จักรพรรดิอิงเงียว
จักรพรรดิอิงเงียว 允恭天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 412–453 (ตามธรรมเนียม)[1] | ||||
ก่อนหน้า | ฮันเซ | ||||
ถัดไป | อังโก | ||||
พระราชสมภพ | ค.ศ. 373–375[a] | ||||
สวรรคต | ค.ศ. 453 (78–80 พรรษา)[a] | ||||
ฝังพระศพ | เองะ โนะ นางานุ โนะ คิตะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 恵我長野北陵; โรมาจิ: Ega no Naganu no kita no misasagi; โอซากะ) | ||||
คู่อภิเษก | โอชิซากะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะ[6] | ||||
พระราชบุตร กับพระองค์อื่น ๆ... | |||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดินินโตกุ | ||||
พระราชมารดา | อิวาโนะ-ฮิเมะ[7] | ||||
ศาสนา | ชินโต |
จักรพรรดิอิงเงียว (ญี่ปุ่น: 允恭天皇; โรมาจิ: Ingyō-tennō) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 19 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[8][9] ทั้ง โคจิกิ และ นิฮงโชกิ (เรียกรวมกันเป็น คิกิ) บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่อ้างว่าพระองค์มีชีวิตอยู่ แม้ว่าไม่สามารถระบุวันที่แน่นอนเกี่ยวกับชีวิตหรือรัชสมัยของจักรพรรดิพระองค์นี้ได้ แต่โดยทั่วไปถือว่าจักรพรรดิครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 410 ถึง 453[6]
เรื่องราวยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์
[แก้]ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์นำมาจากโคจิกิและนิฮงโชกิ ซึ่งเรียกรวมกันเป็น คิกิ (ญี่ปุ่น: 記紀; โรมาจิ: Kiki) หรือ พงศาวดารญี่ปุ่น โดยในคิกิบันทึกว่าอิงเงียวเสด็จพระราชสมภพจากเจ้าหญิงอิวะ (ญี่ปุ่น: 磐之媛命; โรมาจิ: Iwa no hime no Mikoto) ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 373 ถึง 375 และได้รับพระราชทานนามว่า โออาซาซูมะ วากูโงะ โนะ ซูกูเนะ (ญี่ปุ่น: 雄朝津間稚子宿禰; โรมาจิ: Oasazuma Wakugo no Sukune)[4][7] พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในจักรพรรดินินโตกุ ทำให้เป็นพระอนุชาของริจูและฮันเซ หลังฮันเซสวรรคตใน ค.ศ. 410 บรรดารัฐมนตรีเข้าพบโออาซาซูมาและลงมติเลือกพระองค์เป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปอย่างเป็นเอกฉันท์ โออาซาซูมาปฏิเสธข้อเสนอโดยระบุว่าพระเชษฐาของพระองค์ "ดูหมิ่นเขาดั่งคนโง่" แล้วยังเรียกตัวพระองค์เองเป็น "ผู้โชคร้าย" โดยอ้างว่าตนทรงพระประชวรด้วยอาการอัมพาตที่ไม่ได้กล่าวถึง[4][6]
เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 2 ปี โอชิซากะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะ พระสนมองค์โปรด โน้มน้าวให้โออาซาซูมะขึ้นครองราชย์ได้สำเร็จ[6] โออาซาซูมะได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิอิงเงียวอย่างเป็นทางการ ส่วนพระสนมกลายเป็นโคโงองค์ถัดไป จากนั้นในช่วงต้น ค.ศ. 414 มีการส่งทูตไปที่ชิลลาเพื่อจัดหาแพทย์มารักษาจักรพรรดิผู้ประชวร แพทย์ได้ระบุว่าปัญหาเกิดจากพระเพลาของพระองค์ และสามารถรักษาได้ในเดือนสิงหาคมของปีนั้น[4][6]
