ข้ามไปเนื้อหา

อามาเตราซุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อามาเตราซุ
เทพีแห่งดวงอาทิตย์และเอกภพ; บรรพบุรุษในตำนานของราชวงศ์ญี่ปุ่น
อามาเตราซุโผล่ออกจากถ้ำอามะ-โนะ-อิวาโตะซึ่งพระองค์เข้าไปหลบซ่อน (รายละเอียดจากภาพพิมพ์แกะไม้ที่พิมพ์โดยคูนิซาดะ)
ชื่ออื่นอามาเตราซุ-โอมิกามิ (天照大御神, 天照大神)
อามาเตราซุ-โอกามิ (天照大神)
อามาเตราซุ-ซูเมะ(ระ)-โอมิกามิ (天照皇大神)
อามาเตราชิมาซุ-ซูเมะ(ระ)-โอมิกามิ (天照坐皇大御神)
อามาเตราซุ-โอฮิรูเมะ-โนะ-มิโกโตะ (天照大日孁尊)
โอฮิรูเมะ-โนะ-มูจิ-โนะ-กามิ (大日孁貴神)
โอฮิรูเมะ-โนะ-มิโกโตะ(大日孁尊)
ฮิ-โนะ-กามิ (日神)
สึกิซากากิ-อิตสึ-โนะ-มิตามะ-อามาซาการุ-มุกัตสึฮิเมะ-โนะ-มิโกโตะ (撞賢木厳之御魂天疎向津媛命)
เท็นโชโคไตจิง (天照皇大神)
เท็นโชไดจิง (天照大神)
ศูนย์กลางของลัทธิศาลเจ้าอิเซะ, ศาลเจ้าฮิโนกูมะ, ศาลเจ้าอามาโนอิวาโตะ, ศาลเจ้าฮิโรตะ และอื่น ๆ
ดาวพระเคราะห์ดวงอาทิตย์
คัมภีร์โคจิกิ, นิฮนโชกิ, เซ็งไดคูจิฮงงิ
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองไม่มี
บุตร - ธิดาอาเมะ-โนะ-โอชิโฮมิมิ, อาเมะ-โนะ-โฮฮิ, อามัตสึฮิโกะเนะ, อิกุตสึฮิโกเนะ, คูมาโนกูซูบิ
บิดา-มารดาอิซานางิ (โคจิกิ)
อิซานางิและอิซานามิ (นิฮนโชกิ)
พี่น้องสึกูโยมิ-โนะ-มิโกโตะ, ซูซาโนโอะ-โนะ-มิโกโตะ และอื่น ๆ

อามาเตราซุ (ญี่ปุ่น: 天照โรมาจิAmaterasu), อามาเตราซุ-โอมิกามิ (ญี่ปุ่น: 天照大神 / 天照大御神โรมาจิAmaterasu-ōmikami) หรือ โอฮิรูเมโนมูจิโนกามิ (ญี่ปุ่น: 大日孁貴神โรมาจิŌhiru-menomuchi-no-kami) เป็นสุริยเทพีตามความเชื่อของศาสนาชินโต มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพีองค์นี้มากมาย ซึ่งเป็นรากฐานของพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ เรื่องที่สำคัญคือการที่สุริยเทพีหลบหนีพระพายซูซาโนโอะ

พระนาม

[แก้]

ในโคจิกิ มีการเรียกเทพีนี้ด้วยพระนาม 'อามาเตราซุ-โอมิกามิ' (天照大御神 (あまてらすおおみかみ) / 天照大神; รูปเขียนในอดีต: あまてらすおほみかみ, Amaterasu-Ohomikami; ภาษาญี่ปุ่นเก่า: Amaterasu Opomi1kami2) ในขณะที่นิฮงโชกิมีการให้พระนามดังนี้:

  • โอฮิรูเมะ-โนะ-มูจิ (大日孁貴 (おおひるめのむち); มังโยงานะ: 於保比屢咩能武智; รูปเขียนในอดีต: おほひるめのむち, Ohohirume-no-Muchi; ญี่ปุ่นเก่า: Opopi1rume1-no2-Muti)[1][2]
  • อามาเตราซุ โอ(มิ)กามิ (天照大神; รูปเขียนในอดีต: あまてらすおほ(み)かみ, Amaterasu Oho(mi)kami)[1][2]
  • อามาเตราซุ-โอฮิรูเมะ-โนะ-มิโกโตะ (天照大日孁尊)[1][2]
  • ฮิ-โนะ-คามิ (日神; ญี่ปุ่นเก่า: Pi1-no-Kami2)[1][2]

