.ศ. 1087–1107 (20 ปี) คันจิ, คาโฮ, เอโช, โจโตกุ, โควะ, โชจิ, คาโจ |
ค.ศ. 1079–1107 (28 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิชิรากาวะ[87] | |
74 | มูเนฮิโตะ 宗仁 |
จักรพรรดิโทบะ 鳥羽天皇 |
ค.ศ. 1107–1123 (16 ปี) คาโจ, เท็นนิง, เท็นเอ, เอกีว, เก็นเอ, โฮอัง |
ค.ศ. 1103–1156 (53 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโฮริกาวะ ถูกจักรพรรดิชิรากาวะบังคับให้สละราชสมบัติ[88] | |
75 | อากิฮิโตะ 顕仁 |
จักรพรรดิซูโตกุ 崇徳天皇 |
ค.ศ. 1123–1142 (19 ปี) โฮอัง, เท็นจิ, ไดจิ, เท็นโช, โชโช, โฮเอ็ง, เอจิ |
ค.ศ. 1119–1164 (45 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโทบะ สละราชสมบัติ พยายามถอดถอนจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะในช่วงกบฏปีโฮเง็ง[89] | |
76 | นาริฮิโตะ 体仁 |
จักรพรรดิโคโนเอะ 近衛天皇 |
ค.ศ. 1142–1155 (13 ปี) เอจิ, โคจิ, เท็นโย, คีวอัง, นิมเป, คีวจุ |
ค.ศ. 1139–1155 (16 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโทบะ พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดิซูโตกุ[90] | |
77 | มาซาฮิโตะ 雅仁 |
จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ 後白河天皇 |
ค.ศ. 1155–1158 (3 ปี) คีวจุ, โฮเง็ง |
ค.ศ. 1127–1192 (64 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโทบะ พระอนุชาในจักรพรรดิซูโตกุ พระเชษฐาร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดิโคโนเอะ สละราชสมบัติ[91] | |
78 | โมริฮิโตะ 守仁 |
จักรพรรดินิโจ 二条天皇 |
ค.ศ. 1158–1165 (7 ปี) โฮเง็ง, เฮจิ, เอเรียกุ, โอโฮ, โชกัง |
ค.ศ. 1143–1165 (22 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ สละราชสมบัติ[92] | |
79 | โนบูฮิโตะ[xiv] 順仁 |
จักรพรรดิโรกูโจ 六条天皇 |
ค.ศ. 1165–1168 (3 ปี) โชกัง, เอมัง, นินอัง |
ค.ศ. 1164–1176 (11 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดินิโจ ถูกถอดถอนโดยจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ[93] | |
80 | โนริฮิโตะ[xv] 憲仁 |
จักรพรรดิทากากูระ 高倉天皇 |
ค.ศ. 1168–1180 (12 ปี) นินอัง, คาโอ, โจอัง, อังเง็ง, จิโช |
ค.ศ. 1161–1181 (19 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดินิโจ พระปิตุลาในจักรพรรดิโรกูโจ ถูกไทระ โนะ คิโยโมริบังคับให้สละราชสมบัติ[94] | |
81 | โทกิฮิโตะ[xvi] 言仁 |
จักรพรรดิอันโตกุ 安徳天皇 |
ค.ศ. 1180–1185 (5 ปึ) จิโช, โยวะ, จูเอ, เก็นเรียกุ |
ค.ศ. 1178–1185 (6 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิทากากูระ สวรรคตในยุทธนาวีที่ดันโนะอูระในช่วงสงครามเก็มเป[95] | |
82 | ทากาฮิระ[xvii] 尊成 |
จักรพรรดิโกะ-โทบะ 後鳥羽天皇 |
ค.ศ. 1183–1198 (15 ปี) จูเอ, เก็นเรียกุ, บุนจิ, เค็นกีว |
ค.ศ. 1180–1239 (58 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิทากากูระ พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดิอันโตกุ จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะสถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดิในช่วงสงครามเก็มเป รัฐโชกุนคามากูระเปลี่ยนจักรพรรดิเป็นหุ่นเชิด สละราชสมบัติ พยายามโค่นล้มรัฐบาลโชกุนคามากูระในช่วงสงครามปีโจกีว[96] | |
83 | ทาเมฮิโตะ 為仁 |
จักรพรรดิสึจิมิกาโดะ 土御門天皇 |
ค.ศ. 1198–1210 (12 ปี) เค็นกีว, โชจิ, เค็นนิง, เก็นกีว, เค็นเอ, โจเง็ง |
ค.ศ. 1196–1231 (35 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-โทบะ ถูกจักรพรรดิโกะ-โทบะโน้มน้าวให้สละราชสมบัติ ถูกเนรเทศหลังสงครามปีโจกีว[97] | |
84 | โมรินาริ 守成 |
จักรพรรดิจุนโตกุ 順徳天皇 |
ค.ศ. 1210–1221 (11 ปี) โจเง็ง, เค็นเรียกุ, เค็มโป, โจกีว |
ค.ศ. 1197–1242 (44 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-โทบะ; พระอนุชาร่วมพระราชยิดาในจักรพรรดิสึจิมิกาโดะ ถูกบังคับให้สละราชสมบัติหลังสงครามปีโจกีว[98] | |
85 | คาเนนาริ 懐成 |
จักรพรรดิชูเกียว 仲恭天皇 |
ค.ศ. 1221 (2 เดือน) โจกีว |
ค.ศ. 1218–1234 (15 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิจุนโตกุ ถูกถอดถอนและเนรเทศหลังสงครามปีโจกีว ได้รับการรับรองเป็นจักรพรรดิหลังสวรรคตใน ค.ศ. 1870[99] | |
86 | ยูตาฮิโตะ[xviii] 茂仁 |
จักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะ 後堀河天皇 |
ค.ศ. 1221–1232 (11 ปี) โจกีว, โจโอ, เก็นนิง, คาโรกุ, อันเต, คังงิ, โจเอ |
ค.ศ. 1212–1234 (22 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิทากากูระ พระราชโอรสของลูกพี่ลูกน้องของจักรพรรดิชูเกียว สละราชสมบัติ[100] | |
87 | มิตสึฮิโตะ[xix] 秀仁 |
จักรพรรดิชิโจ 四条天皇 |
ค.ศ. 1232–1242 (10 ปี) โจเอ, เท็มปูกุ, บุนเรียกุ, คาเต, เรียกูนิง, เอ็นโอ, นินจิ |
ค.ศ. 1231–1242 (10 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะ[101] | |
88 | คูนิฮิโตะ 邦仁 |
จักรพรรดิโกะ-ซางะ 後嵯峨天皇 |
ค.ศ. 1242–1246 (4 ปี) นินจิ, คังเง็ง |
ค.ศ. 1220–1272 (51 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิสึจิมิกาโดะ พระราชนัดดาของลูกพี่ลูกน้องของจักรพรรดิชิโจ สละราชสมบัติ[102] | |
89 | ฮิซาฮิโตะ 久仁 |