ต่อมาในช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 418 จักรพรรดินีโอชิซากะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะได้แนะนำพระราชสวามีให้รู้จักกับพระกนิษฐภคินีของพระนางในงานเลี้ยงโดยไม่ได้ตั้งใจ จักรพรรดิอิงเงียวตกหลุมรักพระนางอย่างมากจึงส่งคนไปเรียกพระนางมาในภายหลัง[4][6] พระองค์เรียนรู้ว่าพระนามของสตรีคนนั้นคือ "โอโตฮิเมะ" ("เจ้าหญิงผู้ทรงพระเยาว์ที่สุด") แต่คนท้องถิ่นขนานนามพระนางจากความงามเป็น "โซโตโฮริ อิรัตสึเมะ" ("พรหมจาริณีผ่านเครื่องแต่งกาย; clothing pass maiden")[b][4] ในตอนแรกโอโตฮิเมะปฏิเสธที่จะทำตาม เพราะไม่ต้องการทำร้ายความรู้สึกของพระเชษฐ/กนิษฐภคินี ผู้ส่งสารที่ไม่อยากถูกลงโทษฐานไม่เชื่อฟังจึงอยู่กับโอโตฮิเมะจนกระทั่งพระนางตกลง[4] โอชิซากะไม่พอพระทัยต่อสิ่งนี้และไม่ให้โอโตฮิเมะเข้าไปยังพระราชวัง อิงเงียวจึงสร้างที่พำนักใกล้เคียงให้แก่โอโตฮิเมะ โดยซึ่งพระองค์มักแอบไปอยู่ที่นั่น[4][6]
จักรพรรดินีโอชิซากะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะให้กำเนิดพระราชโอรสธิดารวม 9 พระองค์ (พระราชโอรส 5 พระองค์และพระราชธิดา 4 พระองค์) ใน ค.ศ. 434 อิงเงียวทรงเลือกคินาชิ โนะ คารุ พระราชโอรสองค์แรก เป็นมกุฎราชกุมาร[4] นี่ถือเป็นทางเลือกที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งโดยไม่รู้ตัวหลังคินาชิถูกกล่าวหาว่ามีความสัมพันธ์ร่วมสายพระโลหิตกับเจ้าหญิงคารุ โนะ โออิรัตสึเมะ[11] อิงเงียวไม่สามารถลงพระราชอาญาพระราชโอรสได้ เนื่องด้วยตำแหน่งที่พระองค์พระราชทานให้ ทำให้พระองค์เลือกใช้วิธีทางอ้อมด้วยการเนรเทศคารุ โนะ โออิรัตสึเมะไปที่อิโยะ[4] เมื่อจักรพรรดิอิงเงียวสวรรคตในช่วง ค.ศ. 453 พระมหากษัตริย์ชิลลาทรงโศกศัลย์เป็นอย่างยิ่งจึงได้นำนักดนตรี 80 คนไปที่ญี่ปุ่นเพื่อปลอบประโลมดวงวิญญาณของอิงเงียว[12] ขณะเดียวกัน คินาชิ โนะ คารุต้องเผชิญกับความท้าทายจากการที่อานาโฮะ พระอนุชา ได้รับการสนับสนุนให้เป็นรัชทายาท[4]
การประเมินทางประวัติศาสตร์
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
[แก้]พระมเหสี/นางสนม
[แก้]บรรดาศักดิ์ | พระนาม | พระราชบิดา | พระราชโอรสธิดา[13] |
---|---|---|---|
จักรพรรดินี (โคโง) |
โอชิซากะ โนะ โอนากัตสึฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 忍坂大中姫; โรมาจิ: Oshisaka no Ōnakatsuhime)[14] | เจ้าชายวากานูเกะ โนะ ฟูตามาตะ (ญี่ปุ่น: 稚野毛二派皇子)[13] | • เจ้าชายคินาชิ โนะ คารุ (ญี่ปุ่น: 木梨軽皇子) • เจ้าหญิงนางาตะ โนะ โออิรัตสึเมะ (ญี่ปุ่น: 名形大娘皇女) • เจ้าชายซาไก โนะ คูโรฮิโกะ (ญี่ปุ่น: 境黒彦皇子) • เจ้าชายอานาโฮะ (ญี่ปุ่น: 穴穂皇子) • เจ้าชายคารุ โนะ โออิรัตสึเมะ (ญี่ปุ่น: 軽大娘皇女) • เจ้าชายยัตสึริ โนะ ชิราฮิโกะ (ญี่ปุ่น: 八釣白彦皇子) • เจ้าชายโอฮัตสึเซะ โนะ วากาตาเกรุ (ญี่ปุ่น: 大泊瀬稚武皇子) • เจ้าหญิงทาจิมะ โนะ ทาจิบานะ โนะ โออิรัตสึเมะ (ญี่ปุ่น: 但馬橘大娘皇女) • เจ้าหญิงซากามิ (ญี่ปุ่น: 酒見皇女) |
นางสนม (ฮิ) |
โอโตฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 弟姫; โรมาจิ: Otohime)[c] | เจ้าชายวากานูเกะ โนะ ฟูตามาตะ (ญี่ปุ่น: 稚野毛二派皇子)[13] | ไม่มี |
พระราชโอรสธิดา
[แก้]บรรดาศักดิ์ | พระนาม[13][15] | ความเห็น |
---|---|---|
เจ้าชาย | เจ้าชายคินาชิ โนะ คารุ[13] | ภายหลังพ่ายแพ้ต่อเจ้าชายอานาโฮะ (ดูข้างล่าง) |
เจ้าหญิง | เจ้าหญิงนางาตะ โนะ โออิรัตสึเมะ[13] | |
เจ้าชาย | เจ้าชายซาไก โนะ คูโรฮิโกะ[13] | อ้างว่าสวรรคตในช่วง ค.ศ. 456 |
เจ้าชาย | เจ้าชายอานาโฮะ[13] | พระราชโอรสองค์ที่ 3 ของจักรพรรดิอิงเงียว ภายหลังขึ้นเป็นจักรพรรดิอังโก |
เจ้าหญิง | เจ้าหญิงคารุ โนะ โออิรัตสึเมะ | ในโคจิกิ "เจ้าหญิงคารุ" และ "โอโตฮิเมะ" เป็นพระนามพ้องกัน[10] |
เจ้าชาย | เจ่าชายยัตสึริ โนะ ชิราฮิโกะ | ข้อมูลอ้างว่าพระองค์มีชีวิตใน ค.ศ. 401 ถึง 456 |
เจ้าชาย | เจ้าชายโอฮัตสึเซะ โนะ วากาตาเกรุ | พระราชโอรสองค์ที่ 5 ของจักรพรรดิอิงเงียว ภายหลังขึ้นเป็นจักรพรรดิยูเรียกุ |
