โรงเรียนสตรีวิทยา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนสตรีวิทยา | |
---|---|
Satriwithaya School | |
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 82 ถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ประเทศไทย | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ว. (SW) |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คติพจน์ | เรียนดี กีฬาเด่น |
สถาปนา | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2443 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
เขตการศึกษา | กรุงเทพมหานคร |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 |
ผู้อำนวยการ | ขจิตพันธ์ สุวรรณสิริภักดิ์ |
จำนวนนักเรียน | 2,917 คน ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน ปีการศึกษา 2562[1] |
สี | แดง-ขาว |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนสตรีวิทยา |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นโพธิ์ |
เว็บไซต์ | http://www.satriwit.ac.th |
โรงเรียนสตรีวิทยา (อักษรย่อ: ส.ว.; อังกฤษ: Satriwithaya School) เป็นโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทโรงเรียนสตรีล้วน ตั้งอยู่ที่ถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ม.1 ถึง ม.6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (กรุงเทพมหานคร)
ประวัติโรงเรียนสตรีวิทยา
[แก้]โรงเรียนสตรีวิทยาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ร.ศ. 119 พ.ศ. 2443 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่เดิมตั้งอยู่ที่วังพระองค์เจ้าอลังการหลังโรงหวย กข.ตำบลสามยอด (ปัจจุบันเป็นตึกของบริษัทสามมิตรสงเคราะห์) กรมศึกษาธิการได้แต่งตั้ง มิสลูสี ดันแลป เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนสตรีวิทยา ต่อมาโรงเรียนได้ย้ายไปอยู่ที่ตึก 2 ชั้น ถนนเจริญกรุง หลังวังบูรพาภิรมย์ ในช่วงนั้นคนทั่วไปนิยมเรียกโรงเรียนสตรีวิทยาว่า "โรงเรียนแหม่มสี" สมัยนั้นโรงเรียนเปิดรับทั้งชายและหญิง ซึ่งนักเรียนชายต้องอายุไม่เกิน 12 ปี สอนตั้งแต่เด็กเริ่มเรียน ส่วนชั้นประถมมีการสอนภาษาอังกฤษด้วย เมื่อโรงเรียนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ มิสลูสี ดันแลป ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่ต้องพัฒนาในระดับสูงขึ้น จึงแจ้งความประสงค์ยกโรงเรียนสตรีวิทยาให้แก่กรมศึกษาธิการกรมธรรมการและมิสลูสี ยินยอมรับราชการต่อไป
3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นโรงเรียนรัฐบาล กระทรวงธรรมการมีคำสั่งให้ลงแจ้งความเปิดโรงเรียนสตรีวิทยาประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นโรงเรียนของรัฐบาลให้สอนตามหลักสูตรของกรมศึกษาธิการ และได้จัดการเรียนการสอนจนถึงระดับมัธยมศึกษา
พ.ศ. 2448 โรงเรียนได้ย้ายไปที่ตึกริมถนนราชบพิธติดกับโรงพิมพ์โสภณพิพัฒนาการ
พ.ศ. 2449-พ.ศ. 2450 มิสลูสี ดันแลป ลาออกเพราะสุขภาพไม่ดี กรมศึกษาธิการ จึงให้ครูทิม กาญจนาโอวาท ครูใหญ่ โรงเรียนศึกษานารี เป็นครูใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยาอีกแห่งหนึ่ง ต่อมากระทรวงธรรมการรวมโรงเรียนสตรีวิทยาและโรงเรียนศึกษานารีเข้าด้วยกันแล้วย้ายมาอยู่ที่ตึกดิน มุมถนนดินสอและ ถนนราชดำเนินกลาง (ปัจจุบันคือบริเวณ บริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด) โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนสตรีวิทยาตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2482 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องการที่ดินคือเพื่อสร้างอาคารตามโครงการปรับปรุงถนนราชดำเนินใหม่ กระทรวงศึกษาธิการ โดย พล.ร.อ. หลวงสินธุสงครามชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งให้หาที่สร้างโรงเรียนสตรีวิทยาใหม่ อาจารย์สิริมา จิณณาสา อาจารย์ใหญ่ ตกลงเลือกที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ริมถนนดินสอ พื้นที่ 9 ไร่อยู่ตรงข้ามสถานที่เดิม พล.