ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์มุฮัมมัด อะลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหากษัตริย์อียิปต์และซูดาน
ภาพตัดต่อของพระมหากษัตริย์และลูกหลาน
รายละเอียด
พระราชอิสริยยศวาลี (รัฐเคดีฟที่ไม่รับรอง) แห่งอียิปต์ (1805–1867)
รัฐเคดีฟแห่งอียิปต์ (1867–1914)
สุลต่านอียิปต์ (1914–1922)
พระมหากษัตริย์อียิปต์ (1922–1951)
พระมหากษัตริย์อียิปต์และซูดาน (1951–1953)
กษัตริย์องค์แรกมุฮัมมัด อะลี พาชา
กษัตริย์องค์สุดท้ายฟุอาดที่ 2
สถาปนาเมื่อ18 มิถุนายน ค.ศ. 1805
การล้มล้าง18 มิถุนายน ค.ศ. 1953
ที่ประทับป้อมไคโร (1805–1874)[1]
พระราชวังอับดีน (1874–1952)[2]
ผู้อ้างสิทธิเป็นกษัตริย์ฟุอาดที่ 2

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์มุฮัมมัด อะลี เป็นประมุขที่ปกครองประเทศอียิปต์ระหว่างปี ค.ศ. 1805 - ค.ศ. 1953 และได้ขยายอิทธิพลมาปกครองซูดาน ลิแวนต์และฮิญาซในช่วงต้นศตวรรษที่ 19[3] ราชวงศ์มุฮัมมัด อะลีก่อตั้งโดยพาชามุฮัมมัด อะลี ผู้บัญชาการกองกำลังสำรวจชาวแอลเบเนียที่จักรวรรดิออตโตมันส่งมาใน ค.ศ. 1801 เพื่อขับไล่การครอบครองอียิปต์ของฝรั่งเศสที่นำโดยนโปเลียนออกไป ความพ่ายแพ้และการเดินทางออกไปของฝรั่งเศสทำไปสู่ช่องว่างแห่งอำนาจในอียิปต์ที่อยู่ภายใต้มณฑลออตโตมันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ระบบชนชั้นทหารมัมลูกก่อนหน้าออตโตมันยังคงมีอำนาจอยู่ หลังสงครามกลางเมืองสามปี มุฮัมมัด อะลีสามารถรวบรวมอำนาจเหนืออียิปต์ได้และประกาศตนเป็นเคดีฟของประเทศนี้ ราชสำนักออตโตมันไม่รับรองตำแหน่งนี้ แต่รับรองมุฮัมมัด อะลีด้วยตำแหน่งวาลี (เทียบเท่ากับผู้ว่าราชการหรืออุปราช) ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1805 ทำให้มุฮัมมัด อะลีเป็นผู้สืบทอดในตำแหน่งนั้นต่อจากอาห์เม็ด พาชา[4] ในช่วงหลายปีหลังจากที่พระองค์รวบอำนาจได้ มุฮัมมัด อะลีได้ขยายพรมแดนของอียิปต์ไปทางทิศใต้จนถึงซูดาน ทางตะวันออกถึงอัลมัชริกที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ โดยเฉพาะในลิแวนต์ ใน ค.ศ. 1840 ความต้องการในการถ่ายอำนาจควบคุมอียิปต์และซูดานของพระองค์ให้กับทายาทและผู้สืบทอดได้รับการยอมรับและยืนยันในอนุสัญญาแห่งลอนดอน แต่ถูกบังคับให้ยอมรับว่าเมื่อพระองค์สวรรคต การควบคุมดินแดนเหนืออัลมัชริกจะกลับคืนให้ Porte[5]

รายพระนามพระมหากษัตริย์ (ค.ศ. 1805–1953)

[แก้]
สถานะ
  ระบุเป็นอุปราช

วิลายะฮ์/รัฐเคดีฟที่ไม่รับรอง (1805–1867)