จักรพรรดิโกะ-ฟูกากูซะ 後深草天皇 |
ค.ศ. 1246–1260 (14 ปี) คังเง็ง, โฮจิ, เค็นโจ, โคเง็ง, โชกะ, โชเง็ง |
ค.ศ. 1243–1304 (61 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ซางะ มาจากสายจิเมียวอิง สละราชสมบัติตามคำเรียกร้องของจักรพรรดิโกะ-ซางะ[103] | |
90 | สึเนฮิโตะ 恒仁 |
จักรพรรดิคาเมยามะ 亀山天皇 |
ค.ศ. 1260–1274 (14 ปี) โชเง็ง, บุนโอ, โคโจ, บุนเอ |
ค.ศ. 1249–1305 (56 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ซางะ พระอนุชาในจักรพรรดิโกะ-ฟูกากูซะ จากสายไดกากูจิ สละราชสมบัติ[104] | |
91 | โยฮิโตะ 世仁 |
จักรพรรดิโกะ-อูดะ 後宇多天皇 |
1274–1287 (13 ปี) บุนเอ, เค็นจิ, โคอัง |
1267–1324 (56 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิคาเมยามะ จากสายไดกากูจิ ถูกจักรพรรดิโกะ-ฟูกากูซะบังคับให้สละราชสมบัติ[105] | |
92 | ฮิโรฮิโตะ 熈仁 |
จักรพรรดิฟูชิมิ 伏見天皇 |
ค.ศ. 1287–1298 (11 ปี) โคอัง, โชโอ, เอนิง |
ค.ศ. 1265–1317 (52 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ฟูกากูซะ จากสายจิเมียวอิง สละราชสมบัติ[106] | |
93 | ทาเนฮิโตะ 胤仁 |
จักรพรรดิโกะ-ฟูชิมิ 後伏見天皇 |
ค.ศ. 1298–1301 (3 ปี) เอนิง, โชอัง |
ค.ศ. 1288–1336 (48 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิฟูชิมิ จากสายจิเมียวอิง ถูกสายไดกากูจิบังคับให้สละราชสมบัติ ใช้งานวันที่แบบดั้งเดิม[107] | |
94 | คูนิฮารุ 邦治 |
จักรพรรดิโกะ-นิโจ 後二条天皇 |
ค.ศ. 1301–1308 (7 ปี) โชอัง, เค็งเง็ง, คาเง็ง, โทกูจิ |
ค.ศ. 1285–1308 (23 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-อูดะ จากสายไดกากูจิ[108] | |
95 | โทมิฮิโตะ 富仁 |
จักรพรรดิฮานาโซโนะ 花園天皇 |
ค.ศ. 1308–1318 (10 ปี) เอ็นเกียว, โอโจ, โชวะ, บุมโป |
ค.ศ. 1297–1348 (51 years) พระราชโอรสในจักรพรรดิฟูชิมิ จากสายจิเมียวอิง ยอมรับให้สลับกันครองบัลลังก์ระหว่างสายไดกากูจิและสายจิเมียวอิง[109] | |
96 | ทากาฮารุ 尊治 |
จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ 後醍醐天皇 |
ค.ศ. 1318–1339 (21 ปี) บุมโป, เก็นโอ, เก็นโก, โชจู, คาเรียกุ, เก็นโตกุ, เก็นโก, เค็มมุ, เอ็งเง็ง |
ค.ศ. 1288–1339 (50 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-อูดะ พระอนุชาในจักรพรรดิโกะ-นิโจ จากสายไดกากูจิ รัฐโชกุนคามากูระสิ้นสุดลงในสงครามปีเก็งโก ราชสำนักมีอำนาจชั่วคราวในช่วงการฟื้นฟูเค็มมุ ต่อต้านรัฐโชกุนอาชิกางะ กลายเป็นจักรพรดริองค์แรกในราชสำนักใต้[110] | |
97 | โนริโยชิ[xx] 義良 |
จักรพรรดิโกะ-มูรากามิ 後村上天皇 |
ค.ศ. 1339–1368 (29 ปี) เอ็งเง็ง, โคโกกุ, โชเฮ |
ค.ศ. 1328–1368 (40 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ จักรพรรดิองค์ที่ 2 ในราชสำนักใต้ ราชสำนักใต้เข้ายึดเกียวโต เมืองหลวงของราชสำนักเหนือเพียงชั่วครู่ในช่วงการก่อความวุ่นวายคันโน[111] | |
98 | ยูตานาริ 寛成 |
จักรพรรดิโชเก 長慶天皇 |
ค.ศ. 1368–1383 (15 ปี) โชเฮ, เค็นโตกุ, บุนจู, เท็นจุ, โควะ |
ค.ศ. 1343–1394 (51 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-มูรากามิ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ในราชสำนักใต้ สละราชสมบัติ[112] | |
99 | ฮิโรนาริ 熙成 |
จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะ 後亀山天皇 |
1383–1392 (9 ปี) โควะ, เก็นจู |
ป. 1347–1424 (ป. 77 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-มูรากามิ พระอนุชาในจักรพรรดิโชเก จักรพรรดิองค์ที่ 4 และองค์สุดท้ายในราชสำนักใต้ ตกลงสงบศึกกับราชสำนักเหนือ สละราชสมบัติให้แก่ราชสำนักเหนือ[113] | |
(1) | คาซูฮิโตะ 量仁 |
จักรพรรดิโคงง 光厳天皇 |
ค.ศ. 1331–1333 (2 ปี) เก็นโตกุ, โชเกียว |
ค.ศ. 1313–1364 (51 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ฟูชิมิ พระราชนัดดาและพระราชโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิฮานาโซโนะ จากสายจิเมียวอิง รัฐโชกุนคามากูระแต่งตั้งให้พระองค์เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งราชสำนักเหนือในช่วงสงครามปีเก็งโก ถูกจักรพรรดิโกะ-ไดโงะจากสายไดกากูจิถอดถอน ราชสำนักใต้เข้าจับตัวในช่วงการก่อความวุ่นวายคันโน[114] | |
(2) | ยูตาฮิโตะ 豊仁 |
จักรพรรดิโคเมียว 光明天皇 |
ค.ศ. 1336–1348 (12 ปี) เค็มมุ, เรียกูโอ, โคเอ, โจวะ |
ค.ศ. 1322–1380 (58 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ฟูชิมิ พระอนุชาในจักรพรรดิโคงง รัฐโชกุนอาชิกางะแต่งตั้งให้พระองค์เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชสำนักเหนือ สละราชสมบัติ ถูกราชสำนักใต้เข้าจับตัวในช่วงการก่อความวุ่นวายคันโน[115] | |
(3) | โอกิฮิโตะ[xxi] 興仁 |
จักรพรรดิซูโก 崇光天皇 |
ค.ศ. 1348–1351 (3 ปี) โจวะ, คันโน |
ค.ศ. 1334–1398 (64 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคงง พระราชนัดดาในจักรพรรดิโคเมียว จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชสำนักเหนือ สละราชสมบัติ ถูกราชสำนักใต้เข้าจับตัวในช่วงการก่อความวุ่นวายคันโน[116] | |
(4) | อิยาฮิโตะ 彌仁 |
จักรพรรดิโกะ-โคงง 後光厳天皇 |
ค.ศ. 1352–1371 (19 ปี) นุนนะ, โคอัง, โจจิ, โออัง |
