จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ
จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ 後白河天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 23 สิงหาคม ค.ศ. 1155 – 5 กันยายน ค.ศ. 1158 | ||||
ราชาภิเษก | 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1155 | ||||
ก่อนหน้า | โคโนเอะ | ||||
ถัดไป | นิโจ | ||||
พระราชสมภพ | 18 ตุลาคม ค.ศ. 1127 | ||||
สวรรคต | 26 เมษายน ค.ศ. 1192 โรกูจูเด็ง (六条殿) เฮอังเกียว | (64 ปี)||||
ฝังพระศพ | โฮจูจิ โนะ มิซาซางิ (เกัยวโต) | ||||
คู่อภิเษก | ฟูจิวาระ โนะ คินชิ (สมรส 1155) | ||||
พระราชบุตร และอื่น ๆ... | |||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโทบะ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ ทามาโกะ |
จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ (ญี่ปุ่น: 後白河天皇; โรมาจิ: Go-Shirakawa-tennō; 18 ตุลาคม ค.ศ. 1127 – 26 เมษายน ค.ศ. 1192) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 77 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม แม้ว่าจะทรงครองราชย์อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1155 ถึง 1158 แต่พระองค์ทรงรักษาอำนาจทางการเมืองไว้อย่างแข็งแกร่งผ่านระบบอินเซ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการยังคงถกเถียงกันว่าการปกครองของพระองค์สามารถจัดอยู่ในระบบอินเซได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ เนื่องจากเหตุการณ์กบฏปีโฮเง็งได้ทำลายพระราชอำนาจของจักรพรรดิไปในระดับหนึ่ง[1] กระนั้นก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการที่พระองค์เอาชนะคู่ต่อสู้ในทางการเมือง ส่งผลให้พระองค์มีอิทธิพลและอำนาจมากขึ้นกว่าที่ตำแหน่งจักรพรรดิที่ลดน้อยลงในช่วงเวลาดังกล่าวจะยอมให้ได้
พระองค์ได้รับพระนามจากจักรพรรดิชิรากาวะในคริสต์ศตวรรษที่ 11 กับ โกะ- (後) ที่แปลตรงตัวว่า "ยุคหลัง" ทำให้บางครั้งมีการเรียกพระองค์เป็น "จักรพรรดิชิรากาวะยุคหลัง" หรือในตำราเก่าบางส่วนอาจระบุเป็น "ชิรากาวะที่ 2"
พระองค์เป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายที่มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริง ก่อนที่ตำแหน่งโชกุนจะกลายเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่แท้จริงของประเทศหลังจากที่พระองค์สวรรคตใน ค.ศ. 1192 จนถึงการฟื้นฟูเมจิใน ค.ศ. 1868
พระองค์ประสูติในฐานะพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิโทบะ พระองค์สืบราชบัลลังก์สืบเนื่องมาจากการสวรรคตอย่างกระทันหันของพระอนุชาต่างพระราชมารดาคือจักรพรรดิโคโนเอะ และปกครองแบบการว่าราชการในวัดเป็นเวลา 34 ปี ในรัชสมัยของพระองค์ มีสงครามต่อเนื่อง เช่น กบฏปีโฮเง็ง กบฏปีเฮจิ และสงครามเก็มเป
อาชีพทางการเมือง
[แก้]การขึ้นสู่ราชบัลลังก์
[แก้]จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ ประสูติเมื่อ ค.ศ. 1127 เป็นพระโอรสองค์ที่ 4 ในอดีตจักรพรรดิโทะบะ และฟุจิวะระ โนะ โชชิ หรือพระพันปีไทเค็งมง-อิน ผู้เป็นธิดาของไดนะงงฟุจิวะระ คินซะเนะ มีพระนามว่า เจ้าชายมะซะฮิโตะ (雅仁親王) มีพระเชษฐาร่วมพระมารดาคือ พระจักรพรรดิซุโตะกุ เจ้าชายมะซะฮิโตะทรงเข้าพิธีเง็มปุกุเมื่อ ค.ศ. 1139 และอภิเษกสมรสกับมินะโมะโตะ โนะ อิชิ (源懿子) ประสูติพระโอรสองค์แรกคือ เจ้าชายโมะริฮิโตะ (守仁親王) เมื่อ ค.ศ. 1143 พระชายะอิชิสิ้นพระชนม์หลังประสูติพระโอรสไม่นาน
