จักรพรรดิโรกูโจ
หน้าตา
จักรพรรดิโรกูโจ 六条天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 3 สิงหาคม ค.ศ. 1165 – 9 เมษายน ค.ศ. 1168 | ||||
ราชาภิเษก | 4 กันยายน ค.ศ. 1165 | ||||
ก่อนหน้า | นิโจ | ||||
ถัดไป | ทากากูระ | ||||
พระราชสมภพ | 28 ธันวาคม ค.ศ. 1164 | ||||
สวรรคต | 23 สิงหาคม ค.ศ. 1176 | (11 ปี)||||
ฝังพระศพ | เซกันจิ โนะ มิซาซางิ (清閑寺陵; เกียวโต) | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดินิโจ |
จักรพรรดิโรกูโจ (ญี่ปุ่น: 六条天皇; โรมาจิ: Rokujō-tennō; 28 ธันวาคม ค.ศ. 1164 – 23 สิงหาคม ค.ศ. 1176) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 79 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม รัชสมัยของพระองค์อยู่ในช่วง ค.ศ. 1165 ถึง 1168[1]
พระราชประวัติ
[แก้]จักรพรรดิโรกูโจก่อนจะขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ มีพระนามเดิม (อิมินะ)[2] ว่า เจ้าชายโนบูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 順仁)[3] บางครั้งเรียกเป็น เจ้าชายโยชิฮิโตะ หรือโทชิฮิโตะ[4]
พระองค์เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดินิโจ และสวรรคตโดยไร้รัชทายาท
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโรกูโจ
[แก้]จักรพรรดิโระกุโจได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 1 พรรษาและได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อพระชนมายุเพียง 8 เดือน
- ค.ศ. 1165 (ปีเอมังที่ 1) : เจ้าชายโนะบุฮิโตะได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท (องค์ชายรัชทายาทต่อมาคือจักรพรรดิโรกูโจ)[5]
- ค.ศ. 1165 (วันที่ 25 เดือน 6 ปีเอมังที่ 1) : ปีที่ 7 ในรัชสมัยของจักรพรรดินิโจองค์จักรพรรดิพระประชวรหนักจึงสละราชสมบัติให้กับเจ้าชายโนบูฮิโตะขึ้นสืบราชบัลลังก์าเป็นจักรพรรดิโรกูโจ[6]
- ค.ศ. 1165 (วันที่ 27–28 เดือน 7 ปีเอมังที่ 1): อดีตจักรพรรดินิโจสวรรคตเมื่อพระชนมายุเพียง 22 พรรษา[7]
แต่เพราะแรงกดดันจากตระกูลไทระที่นำโดยไทระ โนะ คิโยโมริ ทำให้จักรพรรดิโระกุโจต้องสละราชบัลลังก์ให้กับพระปิตุลา (อา) ที่ต่อมาคือจักรพรรดิทากากูระ
- ค.ศ. 1168 (วันที่ 19 เดือน 2 ปี นินอัง ที่ 3) : ปีที่ 3 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโรกูโจ องค์จักรพรรดิถูกไดโจโฮโอ โกะ-ชิรากาวะ พระอัยกา (ปู่) สั่งปลดจากราชบัลลังก์และสถาปนาเจ้าชายโนะริฮิโตะพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของอดีตจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ และพระปิตุลา (อา) ของอดีตจักรพรรดิโรกูโจขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่[8]
- ค.ศ. 1168 (วันที่ 20 เดือน 3 ปี นินอัง ที่ 3) : ได้มีพระราชพิธีราชาภิเษกเจ้าชายโนะริฮิโตะขึ้นเป็น จักรพรรดิทะกะกุระ ที่ พระราชวังหลวงเฮอัง[9][5]
- ค.ศ. 1176 (วันที่ 17 เดือน 7 ปี อังเง็ง ที่ 2) : จักรพรรดิโรกูโจสวรรคตขณะพระชนมายุเพียง 11 พรรษา ทำให้สายราชสกุลของจักรพรรดินิโจสิ้นสุดลง
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิโรกูโจ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 194–195; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 329–330; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. p. 212.
- ↑ Brown, pp. 264; n.b., up until the time of Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Brown, p. 329; Varley, p. 212.
- ↑ Titsingh, p. 194.
- ↑ 5.0 5.1 Kitagawa, H. (1975). The Tale of the Heike, p.783.
- ↑ Titsingh, p. 194; Brown, p. 329; Varley, p. 44; n.b., a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
- ↑ Brown, p. 328; Kitagawa, p.783.
- ↑ Brown, p. 330; Varley, p. 44
- ↑ Titsingh, p. 195; Varley, p. 44.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
ข้อมูล
[แก้]- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Helmolt, Hans Ferdinand and James Bryce Bryce. (1907). The World's History: A Survey of Man's Progress. Vol. 2. London: William Heinemann.OCLC 20279012
- Kitagawa, Hiroshi and Bruce T. Tsuchida, ed. (1975). The Tale of the Heike. Tokyo: University of Tokyo Press. ISBN 0-86008-128-1 OCLC 164803926
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโรกูโจ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดินิโจ | จักรพรรดิญี่ปุ่น (1165 - 1168) |
จักรพรรดิทะกะกุระ |