ค.ศ. 1338–1374 (36 years) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคงง พระอนุชาในจักรพรรดิซูโก กลานเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชสำนักเหนือหลังการก่อความวุ่นวายคันโน. สละราชสมบัติ[117] | |
(5) | โอฮิโตะ 緒仁 |
จักรพรรดิโกะ-เอ็นยู 後円融天皇 |
ค.ศ. 1371–1382 (11 ปี) โออัง, เอวะ, โคเรียกุ, เอโตกุ |
ค.ศ. 1359–1393 (34 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-โคงง จักรพรรดิองค์ที่ 5 แห่งราชสำนักเหนือ สละราชสมบัติให้แก่จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ[118] | |
(6) | โมโตฮิโตะ 幹仁 |
จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ[xxii] 後小松天皇 |
ค.ศ. 1382–1392 (10 ปี) เอโตกุ, ชิโตกุ, คาเก, โคโอ, เมโตกุ |
ค.ศ. 1377–1433 (56 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-เอ็นยู จักรพรรดิองค์ที่ 6 และองค์สุดท้ายใยราชสำนักเหนือใน ค.ศ. 1382 ถึง 1392 กลายเป็นจักรพรรดิที่ถูกต้องตามกฎหมายหลังจักรพรรดิโกะ-คาเมยามะสละราชสมบัติ ยอมรับให้ราชสำนักเหนือและใต้สลับกันควบคุมบัลลังก์ จักรพรรดิทั้งหมดหลังจากพระองค์มาจากฝ่ายเหนือ[119][120] | |
100 | ค.ศ. 1392–1412 (20 พรรษา) เมโตกุ, โอเอ | ||||
101 | มิฮิโตะ[xxiii] 実仁 |
จักรพรรดิโชโก 称光天皇 |
ค.ศ. 1412–1428 (16 ปี) โอเอ, โชโจ |
ค.ศ. 1401–1428 (27 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ[121] | |
102 | ฮิโกฮิโตะ 彦仁 |
จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ 後花園天皇 |
ค.ศ. 1428–1464 (36 ปี) โชโจ, เอเกียว, คากิตสึ, บุนอัง, โฮโตกุ, เคียวโตกุ, โคโช, โชโรกุ, คันโช |
ค.ศ. 1419–1471 (51 พรรษา) พระราชปนัดดาในจักรพรรดิฝ่ายเหนือซูโก; พระราชปนัดดาของลูกพี่ลูกน้องของจักรพรรดิโชโก สละราชสมบัติ ใช้งานวันที่แบบดั้งเดิม[122] | |
103 | ฟูซาฮิโตะ 成仁 |
จักรพรรดิโกะ-สึจิมิกาโดะ 後土御門天皇 |
ค.ศ. 1464–1500 (36 ปี) คันโช, บุนโช, โอนิง, บุมเม, โชเกียว, เอ็นโตกุ, เมโอ |
ค.ศ. 1442–1500 (58 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ สงครามโอนิงนำไปสู่จุดเริ่มต้นยุคเซ็งโงกุ[123] | |
104 | คัตสึฮิโตะ 勝仁 |
จักรพรรดิโกะ-คาชิวาบาระ[xxiv] 後柏原天皇 |
ค.ศ. 1500–1526 (26 ปี) เมโอ, บุนกิ, ไดเอ |
ค.ศ. 1462–1526 (64 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-สึจิิกาโดะ พระราชอำนาจในรัฐโชกุนอาชิกางะอยู่ในช่วงต่ำสุด[124] | |
105 | โทโมฮิโตะ 知仁 |
จักรพรรดิโกะ-นาระ[xxv] 後奈良天皇 |
ค.ศ. 1526–1557 (31 ปี) ไดเอ, เคียวโรกุ, เท็มบุง, โคจิ |
ค.ศ. 1495–1557 (62 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-คาชิวาบาระ[125] | |
106 | มิจิฮิโตะ 方仁 |
จักรพรรดิโองิมาจิ 正親町天皇 |
ค.ศ. 1557–1586 (29 ปี) โคจิ, เอโรกุ, เก็นกิ, เท็นโช |
ค.ศ. 1517–1593 (76 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-นาระ โอดะ โนบูนางะโค่นล้มรัฐโชกุนอาชิกางะ สละราชสมบัติ[126] | |
107 | คาตาฮิโตะ[xxvi] 周仁 |
จักรพรรดิโกะ-โยเซ 後陽成天皇 |
ค.ศ. 1586–1611 (25 ปี) เท็นโช, บุนโรกุ, เคโจ |
ค.ศ. 1571–1617 (46 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิโองิมาจิ สถาปนารัฐโชกุนโทกูงาวะ ยุคเซ็งโงกุสิ้นสุดลง[127] | |
108 | โคโตฮิโตะ[xxvii] 政仁 |
จักรพรรดิโกะ-มิซูโน[xxviii] 後水尾天皇 |
ค.ศ. 1611–1629 (18 ปี) เคโจ, เก็นนะ, คันเอ |
ค.ศ. 1596–1680 (84 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-โยเซ ญี่ปุ่นเริ่มใช้นโยบายโดดเดี่ยว เหตุการณ์เสื้อคลุมม่วงนำไปสู่การสละราชสมบัติ[128] | |
109 | โอกิโกะ 興子 |
จักรพรรดินีเมโช 明正天皇 |
ค.ศ. 1629–1643 (14 ปี) คันเอ |
ค.ศ. 1624–1696 (72 พรรษา) พระราชธิดาในจักรพรรดิโกะ-มิซูโน สละราชสมบัติ[129] | |
110 | สึงูฮิโตะ 紹仁 |
จักรพรรดิโกะ-โคเมียว 後光明天皇 |
ค.ศ. 1643–1654 (11 ปี) คันเอ, โชโฮ, เคอัง, โจโอ |
ค.ศ. 1633–1654 (21 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-มิซูโน พระอนุชาในจักรพรรดินีเมโช[130] | |
111 | นางาฮิโตะ[xxix] 良仁 |
จักรพรรดิโกะ-ไซ[xxx] 後西天皇 |
ค.ศ. 1655–1663 (8 ปี) โจโอ, เมเรกิ, มันจิ, คัมบุง |
ค.ศ. 1638–1685 (47 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-มิซูโน พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในจักรพรรดินีเมโชกับจักรพรรดิโกะ-โคเมียว สละราชสมบัติ[131] | |
112 | ซาโตฮิโตะ 識仁 |
จักรพรรดิเรเง็ง 霊元天皇 |
ค.ศ. 1663–1687 (24 ปี) คัมบุง, เอ็มโป, เท็นนะ, โจเกียว |
ค.ศ. 1654–1732 (78 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโกะ-ไซ สละราชสมบัติ[132] | |
113 | อาซาฮิโตะ[xxxi] 朝仁 |
จักรพรรดิฮิงาชิยามะ 東山天皇 |
ค.ศ. 1687–1709 (22 ปี) โจเกียว, เก็นโรกุ, โฮเอ |
ค.ศ. 1675–1710 (34 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเรเง็ง สละราชสมบัติ[133] | |
114 | ยาซูฮิโตะ[xxxii] 慶仁 |
จักรพรรดินากามิกาโดะ 中御門天皇 |
ค.ศ. 1709–1735 (26 ปี) โฮเอ, โชโตกุ, เคียวโฮ |
ค.ศ. 1702–1737 (35 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิฮิงาชิยามะ สละราชสมบัติ[134] | |
115 | เทรูฮิโตะ 昭仁 |
