โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
บทความเรื่อง โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้เขียนเรื่องนี้หรือต้องการร่วมแก้ไข สามารถทำได้โดยกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน ดูรายละเอียดและวิธีการเขียนได้ที่ โครงการวิกิสถานศึกษา โดยเมื่อแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออกได้ |
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล | |
---|---|
Nawaminthrachinuthit Satriwitthaya Putthamonton School | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | นมร.ส.ว. (NMR.S.W) |
ประเภท | รัฐบาล สังกัด สพฐ. |
สถาปนา | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 |
รหัส | 1000104802 |
ผู้อำนวยการ | นายวิจิตร สมบัติวงศ์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
สี | สีแดง - สีขาว |
คำขวัญ | รักศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ |
ต้นไม้ | ราชาวดี |
เว็บไซต์ |
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล หรือ โรงเรียนสตรีวิทยา 3 เป็นโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในกลุ่มโรงเรียน 9 นวมินทราชินูทิศ และเป็นโรงเรียนในเครือสตรีวิทยา ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธมณฑลสาย 3 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งของโรงเรียนใกล้สถานที่สำคัญ 2 แห่ง คือ ถนนอุทยาน และพุทธมณฑล มีการเรียนการสอนตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวโรกาสที่ปี พ.ศ. 2535 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลอง เนื่องในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ กระทรวงศึกษาธิการถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะสนองพระกรุณาธิคุณเพื่อเป็นการถวายสักการะ และเป็นอนุสรณ์สถานให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์สืบไป โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลจำนวน 9 โรง โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2535
ในการจัดตั้งโรงเรียนแห่งนี้ กรมสามัญศึกษา ได้รับบริจาคที่ดินจาก คุณจรีพร เทพผดุงพร, คุณเดชา ตั้งพิรุฬห์ธรรม และคุณทักษิณ ตั้งพิรุฬห์ธรรม ณ บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย3 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา จำนวน 2 ไร่ และได้จัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 95 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบพร้อมทั้งครุภัณฑ์ประกอบในปีงบประมาณ 2535-2537 ในปีการศึกษา 2535 ซึ่งเป็นปีการศึกษาแรก กรมสามัญศึกษาได้มอบให้ โรงเรียนสตรีวิทยาเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ในปีการศึกษาแรกโรงเรียนเปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรับสมัครจากโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และนักเรียนในพื้นที่บริการ มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง 144 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้อง 39 คน รวมจำนวนนักเรียนในปีการศึกษาแรกนี้ 183 คน มีครูอาจารย์ช่วยปฏิบัติราชการจำนวน 14 คน นักการภารโรง 1 คน เนื่องจากในระยะนี้โรงเรียนยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารเรียน โรงเรียนจึงได้ขอความอนุเคราะห์ใช้สถานที่เรียนชั่วคราวที่โรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา และในปีเดียวกันนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่ง จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ของกรมสามัญศึกษาว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ" เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535
ดังนั้น โรงเรียนสตรีวิทยา 3 พุทธมณฑล จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล" และถือเอาวันที่ 10 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนาโรงเรียน กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายวรินทร์ เขียวสะอาด เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน
ในปีการศึกษา 2536 โรงเรียนเปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 จากโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนทวีธาภิเศก และนักเรียนในพื้นที่บริการเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 218 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้อง 37 คน เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น สถานที่เรียนชั่วคราวที่โรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม ไม่เพียงพอและอาคารเรียนอาคารเรียนถาวรยังก่อสร้างไม่เสร็จ จึงได้ขอความอนุเคราะห์จากคุณเศรษฐพงศ์ จตุรงสัมฤทธิ์ เจ้าของโครงการขุมทรัพย์นคร เพื่อขอใช้อาคารพาณิชย์ บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย3 ซึ่งใกล้กับสถานที่ตั้งโรงเรียนเป็นสถานที่เรียนชั่วคราวแห่งที่ 2 โดยได้ทำการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์การเรียนการสอนจากโรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2536 พร้อมจำนวนครูอาจารย์ ทั้งสิ้น 39 คน นักการภารโรง 1 คน และรปภ 1 คน
