ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย ๒

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย ๒
Ratchanantajarn Samsenwittayalai2 School
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ส.๒ / S.S.2
คติพจน์สทฺธา สาธุ ปติฏฐิตา "ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ"
สถาปนา30 เมษายน พ.ศ. 2539
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
สีชมพู-เขียว
เพลงราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย ๒
ต้นไม้กัลปพฤกษ์
เว็บไซต์www.samsen2.ac.th
ราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย ๒ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย ๒
ราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย ๒
ราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย ๒ (กรุงเทพมหานคร)

โรงเรียนราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย ๒ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539 โดย สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น เป็นโรงเรียนที่หลวงปู่ผล อกฺกโชติ หรือ พระราชนันทาจารย์ ได้บริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่ ในซอยสะพาน 99 ริมคลองเปรมประชากร ในปลายปีการศึกษา 2537 ให้สร้างโรงเรียนมัธยมศึกษา ชื่อโรงเรียนจึงมีชื่อ "ราชนันทาจารย์" อยู่ในชื่อของโรงเรียนแห่งนี้ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่พี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าร่วมกันก่อตั้ง ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของ สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539 พร้อมกับอีกหลายโรงเรียนที่ก่อตั้งด้วยวิธีเดียวกัน เช่น โรงเรียนคอนสาวิทยา, โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ๒ (สมาน สุเมโธ), โรงเรียนศิลาทองพิทยาสรรค์ และ โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม

ประวัติ

[แก้]

ปลายปีการศึกษา 2537 พระราชนันทาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเวตวันธรรมาวาส บริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนประชาชื่น ซอยสะพาน 99 ริมคลองเปรมประชากร ให้สร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยให้ นายชลอ บุญก่อ โรงเรียนนนทรีวิทยา ทำหน้าที่เลขานุการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.โกวิท วรพิพัฒน์) ในขณะนั้นเป็นผู้ประสานงานและเปิดดำเนินการเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาสาขาโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2538 รับนักเรียนชั้น ม.1 รุ่นแรกโดยใช้อาคารฝึกอบรมครูหน่วยศึกษานิเทศก์ เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนชั่วคราว แต่ที่ดินดังกล่าวนั้น ต้องร่วมมือกับกองสลากฯ จ่ายค่าขนย้ายให้ชาวบ้านในชุมชนสลัมซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน เป็นจำนวนเงินหลายแสน

สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศแต่งตั้งโรงเรียนอย่างเป็นทางการตามคำสั่งของกระทรวงศึกษาธิการ ในวันที่ 30 เมษายน 2539 และโรงเรียนยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ใช้ชื่ออาคารเรียนพิเศษว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ ปีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งให้เชิญตราสัญลักษณ์ งานฉลองศิริราชสมบัติ 50 ปีประดิษฐ์ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จวางศิลาฤกษ์อาคารดังกล่าว ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2539

ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับมอบที่ดินจาก พระราชนันทาจารย์ องค์อุปถัมภ์โรงเรียน ได้มอบที่ดินส่วนตัวเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นในอนาคต เพิ่มอีก 197 ตารางวา

ในปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวนเงิน 12,000,000 บาท (สิบสองล้านบาทถ้วน) เพื่อก่อสร้างอาคารกาญจนาภิเษก ใช้เป็นอาคารห้องสมุด และห้องพยาบาล

ปีการศึกษา 2543 พระราชนันทาจารย์ ได้มอบที่ดินเพิ่มเติมอีก 13 ตารางวา

ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ 5 ชั้น จำนวน 30,000,000 บาท (สามสิบล้านบาทถ้วน) พระราชนันทาจารย์ องค์อุปถัมภ์โรงเรียน วางศิลาฤกษ์อาคารเอนกประสงค์ 5 ชั้น และมณฑปหลวงพ่อสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปประจำโรงเรียน วันที่ 23 มิถุนายน 2547

วันที่ 29 ตุลาคม 2547 สำนักสลากกินแบ่งรัฐบาล สนับสนุนเงินจำนวน 30,000,000 บาท โดย คณะกรรมการพิจารณาโครงการเพื่อสาธารณประโยชน์ จากรายได้โดยออกสลากพิเศษ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ส่งมอบเช็คธนาคารกรุงไทยจำกัด(มหาชน) สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่ CH.X 2894533 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2547 ในการจัดซื้อที่ดินเพิ่มอีก 3 ไร่ 114.9 ตารางวา เพื่อสร้างสนามกีฬาเอนกประสงค์โดยได้รับความอนุเคราะห์จากชัชวาลย์ คงอุดม อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหาคร เขตบางซื่อ ในการประสานติดต่อผู้บริหารระดับต่าง ๆ ของฝ่ายรัฐบาล

วันที่ 28 ธันวาคม 2549 โรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานชื่ออาคารเอนกประสงค์ว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดอาคารเรียนหลังใหม่

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

[แก้]