จักรพรรดิซากูรามาจิ 桜町天皇 |
ค.ศ. 1735–1747 (12 ปี) เคียวโฮ, เก็มบุง, คัมโป, เอ็งเกียว |
ค.ศ. 1720–1750 (30 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดินากามิกาโดะ สละราชสมบัติ[135] | |
116 | โทฮิโตะ 遐仁 |
จักรพรรดิโมโมโซโนะ 桃園天皇 |
ค.ศ. 1747–1762 (15 ปี) เอ็งเกียว, คังเอ็ง, โฮเรกิ |
ค.ศ. 1741–1762 (20 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิซากูรามาจิ สละราชสมบัติ[136] | |
117 | โทชิโกะ 智子 |
จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ 後桜町天皇 |
ค.ศ. 1762–1771 (9 ปี) โฮเรกิ, เมวะ |
ค.ศ. 1740–1813 (73 พรรษา) พระราชธิดาในจักรพรรดิซากูรามาจิ พระกนิษฐภคินีในจักรพรรดิโมโมโซโนะ[137] | |
118 | ฮิเดฮิโตะ 英仁 |
จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ 後桃園天皇 |
ค.ศ. 1771–1779 (8 ปี) เมวะ, อังเอ |
ค.ศ. 1758–1779 (21 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโมโมโซโนะ พระราชนัดดาในจักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ[138] | |
119 | โมโรฮิโตะ 師仁 |
จักรพรรดิโคกากุ 光格天皇 |
ค.ศ. 1780–1817 (37 ปี) อังเอ, เท็มเม, คันเซ, เคียววะ, บุงกะ |
ค.ศ. 1771–1840 (69 พรรษา) พระราชปนัดดาในจักรพรรดิฮิงาชิยามะ; ลูกพี่ลูกน้องและพระราชโอรสบุญธรรมในจักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ สละราชสมบัติ[139] | |
120 | อายาฮิโตะ 恵仁 |
จักรพรรดินินโก 仁孝天皇 |
ค.ศ. 1817–1846 (29 ปี) บุงกะ, บุนเซ, เท็มโป, โคกะ |
ค.ศ. 1800–1846 (46 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคกากุ[140] | |
121 | โอซาฮิโตะ 統仁 |
จักรพรรดิโคเม 孝明天皇 |
ค.ศ. 1846–1867 (21 ปี) โคกะ, คาเอ, อันเซ, มังเอ็ง, บุงกีว, เก็นจิ, เคโอ |
ค.ศ. 1831–1867 (35 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดินินโก ครองราชย์ในช่วงบากูมัตสึที่ประเทศญี่ปุ่นยกเลิกนโยบายโดดเดี่ยวและเปลี่ยนจากการปกครองของโทกูงาวะไปเป็นการปกครองของจักรพรรดิ จักรพรรดิองค์สุดท้ายที่มีชื่อศักราชหลายชื่อ[141] | |
122 | มุตสึฮิโตะ 睦仁 |
จักรพรรดิเมจิ 明治天皇 |
3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1867 – 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 (45 ปี 178 วัน) เคโอ, เมจิ |
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1852 – 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 (59 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคเม รัฐโชกุนโทกูงาวะสิ้นสุดลงด้วยการฟื้นฟูเมจิ (3 มกราคม ค.ศ. 1868) จักรพรรดิองค์แรกในจักรวรรดิญี่ปุ่น[142][143] | |
123 | โยชิฮิโตะ 嘉仁 |
จักรพรรดิไทโช 大正天皇 |
30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 1926 (14 ปี 148 วัน) ไทโช |
31 สิงหาคม ค.ศ. 1879 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 1926 (47 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเมจิ ประชาธิปไตยไทโชเคลื่อนอำนาจทางการเมืองจากเก็นโรไปยังสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิและพรรคการเมือง มกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะ พระราชโอรสองค์โต ครองตำแน่งเซ็ชโช (摂政; "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์") ใน ค.ศ. 1921 ถึง 1926 เนื่องจากอาการพระประชวรของไทโช[143][144] | |
124 | ฮิโรฮิโตะ 裕仁 |
จักรพรรดิโชวะ 昭和天皇 |
25 ธันวาคม ค.ศ. 1926 – 7 มกราคม ค.ศ. 1989 (62 ปี 13 วัน) โชวะ |
29 เมษายน ค.ศ. 1901 – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 (87 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิไทโช ครองตำแหน่งเซ็ชโชใน ค.ศ. 1921 ถึง 1926 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายในจักรวรรดิญี่ปุ่น รัชสมัยของพระองค์พบกับสงครามโลกครั้งที่สองและปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจหลังสงคราม จักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเท่าที่ยืนยันได้[143][145] | |
125 | อากิฮิโตะ 明仁 |
ยังมีพระชนม์ชีพ | 7 มกราคม ค.ศ. 1989 – 30 เมษายน ค.ศ. 2019 (30 ปี 113 วัน) เฮเซ |
พระราชสมภพ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1933 (91 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโชวะ สละราชสมบัติและภายหลังเรียกขานเป็น โจโก (上皇; "สมเด็จพระจักรพรรดิพระเจ้าหลวง") จักรพรรดิที่ทรงพระชนม์ชีพยืนยาวที่สุดที่สามารถพิสูจน์ได้[146] | |
126 | นารูฮิโตะ 徳仁 |
ยังมีพระชนม์ชีพ | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 – ปัจจุบัน (5 ปี 238 วัน) เรวะ |
พระราชสมภพ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 (64 พรรษา) พระราชโอรสในอากิฮิโตะ ได้รับการเรียกขานเป็น คินโจเท็นโน (今上天皇; "จักรพรรดิองค์ปัจจุบัน") หรือ เท็นโนเฮกะ (天皇陛下; "สมเด็จพระจักรพรรดิ")[147][148] |
บุคคลที่ได้รับการรับรองหลังเสียชีวิต
[แก้]นี่คือรายการบุคคลที่ไม่ได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิในช่วงที่ยังมีชีวิต แต่ภายหลังรับรองเป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นหลังเสียชีวิต
