โซงะ โนะ อูมาโกะ
โซงะ โนะ อูมาโกะ | |
---|---|
蘇我 馬子 | |
เกิด | ค.ศ. 551? |
เสียชีวิต | 19 มิถุนายน ค.ศ. 626 |
สุสาน | ชิมาโนโช อาซูกะ จังหวัดนาระ ประเทศญี่ปุ่น (ตามธรรมเนียม) 34°28′0.7″N 135°49′34.1″E / 34.466861°N 135.826139°E |
อนุสรณ์สถาน | อิชิบูไตโคฟุง (ตามธรรมเนียม) |
ชื่ออื่น | ชิมะ โนะ โอโอมิ (ญี่ปุ่น: 嶋大臣; โรมาจิ: Shima no Ōomi) |
ปีปฏิบัติงาน | ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 – ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 |
มีชื่อเสียงจาก | การปฏิรูปการเมืองในยุคอาซูกะ, มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าชายโชโตกุ ผู้สนับสนุนศาสนาพุทธ |
คู่สมรส | ธิดาในโมโนโนเบะ โนะ โองูชิ |
บุตร | คาฮิอิโกะ โนะ อิรัตสึเมะ โซงะ โนะ เอมิชิ โซงะ โนะ คูรามาโระ โทจิโกะ โนะ อิรัตสึเมะ โฮเดะ โนะ อิรัตสึเมะ |
บิดามารดา | โซงะ โนะ อินาเมะ |
โซงะ โนะ อูมาโกะ (ญี่ปุ่น: 蘇我 馬子; โรมาจิ: Soga no Umako; ค.ศ. 551? – 19 มิถุนายน ค.ศ. 626)[1] เป็นบุตรในโซงะ โนะ อินาเมะและสมาชิกตระกูลโซงะผู้มีอำนาจในประเทศญี่ปุ่น
อูมาโกดำเนินการปฏิรูปการเมืองร่วมกับเจ้าชายโชโตกุในรัชสมัยจักรพรรดิบิดัตสึกับจักรพรรดินีซูอิโกะ[2] และสถาปนาฐานที่มั่นของตระกูลโซงะในราชสำนักด้วยการให้พระธิดาของพระองค์สมรสกับสมาชิกพระบรมวงศานุวงศ์
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 โซงะ โนะ อูมาโกะได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น และมีบทบาทสำคัญในการทำให้มีการยอมรับศาสนานี้ ในเวลานั้น ตระกูลโซงะได้ว่าจ้างผู้อพยพจากจีนและเกาหลี และทำงานเพื่อให้ได้เทคโนโลยีขั้นสูงและความรู้อื่น ๆ ใน ค.ศ. 587 อูมาโกะเอาชนะโมโนโนเบะ โนะ โมริยะในยุทธการที่ชิงิซัง ทำให้ยังคงรักษาอำนาจของตระกูลโซงะไว้ต่อไป ตามข้อมูลจากนิฮงโชกิส่วนซูอิโกะ ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 593 มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ในศิลาฤกษ์ใต้เสาเจดีย์ที่อาซูกะ-เดระ (ในเวลานั้นคือ โฮโก-จิ) วัดที่อูมาโกะสั่งให้สร้าง[3]
เชื่อกันว่าอิชิบูไตโคฟุงเป็นที่ตั้งของสุสานโซงะ โนะ อูมาโกะ[4]
พงศาวลี
[แก้]พระมเหสีของโซงะ โนะ อูมาโกะเป็นพระธิดาในโมโนโนเบะ โนะ โองูชิและพระเชษฐ/กนิษฐภคินีในโมโนโนเบะ โนะ โมริยะ ทั้งคู่ให้กำเนิดพระโอรสธิดา 5 พระองค์
- โซงะ โนะ เอมิชิ
- โซงะ โนะ คูรามาโระ
- คาฮากามิ โนะ อิรัตสึเมะ กลายเป็นพระมเหสีในจักรพรรดิซูชุงใน ค.ศ. 587 สมรสกับยามาโตะ โนะ อายะ โนะ อาตาเฮะใน ค.ศ. 592
- โทจิโกะ โนะ อิรัตสึเมะ พระมเหสีในโชโตกุไทชิ
- โฮเดะ โนะ อิรัตสึเมะ พระมเหสีในจักรพรรดิโจเม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 19 มิถุนายน ค.ศ. 626 ตรงกับวันที่ 20 เดือน 5 ค.ศ. 626 (ปีเฮโบะ) ตามปฏิทินสุริยจันทรคติที่ใช้งานในญี่ปุ่นจนถึง ค.ศ. 1873
- ↑ Mulhern, Chieko Irie (1991). Heroic with grace: legendary women of Japan. Armonk, N.Y: M.E. Sharpe. p. 40. ISBN 0-87332-552-4.
- ↑ Aston, W. G. (2008). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times. New York: Cosimo, Inc. ISBN 978-1-60520-146-7.
- ↑ "Ishibutai kofun". Asukanet.gr.jp. สืบค้นเมื่อ 2012-06-10.