โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม (ตุลาคม 2024) |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ Satri Nakhon Sawan School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
312 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000 | |
พิกัด | 15°41′40″N 100°07′32″E / 15.6944375°N 100.1254219°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.น. S.N. |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | ความรู้ดุจอาภา จรรยาดุจอาภรณ์ Open your mind Brush up you Brains Expand your Horizon |
สถาปนา | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 (112 ปี 277 วัน)[1] |
ผู้ก่อตั้ง | สมเด็จพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา |
เขตการศึกษา | มัธยมศึกษาเขตที่ 42 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 07600102 |
ผู้อำนวยการ | นายวิฑูรย์ งามนิธิจารุเมธี |
จำนวนนักเรียน | 2,954 คน (ปีการศึกษา 2567) |
สี | น้ำเงิน เหลือง |
เพลง | มาร์ชสตรีนครสวรรค์[2]
รำวง ส.น.[3] อาลัย ส.น.[4] |
เว็บไซต์ | www.sns.ac.th |
โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่หลังโรงพยาบาลปากน้ำโพ เปิดสอนในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 โดยชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมี 13 ห้องเรียน และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมี 13 ห้องเรียน โดยในอดีตได้ก่อตั้งอยู่บนที่ราชพัสดุตรงข้ามธนาคารไทยพาณิชย์สาขาตลาดปากน้ำโพในปัจจุบัน
ประวัติโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนสตรีนครสวรรค์เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เริ่มก่อตั้งเมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2455 บนที่ราชพัสดุตรงข้ามธนาคารไทยพาณิชย์ ตลาดปากน้ำโพในปัจจุบัน เดิมชื่อว่า ”โรงเรียนสตรีปากน้ำโพ” เป็นโรงเรียนสหศึกษา สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
ปี พ.ศ. 2457 พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้ประทานเงินจำนวน 5,000 บาทเพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ โดยรื้ออาคารเรียนหลังเก่า
ปี พ.ศ. 2460 ได้เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รับเฉพาะนักเรียนหญิง และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำมณฑลแผนกสตรี
ปี พ.ศ. 2471 ได้เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และรับนักเรียนหญิงที่มีสอบไล่ได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากอำเภอต่าง ๆ เข้ามาเป็นนักเรียนฝึกหัดครู รับเป็นนักเรียนประจำโดยให้ความรู้สามัญร่วมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และเรียนวิชาครูควบคู่ไปด้วย เมื่อเรียนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และวิชาครูแล้ว ได้รับประกาศนียบัตร “ครูประกาศนียบัตรมลฑล” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ครูประกาศนียบัตรจังหวัด”
ปี พ.ศ. 2473 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ประทานเงินบำรุงแก่โรงเรียนสตรีประจำมณฑลนครสวรรค์ 200 บาท เนื่องในการที่บรรดาครูและนักเรียนโรงเรียนสตรีประจำมณฑล ได้พร้อมใจกันแสดงละครร้องถวายทอดพระเนตร ณ สโมสรข้าราชการ เมื่อคืนวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2473[6]
ปี พ.ศ. 2475 โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครสวรรค์” เพราะมลฑลนครสวรรค์เปลี่ยนเป็นจังหวัดนครสวรรค์
ปี พ.ศ. 2482 กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั้งยุบโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูประกาศนียัตรจังหวัด
ปี พ.ศ. 2491 กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งให้ตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นในโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครสวรรค์ โดยให้ครูใหญ่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครสวรรค์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนอนุบาลด้วย เปิดทำการสอนในระดับอนุบาล – ประถมปีที่ 4
ปี พ.ศ. 2494 หลังจากก่อสร้างมาประมาณ 40 ปี ได้ย้ายมาปลูกสร้างในสถานที่ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสตรีนครสวรรค์” สร้างอาคารเรียนเป็นตึกชั้นเดียวบนพื้นที่ 10 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา
ปี พ.ศ. 2505 ได้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกศิลป์ รับนักเรียนทั้งชาย-หญิง
ปี พ.ศ. 2507 โรงเรียนอนุบาลได้แยกไปอยู่ในที่ใหม่ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์
ปี พ.ศ. 2522 โรงเรียนได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 5 ไร่ 57 ตารางวา
ปี พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุมขนาดใหญ่ และรื้อทิ้งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2536 เพื่อใช้พื้นที่ในการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 5 ชั้นในปี2536
ปี พ.ศ. 2525 โรงเรียนมีนโยบายงดรับนักเรียนชาย และ ได้รับงบประมาณ 3,120,000 บาท ต่อสร้างโรงฝึกงานแบบพิเศษ 3 ชั้น 6 หน่วย ตั้งชื่อว่า "อาคารมาลัยพิรุณ"
ปี พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ 5 ชั้น 1 หลัง ราคา 25 ล้านบาท มีห้องเรียน 40 ห้อง ชั้นบนเป็นโรงยิมเนเซียม หรือ อาคาร6 นภคุณหยาดเพชร ชั้นล่างโล่ง
ปี พ.ศ. 2540 มีนโยบายรับนักเรียนชายและเป็นโรงเรียนสหศึกษา และในปีเดียวกันนี้ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 2 ชั้น ราคา 15 ล้านบาท ด้านหน้าโรงเรียน อาคารเฉลิมพระเกรียติ 6 รอบ พระชนม์พรรษา
ปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้ขอพระราชทานชื่ออาคารและขออนุญาตเชิญตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ประดิษฐานที่ป้ายชื่ออาคารและสำนักราชเลขาธิการพระบรมมหาราชวังมีหนังสือแจ้งกลับว่าสมควรให้ใช้ชื่ออาคารว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา” สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดอาคารเรียน “อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา” เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ในครั้งนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นราชพฤกษ์ ต้นไม้ประจำโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ พระราชทานแก่โรงเรียน บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสตรีนครสวรรค์
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | ครูมาลี | พ.ศ. 2455 – 2456 |
2 | ครูจ๋วน กิจวรวัฒน์ | พ.ศ. 2456 – 2465 |
3 | ครูลาภ มานะเศวต | พ.ศ. 2465 – 2466 |
4 | ครูมานพ สุวรรณเกษร | พ.ศ. 2466 – 2466 |
5 | ครูน้อม กสิรักษ์ | พ.ศ. 2466 – 2470 |
6 | นางตาบทิพย์ รัตนวราหะ | พ.ศ. 2470 – 2480 |
7 | นายเติมมา ณ มหาไชย | พ.ศ. 2480 – 2502 |
8 | นางไพฑูรย์ เที่ยงศิริ | พ.ศ. 2502 – 2521 |
9 | นางพะเยีย อุทยานิน | พ.ศ. 2521 – 2524 |
10 | นางพวงเพชร ธนะเพทย์ | พ.ศ. 2524 – 2538 |
11 | นางเพ็ญศรี พืชพันธ์ | พ.ศ. 2538 – 2542 |
12 | นางสาวบุบผา เสนาวิน | พ.ศ. 2543 – 2546 |
13 | นายวิวัฒน์ อนิวรรตกูล | พ.ศ. 2546 – 2549 |
14 | นายปรีชา ทานะมัย | พ.ศ. 2549 - 2553 |
15 | ดร.วินัย ทองมั่น | พ.ศ. 2554-2556 |
16 | นางสาวจุไรรัตน์ มณีรัตน์ | พ.ศ. 2557-2560 |
17 | นางสาวสุดสวาท ยังแจ่ม | พ.ศ. 2560-2563 |
18 | นายชาญชัย ชนิดสะ | พ.ศ. 2563-2566 |
19 | นายไพบูลย์ เขียนประเสริฐ | พ.ศ. 2566 - 2567 |
20 | นายวิฑูรย์ งามนิธิจารุเมธี | พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
แผนการเรียน