พระบรมสาทิสลักษณ์ | ชื่อส่วนพระองค์ | สมัญญานาม | ปีที่รับรอง | รายละเอียดพระชนม์ชีพ |
---|---|---|---|---|
เจ้าชายคูซากาเบะ 草壁皇子 |
จักรพรรดิโอกะ 岡宮天皇 |
ค.ศ. 759 | ค.ศ. 662–689 (27 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเท็มมุ พระสวามีในจักรพรรดินีเก็มเม พระราชบิดาในจักรพรรดิมมมุกับจักรพรรดินีเก็นโช ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารใน ค.ศ. 681 เป็นรัชทายาทในจักรพรรดิเท็มมุ สิ้นพระชนม์ก่อนขึ้นครองบัลลังก์ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิเท็นมุ[149][150] | |
เจ้าชายโทเนริ 舎人親王 |
จักรพรรดิซูโกจินเก 崇道尽敬皇帝 |
ค.ศ. 759 | ค.ศ. 676–735 (59 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิเท็มมุ พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในเจ้าชายคูซากาเบะ พระราชบิดาในจักรพรรรดิจุนนิง[151][152] | |
เจ้าชายชิกิ 志貴皇子 |
จักรพรรดิคาซูงะ 春日宮天皇 |
ค.ศ. 770 | สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 716
พระราชโอรสในจักรพรรดิเท็นจิ พระอนุชาร่วมพระราชบิดาในเท็มมุ จักรพรรรดินีจิโต จักรพรรดิเก็มเม และจักรพรรดิโคบุง พระราชบิดาในจักรพรรดิโคนิง; พระปิตุลาร่วมพระราชบิดาในเจ้าชายคูซากาเบะกะบเจ้าชายโทเนริ[153][154] | |
เจ้าชายซาวาระ 早良親王 |
จักรพรรดิซูโด 崇道天皇 |
ค.ศ. 800 | ค.ศ. 750–785 (35 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโคนิง พระอนุชาในจักรพรรดิคัมมุ ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารใน ค.ศ. 781 มีส่วนพัวพันกับการลอบสังหารฟูจิวาระ โนะ ทาเน็ตสึงุ สิ้นพระชนม์ระหว่างเสด็จเนรเทศ[153][155] | |
เจ้าชายมาซาฮิโตะ 誠仁親王 |
โยโกอิง 陽光院 |
ก่อน ค.ศ. 1611 | ค.ศ. 1552–1586 (34 พรรษา) พระราชโอรสในจักรพรรดิโองิมาจิ พระราชบิดาในจักรพรรดิโกะ-โยเซ หลังสิ้นพระชนม์ได้รับการรับรองเป็นจักรพรรดิโดยจักรพรรดิโกะ-โยเซ[153][156] | |
ซูเกฮิโตะ คังอิง-โนะ-มิยะ 閑院宮典仁親王 |
จักรพรรดิเคียวโก 慶光天皇 |
ค.ศ. 1884 | ค.ศ. 1733–1794 (61 พรรษา) พระราชนัดดาในจักรพรรดิฮิงาชิยามะ พระราชบิดาในจักรพรรดิโคกากุ[157][158] |
ดูเพิ่ม
[แก้]- จักรพรรดิญี่ปุ่น
- จักรพรรดินีญี่ปุ่น
- เซ็ชโชและคัมปากุ
- โชกุน
- นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
- พระราชพงศาวลีพระจักรพรรดิญี่ปุ่น
- เจ้าหญิงอีโตโยะ
อ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ วันที่ช่วงต้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้เขียน โดยคำนวณจากระยะเวลาการครองราชย์ที่ให้ไว้ในนิฮงโชกิ (โคจิกิในกรณีที่ไม่มีข้อมูล) กล่าวกันว่าจิมมุสวรรคตเมื่อปีที่ 76 ในรัชสมัยของพระองค์ (พระองค์ครองราชย์ 75 ปี) พระองค์มีพระชนม์พรรษา 127 พรรษาตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก (126 พรรษาตามการนับอายุแบบตะวันตก)[10] ปีรัชสมัยนับด้วยวิธีการคำนวณแบบรวมจนกระทั่งจักรพรรดินีจิโตที่เป็นรัชสมัยสุดท้ายที่บันทึกในนิฮงโชกิ
- ↑ มีอีกพระนามว่า ฮิโกฟูโตะ (彦太)
- ↑ มีอีกพระนามว่า อิงะ (伊賀).
- ↑ มีอีกพระนามว่า อูโนโนซาซารพ หรือ อูโนะ
- ↑ วันที่ของพระนางส่วนใหญ่ระบุที่ 686–697 อย่างไรก็ตาม นิฮงโชกิระบุว่าพระนางสวรรคตในปีที่ 11 (พระนางครองราชย์ 10 ปี)[54]
- ↑ พระนามของพระองค์สามารถเขียนเป็น 軽
- ↑ พระนามของพระนางสามารถเขียนเป็น 阿部
- ↑ พระนามของพระนางสามารถเขียนเป็น 日高
- ↑ เคยมีพระนามว่า มินาโมโตะ โนะ โคเรซาเนะ (源維城).
- ↑ มีอีกพระนามว่า ฮิโรอากิระ
- ↑ มีอีกพระนามว่า อิยาซาดะ หรือ ซูเกซาดะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า อัตสึนาริ
- ↑ มีอีกพระนามว่า โยชิฮิโตะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า โยชิฮิโตะ หรือ โทชิฮิโตะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า โนบูฮิโตะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า โคโตฮิโตะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า ทากานาริ
- ↑ มีอีกพระนามว่า มตสิฮิโตะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า โทชิฮิโตะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า โนรินางะ
- ↑ เดิมมีพระนามว่า มาซูฮิโตะ (益仁)
- ↑ มีอีกพระนามว่า จักรพรรดิโกะ-โคโก
- ↑ เดิมเขียนเป็น 躬仁
- ↑ มีอีกพระนามว่า จักรพรรดิโกะ-คัมมุ
- ↑ มีอีกพระนามว่า จักรพรรดิโกะ-เฮเซ
- ↑ มีอีกพระนามว่า คาซูฮิโตะ (和仁).
- ↑ มีอีกพระนามว่า มาาฮิโตะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า จักรพรรดิโกะ-มิโน หรือ จักรพรรดิโกะ-เซวะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า โยชิฮิโตะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า จักรพรรดิโกะ-ไซอิง หรือ จักรพรรดิโกะ-จุนนะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า โทโมฮฺโตะ
- ↑ มีอีกพระนามว่า โยชิฮิโตะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Smits, Gregory J. (1991). Political Thought in Japanese Historical Writing: From Kojiki (712) to Tokushi Yoron (1712). Wilfrid Laurier University Press. pp. 30–32. ISBN 9780889209978.