ร.อ.หลวงสินธุสงครามชัย ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้ชุบชีวิตสตรีวิทยา มีความประสงค์จะให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างในเชิงก่อสร้าง โดยวางแผนผังให้เหมาะสมโอ่โถงงดงาม รายการปลูกสร้างได้แก่ ตึกเรียน 2 ชั้น 1 หลัง หอประชุมหรือโรงอาหารเป็นโรงโถงชั้นเดียว มีเวทีสำหรับการแสดง ห้องส้วม ห้องพยาบาล เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ต่อมามีการสร้างหอการฝีมือ โรงครัว บ้านพักครูใหญ่ เรือนภารโรง การก่อสร้างใช้เวลา 17 เดือน เปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484
พ.ศ. 2487 ปิดโรงเรียนเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเกรงจะเป็นอันตรายจากการทิ้งระเบิด
พ.ศ. 2488 โรงเรียนสตรีวิทยาได้กลับมาเปิดสอนต่อ แต่ไปเรียนที่ โรงเรียนเบญจมราชาลัย เพราะอาคารเรียนสตรีวิทยาใช้เป็นที่ตั้งหน่วยพยาบาลของทหารพันธมิตร จน เดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ทหารย้ายออกไป จึงกลับมาเรียนที่เดิม
พ.ศ. 2490 เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมเป็นรุ่นแรกมีแผนกอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักเรียนเตรียมแผนกอักษรศาสตร์สอบไล่ได้เป็นที่ 1 ของทั้งประเทศ นอกจากนั้นยังสอบได้เป็นที่ 2 และที่ 19 ในจำนวนนักเรียน 50 คนแรกที่ได้รับประกาศชื่อนับเป็นครั้งแรกที่ โรงเรียนรัฐบาล สามารถทำได้ โรงเรียนสตรีวิทยาจึงได้ริเริ่มคิดป้าย เกียรตินิยมเรียนดี ขึ้นเพื่อประกาศชื่อนักเรียนที่เรียนดีติดไว้ที่หอประชุมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2491 จัดตั้งสตรีวิทยาสมาคมเพื่อเป็นที่พบปะติดต่อกันของศิษย์เก่าและให้ศิษย์เก่าร่วมแรงร่วมใจกันทำประโยชน์ให้แก่โรงเรียนได้ทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม
พ.ศ. 2492 กีฬาประเพณีสมาคมได้มอบทุนให้แก่นักเรียนชั้น ม.6 ที่สอบไล่ได้คะแนนยอดเยี่ยม จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประเพณีซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนจนเป็นประเพณีสืบต่อมาจนทุกวันนี้
พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2496 ครบรอบครึ่งทศวรรษ โรงเรียนได้งบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์โรงเรียนได้จัดงานฉลองโรงเรียนครบครึ่งทศวรรษเพื่อฉลองอาคารวิทยาศาสตร์ไปด้วยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2496 งานครั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยทรงพระกรุณาเสร็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงาน ยังความปลาบปลื้มปิติแก่คณะครูนักเรียนสตรีวิทยาอย่างหาที่สุดมิได้
พ.ศ. 2498 จัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูสตรีวิทยาเพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองและครู ตลอดจนเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ความคิด และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาของเยาวชนร่วมกัน
พ.ศ. 2512-พ.ศ. 2515 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารดังนี้
สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 40 ห้องเรียน พร้อมหอประชุมใหญ่ลานเอน จุคนได้ประมาณ 1,200 คน ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2514
สร้างอาคาร 5 ชั้น ด้าน ถนนราชดำเนิน ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร เป็นอาคารที่มีห้องเรียนประมาณ 40 ห้องและมีห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องพักครู ห้องฝ่ายปกครอง ห้องพิมพ์ดีด และห้องสหกรณ์โรงเรียน
พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2532 โรงเรียนสตรีวิทยาได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น 3 ปีซ้อน และโรงเรียนพระราชทาน นักเรียนพระราชทานปี 2533
พ.ศ. 2543 โรงเรียนสตรีวิทยาครบรอบ 100 ปี
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]ก่อตั้งโรงเรียน
