ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดินินโตกุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดินินโตกุ
仁徳天皇
ภาพพิมพ์บล็อกไม้โดยโทโยฮาระ ชิกาโนบุ, ค.ศ. 1886
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 313–399 (ตามธรรมเนียม)[1]
ก่อนหน้าโอจิง
ถัดไปริจู
พระราชสมภพค.ศ. 290[2]
โอโฮซาซากิ โนะ มิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 大鷦鷯尊โรมาจิOhosazaki no Mikoto)
สวรรคต399 (อายุ 108–109)
ฝังพระศพโมซุ โนะ มิมิฮาระ โนะ นากะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 百舌鳥耳原中陵โรมาจิMozu no Mimihara no naka no misasagi; โอซากะ)
ชายา
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
จักรพรรดิริจู
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดินินโตกุ (仁徳天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
โอโฮซาซากิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (大鷦鷯天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิโอจิง
พระราชมารดานากัตสึฮิเมะ
ศาสนาชินโต

จักรพรรดินินโตกุ (ญี่ปุ่น: 仁徳天皇โรมาจิNintoku-tennō) มีอีกพระนามว่า โอโฮซาซากิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 大鷦鷯天皇โรมาจิOhosazaki no Sumeramikoto) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 16 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[3][4][5] เนื่องด้วยชื่อเสียงด้านความดีตามที่ปรากฏในโคจิกิและนิฮงโชกิ ทำให้บางครั้งมีการเรียกขานพระองค์เป็น จักรพรรดินักบุญ (ญี่ปุ่น: 聖帝โรมาจิHijiri-no-mikado)

ในขณะที่การมีตัวตนของพระองค์เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป กลับไม่มีวันที่แน่นอนในการกำหนดพระชนมชีพหรือรัชสมัยของจักรพรรดิองค์นี้ ตามธรรมเนียมถือว่าครองราชย์ใน ค.ศ. 313 ถึง 399[6] แม้ว่านักวิชาการตั้งข้อสงสัยถึงวันที่นั้น[7]

เรื่องราวตามตำนาน

[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์นำมาจากโคจิกิและนิฮงโชกิ ซึ่งเรียกโดยรวมเป็น คิกิ (記紀) หรือ พงศาวดารญี่ปุ่น โดยในคิกิระบุว่า นินโตกุเสด็จพระราชสมภพจากนากัตสึฮิเมะ โนะ มิโกโตะ (仲姫命) ในช่วง ค.ศ. 290 และได้รับพระราชทานนามว่า โอโฮซาซากิ โนะ มิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 大鷦鷯尊โรมาจิOhosazaki no Mikoto)[2] และนิฮงโชกิรายงานว่า พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในจักรพรรดิโอจิง[8]

ข้อมูลที่มีอยู่

[แก้]

นักประวัติศาสตร์ถือว่านินโตกุเป็นผู้ปกครองในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5[9] ซึ่งการดำรงอยู่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นข้อเท็จจริง โดยไม่ระบุถึงสิ่งที่พระองค์อ้างว่าบรรลุทั้งหมด[7]

แม้ว่านิฮงโชกิระบุว่านินโตกุครองราชย์ใน ค.ศ. 313 ถึง 399 การวิจัยเสนอแนะว่าวันที่นั้นน่าจะไม่ถูกต้อง[10] วิลเลียม จอร์จ แอสตันระบุว่าถ้าเป็นไปตามข้อเท็จจริง นินโตกุจะมีพระชนมพรรษาถึง 312 พรรษาในปีที่ 78 ของการครองราชย์ ถ้าสันนิษฐานว่าเรื่องราวแบบดั้งเดิมถูกต้อง[11] ส่วนข้อมูลนอกคิกิ รัชสมัยของจักรพรรดิคิมเม[a] (ป. ค.ศ. 509 – 571) เป็นช่วงแรกที่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ร่วมสมัยสามารถกำหนดวันที่ที่ตรวจสอบได้[12] แม้ว่าพระนามและวันที่ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของจักรพรรดิช่วงแรกไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็น "แบบดั้งเดิม" จนกระทั่งรัชสมัยจักรพรรดิคัมมุ[b]ในช่วง ค.ศ. 737 ถึง 806[13]

ฮิเดฮิดระ โอการะระบุตัวพระองค์เข้ากับเดแห่งวะ[14] กษัตริย์องค์ก่อนกษัตริย์องค์อื่น ๆ ที่รู้จักกันดีในพระนามกษัตริย์ทั้งห้าแห่งวะ[15]: 11 

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

สุสาน

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. จักรพรรดิองค์ที่ 29[4][5]
  2. คัมมุเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 50 ของราชวงศ์ญี่ปุ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ February 5, 2022.
  2. 2.0 2.1 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
  3. "仲哀天皇 (16)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ August 2, 2019.
  4. 4.0 4.1 Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 22–24, 34–36.
  5. 5.0 5.1 Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. University of California Press. pp. 256–257, 261–262. ISBN 9780520034600.
  6. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 36.
  7. 7.0 7.1 Wetzler, Peter (1998-02-01). Hirohito and War: Imperial Tradition and Military Decision Making in Prewar Japan (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaii Press. p. 101. ISBN 978-0-8248-6285-5.
  8. Aston, William. (1998). Nihongi, Vol. 1, pp. 254–271.
  9. Kelly, Charles F. "Kofun Culture". www.t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ February 5, 2022.
  10. Parry, Richard Lloyd. "Japan guards the Emperors' secrets; Ban on digs in ancient imperial tombs frustrates archaeologists", The Independent (London). 12 November 1995.
  11. Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 1. The Japan Society London. p. 295.
  12. Hoye, Timothy. (1999). Japanese Politics: Fixed and Floating Worlds. Prentice Hall. p. 78. ISBN 9780132712897. According to legend, the first Japanese Emperor was Jimmu. Along with the next 13 Emperors, Jimmu is not considered an actual, historical figure. Historically verifiable Emperors of Japan date from the early sixth century with Kimmei.
  13. Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 1. The Japan Society London. p. 109 & 272–300.
  14. 岡田, 2008
  15. Kishimoto, Naofumi (2013-05-01). "Dual Kingship in the Kofun Period as Seen from the Keyhole Tombs". Journal of Urban Culture Research. S2CID 193255655.

อ่านเพิ่ม

[แก้]