- ↑ 2.0 2.1 Vogel, Ezra F. (2019). China and Japan: Facing History. Harvard University Press. pp. 15–17. ISBN 9780674240766.
- ↑ Mason, Richard (2011). "Chapter Two". History of Japan: Revised Edition. Tuttle Publishing. ISBN 9781462900978.
- ↑ Ibaraki, Yoshiyuki (2013). "A Review of the Inscription of the Iron Sword Discovered at Inariyama Old Tomb of the Sakitama Old Tombs' Group". 皇学館論叢. KOGAKKAN RONSO. 46 (5): 1–35.
- ↑ 5.0 5.1 Hoye, Timothy (1999). Japanese Politics: Fixed and Floating Worlds. Prentice Hall. p. 78. ISBN 9780132712897.
- ↑ Holcombe, Charles (January 2001). The Genesis of East Asia: 221 B.C. – A.D. 907. University of Hawaii Press. p. 198. ISBN 978-0-8248-2465-5.
- ↑ Nussbaum, "Nengō", p. 704.
- ↑ Imperial Household Agency.
- ↑ Nussbaum, "Traditional Order of Tennō", p. 962.
- ↑ Titsingh, pp. 1–3; Aston, 1, pp.109–137; Brown, p. 249; Varley, pp. 84–88; Nussbaum, p. 420.
- ↑ Titsingh, pp. 1–3; Aston, 1, pp.109–137; Brown, p. 249; Varley, pp. 84–88; Nussbaum, p. 420.
- ↑ Titsingh, pp. 3–4; Aston, 1, pp.138–141; Brown, pp. 250–251; Varley, pp. 88–89.
- ↑ Titsingh, p. 4; Aston, 1, pp.141–142; Brown, p. 251; Varley, p. 89; Nussbaum, p. 32.
- ↑ Titsingh, p. 4; Aston, 1, pp.142–143; Brown, p. 251; Varley, p. 89; Nussbaum, p. 405.
- ↑ Titsingh, pp. 4–5; Aston, 1, pp.144–145; Brown, p. 251; Varley, p. 90; Nussbaum, p. 564.
- ↑ Titsingh, p. 5; Aston, 1, pp.145–146; Brown, p. 251; Varley, p. 90; Nussbaum, p. 536.
- ↑ Titsingh, pp. 5–6; Aston, 1, pp.146–147; Brown, p. 252; Varley, pp. 90–92; Nussbaum, p. 561.
- ↑ Titsingh, p. 6; Aston, 1, pp.147–148; Brown, p. 252; Varley, pp. 92–93; Nussbaum, p. 542.
- ↑ Titsingh, pp. 6–7; Aston, 1, pp.148–149; Brown, p. 252; Varley, p. 93; Nussbaum, p. 451.
- ↑ Henshall, Kenneth (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-7872-3.
- ↑ Titsingh, pp. 7–9; Aston, 1, pp.150–164; Brown, p. 252; Varley, pp. 93–95; Nussbaum, p. 910.
- ↑ Titsingh, pp. 9–10; Aston, 1, pp.165–187; Brown, pp. 252–254; Varley, pp. 95–96; Nussbaum, p. 910.
- ↑ Titsingh, pp. 11–14; Aston, 1, pp.188–214; Brown, p. 254; Varley, pp. 96–99; Nussbaum, p. 505.
- ↑ Titsingh, pp. 14–15; Aston, 1, pp.214–216; Brown, p. 254; Varley, pp. 99–100; Nussbaum, p. 836.
- ↑ Titsingh, p. 15; Aston, 1, pp.217–223; Brown, pp. 254–255; Varley, pp. 100–101; Nussbaum, p. 125.
- ↑ Titsingh, pp. 16–19; Aston, 1, pp.224–253; Brown, p. 255; Varley, pp. 101–103.
- ↑ Titsingh, pp. 19–22; Aston, 1, pp.254–271; Brown, p. 255–256; Varley, pp. 103–110].
- ↑ Titsingh, pp. 22–24; Aston, 1, pp.272–300; Brown, p. 256–257; Varley, pp. 110–111; Nussbaum, p. 716.
- ↑ Titsingh, pp. 24–25; Aston, 1, pp.301–310; Brown, p. 257; Varley, p. 111.
- ↑ Titsingh, p. 25; Aston, 1, pp.310–311; Brown, p. 257; Varley, p. 112; Nussbaum, p. 288.
- ↑ Titsingh, p. 26; Aston, 1, pp.312–328; Brown, p. 257–258; Varley, p. 112.
- ↑ Titsingh, p. 26; Aston, 1, pp.328–332; Brown, p. 258; Varley, p. 113; Nussbaum, p. 32.
- ↑ Titsingh, pp. 27–28; Aston, 1, pp.333–372; Brown, p. 258; Varley, pp. 113–115; Nussbaum, p. 1068.
- ↑ Titsingh, pp. 28–29; Aston, 1, pp.373–377; Brown, pp. 258–259; Varley, pp. 115–116; Nussbaum, p. 836.
- ↑ Titsingh, pp. 29–30; Aston, 1, pp.377–393; Brown, p. 259; Varley, p. 116; Nussbaum, p. 510.
- ↑ Titsingh, p. 30; Aston, 1, pp.393–398; Brown, pp. 259–260; Varley, p. 117; Nussbaum, p. 716.
- ↑ Titsingh, p. 31; Aston, 1, pp.399–407; Brown, p. 260; Varley, pp. 117–118; Nussbaum, p. 94.
- ↑ Shillony, Ben-Ami (2008). The Emperors of Modern Japan (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 15. ISBN 978-90-474-4225-7.
- ↑ Titsingh, pp. 31–32; Aston, 2, pp. 1–25; Brown, pp. 260–261; Varley, pp. 17–18, 119–120; Nussbaum, p. 506.
- ↑ Titsingh, p. 33; Aston, 2, pp. 26–32; Brown, p. 261; Varley, pp. 120–121; Nussbaum, p. 31.
- ↑ Titsingh, pp. 33–34; Aston, 2, pp. 33–35; Brown, p. 261; Varley, p. 121; Nussbaum, p. 842.
- ↑ Titsingh, pp. 34–36; Aston, 2, pp. 36–89; Brown, pp. 261–262; Varley, pp. 123–124; Nussbaum, p. 519.
- ↑ Titsingh, pp. 36–37; Aston, 2, pp. 90–105; Brown, pp. 262–263; Varley, pp. 124–125; Nussbaum, p. 77.
- ↑ Titsingh, pp. 37–38; Aston, 2, pp. 106–111; Brown, p. 263; Varley, pp. 125–126; Nussbaum, p. 1057.
- ↑ Titsingh, pp. 38–39; Aston, 2, pp. 112–120; Brown, p. 263; Varley, p. 126; Nussbaum, p. 917.
- ↑ Titsingh, pp. 39–42; Aston, 2, pp. 121–156; Brown, pp. 263–264; Varley, pp. 126–129; Nussbaum, p. 910.
