โรงเรียนสตรีสิริเกศ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนสตรีสิริเกศ | |
---|---|
Satreesiriket School | |
ตราหน้านาง ตราประจำโรงเรียนสตรีสิริเกศ | |
ที่ตั้ง | |
879 ถนนปลัดมณฑล ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ส.ก. (S.S.K.) |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษารัฐบาลขนาดใหญ่พิเศษ (สหศึกษา) |
คติพจน์ | ปญญา นรานํ สิริ ปัญญาเป็นสิริ คือมิ่งขวัญของคนทั้งหลาย |
สถาปนา | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2482 |
โรงเรียนพี่น้อง | โรงเรียนสิริเกศน้อมเกล้า (ตำบลหญ้าปล้อง) โรงเรียนคูซอดประชาสรรค์ (ตำบลคูซอด) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ (ตำบลโพธิ์) โรงเรียนน้ำคำวิทยา (ตำบลน้ำคำ) โรงเรียนลิ้นฟ้าพิทยาคม (ตำบลลิ้นฟ้า) |
หน่วยงานกำกับ | สหวิทยาเขตหลักเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 11330102 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | ดร. ภูมิภัทร มาลี |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | ม.1-ม.6 |
วิทยาเขต | หลักเมือง |
สี | สีชมพู–ขาว |
เพลง | มาร์ชสิริเกศ |
เว็บไซต์ | http://www.ssk.ac.th |
โรงเรียนสตรีสิริเกศ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 879 ถนนปลัดมณฑล ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ[1]
ประวัติโรงเรียน
[แก้]อดีตนักเรียนของโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดศรีสะเกษ เรียนรวมกับนักเรียนชายของ โรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์รังรักษ์ ปัจจุบันคือ โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้แยกนักเรียนออกจากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยโดยโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัยรับนักเรียนชายล้วน ตั้งแต่ ม.1-6
- พ.ศ. 2482 ตั้งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดศรีสะเกษ มีครู 7 คน มีนักเรียนชั้น ป.3, ป.4, ม.1 (ม.1 เป็นนักเรียนหญิงล้วน ส่วน ป.3 และ ป.4 รับมาสอนทั้งชายและหญิง)
- พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการพัฒนาโรงเรียน และพระราชทานนาม "สิริเกศ" ให้เป็นชื่อโรงเรียน จึงได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดศรีสะเกษ เป็น โรงเรียนสตรีสิริเกศ
- พ.ศ. 2517 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ ค.ม.ภ.2 เพื่อให้โรงเรียนเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลาง และดำเนินการสอนตามหลักสูตรกว้าง
- พ.ศ. 2518 โรงเรียนเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- พ.ศ. 2520 ได้รับอาคารเรียนจากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ซึ่งย้ายออกไปอยู่สถานที่ใหม่ ทำให้โรงเรียนสตรีสิริเกศมีอาคารสถานที่เพิ่มขึ้น มีบริเวณ 2 ส่วนคือด้านสตรีสิริเกศ 1 และสตรีสิริเกศ 2
- พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณเงินกู้จากธนาคารโลก 6,440,000 บาท เพื่อต่อเติมอาคารเรียนแบบ 424 สร้างอาคารเรียนแบบ 318 โรงฝึกงาน ห้องน้ำ-ส้วม และปรับปรุงบริเวณโรงเรียน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2521
- พ.ศ. 2524 ได้ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสตรีสิริเกศ
- พ.ศ. 2525 ได้รับอนุญาตจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสตรีสิริเกศ
- พ.ศ. 2527 ได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งมูลนิธิสิริเกศและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนจัดกิจกรรมจริยศึกษาดีเด่น
- พ.ศ. 2528 ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนแบบสหศึกษาทั้งในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนเสริมสร้างวินัยดีเด่น
- พ.ศ. 2529 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่
- พ.ศ. 2530 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร
- พ.ศ. 2531 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ล
- พ.ศ. 2532 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหน่วยบริการแนะแนวประจำจังหวัดศรีสะเกษและได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของจังหวัดศรีสะเกษ (ERIC)
- พ.ศ. 2533 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนแม่แบบการแนะแนวอาชีพ
- พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างอาคารแบบ 101 ล/27 ใช้เป็นหอประชุมและห้องสมุดและได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนพัฒนาห้องสมุดดีเด่นตามนโยบายของกรมสามัญศึกษา
- พ.ศ. 2537 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ
- พ.ศ. 2539 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนจัดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา
- พ.ศ. 2540 ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ภาษาสากลของจังหวัดและเป็นศูนย์พัฒนางานแนะแนวของจังหวัดและได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
- พ.ศ. 2541 ได้รับคัดเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานสหวิทยาเขตสิริเกศและได้รับคัดเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 9 และได้รับคัดเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษากรมสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มที่ 2 และได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ภาษาสากล ตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอน ภาษาสากล โรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา
- พ.ศ. 2542 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนสีขาวเฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติดและได้รับคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้เป็นโรงเรียนนำร่องการใช้กิจกรรมประกอบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและได้ก่อตั้งมูลนิธิหม่อมคำเมียง ชุมพล ณ อยุธยา
- พ.ศ. 2543 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนชุมชนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ของสมาคมสร้างสรรค์ไทย
- พ.ศ. 2544 ได้รับคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้เครื่องคิดเลขกราฟิกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
- พ.ศ. 2545 ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบโครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ (ตามที่ อ.ก.ค. กรมสามัญศึกษากำหนด) ของจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 85 โรงเรียนทั่วประเทศ
- พ.ศ. 2546 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (English Program) และได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษา ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่
- พ.ศ. 2548 ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324 ล
- พ.ศ. 2549 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบบูรณาการการเรียนการสอนเพศศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ERIC) และได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนเครือข่ายแกนนำคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและโรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
- พ.ศ. 2550 ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นโรงเรียนนำร่องผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจและได้รับโล่เกียรติยศ “โครงการลดเมืองร้อนด้วยมือเรา”
- พ.ศ. 2551 ได้รับคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยโปรแกรม GSP
- พ.ศ. 2551 ได้ก่อสร้างอาคารศูนย์อาหาร 70 ปี สตรีสิริเกศ ด้วยเงินบริจาค จำนวน 8,500,000 บาท
- พ.ศ. 2553 ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล
- พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบที่สาม[2]
รายนามผู้บริหารโรงเรียนสตรีสิริเกศ
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นางเปี่ยมจิต งามถิ่น (จุลกะ) | พ.ศ. 2482-2485 |
2 | นางสาวประชุมพร เหมะวานิช | พ.ศ. 2485-2487 |
3 | นางสาวระเบียบ ลิมอักษร | พ.ศ. 2487-2489 |
4 | นางสาวละแม้น ทองโรจน์ | พ.ศ. 2489-2490 |
5 | นางสาวภูมิจิต โกศัลวัฒน์ | พ.ศ. 2490-2497 |
6 | นางสาวถวิลวดี ไชยโย | พ.ศ. 2497-2499 |
7 | นางฉวี ถีระวงษ์ | พ.ศ. 2499-2502 |
8 | นางนันทิยา งามขำ | พ.ศ. 2502-2506 |
9 | นางสาวบุญมี โพพิพัฒน์ | พ.ศ. 2506-2511 |
10 | นางสาวพวงมาลัย เวียงใต้ | พ.ศ. 2511-2523 |
11 | นางสมนึก เชื้อโชติ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ) |
พ.ศ. 2523-2524 |
12 | นางนิด นาคอุดม | พ.ศ. 2525-2528 |
13 | นางภัทรพร พัชรินทร์ศักดิ์ | พ.ศ. 2528-2530 |
14 | นางกรรณิการ์ เถาว์โท | พ.ศ. 2530-2534 |
15 | นางสาวสมพร เทศะบำรุง | พ.ศ. 2534-2540 |
16 | นายสมบูรณ์ โพธิ์งาม | พ.ศ. 2540-2547 |
17 | นายวิบูลย์ รุ่งอดุลพิศาล | พ.ศ. 2547-2553 |
18 | นายสำรวย ไชยยศ | พ.ศ. 2553-2554 |
19 | นายสุธี ชินชัย | พ.ศ. 2554-2560 |
20 | นายสมศักดิ์ นันทวิสิทธิ์ | พ.ศ. 2560-2564 |
21 | ดร. ภูมิภัทร มาลี | พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน |
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
[แก้]สีประจำโรงเรียน
[แก้]ชมพู หมายถึง การอยู่ด้วยกันด้วยความรักความสามัคคี
ขาว หมายถึง การมีความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจ
ปรัชญาโรงเรียน
[แก้]ปญญา นรานํ สิริ ปัญญาเป็นสิริ คือมิ่งขวัญของคนทั้งหลาย
คำขวัญโรงเรียน
[แก้]วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม ผู้นำด้านกีฬา เห็นค่าความเป็นไทย ก้าวไกลสู่สากล
วิสัยทัศน์โรงเรียน
[แก้]ภายในปี 2568 โรงเรียนสตรีสิริเกศ สมนามพระราชทาน สืบสานศาสตร์พระราชา ก้าวหน้าในศตวรรษที่ 21 ระดับมาตรฐานสกล
อัตลักษณ์โรงเรียน
[แก้]ปัญญาดี มีมารยาทงาม สมนามพระราชทาน
พื้นที่บริเวณโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนสตรีสิริเกศ แบ่งพื้นที่บริเวณโรงเรียนออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
- สตรีสิริเกศ 1 มีพื้นที่ 9 ไร่ 1งาน 73.2 ตารางวา
- สตรีสิริเกศ 2 มีพื้นที่ 13 ไร่ 3 งาน 32.0 ตารางวา
- บ้านพักศึกษาธิการจังหวัดมีพื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 76.8 ตารางวา
- คณะกรรมการสถานศึกษาดำเนินการจัดซื้อที่ดินจากนางประน้อม หม้อทิพย์และมอบให้โรงเรียน พื้นที่ 37.5 ตารางวา
รวมโรงเรียนสตรีสิริเกศมีพื้นที่ 26 ไร่ 2 งาน 82 ตารางวา
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของโรงเรียนสตรีสิริเกศ เก็บถาวร 2011-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
พูดคุยบนTwitter : #โรงเรียนสตรีสิริเกศ และ #โรงเรียนสองฝั่งย่านรถไฟศก
- ↑ "เกี่ยวกับโรงเรียน". www.ssk.ac.th. 2015-07-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-14. สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.
- ↑ "ประวัติโรงเรียน". www.ssk.ac.th. 2015-07-01.[ลิงก์เสีย]