ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | |
---|---|
จากซ้ายบนไปล่างขวา: สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1, อุทยานแห่งชาติภูกระดึง, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และ แห่เทียนเข้าพรรษา | |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย | |
เมืองใหญ่สุด | นครราชสีมา |
ภาษา | ลาวอีสาน, ไทย, เขมรเหนือ, กูย, พวน, ผู้ไท, ไทยโคราช, โส้, ญ้อ และอื่น ๆ |
จังหวัด | 20 จังหวัด |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 168,855 ตร.กม. (65,195 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2565[1]) | |
• ทั้งหมด | 21,826,920 คน |
• ความหนาแน่น | 130 คน/ตร.กม. (330 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | คนอีสาน |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ | |
• HDI (2019) | 0.758 (สูง) [2] |
เขตเวลา | UTC+7 (ประเทศไทย) |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน (มาจากภาษาบาลี อีสาน, ภาษาสันสกฤต ईशान्य īśānya อีศานฺย แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ")[3] เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีทิวเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภูเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม
ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาลาวอีสาน ซึ่งเป็นภาษาสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหารอีสาน ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภาคตะวันออกเฉียงเหนือครอบคลุมพื้นที่ 160,000 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของประเทศเยอรมนี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร โดยลาดเอียงมาจากทิวเขาเพชรบูรณ์ทางทิศตะวันตกของภูมิภาค ลงไปยังแม่น้ำโขง ซึ่งกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภูมิภาค และทิศใต้กั้นประเทศกัมพูชาด้วยทิวเขาพนมดงรัก แอ่งโคราชจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี ทิศเหนือของแอ่งโคราชจะจรดแอ่งสกลนครโดยมีทิวเขาภูพานกั้นไว้ แอ่งสกลนครมีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำเลย และแม่น้ำสงคราม ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นทราย ประกอบกับแหล่งสะสมเกลือเป็นจำนวนมาก
ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบ บางส่วนเป็นภูเขา โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบึงกาฬ โดยมีจุดสูงสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ ยอดภูหลวง 1,835 เมตร เหนือระดับทะเลปานกลาง ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง (จังหวัดเลย)
ลำน้ำสาขาหลักของแม่น้ำโขงในประเทศไทย ได้แก่ แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี แม่น้ำมูลไหลมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา และไหลไปทางทิศตะวันออก บรรจบกับแม่น้ำโขงในจังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำอีกสายหนึ่ง คือ แม่น้ำชี ซึ่งไหลผ่านตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนที่จะไหลไปทางใต้เพื่อบรรจบกับแม่น้ำมูลในจังหวัดศรีสะเกษ แม่น้ำเลย และแม่น้ำสงคราม ก็เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงเช่นเดียวกัน โดยแม่น้ำเลยไหลไปทางทิศเหนือผ่านจังหวัดเลย และแม่น้ำสงครามไหลไปทางตะวันออกผ่านจังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคาย
ช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ ตั้งแต่ 30.2 องศาเซลเซียส ถึง 19.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ คือ 46.6 องศาเซลเซียส ในจังหวัดอุดรธานี อุณหภูมิต่ำสุด คือ -1.4 องศาเซลเซียส ในจังหวัดสกลนคร[ต้องการอ้างอิง]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งหมด 20 จังหวัด ตามสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[4] ได้แก่
ตราประจำ จังหวัด |
ชื่อจังหวัด อักษรไทย |
ชื่อจังหวัด อักษรโรมัน |
จำนวนประชากร (คน) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|
กาฬสินธุ์ | Kalasin | 982,578 | 6,946.746 | 141.4 | |
ขอนแก่น | Khon Kaen | 1,767,601 | 10,885.991 | 162.4 | |
ชัยภูมิ | Chaiyaphum | 1,127,423 | 12,778.287 | 88.2 | |
นครพนม | Nakhon Phanom | 703,392 | 5,512.668 | 127.6 | |
นครราชสีมา | Nakhon Ratchasima | 2,628,818 | 20,493.964 | 126.0 | |
บึงกาฬ | Bueng Kan | 385,053 | 4,305.000 | 89.4 | |
บุรีรัมย์ | Buri Ram | 1,553,765 | 10,322.885 | 150.5 | |
มหาสารคาม | Maha Sarakham | 962,665 | 5,291.683 | 180.0 | |
มุกดาหาร | Mukdahan | 339,575 | 4,339.830 | 78.2 | |
ยโสธร | Yasothon | 539,257 | 4,161.664 | 129.6 | |
ร้อยเอ็ด | Roi Et | 1,309,708 | 8,299.449 | 157.8 | |
เลย | Loei | 624,066 | 11,424.612 | 54.6 | |
ศรีสะเกษ | Si Sa Ket | 1,452,472 | 8,839.976 | 164.3 | |
สกลนคร | Sakon Nakhon | 1,122,905 | 9,605.764 | 116.9 | |
สุรินทร์ | Surin | 1,381,761 | 8,124.056 | 170.1 | |
หนองคาย | Nong Khai | 521,886 | 3,027.280 | 124.5 | |
หนองบัวลำภู | Nong Bua Lam Phu | 502,868 | 3,859.086 | 130.3 | |
อำนาจเจริญ | Amnat Charoen | 372,137 | 3,161.248 | 117.7 | |
อุดรธานี | Udon Thani | 1,544,786 | 11,730.302 | 131.7 | |
อุบลราชธานี | Ubon Ratchathani | 1,813,088 | 15,774.000 | 115.2 |
ประชากรศาสตร์
[แก้]ประชากรรวมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนประมาณ 21,781,418 คน ร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น จังหวัดดังกล่าวนี้มีเทศบาลนครที่มีชื่อเดียวกันกับจังหวัด เรียกกันว่า "สี่เมืองใหญ่ของอีสาน" ในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนประชากรในเทศบาลนครทั้งสี่ ได้แก่ เทศบาลนครนครราชสีมา 118,061 คน, เทศบาลนครอุดรธานี 116,870 คน, เทศบาลนครขอนแก่น 104,037 คน, และเทศบาลนครอุบลราชธานี 70,870 คน อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2553 มีเพียงร้อยละ 50 ของประชากรในภาคนี้อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีประชากรในเขตเทศบาลมากที่สุด ส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดน้อยที่สุด ดังนั้น ประชากรอีกส่วนหนึ่งยังคงอยู่ในเขตชนบท แต่อาศัยอยู่รอบ ๆ ศูนย์กลางเขตเมือง
ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง มีจำนวนผู้ใช้ภาษาอีสานประมาณ 15 ถึง 23 ล้านคน ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรถิ่นไทย ซึ่งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเขมร ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันทั่วไปเป็นทางการโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ แต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก นอกจากนี้ ยังมีภาษาไทยสำเนียงโคราช ใช้พูดกันในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง มีผู้ใช้ราว 10,000 คน[5] มีตำแหน่งทางภาษาระหว่างภาษาลาวและภาษาไทยกลาง
มีชนกลุ่มน้อยชาวเขมรจำนวนมากกระจุกตัวอยู่ในทางตอนใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ และผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามบางส่วนในจังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม
นอกจากนี้ ยังมีภาษาอื่น ๆ ที่พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย ดังนี้