- ↑ Titsingh, pp. 42–43; Aston, 2, pp. 157–170; Brown, pp. 264–265; Varley, pp. 129–130; Nussbaum, p. 431.
- ↑ Titsingh, pp. 43–47; Aston, 2, pp. 171–194; Brown, pp. 265–266; Varley, pp. 130–132; Nussbaum, p. 543.
- ↑ Titsingh, pp. 47–50; Aston, 2, pp. 195–247; Brown, pp. 266–267; Varley, pp. 132–133; Nussbaum, p. 566.
- ↑ Titsingh, pp. 50–52; Aston, 2, pp. 248–273; Brown, p. 267; Varley, pp. 133–134; Nussbaum, p. 807.
- ↑ Titsingh, pp. 52–56; Aston, 2, pp. 274–300; Brown, p. 268; Varley, p. 135; Nussbaum, p. 959.
- ↑ Titsingh, pp. 56–58; Aston, 2, p. 301ff; Brown, pp. 268–269; Varley, pp. 135–136; Nussbaum, p. 538.
- ↑ Titsingh, pp. 58–59; Aston, 2, pp. 301–381; Brown, pp. 268–269; Varley, pp. 135–136; Nussbaum, p. 957.
- ↑ Titsingh, pp. 59–60; Aston, 2, pp. 382–423; Brown, pp. 269–270; Varley, pp. 136–137.
- ↑ Titsingh, pp. 59–60; Aston, 2, pp. 382–423; Brown, pp. 269–270; Varley, pp. 136–137; Nussbaum, p. 426.
- ↑ Titsingh, pp. 60–63; Brown, pp. 270–271; Varley, pp. 137–140; Nussbaum, p. 655.
- ↑ Titsingh, pp. 63–65; Brown, p. 271; Varley, p. 140; Nussbaum, p. 235.
- ↑ Titsingh, pp. 65–67; Brown, pp. 271–272; Varley, pp. 140–141; Nussbaum, p. 240.
- ↑ Titsingh, pp. 67–73; Brown, pp. 272–273; Varley, pp. 141–143; Nussbaum, p. 884.
- ↑ Titsingh, pp. 73–75; Brown, pp. 274–275; Varley, p. 143; Nussbaum, p. 547.
- ↑ Titsingh, pp. 75–78; Brown, p. 275; Varley, pp. 143–144; Nussbaum, p. 437.
- ↑ Titsingh, pp. 78–81; Brown, p. 276; Varley, pp. 144–147; Nussbaum, p. 888.
- ↑ Titsingh, pp. 81–85; Brown, pp. 276–277; Varley, pp. 147–148; Nussbaum, p. 557.
- ↑ Titsingh, pp. 86–95; Brown, pp. 277–279; Varley, pp. 148–150; Nussbaum, p. 464.
- ↑ Titsingh, pp. 96–97; Brown, pp. 279–280; Varley, p. 151; Nussbaum, p. 305.
- ↑ Titsingh, pp. 97–102; Brown, pp. 280–282; Varley, pp. 151–164; Nussbaum, p. 804.
- ↑ Titsingh, pp. 103–106; Brown, pp. 282–283; Varley, p. 164; Nussbaum, p. 437.
- ↑ Titsingh, pp. 106–112; Brown, pp. 283–284; Varley, pp. 164–165; Nussbaum, p. 714.
- ↑ Titsingh, pp. 112–115; Brown, pp. 285–286; Varley, p. 165; Nussbaum, p. 658.
- ↑ Titsingh, pp. 115–121; Brown, pp. 286–288; Varley, pp. 166–170; Nussbaum, p. 837.
- ↑ Titsingh, pp. 121–124; Brown, pp. 288–289; Varley, pp. 170–171; Nussbaum, p. 1064.
- ↑ Titsingh, pp. 124–125; Brown, p. 289; Varley, pp. 171–175; Nussbaum, p. 549.
- ↑ Titsingh, pp. 125–129; Brown, pp. 289–290; Varley, pp. 175–179; Nussbaum, p. 1007.
- ↑ Titsingh, pp. 129–134; Brown, pp. 290–293; Varley, pp. 179–181; Nussbaum, p. 138.
- ↑ Titsingh, pp. 134–138; Brown, pp. 294–295; Varley, pp. 181–183.
- ↑ Titsingh, pp. 139–142; Brown, pp. 295–298; Varley, pp. 183–190; Nussbaum, p. 667.
- ↑ Titsingh, pp. 142–143; Brown, p. 289; Varley, pp. 190–191; Nussbaum, p. 786.
- ↑ Titsingh, pp. 144–148; Brown, pp. 299–300; Varley, pp. 191–192; Nussbaum, p. 182.
- ↑ Titsingh, pp. 148–149; Brown, pp. 300–302; Varley, p. 192; Nussbaum, p. 501.
- ↑ Titsingh, pp. 150–154; Brown, pp. 302–307; Varley, pp. 192–195; Nussbaum, p. 369.
- ↑ Titsingh, pp. 154–155; Brown, p. 307; Varley, p. 195; Nussbaum, p. 818.
- ↑ Titsingh, pp. 156–160; Brown, pp. 307–310; Varley, pp. 195–196; Nussbaum, p. 253.
- ↑ Titsingh, pp. 160–162; Brown, pp. 310–311; Varley, p. 197; Nussbaum, p. 262.
- ↑ Titsingh, pp. 162–166; Brown, pp. 311–314; Varley, pp. 197–198; Nussbaum, p. 258.
- ↑ Titsingh, pp. 166–168; Brown, pp. 314–315; Varley, pp. 198–199; Nussbaum, p. 259.
- ↑ Titsingh, pp. 169–171; Brown, pp. 315–317; Varley, pp. 199–202; Nussbaum, p. 872.
- ↑ Titsingh, pp. 172–178; Brown, pp. 317–320; Varley, p. 202; Nussbaum, p. 352.
- ↑ Titsingh, pp. 178–181; Brown, pp. 320–322; Varley, pp. 203–204; Nussbaum, p. 967.
- ↑ Titsingh, pp. 181–185; Brown, pp. 322–324; Varley, pp. 204–205; Nussbaum, p. 917.
- ↑ Titsingh, pp. 186–188; Brown, pp. 324–326; Varley, p. 205; Nussbaum, p. 559.
- ↑ Titsingh, pp. 188–190; Brown, pp. 326–327; Varley, pp. 205–208; Nussbaum, p. 261.
- ↑ Titsingh, pp. 191–194; Brown, pp. 327–329; Varley, pp. 208–212; Nussbaum, p. 712.
- ↑ Titsingh, pp. 194–195; Brown, pp. 329–330; Varley, p. 212; Nussbaum, p. 794.
- ↑ Titsingh, pp. 194–195; Brown, pp. 329–330; Varley, p. 212; Nussbaum, p. 933.
- ↑ Titsingh, pp. 200–207; Brown, pp. 333–334; Varley, pp. 214–215; Nussbaum, p. 33.
- ↑ Titsingh, pp. 207–221; Brown, pp. 334–339; Varley, pp. 215–220; Nussbaum, p. 263.