อดีต – ปัจจุบัน

  1. 2538-2542 นายชลอ บุญก่อ
  2. 2542-2542 นางวิมวดี ธรรมาธิคม
  3. 2542-2546 นางสุรณี ทศิธร
  4. 2546-2551 นางจำนงค์ แจ่มจันทรวงศ์
  5. 2551-2554 ดร.บุญธรรม พิมพาภรณ์
  6. 2554-2556 นางจิรา อ่อนไสว
  7. 2556-2559 นายไชยา กัญญาพันธุ์
  8. 2559-2563 นายกิตติศักดิ์ สมพล
  9. 2563-2566 ดร.เพลินใจ พฤกษชาติรัตน์
  10. 2566-2567 ดร.พงศ์ไท คีรีวงศ์วัฒนา
  11. 2567-ปัจจุบัน ดร.คุรุรัตน์ วรวณิชชา

ตราสัญลักษณ์โรงเรียน

[แก้]
ตราสัญลักษณ์โรงเรียน

ดวงประทีปเหนืออักษรย่อชื่อโรงเรียนภายในวงกลม มีปรัชญาของโรงเรียนและคำแปลเขียนล้อมวงกลมรอบนอก และชื่อโรงเรียนในแถบโบว์ปลายพลิ้วรูปครึ่งวงกลมที่ส่วนล่างสุด

ประเภทห้องเรียน

[แก้]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3)

[แก้]
  • ห้องเรียนโครงการพิเศษ (MEP) (ห้อง 1)
  • ห้องเรียนปกติ (ห้อง 2-9)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6)

[แก้]
  • แผนการเรียนโครงการพิเศษ (MEP) (ห้อง 1)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ห้อง 2-3)
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ (ห้อง 4-5)
  • แผนการเรียนภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน, ภาษาญี่ปุ่น, (ภาษาฝรั่งเศส ปิดทำการเรียนการสอน ปี 2560)) (ห้อง 6)

บทเพลงประจำสถาบัน

[แก้]

บทเพลงประจำสถาบัน มาร์ช ราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย ๒

  • เนื้อร้อง-ทำนอง: "พรพิรุณ"
  • จังหวะ: Grand March 90

กีฬาสีภายใน

[แก้]

กีฬาสีภายในได้มีการจัดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปีการศึกษาแรกเรื่อยมาจนมาถึงปีการศึกษา 2551 ต่อมาในปีการศึกษา 2552 ได้เปลี่ยนชื่อการแข่งขันกีฬาสีภายในเป็น กัลปพฤกษ์เกมส์ ซึ่งจะจัดในปลายปีของทุกปี การแข่งขันกีฬาแต่ละประเภทจะมีขึ้นก่อนวันงานกีฬาสีเพื่อหาผู้ชนะ ในวันกีฬาสีนั้นจะมีการเดินขบวนพาเหรด ตั้งแต่บริเวณหน้าวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ มายังสนามกีฬาอเนกประสงค์ของโรงเรียน จากนั้นจะเริ่มพิธีเปิดการแข่งขัน เมื่อพิธีเปิดสิ้นสุดลงจะมีการประกวดท่ากายบริหารประกอบเพลง ต่อด้วยการประกวดสแตนด์เชียร์ในภาคเช้า-ภาคบ่าย สลับกับการการมอบเหรียญรางวัลแก่นักกีฬาที่ชนะเลิศทุกประเภท นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การแข่งขันฟุตซอลของอาจารย์ (บางครั้ง)

ภาพงานกัลปพฤกษ์เกมส์ครั้งที่ 2 วันที่ 9 ธ.ค. 2553

พระพุทธรูปประจำโรงเรียน

[แก้]
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ พระประจำโรงเรียน

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ หน้าตักกว้าง 7 นิ้ว สูง 12 นิ้ว ชาวบ้านเคารพนับถือว่าเป็นพระคู่บ้านของชาวบางซื่อ เดิมนั้นท่านถูกฝังอยู่ใต้ดิน ทางทิศเหนือของอุโบสถวัดเวตวันธรรมาวาส (วัดเซิงหวาย) มาช้านาน วันหนึ่งท่านได้มาเข้าฝัน ว่าถ้าอยากให้บ้านเมืองสงบสุขก็ให้นำท่านขึ้นมาสักการบูชา เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใดไม่แจ้งชัด แต่วัดนี้มีอายุราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และประเพณีแห่เรือชักพระวัดเซิงหวาย ก็สืบเนื่องมานับร้อยปี

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • นายชนินทร์ จันมา (ศิษย์เก่ารุ่นที่ 1) วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต(เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ชนะเลิศ หุ่นยนต์กู้ภัยระดับประเทศและระดับนานาชาติ
  • นางสาวอาภารัตน์ ครองรุ่งโรจน์ (อั้ม) (ศิษย์เก่ารุ่นที่ 4) ได้รับตำแหน่ง ขวัญใจช่างภาพและนักเรียน-ครู ในการประกวดนางนพมาศ ปี 2548

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]