ภาษา | ตระกูลภาษา | จำนวนผู้พูด | จังหวัดที่มีการพูด |
---|---|---|---|
โซ่ (ทะวืง) | ออสโตรเอเชียติก | 750 | สกลนคร |
บรูตะวันออก | ออสโตรเอเชียติก | 5,000 | สกลนคร |
บรูตะวันตก | ออสโตรเอเชียติก | 20,000 | มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี |
เขมรถิ่นไทย | ออสโตรเอเชียติก | 1,000,000 | สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด |
กูย | ออสโตรเอเชียติก | 300,000 | สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา |
ญัฮกุร | ออสโตรเอเชียติก | 1,500 | นครราชสีมา ชัยภูมิ |
ญ้อ | ขร้า–ไท | 50,000 | สกลนคร หนองคาย นครพนม มหาสารคาม มุกดาหาร |
เยอ | ออสโตรเอเชียติก | 200 | ศรีสะเกษ |
ผู้ไท | ขร้า–ไท | 156,000 | นครพนม อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บึงกาฬ มุกดาหาร |
พวน | ขร้า–ไท | 200,000 | อุดรธานี เลย |
แสก | ขร้า–ไท | 11,000 | นครพนม |
โส้ | ออสโตรเอเชียติก | 55,000 | นครพนม สกลนคร หนองคาย กาฬสินธุ์ |
ไทดำ | ขร้า–ไท | 20,000 | หนองคาย นครราชสีมา เลย (รวมถึงสระบุรี) |
โย้ย | ขร้า–ไท | 5,000 | สกลนคร |
สถิติประชากรแบ่งตามจังหวัด
[แก้]อันดับ | จังหวัด | จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2558) [6] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2557) [7] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2556) [8] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2555) [9] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2554) [10] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2553) [11] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | นครราชสีมา | 2,628,818 | 2,620,517 | 2,610,164 | 2,605,014 | 2,585,325 | 2,582,089 |
2 | อุบลราชธานี | 1,857,429 | 1,844,669 | 1,836,523 | 1,826,920 | 1,816,057 | 1,813,088 |
3 | ขอนแก่น | 1,798,014 | 1,790,049 | 1,781,655 | 1,774,816 | 1,766,066 | 1,767,601 |
4 | บุรีรัมย์ | 1,584,661 | 1,579,248 | 1,573,438 | 1,566,740 | 1,559,085 | 1,553,765 |
5 | อุดรธานี | 1,575,152 | 1,570,300 | 1,563,964 | 1,557,298 | 1,548,107 | 1,544,786 |
6 | ศรีสะเกษ | 1,468,798 | 1,465,213 | 1,462,028 | 1,458,370 | 1,452,203 | 1,452,471 |
7 | สุรินทร์ | 1,395,024 | 1,391,636 | 1,388,194 | 1,386,277 | 1,380,399 | 1,381,761 |
8 | ร้อยเอ็ด | 1,308,166 | 1,308,318 | 1,308,958 | 1,308,570 | 1,305,058 | 1,309,708 |
9 | สกลนคร | 1,142,737 | 1,138,609 | 1,134,322 | 1,129,174 | 1,123,351 | 1,122,905 |
10 | ชัยภูมิ | 1,138,252 | 1,137,049 | 1,135,723 | 1,133,034 | 1,127,423 | 1,127,423 |
11 | กาฬสินธุ์ | 985,203 | 984,907 | 984,030 | 985,084 | 981,655 | 982,578 |
12 | มหาสารคาม | 964,596 | 960,588 | 955,644 | 945,149 | 939,736 | 940,911 |
13 | นครพนม | 715,399 | 713,341 | 710,860 | 708,350 | 704,768 | 703,392 |
14 | เลย | 638,819 | 634,513 | 632,205 | 629,787 | 624,920 | 624,066 |
15 | ยโสธร | 540,182 | 540,211 | 540,383 | 540,267 | 538,853 | 539,257 |
16 | หนองคาย | 519,580 | 517,260 | 514,943 | 512,439 | 509,870 | 509,395 |
17 | หนองบัวลำภู | 510,074 | 508,864 | 507,137 | 505,071 | 502,551 | 502,868 |
18 | บึงกาฬ | 420,647 | 418,566 | 416,236 | 412,613 | 407,634 | 403,542 |
19 | อำนาจเจริญ | 376,382 | 375,380 | 374,698 | 373,494 | 372,241 | 372,137 |
20 | มุกดาหาร | 348,101 | 346,016 | 344,302 | 342,868 | 340,581 | 339,575 |