- ↑ Titsingh, pp. 221–230; Brown, pp. 339–341; Varley, p. 220; Nussbaum, p. 998.
- ↑ Titsingh, pp. 230–238; Brown, pp. 341–343; Varley, pp. 221–223.
- ↑ Titsingh, pp. 236–238; Brown, pp. 343–344; Varley, pp. 223–226; Nussbaum, p. 128.
- ↑ Titsingh, pp. 238–241; Brown, pp. 344–349; Varley, pp. 226–227; Nussbaum, p. 252.
- ↑ Titsingh, pp. 242–245; Varley, p. 227; Nussbaum, p. 856.
- ↑ Titsingh, pp. 245–247; Varley, pp. 228–231; Nussbaum, p. 259.
- ↑ Titsingh, pp. 248–253; Varley, pp. 231–232; Nussbaum, p. 252.
- ↑ Titsingh, pp. 232–233; Varley, pp. 253–261; Nussbaum, p. 461.
- ↑ Titsingh, pp. 233–237; Varley, pp. 262–269; Nussbaum, p. 265.
- ↑ Titsingh, pp. 237–238; Varley, pp. 269–274; Nussbaum, p. 252.
- ↑ Titsingh, pp. 274–275; Varley, pp. 238–239; Nussbaum, p. 252.
- ↑ Titsingh, pp. 275–278; Varley, p. 239; Nussbaum, p. 257.
- ↑ Titsingh, pp. 281–286, 278–281; Varley, pp. 239–241; Nussbaum, p. 285.
- ↑ Titsingh, pp. 281–286, 290–294; Varley, pp. 241–269; Nussbaum, p. 251.
- ↑ Varley, pp. 269–270; Nussbaum, p. 257.
- ↑ Nussbaum, Chōkei Tennō, p. 120.
- ↑ Nussbaum, "Go-Kameyama Tennō", pp. 253–255.
- ↑ Titsingh, pp. 286–289; Nussbaum, p. 344, 543.
- ↑ Titsingh, pp. 294–298; Nussbaum, p. 555.
- ↑ Titsingh, pp. 298–301; Nussbaum, p. 911.
- ↑ Titsingh, pp. 302–309; Nussbaum, p. 255.
- ↑ Titsingh, pp. 310–316; Nussbaum, p. 251.
- ↑ Titsingh, pp. 317–327.
- ↑ Titsingh, pp. 317–327; Nussbaum, p. 555.
- ↑ Titsingh, pp. 327–331; Nussbaum, p. 883.
- ↑ Titsingh, pp. 331–351; Nussbaum, p. 252.
- ↑ Titsingh, pp. 352–364; Nussbaum, p. 265.
- ↑ Titsingh, pp. 364–372.
- ↑ Titsingh, pp. 372–382; Nussbaum, p. 257.
- ↑ Titsingh, pp. 382–402; Nussbaum, p. 739.
- ↑ Titsingh, pp. 402–409; Nussbaum, p. 265.
- ↑ Titsingh, pp. 410–411; Nussbaum, p. 256.
- ↑ Titsingh, pp. 411–412; Nussbaum, p. 625.
- ↑ Titsingh, pp. 412–413; Nussbaum, p. 256.
- ↑ Titsingh, p. 413.
- ↑ Titsingh, pp. 414–415; Nussbaum, p. 785.
- ↑ Titsingh, pp. 415–416; Nussbaum, p. 310.
- ↑ Titsingh, pp. 416–417; Nussbaum, p. 690.
- ↑ Titsingh, pp. 417–418; Nussbaum, p. 814.
- ↑ Titsingh, pp. 418–419; Nussbaum, p. 656.
- ↑ Titsingh, p. 419.
- ↑ Titsingh, pp. 419–420; Nussbaum, p. 257.
- ↑ Titsingh, pp. 420–421; Nussbaum, p. 546.
- ↑ Nussbaum, "Ninkō Tennō", p. 716.
- ↑ Nussbaum, "Kōmei Tennō", p. 553.
- ↑ Nussbaum, "Meiji Tennō", p. 624.
- ↑ 143.0 143.1 143.2 Shimamoto, Mayako; Ito, Koji; Sugita, Yoneyuki (2015). Historical Dictionary of Japanese Foreign Policy. Rowman & Littlefield. pp. 70–73. ISBN 9781442250673.
- ↑ Nussbaum, "Taishō Tennō", p. 929.
- ↑ Nussbaum, "Hirohito", p. 318.
- ↑ Nussbaum, "Akihito", p. 19.
- ↑ "Japan's Emperor thanks country, prays for peace before abdication". Nikkei Asian Review. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.
- ↑ Nussbaum, "Naruhito", p. 699.
- ↑ Duthie, Torquil (2014). Man'yoshu and the imperial imagination in early Japan. Leiden. p. 372. ISBN 9789004251717. OCLC 864366334.
- ↑ 岡宮天皇 デジタル版 日本人名大辞典+Plusの解説. Kotobank.
- ↑ Brown, p. 272.
- ↑ 崇道尽敬皇帝 デジタル版 日本人名大辞典+Plusの解説. Kotobank.
- ↑ 153.0 153.1 153.2 Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. pp. 61, 459, 469.
- ↑ 春日宮天皇 デジタル版 日本人名大辞典+Plusの解説. Kotobank.
- ↑ 崇道天皇 デジタル版 日本人名大辞典+Plusの解説. Kotobank.
- ↑ 陽光院 デジタル版 日本人名大辞典+Plusの解説. Kotobank.
- ↑ Shillony, Ben-Ami (2021). Enigma of the Emperors: Sacred Subservience in Japanese History. BRILL. p. 93. ISBN 9789004213999.
- ↑ 慶光天皇 デジタル版 日本人名大辞典+Plusの解説. Kotobank.
ข้อมูล
[แก้]- "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Imperial Household Agency. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-06.
- Ackroyd, Joyce A. (1982). Lessons from History: the Tokushi yoron [Tokushi Yoron]. Brisbane: University of Queensland Press. ISBN 9780702214851. OCLC 157026188.
- Aston, William G. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697 [Nihon Shoki]. London: The Japan Society of the UK. ISBN 9780524053478.
- Brown, Delmer M.; Ichirō, Ishida, บ.ก. (1979). The Future and the Past: A Translation and Study of the Gukansho, an Interpretative History of Japan written in 1219 [Gukanshō]. Berkeley: University of California Press. ISBN 9780520034600. OCLC 251325323.
- Nussbaum, Louis Frédéric (2002). Japan Encyclopedia. Harvard University Press. ISBN 9780674017535.
- Titsingh, Isaac (1834). Annales des empereurs du Japon [Nihon Ōdai Ichiran] (ภาษาFrench). Paris: Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - Varley, H. Paul (1980). A Chronicle of Gods and Sovereigns: Jinnō Shōtōki of Kitabatake Chikafusa [Jinnō Shōtōki]. New York: Columbia University Press. ISBN 9780231049405. OCLC 59145842.