ในเวลานั้นอำนาจปกครองของราชสำนักนครเฮอังเกียวอยู่ที่องค์อดีตพระจักรพรรดิโทะบะ ตามระบบอินเซ อดีตจักรพรรดิมีพระประสงค์จะให้พระโอรสที่ประสูติกับ ฟุจิวะระ โนะ นะริโกะ พระสนมองค์โปรดขึ้นเป็นจักรพรรดิ จึงทรงบังคับให้จักรพรรดิซุโตะกุ (ซึ่งทรงถูกกล่าวหาว่ามิใช่พระโอรสของจักรพรรดิโทะบะ แต่เป็นโอรสของจักรพรรดิชิระกะวะที่ทรงแอบมีความสัมพันธ์กับพระนางไทเค็งมง-อิน) สละราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 1141 ให้แก่จักรพรรดิโคะโนะเอะอันประสูติแต่พระสนมนะริโกะ
แต่จักรพรรดิโคะโนะเอะอยู่ในราชสมบัติได้สิบสามปี ก็สวรรคตลงใน ค.ศ. 1155 อดีตจักรพรรดิซุโตะกุทรงคาดหวังให้พระโอรสของพระองค์เองสืบทอดราชบัลลังก์ แต่ทว่าพระสนมนะริโกะได้เสนอให้พระโอรสบุญธรรมของพระนาง คือ เจ้าชายโมะริฮิโตะ พระโอรสของเจ้าชายมะซะฮิโตะซึ่งพระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปจึงไปเป็นโอรสบุญธรรมของสนมนะริโกะ แต่ทว่าเจ้าชายโมะริฮิโตะยังทรงพระเยาว์ จึงให้บิดาคือเจ้าชายมะซะฮิโดะขึ้นครองราชสมบัติไปก่อน เป็น จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ เมื่อ ค.ศ. 1155
สงครามโฮเง็งและเฮจิ
[แก้]อดีตจักรพรรดิซุโตะกุพิโรธมากที่พระองค์และพระโอรสถูกกีดกันจากราชสมบัติ จึงวางแผนก่อสงครามเพื่อยึดอำนาจคืนเมื่ออดีตจักรพรรดิโทะบะสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1156 โดยขอกำลังพลจากซะมุไรตระกูลมินะโมะโตะและตระกูลไทระ เกิดเป็นสงครามโฮเง็ง (保元の乱) โดยที่ฝ่ายของจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ ได้รับการสนับสนุนจากคัมปะกุฟุจิวะระ โนะ ทะดะมิชิ และพระภิกษุชินเซ หรือฟุจิวะระ โนะ มิชิโนะริ ผู้ซึ่งได้ทำการติดต่อให้มินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะ และ ไทระ โนะ คิโยะโมะริ มาเป็นผู้นำทัพฝ่ายของพระองค์ ผลคือฝ่ายของพระองค์เป็นฝ่ายชนะ อดีตจักรพรรดิซุโตะกุและพระโอรสทรงถูกเนรเทศ
หลังจากสงครามโฮเง็ง การปกครองของราชสำนักเฮอังก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพระภิกษุชินเซ จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะทรงสละราชบัลลังก์ให้พระโอรสเจ้าชายโมะริฮิโตะ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดินิโจใน ค.ศ. 1158 และกุมอำนาจอยู่เบื้องหลังในฐานะอดีตพระจักรพรรดิตามระบบอินเซ แต่ทว่าจักรพรรดินิโจทรงไม่เต็มพระทัยที่จะให้บิดาของพระองค์ขึ้นมามีอำนาจเหนือพระองค์ จึงเกิดการแก่งแย่งอำนาจระหว่างอดีตจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะกับพระโอรส
จนกระทั่ง ค.ศ. 1160 ชูนะงงฟุจิวะระ โนะ โนะบุโยะริ ร่วมมือกับมินะโมะโตะ โนะ โยะชิโตะโมะ ก่อการกบฏเพื่อล้มอำนาจพระภิกษุชินเซ ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า สงครามเฮจิ (平治の乱) โยะชิโตะโมะยกทัพเข้ายึดพระราชวังกุมองค์จักรพรรดินิโจไว้ และยกทัพเข้าโจมตีตำหนักซันโจ (三条殿) อันเป็นที่ประทับของอดีตจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ เข้าสังหารข้าราชบริพารของอดีตจักรพรรดิไปมากรวมถึงพระภิกษุชินเซด้วย แล้วจึงกุมองค์อดีตจักรพรรดิไว้ แต่ไทระ โนะ คิโยะโมะริ ได้ช่วยเหลือจักรพรรดิทั้งสองพระองค์ให้ทรงหลบหนีออกมาได้ และยกทัพเข้าต่อสู้กับฝ่ายตระกูลมินะโมะโตะจนได้รับชัยชนะ
