ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิมมมุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิมมมุ
文武天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 697–707
ราชาภิเษก23 กันยายน ค.ศ. 697
ก่อนหน้าจิโต
ถัดไปเก็มเม
พระราชสมภพ13 ตุลาคม ค.ศ. 683
คารุ (珂瑠 หรือ )
สวรรคต18 กรกฎาคม ค.ศ. 707(707-07-18) (23 ปี)
ฟูจิวาระเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ฝังพระศพฮิโนกูมะ โนะ อาโกะ โนะ โอกะ โนะ เอะ โนะ มิซาซางิ (檜隈安古岡上陵; นาระ)
พระราชบุตร
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิมมมุ (文武天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ยามาโตะ-เนโกะ-โทโยโอโฮจิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (倭根子豊祖父天皇) (707)
อาเมะ-โนะ-มามูเนะ-โทโยโอโฮจิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (天之真宗豊祖父天皇) (797)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาเจ้าชายคูซากาเบะ
พระราชมารดาจักรพรรดินีเก็มเม

จักรพรรดิมมมุ (ญี่ปุ่น: 文武天皇โรมาจิMonmu-tennō; ค.ศ. 683–707) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 42[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2]

จักรพรรดิมมมุครองสิริราชสมบัติทอดยาวจาก ค.ศ. 697 ถึง 707[3]

เรื่องเล่าแบบดั้งเดิม

[แก้]

ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ มมมุมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ว่า เจ้าชายคะรุ (ญี่ปุ่น: 珂瑠親王โรมาจิKaru-shinnō)[5]

พระองค์เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเท็มมุกับจักรพรรดินีจิโต โดยพระองค์เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในเจ้าชายคูซากาเบะ พระราชมารดาของมมมุมีพระนามว่า เจ้าหญิงอาเบะ พระราชธิดาในจักรพรรดิเท็นจิ ภายหลังพระราชมารดาสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์เป็นจักรพรรดินีเก็มเม[6]

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิมมมุ

[แก้]

เมื่อมกุฎราชกุมารคูซากาเบะ พระราชบิดา สวรรคต เจ้าชายคารุมีพระชนมายุเพียง 6 พรรษา

  • ค.ศ. 697: ในปีที่ 10 ของรัชสมัยจักรพรรดินีจิโต (持統天皇十年) จักรพรรดินีสละราชบัลลังก์ และพระราชนัดดาของจักรพรรดิเท็มมุได้รับการสืบทอดตำแหน่ง หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิมมมุได้ขึ้นเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ[7]

จักรพรรดิมมมุปกครองจนเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 707 เมื่อถึงจุดนั้น พระราชมารดาขึ้นครองราชย์ต่อเป็นจักรพรรดินีเก็มเม

รัชสมัยของจักรพรรดิมมมุอยู่ได้ 10 ปี พระองค์สวรรคตเมื่อพระชนมายุ 25 พรรษา[8]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

บูนิง: ฟูจิวาระ โนะ มิยาโกะ (藤原宮子, สวรรคต ค.ศ. 754) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ฟูฮิโตะ

ฮิง: คิ โนะ คามาโดะ-โนะ-อิรัตสึเมะ (紀竃門娘)

ฮิง: อิชิกาวะ โนะ โทเนะ-โนะ-อิรัตสึเมะ (石川刀子娘)

  • ทากามาโดะ ฮิโรนาริ (ฮิโรโยะ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 文武天皇 (42); retrieved 2013-8-22.
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 55.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 60–63, p. 63, ที่กูเกิล หนังสือBrown, Delmer M. (1979). Gukanshō, pp. 270–271; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. pp. 137–140.
  4. Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
  5. Brown, p. 270.
  6. Varley, p. 138.
  7. Titsingh, p. 60; Brown, p. 270; Varley, pp. 44, 137–138; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fishimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
  8. Varley, p. 140.

ข้อมูล

[แก้]
  • Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
  • Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
  • Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
  • Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842