ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโกะ-ไซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิโกะ-ไซ
後西天皇
โกะ-ไซ โดยเจ้าชายโคเบ็ง
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์5 มกราคม ค.ศ. 1655 – 5 มีนาคม ค.ศ. 1663
ราชาภิเษก17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1656
ก่อนหน้าโกะ-โคเมียว
ถัดไปเรเง็ง
โชกุนโทกูงาวะ อิเอ็ตสึนะ
ประสูติ1 มกราคม ค.ศ. 1638
เกียวโต จังหวัดเกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
นางาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 良仁โรมาจิNagahito)
สวรรคตมีนาคม 26, 1685(1685-03-26) (47 ปี)
รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
(ประเทศญี่ปุ่น)
ฝังพระศพสึกิ โนะ วะ โนะ มิซาซางิ เกียวโต
คู่อภิเษกอากิโกะ
พระราชบุตรดูข้างล่าง
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิโกะ-ไซ (後西院 หรือ 後西天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิโกะ-มิซูโน
พระราชมารดาคูชิเงะ (ฟูจิวาระ) ทากาโกะ [ja]

นางาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 良仁โรมาจิNagahito) ได้รับการเลื่อนพระเกียรติหลังสวรรคตเป็น จักรพรรดิโกะ-ไซ (ญี่ปุ่น: 後西天皇โรมาจิGo-Sai-tennō; 1 มกราคม ค.ศ. 1638 – 22 มีนาคม ค.ศ. 1685) มีอีกพระนามว่า จักรพรรดิโกะ-ไซอิง (ญี่ปุ่น: 後西院天皇โรมาจิGo-Saiin-tennō) เป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ที่ 11[1] ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2]

รัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-ไซกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1655 ถึง ค.ศ. 1663[3]

พระนามของจักรพรรดิโกะ-ไซนำมาจากพระนามของ จักรพรรดิจุนนะ (ญี่ปุ่น: 淳和天皇โรมาจิJunna-tennō) จักรพรรดิองค์ที่ 53 ที่ปกครองญี่ปุ่นในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งมีพระสมัญญาว่า ไซอิง โนะ มิกะโดะ ที่แปลว่า จักรพรรดิวังตะวันตก เมื่อใส่คำว่า โกะ (後) เข้าไปทำให้พระนามของจักรพรรดิโกะ-ไซมีความหมายว่า จักรพรรดิไซที่สอง หรือ จักรพรรดิไซยุคหลัง

พระบรมวงศานุวงศ์

[แก้]

ก่อนที่จักรพรรดิโกะไซจะขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์มีพระนามเดิม (อิมินะ) ว่านางาฮิโตะ[4] หรือ โยชิฮิโตะ[3] และพระอิสริยยศก่อนการขึ้นครองราชบัลลังก์คือ เจ้าฮิเดะ (ญี่ปุ่น: 秀宮โรมาจิHide-no-miya) หรือ เจ้าโมโมโซโนะ (Momozono-no-miya)[2]

พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่แปดของจักรพรรดิโกะ-มิซุโน พระองค์ถูกเลี้ยงดูมาราวกับว่าพระองค์เป็นโอรสของโทฟูกุมนอิง[2] ทั้งอดีตจักรพรรดินีเมโช และอดีตจักรพรรดิโกะ-โคเมียว เป็นพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีต่างพระราชมารดาของพระองค์

พระราชวงศ์ของจักรพรรดิโกะ-ไซประทับอยู่ใน ไดริ หรือเขตพระราชฐานชั้นในของพระราชวังหลวงเกียวโต พระราชวงศ์ของจักรพรรดิโกะ-ไซประกอบด้วยพระราชโอรสอย่างน้อย 16 พระองค์และพระราชธิดา 17 พระองค์ และไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาของจักรพรรดิโกะ-ไซที่ได้สืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ[5]