เจ้าหญิง | เจ้าหญิงทาจิมะ โนะ ทาจิบานะ โนะ โออิรัตสึเมะ | |
เจ้าหญิง | เจ้าหญิงซากามิ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ปีพระราชสมภพและพระชนมพรรษาที่แน่ชัดของจักรพรรดิอิงเงียวขณะสวรรคตยังคงเป็นที่ถกเถียงกันตามแหล่งข้อมูล[2][3] วิลเลียม จอร์จ แอสตัน นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า โคจิกิบันทึกว่าอิงเงียวทรงมีชีวิตถึง 78 พรรษา[4][5] ในขณะที่ Richard Ponsonby-Fane นักวิชาการ ให้ความเห็นว่า พระชนมพรรษาตอนสวรรคตที่ยอมรับโดยทั่วไปในขณะนั้น (ประมาณ ค.ศ. 1915) คือ "80"[6]
- ↑ พระนามนี้มาจากความ "งาม" ของพระนางเปล่งประกายผ่านฉลองพระองค์[10]
- ↑ โอโตฮิเมะยีงมีอีกพระนามว่า "โซโตโอริฮิเมะ", "โซโตริ โนะ อิรัตสึเมะ" และ "เจ้าหญิงคารุ โนะ โออิรัตสึเมะ"[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ August 1, 2023.
- ↑ Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 488. ISBN 9780810878723.
- ↑ Joseph Henry Longford (1923). List of Emperors: II. The Dawn of History and The great Reformers. Japan. Houghton Mifflin. p. 304.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 William George Aston (1896). "Boox XIII - The Emperor Wo-Asa-Tsuma Wakugo No Sukune: Ingio Tenno". Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1). London: Kegan Paul, Trench, Trubner. pp. 312–327.
- ↑ Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXI. — Emperor Ingyō (PART IV. — His age and place of burial)". A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters. R. Meiklejohn and Co.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 Ponsonby-Fane, Richard (1915). "Ingyō (412–453)". The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. 11.
- ↑ 7.0 7.1 Ponsonby-Fane, Richard (1915). "Table of Emperors Mothers". The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. xiii.
- ↑ "允恭天皇 (19)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ August 1, 2023.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. p. 26.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "衣通姫 そとおりひめ". Encyclopedia Nipponica. สืบค้นเมื่อ August 12, 2023.
- ↑ Cranston, Edwin A. (1998). A waka anthology: The gem-glistening cup. Stanford University Press. p. 804. ISBN 9780804731577.
- ↑ นิฮงโชกิ, เล่มที่ 13, Story of Ingyō
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 13.7 "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ August 12, 2023.
- ↑ William George Aston (1896). "Boox XIII - The Emperor Wo-Asa-Tsuma Wakugo No Sukune: Ingio Tenno". Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1). London: Kegan Paul, Trench, Trubner. p. 313.
- ↑ Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXXXVII - Emperor Ingyō (Part I - Genealogies)". A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters. R. Meiklejohn and Co.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Hammer, Joshua. (2006). Yokohama Burning: The Deadly 1923 Earthquake and Fire that Helped Forge the Path to World War II. New York: Simon & Schuster. ISBN 978-0-7432-6465-5 (cloth)
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842