จักรพรรดิเอ็นยู
จักรพรรดิเอ็นยู 円融天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 27 กันยายน ค.ศ. 969 – 24 กันยายน ค.ศ. 984 | ||||
ราชาภิเษก | 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 969 | ||||
ก่อนหน้า | เรเซ | ||||
ถัดไป | คาซัง | ||||
พระราชสมภพ | 12 เมษายน ค.ศ. 958 เฮอังเกียว (เกียวโต) | ||||
สวรรคต | 1 มีนาคม ค.ศ. 991 เฮอังเกียว (เกียวโต) | (32 ปี)||||
ฝังพระศพ | โนจิ โนะ มูรากามิ โนะ มิซาซางิ (後村上陵; เกียวโต) | ||||
ชายา |
| ||||
พระราชบุตร | จักรพรรดิอิจิโจ | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิมูรากามิ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ อันชิ |
จักรพรรดิเอ็นยู (ญี่ปุ่น: 円融天皇; โรมาจิ: En'yū-tennō; 12 เมษายน ค.ศ. 958 – 1 มีนาคม ค.ศ. 991) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 64[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]
จักรพรรดิเอ็นยูทรงครองราชย์ในช่วง ค.ศ. 969 ถึง 984[3]
พระราชประวัติ
[แก้]ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ เอ็นยูมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) ว่า โมริฮิระ-ชินโน (ญี่ปุ่น: 守平親王; โรมาจิ: Morihira-shinnō)[4]
โมริฮิระ-ชินโนเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 5 ในจักรพรรดิมูรากามิกับสมเด็จพระจักรพรรดินี อันชิ ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โมโรซูเกะ เอ็นยูจึงมีศักดิ์เป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดาเดียวกับจักรพรรดิเรเซ
ใน ค.ศ. 967 โมริฮิระ-ชินโนได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร โดยข้ามพระเชษฐาที่มีพระราชมารดาองค์เดียวกัน เนื่องจากตัวพระเชษฐาไม่ได้รับการสนับสนุนจากตระกูลฟูจิวาระ
เอ็นยูมีพระมเหสีรวม 5 พระองค์และมีพระราชโอรสเพียงองค์เดียว[5]
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิเอ็นยู
[แก้]- 27 กันยายน ค.ศ. 969 (ปีอันนะที่ 2, วันที่ 13 เดือน 8): ในปีที่ 3 ของรัชสมัยจักรพรรดิเรเซ (冷泉天皇三年) องค์จักรพรรดิสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชอนุชา[6]
- 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 969 (ปีอันนะที่ 2, วันที่ 23 เดือน 9): กล่าวกันว่าจักรพรรดิเอ็นยูขึ้นครองราชบัลลังก์[7]
- 8 มิถุนายน ค.ศ. 976 (ปีเท็นเอ็งที่ 2, วันที่ 11 เดือน 5): พระราชวังเกิดเพลิงไหม้ และกระจกศักดิ์สิทธิ์ดำจนไม่สามารถสะท้อนแสงได้[5]
- 31 ธันวาคม ค.ศ. 980 (ปีเท็งเง็งที่ 3, วันที่ 22 เดือน 11): พระราชวังเกิดเพลิงไหม้ และกระจกศักดิ์สิทธิ์แตกหักครึ่งหนึ่ง[5]
- 5 ธันวาคม ค.ศ. 982 (ปีเท็งเง็งที่ 5, วันที่ 17 เดือน 11): พระราชวังเกิดเพลิงไหม้ และกระจกศักดิ์สิทธิ์ถูกลดขนาดลงเหลือเพียงก้อนโลหะหลอมเหลว ซึ่งมีการเก็บรวบรวมและนำไปถวายแด่องค์จักรพรรดิ[5]
- 24 กันยายน ค.ศ. 984 (ปีเอกังที่ 2, วันที่ 27 เดือน 8): จักรพรรดิสละราชสมบัติเมื่อพระชนมายุเพียง 26 พรรษา[5]
- 16 กันยายน ค.ศ. 985 (ปีคันนะที่ 1, วันที่ 29 เดือน 8): อดีตจักรพรดริเอ็นยูบวชเป็นพระสงฆ์ และใช้พระนามว่า คงโง โฮ[5]
- 1 มีนาคม ค.ศ. 991 (ปีโชเรียกุที่ 2, วันที่ 12 เดือน 2): เอ็นยู ตอนนี้รู้จักกันในพระนาม คงโง โฮ สวรรคตด้วยพระชนมพรรษาเพียง 32 พรรษา[5]
รัชสมัย
[แก้]ปีในรัชสมัยเอ็นชูมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราช (gengō หรือ nengō)[8]
- อันนะ (968–970)
- เท็นโรกุ (970–973)
- เท็นเอ็ง (973–976)
- โจเง็ง (976–978)
- เท็งเง็ง (978–983)
- เอกัง (983–985)
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
[แก้]จักรพรรดินี (ชูงู): ฟูจิวาระ โนะ โคชิ (藤原媓子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คาเนมิจิ
จักรพรรดินี (ชูงู): ฟูจิวาระ โนะ จุนชิ/โนบูโกะ (藤原遵子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โยริตาดะ
พระมเหสี (เนียวโงะ): เจ้าหญิงซนชิ (尊子内親王; 966–985) พระราชธิดาในจักรพรรดิเรเซ
พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ เซ็นชิ (藤原詮子; 962–1002) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คาเนอิเอะ; ภายหลังเป็น เนียวอิง (女院) 'ฮิงาชิ-ซันโจอิง' (東三条院)
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายยาซูฮิโตะ (懐仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิอิจิโจ
ชาววัง (โคอูอิ): ชูโจะ-มิยาซูโดโกโระ (中将御息所) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คาเนตาดะ
ชาววัง (โคอูอิ): โชโช โคอูอิ (少将更衣)
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิเอ็นยู | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 円融天皇 (64)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 71.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 144–148; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, p. 299-300; Varely, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 191–192.
- ↑ Titsingh, p. 144; Varely, p. 191; Brown, p. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Brown, p. 300.
- ↑ Titsingh, p. 143; Brown, p. 299; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
- ↑ Titsingh, p. 144; Varley, p. 44.
- ↑ Titsingh, p. 144.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
ข้อมูล
[แก้]- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842