[แก้]มิสลูสี ดันแลป หรือ "แหม่มสี" เป็นธิดากัปตันเรือ เป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสตรีวังหลังก่อนจะตั้งโรงเรียนสตรีวิทยาขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2443 สมัยนั้นเปิดรับสมัครนักเรียนทั้งชายและหญิง หลักสูตรและวิธีการสอนของแหม่มสีทำให้โรงเรียนสตรีวิทยามีชื่อเสียงตั้งแต่แรกเริ่ม โรงเรียนสตรีวิทยาสมัยแรกย้ายที่ตั้งหลายแห่ง จากหลังโรงหวย ก.ข.สามยอด ไปตึกแถวหลังวังบูรพา (มุมด้านตะวันออกของถนนถนนทหารบกทหารเรือและถนนเจริญกรุง) และย้ายไปอยู่ข้างโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ริมถนนราชบพิธ ใน พ.ศ. 2446 นักเรียนชื่อ "นิล" อายุ 13 ปีได้รับเงินรางวัล 5 ตำลึงจากรัฐบาลเนื่องจากสอบไล่ปลายปีระดับประถม วิชาธรรมจริยาได้คะแนนสูงสุด นักเรียนผู้นี้ต่อมาได้สมัครเป็นนักเรียนสอนโรงเรียนสตรีวิทยา เริ่มเป็นครูน้อยที่โรงเรียนเสาวภา ครูทิมซึ่งขณะนั้นเป็นครูใหญ่โรงเรียนเบญจมราชาลัยได้ขอตัวให้ไปสอนที่นั่น ต่อจากนั้นได้ย้ายโรงเรียนอื่นๆ และดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดได้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์
ย้ายมาตึกดิน
[แก้]ครูทิม กาญจนาโอวาท ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่อ่างทองเรียนหนังสือกับแหม่มโคล์ที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง จนจบหลักสูตรแล้วเป็นครูที่โรงเรียนนั้นมาจนสมรสจึงลาออก พ.ศ. 2449 เริ่มรับราชการเป็นครูใหญ่ที่ โรงเรียนศึกษานารี เมื่อตั้งอยู่ที่ ถนนข้าวสาร และต้องรับตำแหน่งครูใหญ่สตรีวิทยา อีกแห่งหนึ่งจึงเสนอให้รวมทั้ง 2 โรงเรียนเข้าด้วยกันที่ตึกดินใช้ชื่อว่า "สตรีวิทยา"
ส.ว.อักษรย่อของสตรีวิทยา
[แก้]นางผจงวาด วายวานนท์ จบการศึกษาชั้นต้นทั้งประถมและมัธยมที่โรงเรียนสตรีวิทยา แล้วศึกษาต่อทางวิชาชีพครู ตลอดจนวิชาการสาขาต่างๆที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ประวัติศาสตร์ ตามระเบียบการแต่งกายของนักเรียนรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2476 นักเรียนต้องใช้เข็มเครื่องหมายที่อักษรย่อชื่อโรงเรียน ทางโรงเรียนจึงขอใช้ ส.ว.
เพิ่มชั้นม.ปลาย
[แก้]นางสาวสังวาลย์ ปุคคละนันท์ เป็นคนคลองบางหลวง เรียนที่โรงเรียนวัดอนงคาราม และ โรงเรียนศึกษานารี และศึกษาต่อจนจบครูมัธยม ตำแหน่งสูงสุดคือเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยา ในสมัยอาจารย์โรงเรียนมีชื่อเสียงด้านกีฬาและอนุกาชาดได้ครองถ้วยชนะเลิศกีฬาและดัดตนหลายชนิด นอกจากนั้นยังเป็นสมัยที่โรงเรียนเริ่มสอนชั้นม.7 และ ม.8 ด้วย
ยุบหรือย้าย
[แก้]ใน พ.ศ. 2482 รัฐบาลดำเนินการปรับปรุงขยายถนนราชดำเนิน กระทรวงศึกษาธิการ ลงมติให้ยุบไม่ก็ย้ายนักเรียนไปเรียนรวมกับ โรงเรียนเบญจมราชาลัย เสีย อาจารย์สิริมาจึงขอร้อง กระทรวงศึกษาธิการ จึงไม่ยุบโรงเรียนเพียงแต่ให้ย้ายที่ตั้งใหม่ที่ริมถนนดินสอ
ยุคเรียนดีกีฬาเด่น
[แก้]คุณหญิงอาภรณ์ กฤษณามระ สำเร็จการศึกษาจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงได้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยาอยู่ 8 ปี ในยุคของคุณหญิงอาภรณ์ สตรีวิทยาเด่นทั้งด้านกีฬาและการเรียนได้รางวัลบ่อยครั้ง
ม.ศ.5 รุ่นสุดท้าย
[แก้]คุณหญิงบรรจง นิวาศะบุตร จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสหายหญิง ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำ จังหวัดสระบุรี เป็นศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีวิทยาและจบการศึกษาระดับสูงสุดคืออักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สืบเนื่องจากการปรับระบบชั้นเรียนเมื่อ พ.ศ. 2521 นักเรียนชั้น ม.ศ.5 ในปี พ.ศ. 2525 และจบการศึกษา พ.ศ. 2526 จึงเป็น ม.ศ.5 รุ่นสุดท้าย
หล่อพระพุทธรูปประจำโรงเรียน
[แก้]20 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปประจำโรงเรียน "พระนิรันตราย" ซึ่งสรี้างขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษาและทรงเจิมแผ่นศิลาฤกษ์ และพระราชทานเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ต่อมา 16 กันยายน พ.ศ. 2536 จึงประกอบพิธีเบิกเนตร