[แก้](อดีต) มัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- ห้อง 1-6และ8 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ห้อง 7 แผนการเรียนรู้ EP
- ห้อง 9-12 แผนการเรียนศิลป์-ภาษา
(ปัจจุบัน) มัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- ห้อง 1 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)
- ห้อง 2,3,4,5,6,8 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ห้อง 7 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษ English Program (EP)
- ห้อง 9,10,11,12 แผนการเรียนศิลป์-ภาษาอังกฤษ
- ห้อง 13 แผนการเรียนศิลปะ-กีฬา
(อดีต) มัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- ห้อง 1 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- ห้อง 2-4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ห้อง 5-6 แผนการเรียนศิลป์-คณิตศาสตร์
- ห้อง 7 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษEnglish Program (EP) (จีน-ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส)
- ห้อง 8-9 แผนการเรียนภาษาจีน-ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส-เกาหลี
- ห้อง 10-11 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ
- ห้อง 12-13 แผนการเรียนทั่วไป
(ปัจจุบัน) มัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- ห้อง 1 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)
- ห้อง 2,3,4,5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ห้อง 6,8,9 แผนการเรียนศิลป์-ภาษาอังกฤษ
- ห้อง 7 ห้องเรียนพิเศษ โครงการห้องเรียนพิเศษ English Program (EP)(จีน - ญี่ปุ่น - ฝรั่งเศส)
- ห้อง 10 แผนการเรียนศิลป์-ภาษาจีน-ฝรั่งเศส
- ห้อง 11 แผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น-เกาหลี
- ห้อง 12 แผนการเรียนศิลปะ-กีฬา
- ห้อง 13 แผนการเรียนศิลป์-ทั่วไป
อาคารและสถานที่
[แก้]อาคารเรียนของโรงเรียนสตรีนครสวรรค์มีทั้งหมด 10 อาคาร ดังนี้
- อาคารอัจฉราลัย เป็นหอประชุมของโรงเรียน ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร
- อาคารไพจิตรเวหาส (ตึก 1) เป็นอาคารเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
- อาคารโอภาสรวี (ตึก 2) เป็นอาคารเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และศิลปะ ในอดีตอาคารนี้เคยเป็นที่ตั้งของสำนักงานผู้อำนวยการ และห้องประชุมกีรตยานุสรณ์
- อาคารรัศมีดารา (ตึก 3) เป็นอาคารเรียนวิชาภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และฝรั่งเศส
- อาคารจันทราอำไพ (ตึก 4) เป็นอาคารเรียนคณิตศาสตร์ ห้องพยาบาล และห้องลูกเสือ
- อาคารมาลัยพิรุณ (ตึก 5) เป็นอาคารเรียนวิชาคหกรรม งานช่าง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ ศูนย์AFSเขตนครสวรรค์ ศูนย์อาเซียนศึกษา ห้องกลุ่มบริหารกิจการพิเศษ และศูนย์การเรียนรู้ไร้พรมแดน เป็นห้องประชุมขนาดเล็ก (ห้องมาลัย1 และห้องมาลัย2)
- อาคารนพคุณหยาดเพชร (ตึก 6) สร้างขึ้นเมื่อปี 2536 ได้รับเกียรติจาก ผ.อ.พวงเพชร ธนะแพทย์ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ของอาคาร
- อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (ตึก 7) สร้างขึ้นเมื่อปี 2541 เป็นอาคารเรียนโครงการ 2 ภาษา ซึ่งมีห้องสมุดและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 และในคราวเดียวกันทรงปลูกต้นราชพฤกษ์พระราชทานบริเวณด้านหน้าอาคาร
- อาคาร8 (ตึก 8) สร้างขึ้นเมื่อปี 2561 อาคาร8 ยังไม่มีการตั้งชื่ออาคารอย่างเป็นทางการ เป็นอาคารเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