ความขัดแย้งกับไทระ โนะ คิโยโมริ
[แก้]เมื่อ ค.ศ. 1161 อดีตจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ ทรงรับไทระ โนะ ชิเงะโกะ (平滋子) น้องสะใภ้ของไทระ โนะ คิโยะโมะริ เข้ามาเป็นสนมองค์ใหม่ แล้วประสูติพระโอรสคือองค์ชายโนะริฮิโตะ (憲仁親王) ในขณะที่จักรพรรดินิโจทรงยังไม่มีพระโอรส จักรพรรดินิโจจึงทรงเกรงว่าอดีตจักรพรรดิจะให้องค์ชายโนะริฮิโตะเป็นผู้สืบทอดต่อจากพระองค์ ใน ค.ศ. 1164 จักรพรรดินิโจมีพระโอรสในที่สุด จึงทรงรีบสละราชบัลลังก์ให้แก่พระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโระกุโจ อดีตจักรพรรดินิโจสวรรคตในปีต่อมา ค.ศ. 1165 ด้วยความช่วยเหลือของคิโยะโมะริ อดีตจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะทรงให้จักรพรรดิโระกุโจสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1168 แล้วมอบให้แก่องค์ชายโนะริฮิโตะ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิทะกะกุระ
พระราชวงศ์
[แก้]ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ โกะ-ชิรากาวะมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[2] ว่า เจ้าชายมาซาฮิโตะ (雅仁親王)[3]
พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในจักรพรรดิโทบะ[4] กับพระนางฟูจิวาระ โนะ ทามาโกะ ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คินซาเนะ
พระมเหสีหลักกับพระราชโอรสธิดา:
- พระมเหสี (ชินโนฮิ): มินาโมโตะ โยชิโกะ (源懿子; 1116-1143) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ สึเนซาเนะกับบุตรีบุญธรรมในมินาโมโตะ อาริฮิโตะ
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายโมริฮิโตะ (守仁親王) ภายหลังเป็น จักรพรรดินิโจ
- จักรพรรดินี (ชูงู): ฟูจิวาระ คินชิ (藤原忻子) โทกูไดจิ คินโยชิ
- โคไตโง: ไทระ โนะ ชิเงโกะ (平滋子; 1142-1176) ภายหลังเป็น เค็นชุมมนอิง (建春門院) ธิดาในไทระ โทกิโนบุ
- พระราชโอรสองค์ที่ 7: เจ้าชายโนริฮิโตะ (憲仁親王) ภายหลังเป็น จักรพรรดิทากากูระ
- นางกำนัล: ซันโจ (ฟูจิวาระ) โซโกะ (三条(藤原)琮子; 1145-1231) ธิดาในซันโจ คินโนริ
- นางสนองพระโอษฐ์: ฟูจิวาระ ชิเงโกะ (藤原成子; เสียชีวิต ค.ศ. 1177) ธิดาในฟูจิวาระ ซูเอนาริ
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงซูเกโกะ (亮子内親王) ภายหลังเป็น อิมปูมนอิง (殷富門院)
- พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงโยชิโกะ (好子内親王; 1148-1192)
- พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงชิกิชิ (式子内親王) ภายหลังเป็น โออิโนมิกาโดะ-ไซอิง (大炊御門斎院)
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายนักบวชชูกากุ (守覚法親王; 1150-1202)
- พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายโมจิฮิโตะ (以仁王)
- พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงคีวชิ (休子内親王; 1157-1171)
- โบมง-โนะ-สึโบเนะ (坊門局) ธิดาในไทระ โนบูชิเงะ
- พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายนักบวชเอ็นเอะ (円恵法親王; 1152-1183)
