ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนชลกันยานุกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนชลกันยานุกูล
Chonkanyanukun School
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนชลกันยานุกูล
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่น(ช.น. / C.N. / ชลหญิง )
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
ขนาดใหญ่พิเศษ
คติพจน์อตฺตนา โจทยตตานํ
(จงเตือนตนด้วยตนเอง)
สถาปนา10 กันยายน พ.ศ. 2479
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1012200103
จำนวนนักเรียน4,169 คน
สีกรมท่า-เนื้อ
เพลงมาร์ชชลกันยานุกูล
เว็บไซต์www.chonkanya.ac.th

โรงเรียนชลกันยานุกูล เป็นโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนรางวัลพระราชทาน และ โรงเรียนหญิงล้วนประจำจังหวัดชลบุรี ก่อตั้งขึ้นวันที่ 10 กันยายน 2479 มีนักเรียนจำนวน 4,169 คน ผู้บริหาร 1 คน รองผู้อำนวยการ 4 คน ครู 131 คน ครูอัตราจ้าง 30 คน นักการภารโรง 11 คน มีพื้นที่รวม 27 ไร่ 2 งาน 46 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 31 ถ.ตำหนักน้ำ ต.บางปลาสร้อย อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20230

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนชลกันยานุกูล เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 3 แบบหญิงล้วน และช่วงชั้นที่ 4 แบบสหศึกษา

โรงเรียนชลกันยานุกูล ก่อตั้งปี 2458 โดยพระยาปราศรัยสุรเดช ข้าหลวงประจำจังหวัดชลบุรี เป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้น เพื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี แล้วเสร็จอย่างเป็นทางการในปี 2460 และมี นายชม สุนทรี เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 กระทรวงธรรมการ ส่งให้ย้ายนักเรียนชาย-หญิง ออกจากกัน ซึ่งนักเรียนหญิงให้เรียนที่โรงเรียนประจำเดิม มีนางสาวอุ่น ติรัตนะ เป็นครูใหญ่ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2478 ชาวชลบุรีได้บริจาคเงินสมทบเงินกับงบประมาณแผ่นดิน เพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ และย้ายนักเรียนหญิงไปเรียนอาคารเรียนหลังใหม่

ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2479 และใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนสตรีชลบุรี "ชลกันยานุกูล" ซึ่งเป็นโรงเรียนหญิงล้วน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2503 จึงเปิดสอนเตรียมอุดมศึกษาเป็นสหศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนชลกันยานุกูล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายนารถ มนตเสวี ได้จัดหาที่สร้างโรงเรียนโดยถมที่ชายฝั่งทะเลสามแสม หลังศาลากลางจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีเนื้อที่ 27 ไร่ 2 งาน 46 ตารางวา ระดมทุนจากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดชลบุรีสร้างอาคารเรียนเป็น ตึก 2 ชั้น กว้าง 10 เมตร ยาว 126 เซนติเมตร มีห้องเรียน 22 ห้อง ห้องครู 2 ห้อง สร้างแล้วเสร็จวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 และจัดตั้ง "มูลนิธิชลกันยานุกูล" ในปี พ.ศ. 2520 ต่อในปี พ.ศ. 2523 ได้มอบหมายให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (English Resource Instruction Center – ERIC) ศูนย์พัฒนาการสอนภาษาต่างประเทศ ภาษาที่ 2 (ภาษาฝรั่งเศส)

ปัจจุบัน โรงเรียนชลกันยานุกูล มีมูลนิธิเพื่อการศึกษา ทั้งสิ้น 19 มูลนิธิ และ 3 กองทุน โรงเรียนได้ดำเนินจัดการศึกษา โดยใช้หลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งจัดทำตามกรอบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีการจัดการศึกษาตามโครงการพิเศษภาคภาษาอังกฤษ (English Program) และโครงการอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร - คณิตศาสตร์ ในช่วงชั้นที่ 4