ความภาคภูมิใจของโรงเรียน
[แก้]- เคยเป็นสถานศึกษาของสมเด็จย่า
- รับเสด็จสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- โครงการห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เสด็จเยือนโรงเรียน
รายนามผู้บริหารโรงเรียนสตรีวิทยา
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | มีสลูสี ดันแลป | |
2 | นางทิม กาญจนโอวาท | พ.ศ. 2465 - 2467 |
3 | หลวงบรรสบวิชาฉาน | พ.ศ. 2457 - 2460 |
4 | นางสุภางค์ เวช์ชะเผ่า | พ.ศ. 2460 - 2462 |
5 | คุณหญิงวัชรินเสวี | พ.ศ. 2463 - 2472 |
6 | นางสาวพร้อม บุณยมานพ | พ.ศ. 2472 - 2475 |
7 | นางผจงวาด วายวานนท์ | พ.ศ. 2475 - 2477 |
8 | นางสาวสังวาลย์ ปุคคละนันท์ | พ.ศ. 2477 - 2479 |
9 | นางสิริมา จิณณาสา | พ.ศ. 2479 - 2489 |
10 | หม่อมหลวงแสงโสม กฤษณามระ | พ.ศ. 2489 - 2497 |
11 | คุณหญิงกรองทอง สุรัสวดี | พ.ศ. 2498 - 2511 |
12 | คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ | พ.ศ. 2511 - 2519 |
13 | นางนภา หุ่นจำลอง | พ.ศ. 2519 - 2523 |
14 | คุณหญิงบรรจง นิวาศะบุตร | พ.ศ. 2523 - 2527 |
15 | นางบุษยา สาครวาสี | พ.ศ. 2527- 2529 |
16 | นางสมหมาย เอมสมบัติ | พ.ศ. 2529 - 2536 |
17 | นางลัดดา ตระหง่าน | พ.ศ. 2536 - 2538 |
18 | นางสาวเอกจิตรา ชูสกุลชาติ | พ.ศ. 2539 - 2540 |
19 | นางสาวสุวรรณา เอมประดิษฐ | พ.ศ. 2540 - 2544 |
20 | นางรังสิมา เจริญศิริ | พ.ศ. 2544 - 2549 |
21 | นางสาวเฟื่องฟ้า ประดิษฐพจน์ | พ.ศ. 2549 - 2552 |
22 | นางพัชรา ทิพยทัศน์ | พ.ศ. 2552 - 2554 |
23 | นางจำนงค์ แจ่มจันทรวงษ์ | พ.ศ. 2554 - 2556 |
24 | นางเบญญาภา คงรอด | พ.ศ. 2556 - 2558 |
25 | นางสาวสุปราณี ไกรวัตนุสสรณ์ | พ.ศ. 2558 - 2561 |
26 | นางวรรณดี นาคสุขปาน | พ.ศ. 2561 - 2563 |
27 | นางสุภาณี ธรรมาธิคม | พ.ศ. 2563 - 2565 |
28 | นายขจิตพันธ์ สุวรรณสิริภักดิ์ | พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
เกียรติประวัติของโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนสตรีวิทยาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงและพัฒนารักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นสร้างจิตสำนึกและวินัยให้แก่นักเรียน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมรวมทั้งลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษ ที่ส่งผลกระทบทั้งภายในโรงเรียนและชุมชนรอบข้างโรงเรียนจึงนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 มาใช้ในโรงเรียน ผลจากการร่วมมือกันทุกฝ่ายทำให้โรงเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาด บรรยากาศร่มรื่น สวยงามน่าอยู่และปลอดภัยตามหลีกมาตรฐานสากล โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO14001 จากสถาบัน UKAS และประกอบพิธีเปิดป้าย ISO14001 อย่างเป็นทางการในวันครบรอบ 100 ปี 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543 โรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นทุกด้าน
- ด้านวิชาการ โรงเรียนได้รับการแต่งตั้งจากกรมสามัญศึกษาให้เป็นโรงเรียนเครือข่ายจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2545 เป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษโรงเรียนได้เปิดสอน Intensive course ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง ได้รับความนิยมและชื่นชมจากผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ปีการศึกษา 2546 จะเปิดในระดับม.4 จำนวน 2 ห้อง นอกจากนี้ยังมีโครงการโอลิมปิกทางวิชาการ โดยเชิญวิทยากรจากภายในและภายนอกมาให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ อีกทั้งขยายห้องสืบค้นข้อมูล(IT) โดยเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 60 เครื่อง เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทั้งภายในและต่างประเทศ ผลจากการแข่งขันด้านวิชาการ นักเรียนได้รับรางวัลจำนวน 84 รายการ ในปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนโครงการความเป็นเลิศด้านวิชาการ(คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ) จำนวน 2 ห้องเรียน (80 คน)
