ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโคโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิโคโก
光孝天皇
พระบรมสาทิสลักษณ์โดยคัตสึกาวะ ชุนโช, ค.ศ. 1775
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์5 มีนาคม ค.ศ. 884 – 17 กันยายน ค.ศ. 887
ราชาภิเษก23 มีนาคม ค.ศ. 884
ก่อนหน้าโยเซ
ถัดไปอูดะ
ประสูติ1 ตุลาคม ค.ศ. 829
เฮอังเกียว (เกียวโต)
สวรรคต17 กันยายน ค.ศ. 887(887-09-17) (57 ปี)
เฮอังเกียว (เกียวโต)
ฝังพระศพโนจิ โนะ ทามูระ โนะ มิซาซางิ (後田邑陵; เกียวโต)
พระราชบุตร
และพระองค์อื่น...
จักรพรรดิอูดะ
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิโคโก (光孝天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดินิมเมียว
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ ทากูชิ [ja]

จักรพรรดิโคโก (ญี่ปุ่น: 光孝天皇โรมาจิKōkō-tennō; ค.ศ. 830 – 17 กันยายน ค.ศ. 887) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 58[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]

โคโกครองราชย์ใน ค.ศ. 884 ถึง 887[3]

เรื่องราวแบบดั้งเดิม

[แก้]

พระองค์มีพระนาม (อิมินะ)[4] ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศเป็น โทกิยาซุ ชินโน (ญี่ปุ่น: 時康親王โรมาจิTokiyasu Shinnō)[5] หรือ โคมัตสึ-เทอิ[6] บางครั้งมีการระบุในภายหลังเป็น "จักรพรรดิโคมัตสึ"[7] ทำให้จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึนำพระนามนี้ไปใช้ (โกะ- หมายถึง "หลัง" ทำให้พระนามนี้มีความหมายว่า "จักรพรรดิโคมัตสึองค์หลัง" หรือ "จักรพรรดิโคมัตสึที่ 2")

โทกิยาซุ ชินโน เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในจักรพรรดินิมเมียว ส่วนพระราชมารดามีพระนามว่าฟูจิวาระ โนะ ซาวาโกะ[8]

โคโกมีพระมเหสีรวม 4 พระองค์และมีพระราชโอรสธิดารวม 41 พระองค์[7]

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของโคโก

[แก้]

จักรพรรดิโคโกขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจาก จักรพรรดิโยเซ ที่ถูกปลดออกจากราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 884 โดยได้มีการประกอบพิธีราชาภิเษกขึ้นที่ พระราชวังหลวงเฮอัง ในอีก 19 วันต่อมาคือเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 884

จักรพรรดิโคโกเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 887 ที่พระราชวังหลวงเฮอังขณะพระชนมายุได้ 57 พรรษาหลังจากครองสิริราชสมบัติได้เพียง 3 ปีโดยมีเจ้าชายซะดะมิพระราชโอรสองค์ใหญ่ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิอุดะ

ศักราชในรัชสมัยโคโก

[แก้]

ปีในรัชสมัยโคโกมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือ เน็งโง[9]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]
  • พระมเหสี (ภายหลังเป็นโคไตโง): เจ้าหญิงฮันชิ (班子女王; 833–900) ภายหลังเป็นโทอิน-คิซากิ (洞院后) พระราชธิดาในเจ้าชายนากาโนะ (พระราชโอรสในจักรพรรดิคัมมุ)
    • พระราชโอรสองค์แรก: มินาโมโตะ โนะ โมโตนางะ (源元長; เสียชีวิต ค.ศ. 883) เสียชีวิตก่อนจักรพรรดิโคโกขึ้นครองราชย์
    • พระราชโอรสองค์ที่ 12: เจ้าชายโคเรตาดะ (是忠親王; 857–922)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 13: เจ้าชายโคเรซาดะ (是貞親王; สวรรคต ค.ศ. 903)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 15: เจ้าชายซาดามิ (定省親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิอูดะ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงทาดาโกะ (忠子内親王; 854–904) สมรสกับจักรพรรดิเซวะ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 5: เจ้าหญิงคันชิ (簡子内親王; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 914)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 8: เจ้าหญิงยาซูโกะ (綏子内親王; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 925) สมรสกับจักรพรรดิโยเซ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 16: เจ้าหญิงอิชิ (為子内親王; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 899) สมรสกับจักรพรรดิไดโงะ
  • พระมเหสี (เนียวโง): ฟูจิวาระ โนะ คามิโกะ (藤原佳美子; เสียชีวิต ค.ศ. 898) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ โมตตสึเนะ
  • พระมเหสี (เนียวโง): ฟูจิวาระ โนะ เก็นจิโกะ (藤原元善子) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ยามากาเงะ
  • พระมเหสี (เนียวโง): ไทระ โนะ โมโตโกะ/โทชิ (平等子) ธิดาในไทระ โนะ โยชิกาเซะ
  • ชาววัง (โคอูอิ): ชิเงโนะ โนะ นาโอโกะ (滋野直子; เสียชีวิต ค.ศ. 915)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงชิเงโกะ (繁子内親王; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 916) ไซโอคนที่ 23 ในศาลเจ้าอิเซะ (884–887)
  • ชาววัง (โคอูอิ): ธิดาในซานูกิ โนะ นางานาโอะ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 9: มินาโมโตะ โนะ โมโตมิ (源旧鑒; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 908)
  • ชาววัง (โคอูอิ): ฟูจิวาระ โมโตโกะ (藤原元子)
  • นางกำนัล: ซูงาวาระ โนะ รูอิชิ (菅原類子) ธิดาในซูงาวาระ โนะ โคเรโยชิ
  • นางกำนัล: เจ้าหญิงเคชิง (桂心女王) พระธิดาในเจ้าชายมาซามิ
  • นางกำนัล: ธิดาในตระกูลทาจิฮิ (多治氏の娘)
    • มินาโมโตะ โนะ คันชิ/อายาโกะ (源緩子/綾子; เสียชีวิต ค.ศ. 908)
  • นางกำนัล: ธิดาในตระกูลฟูเซะ (布勢氏の娘)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 12: ชิเงมิซุ โนะ คิโยซาเนะ (滋水清実) จักรพรรดิพระราชทานชื่อตระกูล "ชิเงมิซุ" (Shisei Kōka, 賜姓降下) ใน ค.ศ. 886
  • ชาววัง (โคอูอิ): ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คาโดมูเนะ, ภายหลังสมรสกับมินาโมโตะ โนะ โนโบรุ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 13 (พระโอรสบุญธรรม): มินาโมโตะ โนะ โคเรชิเงะ (源是茂; 886–941) บุตรในมินาโมโตะ โนะ โบโบรุ
  • (จากสตรีไม่ทราบชื่อ)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 2: มินาโมโตะ โนะ คาเนโยชิ (源兼善; สวรรคต ค.ศ. 879)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 3: มินาโมโตะ โนะ นาซาเนะ (源名実)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 4: มินาโมโตะ โนะ อัตสึยูกิ (源篤行)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 5: มินาโมโตะ โนะ เซโยชิ (源最善)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 6: มินาโมโตะ โนะ ชิกาโยชิ (源近善; สวรรคต ค.ศ. 918)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 7: มินาโมโตะ โนะ โอตตสึเนะ (源音恒)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 8: มินาโมโตะ โนะ โคเร็ตสึเนะ (源是恒; สวรรคต ค.ศ. 905)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 10: มินาโมโตะ โนะ ซาดัตสึเนะ (源貞恒; 857–908)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 11: มินาโมโตะ โนะ นาริกาเงะ (源成蔭)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 14: มินาโมโตะ โนะ คูนิโนริ (源国紀; สวรรคต ค.ศ. 909)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 16: มินาโมโตะ โนะ โคเซ็ง (源香泉)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 17: มินาโมโตะ โนะ โทโมซากะ (源友貞)
    • พระราชธิดาองค์แรก: มินาโมโตะ โนะ โอโซโกะ (源遅子)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 2: มินาโมโตะ โนะ เรชิ (源麗子)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 3: มินาโมโตะ โนะ อนชิ/คูซูโกะ (源音子/奇子; สวรรคต ค.ศ. 919)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 6: มินาโมโตะ โนะ ชูชิ (源崇子)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 7: มินาโมโตะ โนะ เร็นชิ/สึราโกะ (源連子; สวรรคต ค.ศ. 905)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 9: มินาโมโตะ โนะ เรชิ (源礼子)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 10: มินาโมโตะ โนะ ไซชิ (源最子; สวรรคต ค.ศ. 886)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 11: มินาโมโตะ โนะ ไคชิ (源偕子)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 12: มินาโมโตะ โนะ โมกูชิ (源黙子; สวรรคต ค.ศ. 902)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 13: มินาโมโตะ โนะ โคเรโกะ (源是子)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 14: มินาโมโตะ โนะ เฮชิ (源並子; สวรรคต ค.ศ. 906)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 15: มินาโมโตะ โนะ ชินชิ (源深子; สวรรคต ค.ศ. 917)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 17: มินาโมโตะ โนะ ชูชิ (源周子; สวรรคต ค.ศ. 912)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 18: มินาโมโตะ โนะ มิตสึโกะ (源密子)
    • มินาโมโตะ โนะ วาชิ (源和子; เสียชีวิต ค.ศ. 947) สมรสกับจักรพรรดิไดโงะ
    • มินาโมโตะ โนะ เค็นชิ (源謙子; เสียชีวิต ค.ศ. 924)
    • มินาโมโตะ โนะ ซายาโกะ (源袟子)
    • มินาโมโตะ โนะ ไคชิ (源快子; เสียชีวิต ค.ศ. 910)
    • มินาโมโตะ โนะ เซ็นชิ (源善子)

พระราชพงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 光孝天皇 (58)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 67.
  3. Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon (ภาษาฝรั่งเศส). Oriental Translation Fund. 1834.
  4. Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jōmei's reign.
  5. Titsingh, p. 124; Varley, p. 171.
  6. Ponsonby-Fane, p. 8.
  7. 7.0 7.1 Brown, p. 289.
  8. Brown, p. 289; Varley, p. 171.
  9. Titsingh, p. 124.
  10. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 3 February 2018.

ข้อมูล

[แก้]