- พระราชโอรสองค์ที่ 5: เจ้าชายนักบวชโจเก (定恵法親王; 1156-1196)
- พระราชโอรสองค์ที่ 6: โกเอะ (恒恵; 1159-1206)
- โบมง-โดโนะ (坊門殿) ธิดาในโทกูไดจิ คินโยชิ
- พระราชธิดาองค์ที่ 5: เจ้าหญิงอัตสึโกะ (惇子内親王; 1158-1172)
- ซันโจะ-โนะ-สึโบเนะ (三条局) ธิดาในนักบวช
- พระราชโอรสองค์ที่ 10: เจ้าชายนักบวชโดโฮ (道法法親王; 1166-1214)
- พระราชโอรสองค์ที่ 12: ชินเตะ (真禎; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1169)
- ทัมบะ-โนะ-สึโบเนะ (丹波局) ธิดาในนักบวช
- พระราชโอรสองค์ที่ 8: เจ้าชายนักบวชโจเอะ (静恵法親王; 1164-1203)
- พระราชโอรสองค์ที่ 11: เจ้าชายนักบวชโชนิง (承仁法親王; 1169-1197)
- อูเอมนโนซูเกะ (右衛門佐) ธิดาในฟูจิวาระ ซูเกตากะ
- พระราชโอรสองค์ที่ 9: อิง โนะ มิโกะ (院の御子; B.1165)
- โอมิยะ-โนะ-สึโบเนะ (大宮局) ธิดาในฟูจิวาระ โคเรซาเนะ
- โคโนเอะ-โนะ-สึโบเนะ (近衛局) ธิดาในฟูจิวาระ คินยาซุ
- มิโกะ โนะ ฮิเมะ-กิมิ (御子姫君; 1164-1181) ธิดาในไทระ โนะ คิโยโมริ
- ทากาชินะ เอชิ (高階 栄子; 1151-1216) ธิดาของนักบวช
- พระราชธิดาองค์ที่ 6: เจ้าหญิงคินชิ (覲子内親王; 1181-1252) ภายหลังเป็น เซ็นโยมนอิง (宣陽門院)
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ[5] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แผนผังจักรพรรดิญี่ปุ่น
[แก้](77) โกะ-ชิระกะวะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(78) นิโจ | โมะชิฮิโตะ | (80) ทะกะกุระ | เจ้าหญิงซุเกะโกะ | เจ้าหญิงชิกิชิ | เจ้าหญิงคินชิ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(79) โระกุโจ | (81) อันโตะกุ | เจ้าชายโมะริซะดะ (โกะ-ทะกะกุระ-อิง) | (82) โกะ-โทะบะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(86)โกะ-โฮะริกะวะ | (83) สึชิมิกะโดะ | (84) จุนโตะกุ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(87) ชิโจ | (88) โกะซางะ | (85) ชูเกียว | ทะดะนะริ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 188–190; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 326–327; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. pp.205–208.
- ↑ Brown, pp. 264; n.b., up until the time of Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Titsingh, p. 188; Brown, p. 326; Varley, p. 205.
- ↑ Titsingh, p. 190.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 27 October 2018.
ข้อมูล
[แก้]- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Helmolt, Hans Ferdinand and James Bryce Bryce. (1907). The World's History: A Survey of Man's Progress. Vol. 2. London: William Heinemann.OCLC 20279012
- Kitagawa, Hiroshi and Bruce T. Tsuchida, ed. (1975). The Tale of the Heike. Tokyo: University of Tokyo Press. ISBN 0-86008-128-1 OCLC 164803926
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842
- Saeki, Tomohiro. (2015). Political Structure and the Royal Family in the Early Middle Ages (University of Tokyo Press, 2015) ISBN 978-4-13-026238-5
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโคะโนะเอะ | จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น (ค.ศ. 1155 - 1158) |
จักรพรรดินิโจ |