- ด้านบริหารจัดการ ปรับโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและมีความคล่องตัวในการบริหารงาน
โดยแต่งตั้งฝ่ายแผนงานวิจัยและพัฒนาจัดทำคอมพิวเตอร์ระบบบริหารจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร ได้แก่ ระบบงานทะเบียน วัดผล ระบบงานปกครอง ระบบงานพยาบาล ระบบงานแนะแนว โปรแกรมโอนคะแนนจากเครื่องตรวจกระดาษคำตอบ,โปรแกรมรูดบัตร,แสกนลายนิ้วมือ,แสกนใบหน้าในการมาโรงเรียน, โปรแกรมรูดบัตรแสดงผลการเรียน
- ด้านอาคารสถานที่ การปรับปรุงอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้
กลุ่มโรงเรียนสตรีวิทยา
[แก้]ลำดับที่ | โรงเรียน | อักษรย่อ | จังหวัด | สถาปนา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | โรงเรียนสตรีวิทยา | ส.ว. / SW | กรุงเทพมหานคร | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2443 | |
2 | โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ | ส.ว.๒ / SW2 | กรุงเทพมหานคร | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | |
3 | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล | นมร.ส.ว. / NMR.S.W | กรุงเทพมหานคร | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 | เป็นที่รู้จักกันในนาม "โรงเรียนสตรีวิทยา 3" นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนนวมินทราชินูทิศร่วมกับอีก 8 โรงเรียน |
4 | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ | นมร.สว.๒ / NMR.S.W2 | กรุงเทพมหานคร | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 | เป็นที่รู้จักกันในนาม "โรงเรียนสตรีวิทยา 4" เมื่อแรกตั้งใช้ชื่อว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ มีนบุรี" ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนนวมินทราชินูทิศร่วมกับอีก 8 โรงเรียน |
– | โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น | กรุงเทพมหานคร | พ.ศ. 2538 ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 | แยกออกมาจากโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ก่อนที่จะยุบรวมเข้ากับโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ อีกครั้ง |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]รายพระนามและรายนาม | อาชีพ และ ตำแหน่ง |
---|---|
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี | |
ขันธ์ทอง อูนากูล | อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลและเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์ สาธารณรัฐฮังการี |
รศ.ดร. ฟองคำ ติลกสกุลชัย | อดีตคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ศ.เกียรติคุณ พญ. พนิดา โกสียรักษ์วงศ์ | ที่ปรึกษา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล |
นางนวลน้อย ผลทวี | ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา |
รศ. ดร. พญ. ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ | หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ประธานอนุสาขาออร์โธปิดิกส์เด็ก ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย |
ผศ.รุจิรา อุปวานิช | อดีตคณะบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
สัตวแพทย์หญิง ดร.วิมลพร ธิติศักดิ์ | อดีตรองอธิปดีกรมปศุสัตว์ |
รศ. ดร. ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี | ผู้อำนวยการสถานความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
ดร.สุปราณี ไกรวัตนุสสรณ์ | อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา |
นางสาวสุวรรณา เอมประดิษฐ์ | อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา |
ศ.พญ. สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ | รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวัฒนธรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ | คณาจารย์อาวุโส ภาควิชาโรคพืช มหาลัยเกษตรศาสตร์ |