— | รวม | 21,916,034 | 21,845,254 | 21,775,407 | 21,701,335 | 21,585,883 | 21,573,318 |
เมืองใหญ่สุด
[แก้]การศึกษา
[แก้]สถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้
สาธารณสุข
[แก้]โรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A
- โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
- โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
- โรงพยาบาลขอนแก่น
- โรงพยาบาลอุดรธานี
- โรงพยาบาลสกลนคร
- โรงพยาบาลสุรินทร์
- โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
- โรงพยาบาลบุรีรัมย์
- โรงพยาบาลศรีสะเกษ
- โรงพยาบาลชัยภูมิ
โรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S
- โรงพยาบาลเลย
- โรงพยาบาลมุกดาหาร
- โรงพยาบาลมหาสารคาม
- โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
- โรงพยาบาลหนองคาย
- โรงพยาบาลยโสธร
- โรงพยาบาลนครพนม
- โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
- โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
- โรงพยาบาลบึงกาฬ
- โรงพยาบาล๕๐พรรษา มหาวชิรลงกรณ์
- โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
- โรงพยาบาลนางรอง
- โรงพยาบาลปากช่องนานา
- โรงพยาบาลราษีไศล
- โรงพยาบาลกันทรลักษ์
- โรงพยาบาลเบญจลักษ์เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
การขนส่ง
[แก้]ทางราง
[แก้]- ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
- ชุมทางบ้านภาชี–อุบลราชธานี
- ชุมทางถนนจิระ–หนองคาย
- หนองคาย–ท่านาแล้ง
- ชุมทางแก่งคอย–ชุมทางบัวใหญ่
- บ้านไผ่–นครพนม (โครงการ)
ทางอากาศ สนามบิน
[แก้]- ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
- ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
- ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น
- ท่าอากาศยานสกลนคร
- ท่าอากาศยานเลย
- ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด
- ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
- ท่าอากาศยานนครพนม
- ท่าอากาศยานนครราชสีมา
- ท่าอากาศยานมุกดาหาร(อนาคต)
- ท่าอากาศยานบึงกาฬ(อนาคต)
- ท่าอากาศยานสารสินธุ์ กาฬสินธุ์-มหาสารคาม (อนาคต)
- ท่าอากาศยานบ้านไผ่ (อนาคต)
- ท่าอากาศยานศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ (อนาคต)
- ท่าอากาศยานเลิงนกทา ยโสธร-อำนาจเจริญ (อนาคต)
อาหาร
[แก้]ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมการกินหลากหลายที่สุดของประเทศไทย ดังตัวอย่างประเภทอาหารต่อไปนี้
- ข้าวหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมขึ้นชื่อที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก[ต้องการอ้างอิง] นิยมปลูกกันมากในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และนครราชสีมา
- ปลาแดก คืออาหารที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากกว่า 5,000 ปี[ต้องการอ้างอิง] โดยการนำปลาหรือสัตว์ชนิดอื่น เช่น อึ่งอ่าง มาหมักกับเกลือและรำข้าวหรือข้าวคั่ว ใช้เป็นอาหารและเครื่องปรุงรส
- ปลาร้าหลน หรือหลนปาแดก คือการนำปลาร้าเป็นตัว ขนาดใหญ่พอประมาณนำไปทอดในกระทะให้สุก นิยมรับประทานกับข้าวเหนียว เครื่องเคียง เช่น พริกสด โหระพา กระเทียม
- ข้าวจี่ คือนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนโรยเกลือเสียบไม้ นำไปย่างไฟ แล้วทาทับด้วยไข่ น้ำผึ้ง หรือน้ำตาล
- ปลาร้าบอง หรือปาแดกบอง คือการนำปลาร้าเป็นตัวมาสับให้ละเอียดพร้อมกับใส่เครื่องปรุง เช่น ตะไคร้ พริก หอม กระเทียม ใบมะกรูด
- ลาบ เช่น ลาบหมู, ลาบไก่, ลาบซี้น, ลาบเนื้อ, ลาบควาย, ลาบไข่มดแดง, ลาบปลาตอง[13]
- น้ำตก มีลักษณะเหมือนกับลาบทุกประการ ต่างกันเพียงแค่ไม่ใช้เนื้อสับแต่จะใช้เนื้อย่างหั่นเป็นชิ้น ๆ แทน โดยมากนิยมใช้เนื้อหมูย่างหรือเนื้อวัวย่าง