'Amaterasu' อาจจะมาจากรูปกริยา amateru "ส่องสว่าง / ส่องแสงบนท้องฟ้า" (ama "ท้องฟ้า, สวรรค์" + teru "สว่าง") ประสมกับกริยาช่วยประเภทให้เกียรติ -su,[3] ในขณะที่ 'Ōmikami' แปลว่า "เทพที่ยิ่งใหญ่ [และ] น่าเคารพ" (ō "ยิ่งใหญ่" + คำนำหน้าประเภทให้เกียรติ mi- + kami)

เนื่องจากเป็นบรรพบุรุษของราชวงศ์ ฉายา 'ซูเม(ระ)-โอ(มิ)กามิ' (皇大神, แปลว่า "เทพจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่"; สามารถอ่านได้เป็น 'โคไตจิง'[4]) สามารถอิงถึงอามาเตราซุได้ และมีพระนามอื่นที่อิงถึงเทพีองค์เดียวกัน เช่น 'อามาเตราซุ-ซูเม(ระ)-โอ(มิ)กามิ' (天照皇大神, สามารถอ่านได้เป็น 'เท็นโชโคไตจิง')[5][6] และ 'อามาเตราชิมาซุ-ซูเม(ระ)-โอมิกามิ' (天照坐皇大御神)[7]

ในสมัยกลางถึงสมัยใหม่ตอนต้น มีการเรียกเทพีองค์นี้เป็น 'เท็นโชไดจิง' (รูปองโยมิของ 天照大神) หรือ 'อามาเตรุองงามิ' (พระนามเดียวกันที่อ่านอีกแบบ)[8][9][10][11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Kuroita, Katsumi (1943). Kundoku Nihon Shoki, vol. 1 (訓読日本書紀 上巻). Iwanami Shoten. p. 27.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Aston, William George (1896). "Book I" . Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. Kegan Paul, Trench, Trübner & Co. p. 18  – โดยทาง Wikisource.
  3. Akira Matsumura, บ.ก. (1995). 大辞林. Daijirin (ภาษาญี่ปุ่น) (2nd ed.). Sanseido Books. ISBN 978-4385139005.|name="name explanation"|group="N"}}
  4. "皇大神". Kotobank コトバンク. The Asahi Shimbun Company. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  5. Tobe, Tamio (2004). "Nihon no kami-sama" ga yoku wakaru hon: yaoyorozu no kami no kigen / seikaku kara go-riyaku made o kanzen gaido (「日本の神様」がよくわかる本: 八百万神の起源・性格からご利益までを完全ガイド). PHP Kenkyūsho.
  6. Nagasawa, Rintarō (1917). Kōso kōsō no seiseki (皇祖皇宗之聖蹟). Shinreikaku. p. 1.
  7. "天照大御神(アマテラスオオミカミ)". 京都通百科事典 (Encyclopedia of Kyoto). สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  8. Teeuwen, Mark (2015). "Knowing vs. owning a secret: Secrecy in medieval Japan, as seen through the sokui kanjō enthronement unction". ใน Scheid, Bernhard; Teeuwen, Mark (บ.ก.). The Culture of Secrecy in Japanese Religion. Routledge. p. 1999. ISBN 9781134168743.
  9. Kaempfer, Engelbert (1999). Kaempfer's Japan: Tokugawa Culture Observed. แปลโดย Bodart-Bailey, Beatrice M. University of Hawaii Press. p. 52. ISBN 9780824820664.
  10. Hardacre, Helen (1988). Kurozumikyo and the New Religions of Japan. Princeton University Press. p. 53. ISBN 0691020485.
  11. Bocking, Brian (2013). The Oracles of the Three Shrines: Windows on Japanese Religion. Routledge. ISBN 9781136845451.

แหล่งข้อมุลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Amaterasu ōmikami
  • สมฤทธี บัวระมวล. ตำนานแห่งศาสนา ลัทธินิยมและความเชื่อปรัมปรา. กทม. คุ้มคำ. มปป. หน้า 127-129