จักรพรรดิโมโมโซโนะ
จักรพรรดิโมโมโซโนะ 桃園天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 9 มิถุนายน ค.ศ. 1747 – ค.ศ. 1762 | ||||
ก่อนหน้า | ซากูรามาจิ | ||||
ถัดไป | โกะ-ซากูรามาจิ | ||||
โชกุน | ดูรายชื่อ
| ||||
ประสูติ | 14 เมษายน ค.ศ. 1742 เกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ โทฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 遐仁; โรมาจิ: Tōhito) | ||||
สวรรคต | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1762 เกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ | (20 ปี)||||
ฝังพระศพ | สึกิ โนะ วะ โนะ มิซาซางิ เกียวโต | ||||
คู่อภิเษก | อิจิโจ โทมิโกะ | ||||
พระราชบุตร | จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ เจ้าชายซาดาโมจิ | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิซากูรามาจิ | ||||
พระราชมารดา | อาเนงาโกจิ ซาดาโกะ [ja] | ||||
ลายพระอภิไธย | ![]() |
โทฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 遐仁; โรมาจิ: Tōhito; 14 เมษายน ค.ศ. 1742 – 31 สิงหาคม ค.ศ. 1762) ได้รับการเลื่อนพระเกียรติหลังสวรรคตเป็น จักรพรรดิโมโมโซโนะ (ญี่ปุ่น: 桃園天皇; โรมาจิ: Momozono-tennō) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 116 ตามธรรมเนียมการสืบราชสันตติวงศ์[1][2] รัชสมัยของจักรพรรดิโมโมโซโนะเกิดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1747 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1762[3] รัชสมัยของจักรพรรดิโมโมโซโนะส่วนใหญ่เงียบสงบ โดยมีเพียงเหตุการณ์เดียวที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับคูเงะจำนวนหนึ่งที่สนับสนุนการฟื้นฟูการปกครองโดยตรงของจักรพรรดิ คูเงะเหล่านี้ถูกลงโทษโดยโชกุน ผู้มีอำนาจโดยพฤตินัยในประเทศ
จักรพรรดิโมโมโซโนะมีโอรส 2 องค์กับ นางสนองพระโอษฐ์ แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุยังน้อยใน ค.ศ. 1762 การสืบราชสันตติวงศ์ตกอยู่กับเจ้าหญิงโทชิโกะ พระเชษฐภคินี (พี่สาว) ของจักรพรรดิโมโมโซโนะซึ่งกลายเป็น จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ เนื่องจากโอรสของ จักรพรรดิโมโมโซโนะ พระชนมายุยังน้อย จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ จึงกลายเป็นจักรพรรดินีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของ จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ ในอนาคตจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะบริหารราชการแผ่นดินได้ด้วยพระองค์เอง
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของโมโมโซโนะ
[แก้]พระนชม์ชีพช่วงต้น
[แก้]ก่อนที่โมโมโซโนะขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์มีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) ว่า โทฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 遐仁; โรมาจิ: Tōhito)[4] โทฮิโตะเป็นพระราชโอรสองค์แรกในจักรพรรดิซากูรามาจิกับพระสนมนามซาดาโกะ (定子) (สมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวงไคเม, 開明門院) พระอิสริยยศก่อนขึ้นครองราชย์ของโทฮิโตะคือ ยาโฮะ-โนะ-มิยะ (八穂宮) และภายหลังเป็น ซาจิ-โนะ-มิยะ (茶地宮) เจ้าชายโทฮิโตะได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1747[5]
รัชสมัย
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระบรมวงศานุวงศ์
[แก้]จักรพรรดิโมโมโซโนะมีนางสนองพระโอษฐ์พระองค์เดียวนามว่า อิจิโจ โทมิโกะ และให้กำเนิดพระราชโอรสอย่างน้อย 2 พระองค์
ตำแหน่ง | พระนาม | พระราชสมภพ | สวรรคต | พระราชบิดา |
---|---|---|---|---|
นางสนองพระโอษฐ์ | อิจิโจ โทมิโกะ (ญี่ปุ่น: 一条富子; โรมาจิ: Ichijō Tomiko) | 1743 | 1796 | อิจิโจ คาเนกะ |
พระราชโอรสองค์แรก | เจ้าชายฮิเดฮิโตะ (英仁親王) (ภายหลังเป็นจักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ) |
1758 | 1779 | จักรพรรดิโมโมโซโนะ |
พระราชโอรสองค์ที่ 2 | เจ้าชายฟูชิมิ-โนะ-มิยะ ซาดาโมจิ (伏見宮貞行親王) | 1760 | 1772 | จักรพรรดิโมโมโซโนะ |
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิโมโมโซโนะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 桃園天皇 (115)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 119–120.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 418–419.
- ↑ Ponsonby-Fane, p. 10; Titsingh, p. 418.
- ↑ Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 48.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.
ข้อมูล
[แก้]- Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit: unter besonderer Berücksichtigung der Jahre 1846 bis 1867. Münster: LIT Verlag. ISBN 978-3-8258-3939-0; OCLC 42041594
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822. London: RoutledgeCurzon. ISBN 978-0-203-09985-8; OCLC 65177072
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691