- ไข่มดแดง
- แกงอ่อม หรืออ่อม
- แกงเห็ด
- ก้อย
- แกงผักหวานไข่มดแดง
- หม่ำเนื้อ
- ข้าวเหนียวไก่ย่าง
- ส้มตำ หรือตำบักหุ่ง
- เลือดแปลง
- หมก คืออาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยมใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผัก และหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ
- เนื้อหมูแห้งแดดเดียว
- เนื้อวัวแห้งแดดเดียวหรือซี้นแห้ง
- ซกเล็ก
- ซั่ว เช่น ซั่วไก่
- เอาะ เช่น เอาะกะปู
- เหนี่ยน เช่น เหนี่ยนบักเขีย เหนี่ยนบักมี่
- ป่น เช่น ป่นปลา ป่นกบ มีทั้งป่นแห้งและป่นน้ำ
- ซุบ เช่น ซุบหน่อไม้
- แจ่ว คือน้ำพริกอีสาน เช่น แจ่วปลา แจ่วกุ้ง แจ่วหมากเผ็ด แจ่วบอง
- แจ่วฮ้อน คือจิ้มจุ่มอีสาน
- ซิ้นดาด คือหมูกระทะอีสาน
- เข้าหลาม คือข้าวหลาม
- เข้าปุ้น คือขนมจีนอีสาน รับประทานกับน้ำยาประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำนัว (น้ำปลาร้า) น้ำยาป่า น้ำยาโคราช น้ำงัว (เนื้อวัว) หรือรับประทานกับส้มตำประเภทต่าง ๆ เช่น ตำเข้าปุ้น ตำป่า ตำซั่ว (ตำซ่า) เป็นต้น
- เข้าเปียก คือกวยจั๊บอีสานเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลเวียดนาม
- น้ำผัก
- ยำสลัดลาว
- แหนมเนือง คืออาหารที่ได้รับอิทธิพลเวียดนาม รับประทานใส่กะปิ ซอสหวาน ซีอิ๊วขาว และผักโหระพา
- เฝอ คือก๋วยเตี๋ยวที่ได้รับอิทธิพลเวียดนาม บางท้องถิ่นรับประทานใส่ซอสพริก กะปิ ซีอิ๊วดำ บางท้องที่ใส่มะเขือเทศลงในน้ำซุป
- หมาน้อยหรือหม้อน้อย
- ต้ม เช่น ต้มส้ม ต้มไก่ ต้มแซบ ต้มยำ
- ซ่า หรือซว่า
- แกงกล้วย เป็นอาหารพื้นบ้านอีสานใต้
- อ๋อหรือเอาะ ใช้น้ำน้อยกว่าอ่อม ใช้ผักและเนื้อสัตว์เคล้ากับน้ำพริกแกง แล้วตั้งไฟให้สุก จนน้ำในผักและเนื้อซึมออกมา นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้งฝอย ลูกอ๊อดและเขียด ตัวอย่างเช่น อ๋อฮวก (ใช้ลูกอ๊อดของกบหรือเขียด), อ๋อหน่อไม้
ประเพณี
[แก้]- ยึดตามแบบขนบฮีตสิบสอง ครองสิบสี่
- ประเพณีผูกเสี่ยว จังหวัดขอนแก่น
- ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม
- ประเพณีปราสาทขี้ผึ้ง จังหวัดสกลนคร
- ประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด
- ประเพณีผีตาโขน จังหวัดเลย
- ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
- ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
- ประเพณีเลี้ยงผีฟ้า จังหวัดกาฬสินธุ์
- ประเพณีแซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์และชาวอีสานตอนใต้
- ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
- ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม
- ประเพณีฮีตสิบสอง จังหวัดอำนาจเจริญ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. "สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ". statbbi.nso.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-20. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2022.
- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
- ↑ Klaus Glashoff. "Spoken Sanskrit". Spokensanskrit.de. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1378 เก็บถาวร 2007-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชบัณฑิตยสถาน
- ↑ Schliesinger, Joachim (2001). "Chapter 2: Khorat Thai". Tai Groups of Thailand, Vol 2: Profile of the Existing Groups (eBook by BooksMango ed.). Bangkok: White Lotus Co, Ltd. pp. 7–12. ISBN 9781633232358. สืบค้นเมื่อ 9 July 2017.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2553. สืบค้น 22 มีนาคม 2554.
- ↑ ฐานข้อมูลกรมการปกครอง
- ↑ lovethailand.org