- สระบัว เป็นอ่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ก่อขึ้นมาระหว่างอาคารโอภาสรวีและอาคารรัศมีดารา ในอดีตมีบัวหลากหลายสายพันธุ์ แต่หลังจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 2554 ทำให้บัวหลายสายพันธุ์สูญหายและไม่สามารถทนต่อสภาพน้ำได้ จึงทำให้ในปัจจุบันยังคงมีแค่บัวหลวงปทุมเท่านั้นที่เหลือรอดมาจากเหตุการณ์น้ำท่วม นอกจากบัวแล้วในสระยังมีปลาและหอยหลายสายพันธุ์ เช่นหอยเชอรี่ ในช่วงหลังจากประกาศผลสอบแอดมิดชั่นหรือรับตรงเข้ามหาวิทยาลัยมักจะมีนักเรียน ม.6 ที่ประสบความสำเร็จในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากระโดดสระบัว วิ่งรอบสระบัวเป็นธรรมเนียมประเพณีที่สืบต่อกันมานาน
- สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
- หอพระ อาคารทรงปราสาทจตุรมุข มียอด1ยอด หลังคาซ้อนสองชั้น ประดับใบระกาหางหงส์ สร้างขึ้นในสมัยของผู้อำนวยการเพ็ญศรี พืชพันธุ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศรีสวรรค์ และสมเด็จพระโพธิญาณ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน
- ลานลีลาวดี ในอดีตใช้เป็นลานฝึกสอนวิชานาฏศิลป์ ปัจจุบันได้ปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นสวนหย่อมภายในมีต้นลีลาวดีขนาดใหญ่ และเสาอิฐของอาคารเรียนหลังแรกเป็นอนุสรณ์ พื้นที่นี้ใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งในบางสาขาวิชา
- โดมร่มเย็น สร้างขึ้นเมื่อปี 2559
- โดมร่มเย็น(ช่วงที่2) ต่อเติมเพิ่มจากโดมเก่า สร้างเมื่อปี 2566
คณะสี
[แก้]ชื่อคณะสี | สีประจำคณะ | |
ไพจิตรเวหาส | สีเขียว | |
โอภาสรวี | สีแดง | |
รัศมีดารา | สีฟ้า | |
จันทราอำไพ | สีเหลือง | |
มาลัยพิรุณ | สีน้ำเงิน |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- คุณหญิงสมจินตนา ภัคดิ์ศรีวงค์ - อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- พรนิภา ลิมปพยอม - อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ฉลาด ศิริภาพ - เจ้าของโรงเรียนโพฒิสารศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
- ผอ.ดร.สุมนา พุ่มประพาฬ - ผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก
- ผอ.บุบผา เสนาวิน - อดีตผู้อำนายการระดับ 9 โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- รศ.ดร. วิเชียร ทวีลาภ - อดีตคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ววลัยรัตน์ ศรีอรุณ - ข้าราชการระดับ 10 ข้าราชการดีเด่น กระทรวงการคลัง
- ดารัตน์ ศิริวิริยกุล วิภาตะกลัศ - อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์
- วรรณิภา บัวแก้ว - บอร์ดผู้บริหารสมาคมอเมริกันบล็อกเชนเทคโนโลยี สหรัฐอเมริกา
- ณฐณพ ชื่นหิรัญ - พระเอก-นักแสดงช่อง3
- นิลาวัณย์ พานิชย์รุ่งเรือง - ผู้ประกาศข่าวช่อง 7
- เมจกา สุพิชญางกูร - ผู้ประกาศข่าวช่อง3
- ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล - นักกีฬายกน้ำหนักเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008ที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ
- ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ - นักวิทยาศาสตร์หญิงระดับโลก ,นักวิจัยไบโอเทค
- กิตติยา รัตนจิรเศรษฐ นักร้อง อัลบั้ม First Stage Project โด่งดังในเพลง คิดถึง...อีกแล้ว
- พาขวัญ รื่นรวย - นักร้องของค่าย JSL
- พิมพ์นิภา ปานทอง - นักกีฬากอล์ฟทีมชาติไทย
- น้ำเพชร อิสรีย์ ธรากูลพิพัฒน์ - มิสแกรนด์นครสวรรค์ 2022 และรองชนะเลิศอันดับ 1 Miss Fabulous Thailand Season 3 (2024)
- พั้นช์ อาทิตยา แพ่งสุภา - นางสาวไทยนครสวรรค์ 2567 (อดีตประธานคณะจันทราอำไพ ปี 2563)
ภาษาที่มีการเรียนการสอน
[แก้]ตราสัญลักษณ์EPและศิลป์ภาษา
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อข้อมูลพื้นฐาน
- ↑ มาร์ช สตรีนครสวรรค์, สืบค้นเมื่อ 2023-02-11
- ↑ รำวง ส.น. (โรงเรียนสตรีนครสวรรค์), สืบค้นเมื่อ 2023-02-11
- ↑ อาลัยส.น. (โรงเรียนสตรีนครสวรรค์), สืบค้นเมื่อ 2023-02-11
- ↑ ประวัติโรงเรียนสตรีนครสวรรค์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/3392.PDF
- ↑ http://www.sns.ac.th/imageboss/vichakan/1.pdf
- ↑ http://www.sns.ac.th/imageboss/vichakan/1.pdf