ศ.เกียรติคุณ อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ | ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย สาขากรุงเทพฯ |
ศ. ทพญ. กอบกาญจน์ ทองประสม | ศาสตราจารย์ระดับ A-1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ | รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย |
ดร. อัษฎาพร ไกรพานนท์ | ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
พญ. สิรินาถ เวทยะเวทิน | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร |
นางดารณี พิพัฒนกุลชัย | อดีตหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช |
จุฬามณี ชาติสุวรรณ | อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกาและมนตรีฝ่ายไทยประจำมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป |
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญ | อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ |
พญ. วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ | อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ |
ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ | ประธานโครงการรามาธิบดีแบ่งปันองค์ความรู้ เพื่อสู้วิกฤติโควิด-๑๙ |
ดร. สุทธศรี วงษ์สมาน | ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ |
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี | รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร |
คุณหญิงอุไรวรรณ สวัสดิศานต์ | ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ ๙ กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ศุภมาส อิศรภักดี | รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) |
รศ.ดร.ณมน จีรังสุวรรณ | ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) |
ศันสนีย สหัสสะรังษี | เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ |
ดร.ปฤถา พรหมเลิศ | นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และผู้บริหารสมาคมฯ |
นริศรา ทิพยจันทร์ | นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม |
ลดาวัลย์ คําภา | รองเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม | ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา |
ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ | ผู้ว่าการ วว. |
นางวิภารัตน์ ไชยานุกิจ | รองปลัดกรุงเทพมหานคร |
พรรณพร คงยิ่งยง | ผู้อำนวยการกลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร สภากาชาดไทย |
จิตติมา นาคมโน | ผู้อำนวยการสำนักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ |
บรรเจิดศรี ยมาภัย | นักแสดงอาวุโส |
วรรณรท สนธิไชย (วิว) | นักแสดงช่อง 31,เอ็กแซ็กท์ |
หนึ่งธิดา โสภณ (หนูนา) | นักร้อง,นักแสดง |
ณัฐวรา หงส์สุวรรณ (ส้ม) | อดีตพิธีกร |
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (ป๊อก) | นักแสดง,พิธีกร,นางแบบ |
กุลมาศ สารสาส (ขนมจีน) | นักร้อง,นักแสดง,พิธีกร,ยูทูบเบอร์ |
ธรัญญ่า มโนลีหกุล (ผ้าแพร) | นักร้อง |
วรรณธิชา ทิชินพงศ์ (ลูกตาล) | นักร้อง |
อัญชิสา นิ่มอาสน์ (โบกี้ไลอ้อน) | นักร้อง,นักแต่งเพลง,โปรดิวเซอร์เพลง |
ศุภนาฎ จิตตลีลา (ติ๊นา) | นักแสดง,ดีเจ,พิธีกร,นางแบบ,ยูทูบเบอร์ |
ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง (ออกแบบ) | นักแสดง,นางแบบ |
สิรินรัตน์ วิทยพูม (มุก) | นักแสดงช่อง3 |
ฐิติมา สุตสุนทร (แหวน) | นักร้อง,นักแสดง |
ชลลดา สิริสันต์ (เก๋) | นักแสดง,พิธีกร,นางแบบ |
ศัลยา สุขะนิวัตติ์ | นักเขียนบทละครโทรทัศน์ |
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนสตรีวิทยา
- เว็บไซต์ชมรมดินสอสีขาวโรงเรียนสตรีวิทยา เก็บถาวร 2008-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนสตรีวิทยา
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์