[แก้]
ลำดับ พระบรมสาทิสลักษณ์ วาลี รัชสมัย ราชวงศ์ อ้างสิทธิ์
(ความสัมพันธ์กับพระองค์ก่อน)
พระนาม
(ประสูติ–สวรรคต)
เริ่มต้น สิ้นสุด ระยะเวลา
1 มุฮัมมัด อะลี
พาชา

(1769–1849)
18 มิถุนายน 1805 20 กรกฎาคม 1848 43 ปี 32 วัน มุฮัมมัด อะลี ยึดอำนาจในเอยาเลตอียิปต์
อิบรอฮีม
พาชา

(1789–1848)
15 เมษายน 1848 20 กรกฎาคม 1848[c] 0 ปี 96 วัน มุฮัมมัด อะลี อุปราช
ของมุฮัมมัด อะลี
พาชา
2 20 กรกฎาคม 1848 10 พฤศจิกายน 1848 0 ปี 113 วัน สันนิษฐานว่าเป็นโอรสของมุฮัมหมัด อะลี[d]
พาชา
3 อับบาส ฮิลมีที่ 1
พาชา

(1812–1854)
10 พฤศจิกายน 1848 13 กรกฎาคม 1854
(ถูกลอบปลงพระชนม์)[e]
5 ปี 245 วัน มุฮัมมัด อะลี พระราชนัดดาของอิบรอฮีม
พาชา
4 มุฮัมมัด ซะอีด
พาชา

(1822–1863)
14 กรกฎาคม 1854 18 มกราคม 1863 8 ปี 188 วัน มุฮัมมัด อะลี พระปิตุลาต่างพระราชมารดาของอับบาส ฮิลมีที่ 1
พาชา
5 อิสมาอีล
พาชา

(1830–1895)
19 มกราคม 1863 8 มิถุนายน 1867 4 ปี 140 วัน มุฮัมมัด อะลี พระราชนัดดาต่างพระราชมารดาของมุฮัมมัด ซะอีด
พาชา

รัฐเคดีฟ (1867–1914)

[แก้]
ลำดับ พระบรมฉายาลักษณ์ เคดีฟ รัชสมัย ราชวงศ์ อ้างสิทธิ์
(ความสัมพันธ์กับพระองค์ก่อน)
พระนาม
(ประสูติ–สวรรคต)
เริ่มต้น สิ้นสุด ระยะเวลา
(5) อิสมาอีล
พาชา

(1830–1895)
8 มิถุนายน 1867 26 มิถุนายน 1879
(ถูกถอดถอน)
12 ปี 18 วัน มุฮัมมัด อะลี พระราชนัดดาต่างพระราชมารดาของมุฮัมมัด ซะอีด
พาชา
6 มุฮัมมัด เตาฟีก
พาชา

(1852–1892)
26 มิถุนายน 1879 7 มกราคม 1892 12 ปี 195 วัน มุฮัมมัด อะลี พระราชโอรสในอิสมาอีล
พาชา
7 อับบาส ฮิลมีที่ 2
พาชา

(1874–1944)
8 มกราคม 1892 19 ธันวาคม 1914
(ถูกถอดถอน)[f]
22 ปี 345 วัน มุฮัมมัด อะลี พระราชโอรสในมุฮัมมัด เตาฟีก
พาชา

รัฐสุลต่าน (1914–1922)

[แก้]
ลำดับ พระบรมฉายาลักษณ์ สุลต่าน รัชสมัย ราชวงศ์ อ้างสิทธิ์
(ความสัมพันธ์กับพระองค์ก่อน)
พระนาม
(ประสูติ–สวรรคต)
เริ่มต้น สิ้นสุด ระยะเวลา
8 ฮุซัยน์ กามิล
(1853–1917)
19 ธันวาคม 1914 9 ตุลาคม 1917 2 ปี 294 วัน มุฮัมมัด อะลี พระปิตุลาต่างพระราชมารดาของอับบาส ฮิลมีที่ 2
พาชา
9 อะห์มัด ฟุอาดที่ 1
(1868–1936)
9 ตุลาคม 1917 15 มีนาคม 1922 4 ปี 157 วัน มุฮัมมัด อะลี พระอนุชาต่างพระราชมารดาของฮุซัยน์ กามิล

