ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิซางะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิซางะ
嵯峨天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์18 พฤษภาคม ค.ศ. 809 – 29 พฤษภาคม ค.ศ. 823
ราชาภิเษก30 พฤษภาคม ค.ศ. 809
ก่อนหน้าเฮเซ
ถัดไปจุนนะ
พระราชสมภพ3 ตุลาคม ค.ศ. 784
คามิโนะ (ญี่ปุ่น: 神野โรมาจิKamino)
สวรรคตสิงหาคม 24, 842(842-08-24) (57 ปี)
ฝังพระศพซางะ โนะ ยามาโนเอะ โนะ มิซาซางิ
คู่อภิเษกทาจิบานะ โนะ คาจิโกะ
พระราชบุตร
และอื่น ๆ...
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิซางะ (嵯峨天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิคัมมุ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ โอโตมูโระ

จักรพรรดิซางะ (ญี่ปุ่น: 嵯峨天皇โรมาจิSaga-tennō; 3 ตุลาคม ค.ศ. 786 – 24 สิงหาคม ค.ศ. 842) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 52[1] ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2] รัชสมัยของจักรพรรดิซางะกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 809 ถึง 823[3]

เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม

[แก้]

ซางะเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิคัมมุกับฟูจิวาระ โนะ โอโตมูโระ[4][5] มีพระนามส่วนพระองค์ว่า คามิโนะ (ญี่ปุ่น: 神野โรมาจิKamino)[6] ซางะเป็น "นักอักษรวิจิตรผู้เชี่ยวชาญ" ที่สามารถแต่งบทกวีเป็นภาษาจีนได้ และเป็นผู้จัดการแข่งขันบทกวีของจักรพรรดิเป็นครั้งแรก (ไนเอ็ง)[7] กล่าวกันว่าจักรพรรดิซางะเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่เสวยชาที่นำเข้ามาจากจีน

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิซางะ

[แก้]
  • ค.ศ. 806 ซางะกลายเป็นมกุฎราชกุมารตนอพระชนมพรรษา 21 พรรษา
  • 17 มิถุนายน ค.ศ. 809[8] (ปีไดโดที่ 4, วันที่ 1 เดือน 4[9]): ในปีที่ 4 ของรัชสมัยจักรพรรดิเฮเซ พระองค์ทรงพระประชวรหนักจึงสละราชบัลลังก์ให้กับซางะ พระราชโอรสองค์ที่ 2 ของจักรพรรดิคัมมุ ส่วนพระราชโอรสองค์โตบวชเป็นพระสงฆ์ หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิซางะจึงขึ้นครองราชย์[10]

หลังจากพิธีราชาภิเษก ซางะทรงพระประชวร

  • 24 สิงหาคม ค.ศ. 842 (ปีโจวะที่ 9, วันที่ 15 เดือน 7[11]): ซางะสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 57 พรรษา[12]

รัชสมัย

[แก้]

ปีในรัชสมัยของซางะมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราช (nengō)[13]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

จักรพรรดิซางะมีพระราชโอรสธิดารวม 49 พระองค์จากสตรีอย่างน้อย 30 คน พระราชโอรสธิดาหลายคนรับนามสกุลมินาโมโตะ ทำให้พวกเขาถูกตัดจากการสืบราชบัลลังก์

  • จักรพรรดินี: ทาจิบานะ โนะ คาจิโกะ (橘嘉智子) มีอีกพระนามว่า จักรพรรดินีดันริง (ญี่ปุ่น: 檀林皇后โรมาจิDanrin-kōgō) ธิดาในทาจิบานะ โนะ คิโยโตโมะ[14]
    • พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายมาซาระ (正良親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดินิมเมียว
    • เจ้าหญิงเซชิ (正子内親王; 810–879) สมรสกับจักรพรรดิจุนนะ
    • เจ้าหญิงฮิเดโกะ (秀子内親王; สวรรคต ค.ศ. 850)
    • เจ้าชายฮิเดระ (秀良親王; 817–895)
    • เจ้าหญิงโทชิโกะ (俊子内親王; สวรรคต ค.ศ. 826)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 5: เจ้าหญิงโยชิโกะ (芳子内親王; สวรรคต ค.ศ. 836)
    • เจ้าหญิงชิเงโกะ (繁子内親王; สวรรคต ค.ศ. 865)
  • ฮิ (ถูกถอดถอน): เจ้าหญิงทากัตสึ (高津内親王; สวรรคต ค.ศ. 841) พระราชธิดาในจักรพรรดิคัมมุ
    • เจ้าชายองค์ที่ 2: เจ้าชายนาริโยชิ (業良親王; สวรรคต ค.ศ. 868)
    • เจ้าหญิงนาริโกะ (業子内親王; สวรรคต ค.ศ. 815)
  • ฮิ: ทาจิฮิ โนะ ทากาโกะ (多治比高子; 787–825) ธิดาในทาจิฮิ โนะ อูจิโมริ
  • บูนิง: ฟูจิวาระ โนะ โอนัตสึ (藤原緒夏; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 855) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ อูจิมาโระ

พระราชพงศาวลี

[แก้]

[15]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Emperor Saga, Saganoyamanoe Imperial Mausoleum, Imperial Household Agency
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 63–64.
  3. Brown and Ishida, pp. 280–282; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 151–163; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 97–102., p. 97, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. Varley, p. 151.
  5. Brown and Ishida, p. 280.
  6. Titsingh, p. 96; Brown and Ishida, p. 280.
  7. Brown and Ishida, p. 281
  8. Julian dates derived from NengoCalc
  9. 大同四年五月一日
  10. Titsingh, p. 96; Brown and Ishida, p. 280; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
  11. 承和九年七月十五日
  12. Brown and Ishida, p. 282; Varley, p. 163.
  13. Titsingh, p. 97.
  14. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 318–319.
  15. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 28 January 2018.

ข้อมูล

[แก้]

嵯峨山上

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]