  • เนียวโงะ: เจ้าหญิงอากิโกะ (明子女王; 1638–1680) ภายหลังเป็น เมียวกิจิโจอิง (妙吉祥院) พระธิดาในเจ้าชายทากามัตสึ-โนะ-มิยะ โยชิฮิโตะ
    • พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงโทโมโกะ (1654–1686; 誠子内親王)
    • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายฮาจิโจ-โนะ-มิยะ โอซาฮิโตะ (1655–1675; 八条宮長仁親王) – ฮาจิโจ-โนะ-มิยะองค์ที่ 4, พระโอรสบุญธรรมในฮาจิโจ-โนะ-มิยะ ยาซูฮิโตะ
  • นางสนองพระโอษฐ์: เซกันจิ โทโมโกะ (สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1695; 清閑寺共子) ธิดาในเซกันจิ โทมตสึนะ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายอาริซูงาวะ-โนะ-มิยะ ยูกิฮิโตะ (1656–1695; 有栖川宮幸仁親王) – อาริซูงาวะ-โนะ-มิยะองค์ที่ 3
    • พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงองค์ที่ 2 (อนนะ-นิ-โนะ-มิยะ, 1657–1658; 女二宮)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงโซเอ (1658–1721; 宗栄女王)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงซนชู (1661–1722; 尊秀女王)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายนักบวชกิเอ็ง (1662–1706; 義延法親王)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 6: เจ้าหญิงเอ็นโกอิง (1663; 円光院宮)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 5: เจ้าชายนักบวชเท็นชิง (1664–1690; 天真法親王)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 7: เจ้าหญิงคายะ (1666–1675; 賀陽宮)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 10: เจ้าหญิงมาชิโกะ (1669–1738; 益子内親王) สมรสกับคูโจ ซูเกซาเนะ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 11: เจ้าหญิงริโฮ (1672–1745; 理豊女王)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 13: เจ้าหญิงซูอิโก (1674–1706; 瑞光女王)
  • พระมเหสี: ธิดาในอิวากูระ โทโมกิ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายนักบวชเอโงะ (1659–1676; 永悟法親王)
  • พระมเหสี: อูเกียว-โนะ-สึโบเนะ (右京局) ธิดาในโทมิโนโกจิ โยรินาโอะ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 5: เจ้าหญิงสึเนะ (1661–1665; 常宮)
  • พระมเหสี: อูเมโนโกจิ ซาดาโกะ (梅小路定子) ธิดาบุญธรรมในอูเมโนโกจิ ซาดาโนริ และธิดาในโคเง็นจิ โทโมฮิเดะ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 8: เจ้าหญิงคากุ (1667–1668; 香久宮)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 9: เจ้าหญิงโชอัง (1668–1712; 聖安女王)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 6: เจ้าชายนักบวชโคเบ็ง (1669–1716; 公弁法親王)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 7: เจ้าชายนักบวชโดยู (1670–1691; 道祐法親王)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 8: เจ้าชายฮาจิโจ-โนะ-มิยะ นาโอฮิโตะ (1671–1689; 八条宮尚仁親王) – ฮาจิโจ-โนะ-มิยะองค์ที่ 5
    • พระราชธิดาองค์ที่ 12: เจ้าหญิงมิตสึ (1672–1677; 満宮)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 14: เจ้าหญิงซนโก (1675–1719; 尊杲女王)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 15: เจ้าหญิงซนโช (1676–1703; 尊勝女王)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 11: เจ้าชายนักบวชเรียวโอ (1678–1708; 良応法親王)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 16: เรียวเง็ตสึอิง (1679; 涼月院) (มีข้อสงสัยต่อพระมารดาผู้ให้กำเนิด)
  • พระมเหสี: อาเซจิ-โนะ-สึโบเนะ (按察使局) ธิดาในทากัตสึจิ โทโยนางะ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 9: เจ้าชายนักบวชซนโด (道尊法親王) (1676–1705; พระภิกษุ)
  • พระมเหสี: มัตสึกิ อัตสึโกะ (松木条子) ธิดาในมัตสึกิ มูเนอัตสึ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 10: เจ้าชายโรเออิง (槿栄院宮; 1677)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 16: เจ้าชายซาโตฮิโตะ ภายหลังเป็นจักรพรรดิเรเง็ง

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโกะ-ไซ

[แก้]

เจ้าชายนางาฮิโตะขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศเมื่อจักรพรรดิโกะ-โคเมียวสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท การสวรรคตของจักรพรรดิโกะ-โคเมียวทำให้ตำแหน่งจักรพรรดิว่างลง หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าชายนางาฮิโตะซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระราชมารดาของจักรพรรดิโกะ-โคเมียว ได้สืบทอดราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ[6] รัชสมัยของจักรพรรดิโกไซตรงกับช่วงเวลาที่โทกูงาวะ อิเอสึนะเป็นผู้นำของรัฐบาลเอโดะ

จักรพรรดิโกะ-ไซอภิเษกกับพระธิดาของ ทากามัตสึ-โนะ-มิยะ องค์แรกคือเจ้าชายโยชิฮิโตะ (高松宮好仁親王) และพระองค์ก็สืบทอดพระอิสริยยศ ทากามัตสึ-โนะ-มิยะ เป็นองค์ที่ 2 จากนั้นเจ้าชายพระองค์นี้ก็กลายเป็นจักรพรรดิเป็นการชั่วคราวจนกว่าพระอนุชาต่างพระมารดาอีกพระองค์หนึ่งของพระองค์คือเจ้าชายซาโตฮิโตะ (識仁親王) จะเจริญพระชนม์พอที่จะสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศได้

  • 1 มกราคม ค.ศ. 1638: การประสูติของเจ้าชายที่จะกลายเป็นที่รู้จักในพระนามจักรพรรดิโกะ-ไซ[7]
  • 5 มกราคม ค.ศ. 1655: การสวรรคตของจักรพรรดิโกะ-โคเมียวทำให้การสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศสืบทอดต่อไปยังพระอนุชาต่างพระมารดาของพระองค์ และเมื่อสืบราชบัลลังก์แล้ว รัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-ไซก็ได้เริ่มต้นขึ้น[7]
  • ค.ศ. 1655: ราชทูตเกาหลีคนใหม่เดินทางมาถึงญี่ปุ่น[3]
  • 2-3 มีนาคม ค.ศ. 1657: ไฟไหม้ครั้งใหญ่ปีเมเรกิ: เมืองเอโดะถูกทำลายด้วยไฟอย่างรุนแรง[2]
  • ค.ศ. 1659: ในเอโดะ เริ่มก่อสร้างสะพานเรียวโงกุ[3]
  • 20 มีนาคม ค.ศ. 1662: เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในเกียวโตซึ่งทำลายหลุมฝังศพของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ[3]
  • 5 มีนาคม ค.ศ. 1663: จักรพรรดิโกะ-ไซสละราชบัลลังก์[7] ซึ่งหมายความว่าเจ้าชายซาโตฮิโตะ พระอนุชาต่างพระมารดาได้รับสืบทอดราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าชายซาโตฮิโตะได้ประกอบพิธีเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศอย่างเป็นทางการ[8]

ภายหลังสละราชบัลลังก์ อดีตจักรพรรดิโกะ-ไซ พระราชนิพนธ์หนังสือหลายเล่ม รวมทั้ง "น้ำและแสงแดด" (水日集) พระองค์มีพรสวรรค์ในบทกวีวากะ; และพระองค์มีพระปรีชาญาณอย่างลึกซึ้ง

ในรัชสมัยของพระองค์ เกิดเหตุไฟไหม้ใหญ่ที่ศาลเจ้าอิเสะ ปราสาทโอซากะ และพระราชวังหลวง เป็นต้น ไฟไหม้ใหญ่ปีเมเรกิ แผ่นดินไหว และน้ำท่วมซ้ำซาก ทำให้หลายคนตำหนิองค์จักรพรรดิ

พระราชพงศาวลี

[แก้]

[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "-天皇陵-後西天皇 月輪陵(ごさいてんのう つきのわのみささぎ))". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 116.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Rin-siyo, Siyun-zai (1834). Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon (ภาษาฝรั่งเศส). Oriental Translation Fund. p. 413.
  4. Ponsonby-Fane, p. 9.
  5. Ponsonby-Fane, p. 116.
  6. Titsingh, p. 413. A distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakamisee Varley, H. Paul. (1980).Jinnō Shōtōki, p. 44.
  7. 7.0 7.1 7.2 Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 186.
  8. Titsingh, p. 414.
  9. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]