รายนามผู้บริหารโรงเรียน

[แก้]
ลำดับ ภาพ ชื่อและนามสกุล เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 - นางสาวอุ่น ติรัตนะ
(ครูใหญ่)
พ.ศ. 2474 พ.ศ. 2489 -
2 - นางสาวอรุณวตี สุวรรณกนิษฐ
(ครูใหญ่)
พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2491 -
3 - นางละม่อม ชื่นสำราญ
(ครูใหญ่)
พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2496 -
4 - นางพรสวรรค์ ศุภจิตรา
(ครูใหญ่)
พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2498 -
5 - นางสาวสุภรณ์ วีรวรรณ
(ครูใหญ่)
พ.ศ. 2498 พ.ศ. 2508 -
6 - นางสาววิไล พรหมคุปต์
(ครูใหญ่)
พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2524 -
7 - นางจันทร์เพ็ญ เจริญผลารักษ์
(ครูใหญ่)
พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2528 -
8 - นางสมจิตร ธรรมชีวัน
(ครูใหญ่)
พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2528 -
9 - นางสาวสอุน มารีพิทักษ์
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2538 -
10 - นางสาวอารมณ์ ประพันธ์
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2544 -
11 - นางสาวศรีวรรณา เขียวลี
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2551 -
12 - นายเสวก พลสวัสดิ์
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2556 -
13 - นางกนมพรรธน์ ทิพยไกรศรโชติ
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2559 -
14 - ดร.เฉิดเฉลา แก้วประเคน
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560 -
15 - นายสำเริง หมอนวัน
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2563 -
16 - นายวิทยา อรุณแสงฉาน
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564 -
17 - นายณรงค์ กิตติวงศ์ตระกูล
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2565 พ.ศ.2567 -
18 - นางนภาพร มูลเมือง
(ผู้อำนวยการ)
พ.ศ.2567 ปัจจุบัน

อาคารและสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียน

[แก้]
  1. อาคาร 1 มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชั้น เป็นที่ตั้งของห้องประชาสัมพันธ์ ห้องประชุม (ความจุ 40 คน) ห้องผู้อำนวยการ สำนักงานเลขานุการ ห้องฝ่ายอำนวยการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ห้อง Sound Lab ศูนย์ ERIC ศูนย์ภาษาฝรั่งเศส ห้องศูนย์ SEAR ห้องเรียนโครงการเงินกู้ธนาคารโลก ห้อง E-Classroom
  2. อาคาร 2 มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชั้น เป็นที่ตั้งของห้องประชุมกมุทมาศนารี (ความจุ 150 คน) สำนักงานเทคโนโลยีการศึกษา สำนักงาน มสธ. ห้องแผนงาน ห้องภูมิปัญญาชาวบ้าน สำนักงานฝ่ายจัดการศึกษาและพัฒนาวิชาการ ห้อง Server ห้อง E-Learning ห้องสื่อและผลงานครู
  3. อาคาร 3 มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ชั้น เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ห้องศูนย์สื่อการเรียนรู้ ห้องจริยธรรม ห้อง E-Classroom ห้องโสตทัศนศึกษากลุ่มสาระ
  4. อาคาร 4 มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ชั้น เป็นที่ตั้งของห้องสำนักวิทยบริการ ห้อง E-Classroom กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องศูนย์สื่อการเรียนรู้ โครงการห้องเรียนสีเขียว ห้องเรียนโครงการเงินกู้ธนาคารโลก ห้องเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวภาพ
  5. อาคาร 5 มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชั้น เป็นที่ตั้งของห้องเรียนการงานอาชีพไฟฟ้า ห้องเรียนการงานอาชีพเกษตร ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ห้องเรียนการงานอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ห้องเรียนการงานอาชีพเขียนแบบ
  6. อาคาร 6 มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ชั้น เป็นที่ตั้งของโรงอาหาร ห้องอาหารครู สำนักงานโครงการ English Program ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ EP ห้องพักครู English Program ห้องสมุด English Program ห้อง E-Classroom (English Program) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้อง E-Classroom (สาระฯ คณิตศาสตร์) ห้องเรียนโครงการเงินกู้ธนาคารโลก ห้องศูนย์สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  7. อาคาร 7 (อาคารบุญส่ง โรจนัย) มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องเรียนดนตรีสากล โถงชั้นล่างเป็นที่เรียนศิลปะ และแสดงผลงานศิลปะ ชั้นสองเป็นที่ตั้งของห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้องเรียนดนตรีไทย ห้องเรียนนาฏศิลป์ ชั้นสามเป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์
  8. อาคาร 8 เป็นอาคาร 6 ชั้น เป็นที่ตั้งของห้องเรียนคหกรรมอาหาร ห้องเรียนคหกรรมการประดิษฐ์ สำนักงานฝ่ายกิจกรรมนักเรียน ห้องประชุมบัวหลวง (ความจุ 300 คน) ห้องพักรับรอง ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ห้องหมอภาษา ห้องศูนย์สื่อภาษาไทย ห้องแนะแนวการศึกษา ห้อง E-Classroom ห้องเรียนภาษาไทย ห้องพักครูคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ 5 ห้อง ห้องศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนพิมพ์ดีดไทย ห้องเรียนพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษ ห้องเรียนธุรกิจ
  9. อาคาร 9 (ตึกศิลป์) เป็นอาคาร 2 ชั้นสร้างขึ้นในสมัย ผอ.ศรีวรรณา เขียวลี และมอบให้เป็นอาคารเรียนศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นล่างเป็นห้องพักครู และแสดงผลงานศิลปะของนักเรียน ชั้นสองและสามชั้นละหนึ่งห้องเรียนใช้จัดการเรียนการสอน
  10. อาคาร 10 เป็นอาคาร 6 ชั้น เป็นอาคารของนักเรียนอีพี (English Program) ที่จะมีห้องประจำของตนและห้องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในตึก เช่น ห้องแล็บ ห้องคอม ห้องเขียนแบบและห้องสมุด จะมีห้องประชุมใหญ่ 2 ห้อง บริเวณชั้น 1 และชั้น 5
  11. อาคารพลศึกษา เป็นที่ตั้งของห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษา ห้อง E-Classroom ห้องเรียนสุขศึกษา ห้องเรียนเทเบิลเทนนิส ห้องเรียนลีลาศ และเป็นที่ตั้งของสนามกีฬาเอนกประสงค์ ซึ่งใช้รองรับการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น ฟุตซอล วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล แฮนด์บอล ฯลฯ มีอัฒจันทร์รองรับผู้ชมได้ประมาณ 1,600 คน
  12. หอประชุมสุภรณ์ วีรวรรณ เป็นอาคาร 2 ชั้น รองรับผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละชั้นประมาณ 1,600 คน
  13. เรือนไทย เป็นเรือนไทยของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ริมสระน้ำของโรงเรียน ซึ่งทางโรงเรียนใช้จัดแสดงวัตถุสิ่งของที่มีคุณค่าทางด้านวัฒนาธรรมของไทยและของจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน

ชีวิตภายในโรงเรียน

[แก้]

ชีวิตการเรียนสนุกสนาน เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นลักษณะการเดินเรียนซึ่งให้นักเรียนคุ้นเคยกับการเรียนลักษณะนี้ เป็นการฝึกให้นักเรียนชินเพราะการเรียนในมหาวิทยาลัยจะใช้ระบบนี้ ที่นี้อบอุ่นมีระบบรุ่นน้องเคารพรุ่นพี่ วันจบการศึกษารุ่นน้องจะนิยมให้ของขวัญรุ่นพี่ที่เป็นรหัสเดียวกันกับตนเอง

วันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน

[แก้]

วันรำลึกผู้ว่านารถ : ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันถึงแก่กรรมของนายนารถ มนตเสวี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ซึ่งในวันนี้ ตัวแทนนักเรียนจากระดับชั้นต่าง ๆ ตัวแทนคณะกรรมการนักเรียน ตัวแทนครูและบุคลากรในโรงเรียน จะวางพวงหรีดแสดงความกตัญญู ซึ่งจัดพิธีลานหน้าอาคารเรียนหลังกิจกรรมเคารพธงชาติ เพื่อแสดงถึงความกตัญญูและรำลึกถึงผู้ว่านารถ

วันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน : ตรงกับวันที่ 10 กันยายน ของทุกปี ในวันนี้มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ซึ่งส่วนมากมาจากผลงานของนักเรียน เช่น การจัดนิทรรศการทางวิชาการ การแสดงดนตรีของนักเรียน การออกร้านจากชุมนุมต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า เถ้าแก่น้อย

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]