ราชอาณาจักร (1922–1953)

[แก้]
ลำดับ พระบรมฉายาลักษณ์ พระมหากษัตริย์ รัชสมัย ราชวงศ์ อ้างสิทธิ์
(ความสัมพันธ์กับพระองค์ก่อน)
พระนาม
(ประสูติ–สวรรคต)
เริ่มต้น สิ้นสุด ระยะเวลา
(9) อะห์มัด ฟุอาดที่ 1
(1868–1936)
15 มีนาคม 1922 28 เมษายน 1936 14 ปี 44 วัน มุฮัมมัด อะลี พระอนุชาต่างพระราชมารดาของฮุซัยน์ กามิล
เจ้าชาย
มุฮัมมัด อะลี เตาฟีก

(1875–1955)
ประธาน
8 พฤษภาคม 1936 29 กรกฎาคม 1937[g] 1 ปี 82 วัน มุฮัมมัด อะลี คณะผู้สำเร็จราชการ
แทนฟารูกที่ 1
อะซีซ อิซซัต
พาชา

(1869–1961)
ชะรีฟ ศ็อบรี
พาชา

(1895–?)
10 ฟารูกที่ 1
(1920–1965)
28 เมษายน 1936 26 กรกฎาคม 1952
(ถูกบังคับให้สละราชสมบัติโดยฝ่ายปฏิวัติ)
16 ปี 89 วัน มุฮัมมัด อะลี พระราชโอรสในอะห์มัด ฟุอาดที่ 1
11 อะห์มัด ฟุอาดที่ 2
(ประสูติ ค.ศ. 1952)
26 กรกฎาคม 1952 18 มิถุนายน 1953
(ถูกถอดถอน)[b]
0 ปี 327 วัน มุฮัมมัด อะลี พระราชโอรสในฟารูกที่ 1
อะลี มาฮิร
พาชา

(1882–1960)
นายกรัฐมนตรี
26 กรกฎาคม 1952 2 สิงหาคม 1952 0 ปี 7 วัน คณะรัฐมนตรี
แทนอะห์มัด ฟุอาดที่ 2
เจ้าชาย
มุฮัมมัด อับดุลมุนอิม

(1899–1979)
ประธาน
2 สิงหาคม 1952 14 ตุลาคม 1952 0 ปี 73 วัน มุฮัมมัด อะลี คณะผู้สำเร็จราชการ
แทนอะห์มัด ฟุอาดที่ 2
บะฮียุดดีน บะเราะกาต
พาชา

(1889–1972)
พันเอก
เราะชาด มะฮันนา
(1909–1996)
เจ้าชาย
มุฮัมมัด อับดุลมุนอิม

(1899–1979)
14 ตุลาคม 1952 18 มิถุนายน 1953
(ถูกถอดถอน)[b]
0 ปี 247 วัน มุฮัมมัด อะลี อุปราช
ของอะห์มัด ฟุอาดที่ 2

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lyster, William (1990). The Citadel of Cairo: A History and Guide (snippet view). Cairo: Palm Press. p. 79. ISBN 978-977-5089-02-1. OCLC 231494131. สืบค้นเมื่อ 17 July 2010. It was the residence of the royal family until 1874, when Khedive Isma'il moved out of the Citadel into the newly built 'Abdin Palace.
  2. Hassan, Fayza (3–9 December 1998). "Party politics". Al-Ahram Weekly (406). สืบค้นเมื่อ 17 July 2010. Abdin Palace remained the official residence of the royal family from 1874 until the 1952 Revolution.
  3. "Egypt: Muhammad Ali, 1805–48". Country Studies. Federal Research Division of the Library of Congress. December 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2009. สืบค้นเมื่อ 25 August 2008.
  4. Sinoué 1997, pp. 55–77
  5. Goldschmidt & Johnston 2004, p. 243

บรรณานุกรม

[แก้]