ในปีการศึกษา 2537 โรงเรียนเปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 โดยไม่ต้องสอบถามนโยบายจากกรมสามัญศึกษาในพื้นที่บริการและรับนักเรียนเพิ่มเติมจากโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนทวีธาภิเศก และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้จำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 ห้อง 490 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้อง 55 คน รวมรับนักเรียนในปีการศึกษา 2537 จำนวน 545 คน และยังคงใช้สถานที่เรียนชั่วคราวเดิมเรียน มีจำนวนครูอาจารย์ ทั้งสิ้น 46 คน นักการภารโรง 1 คน รปภ 1 คน ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2537 อาคารเรียนถาวรได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย จึงได้ย้ายสถานที่เรียนจากอาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นสถานที่เรียนชั่วคราวไปยังอาคารเรียนถาวรเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา
ความหมายของชื่อโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พร้อมกันนี้ พระองค์ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ" และเนื่องจากในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงเรียนนั้น กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้โรงเรียนสตรีวิทยา เป็นโรงเรียนพี่เลี้ยง และผู้ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียน โดยความหมายของชื่อโรงเรียนนั้น สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- นวมินทราชินูทิศ ซึ่งเกิดจากการสนธิของคำต่าง ๆ ดังนี้
- นวม แปลว่า ลำดับที่เก้า
- อินทร์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่
- ราชินี แปลว่า พระมเหสี
- อุทิศ แปลว่า ทำเพื่อ หรือ สละให้อย่างเจาะจง
- สตรีวิทยา เป็นชื่อของโรงเรียนพี่เลี้ยง ในช่วงการก่อตั้งโรงเรียน
- พุทธมณฑล เป็นชื่อของสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของโรงเรียน
สัญลักษณ์ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
[แก้]ตราสัญลักษณ์
[แก้]- มงกุฎขัตติยราชนารี คือ พระมหาพิชัยมงกุฎประดับพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ถือเป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โรงเรียนนวมินทราชินูทิศได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้นำมงกุฎขัตติยราชนารีมาใช้เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน
สีประจำโรงเรียน
[แก้]- สีแดง-สีขาว 420
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
[แก้]- ต้นราชาวดี
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
[แก้]- พระพุทธนวมินทราชินูทิศ
- พระพุทธโลกเชษฐ์สำเร็จวิเศษาสีติกิตยานุสรณ์
กิจกรรม - ประเพณี
[แก้]- วันคล้ายสถาปนาโรงเรียน 10 สิงหาคม
- เปิดบ้านนวมินทร์
- ราชาวดีมุทิตากษิณานุสรณ์
- ราชาวดีเกมส์
- อำลาช่อราชาวดี
- รวมช่อราชาวดี
- วันเชิดชูเกียรติ
ผู้อำนวยการโรงเรียน
[แก้]- พ.ศ. 2535-2540 นายวรินทร์ เขียวสะอาด
- พ.ศ. 2540-2543 นางสาวเฟื่องฟ้า ประดิษฐ์พจน์
- พ.ศ. 2543-2547 นายนิพนธ์ นุตพงศ์
- พ.ศ. 2548-2549 นายสุธน เรืองเดช
- พ.ศ. 2549-2550 นางสาวสุปราณี ไกรวัตนุสสรณ์
- พ.ศ. 2551-2552 นางสาวรัตนา อรรคนิตย์
- พ.ศ. 2553-2556 นายสำเร็จ แก้วกระจ่าง
- พ.ศ. 2556-2559 ว่าที่ร้อยตรีศักดิ์สิทธิ์ เสียงเสนาะ
- พ.ศ. 2559-2562 นายไชยา กัญญาพันธุ์
- พ.ศ. 2562-2567 นายธนะกุล ช้อนแก้ว
- พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน นายวิจิตร สมบัติวงศ์
กลุ่มโรงเรียนสตรีวิทยา
[แก้]ลำดับที่ | โรงเรียน | อักษรย่อ | จังหวัด | สถาปนา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | โรงเรียนสตรีวิทยา | ส.ว. / SW | กรุงเทพมหานคร | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2443 | |
2 | โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ | ส.ว.๒ / SW2 | กรุงเทพมหานคร | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | |
3 | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล | นมร.ส.ว. / NMR.S.W | กรุงเทพมหานคร | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 | เป็นที่รู้จักกันในนาม "โรงเรียนสตรีวิทยา 3" นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนนวมินทราชินูทิศร่วมกับอีก 8 โรงเรียน |
4 | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ | นมร.สว.๒ / NMR.S.W2 | กรุงเทพมหานคร | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 | เป็นที่รู้จักกันในนาม "โรงเรียนสตรีวิทยา 4" เมื่อแรกตั้งใช้ชื่อว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒ มีนบุรี" ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสถานศึกษาในเครือข่ายโรงเรียนนวมินทราชินูทิศร่วมกับอีก 8 โรงเรียน |
– | โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ มัธยมศึกษาตอนต้น | กรุงเทพมหานคร | พ.ศ. 2538 ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 | แยกออกมาจากโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ก่อนที่จะยุบรวมเข้ากับโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ อีกครั้ง |