ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนปทุมวิไล

พิกัด: 14°01′06″N 100°31′34″E / 14.018322°N 100.526225°E / 14.018322; 100.526225
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนปทุมวิไล
Pathumwilai School
ที่ตั้ง
แผนที่
63/4 ถนนปทุมสัมพันธ์ ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
ข้อมูล
ชื่ออื่นป.ว./P.W.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญอภิตฺถเรถ กลฺยาเณ
พึงรีบกระทำความดีเถิด
สถาปนา6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1001130101
ผู้อำนวยการนายสมศักดิ์ สุมน
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สี   สีเขียว-สีชมพู
เพลงเพลงปทุมวิไล มาร์ชปทุมวิไล
เว็บไซต์http://www.pw.ac.th

โรงเรียนปทุมวิไล เป็นโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1) ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 63/4 ถนนปทุมสัมพันธ์ ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ประวัติ

[แก้]

แต่เดิมโรงเรียนปทุมวิไล ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสำแล ตำบลบ้านกระแชงมอญ อำเภอบางกะดี อยู่ทางด้านเหนือติดกับปากคลองส่งน้ำดิบการประปา (บริเวณโรงกรองน้ำดิบในปัจจุบัน) ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมืองปทุมธานี

  • พ.ศ. 2441 ท่านพระครูอุตตฺโมรุวงศ์ธาดา (ศุข) เจ้าอาวาสวัดสำแล ได้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนขึ้น และทำหน้าที่สอนพระ เณรและเด็ก ๆ ในบริเวณใกล้เคียง โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดเป็นที่สอน ชื่อว่า “โรงเรียนวัดสำแล”
  • ปี พ.ศ. 2455 ได้สร้างอาคารเรียนหลังแรกขึ้น เนื่องจากมีผู้ส่งบุตรหลานมาเรียนเป็นจำนวนมากขึ้น ที่เรียนเดิมไม่เพียงพอ และคับแคบเกินไป จึงได้นำเงินส่วนตัวและบอกบุญกับผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาคเงินสร้างอาคารเรียนขึ้นเป็นอาคารไม้สองชั้น หลังคามุงด้วยใบจาก โดยเปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษา
  • ปี พ.ศ. 2457 ได้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2463-2466 อาคารเรียนหลังแรกชำรุดทรุดโทรมมาก พระครูอุตตฺโมรุวงศ์ธาดา ได้บอกบุญกับผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบกับงบประมาณของทางราชการ เพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นอาคารไม้สองชั้น ทรงปั้นหยามีหน้ามุขตรงกลางยื่นออกมาด้านหน้า หลังคามุงด้วยกระเบื้อง จำนวน 7 ห้องเรียน และในปี พ.ศ. 2465 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดี กระทรวงธรรมการ มาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียนและให้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนปทุมวิลัย” มีนายจี้ รักบ้านเกิด เป็นครูใหญ่คนแรก ในช่วงเวลาดังกล่าว โรงเรียนได้ถูกเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง เป็นโรงเรียนปทุมวิทยาลัย บ้าง โรงเรียนประทุมาวิลัยบ้าง
  • ปี พ.ศ. 2477 ท่านพระครูอุตตโมรุวงศ์ธาดา ได้พิจารณาเห็นว่า คำว่า “วิลัย” มีความหมายไม่เหมาะสม จึงได้เปลี่ยนจาก คำว่า “วิลัย” เป็น “วิไล” ซึ่งแปลว่า สวย งาม โรงเรียนจึงได้ใช้ชื่อ “ปทุมวิไล” ตั้งแต่นั้นมา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลได้จัดระบบโรงเรียนให้เป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ กำหนดให้มีโรงเรียนประจำจังหวัดปทุมธานี “ปทุมวิไล” ขึ้น ใช้อักษรย่อ “ป.ธ.1” และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนปทุมธานี “ปทุมวิไล” และใช้อักษรย่อ “ป.ท.1” เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชายแห่งแรกของจังหวัดปทุมธานี
  • ปี พ.ศ. 2501 อาคารเรียนหลังเก่าชำรุดทรุดโทรมมาก นายบุลวิช สุวรรณประไพ อาจารย์ใหญ่ในขณะนั้นได้ประสานกับทางราชการ เพื่อจัดหางบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่เป็นอาคารไม้ 2 หลัง แต่เนื่องจากพื้นที่เดิมคับแคบ ผู้ปกครองส่งบุตรหลานมาเข้าเรียนจำนวนเพิ่มขึ้น นักเรียนมีมากขึ้น อีกทั้งการคมนาคมไม่สะดวก ท่านจึงได้ร่วมกับชุมชนในการจัดหาที่ดินแห่งใหม่ในการก่อสร้างอาคารเรียน และได้ย้ายโรงเรียนจากวัดสำแลมาตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งปัจจุบันนี้ และได้กระทำพิธีเปิดอาคารเรียนอย่างเป็นทางการโดย หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2503 และได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2503 เป็น “โรงเรียนปทุมวิไล” ใช้อักษรย่อว่า “ป.ว.” นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โรงเรียนจึงได้ถือเอาวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนปทุมวิไล

โรงเรียนปทุมวิไลเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชาย มีนักเรียนหญิงเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึง ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนหญิงเข้ามาเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นด้วย โรงเรียนปทุมวิไลจึงเป็นโรงเรียนสหศึกษาทั้งระบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

รายนามผู้อำนวยการโรงเรียน

[แก้]
ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง ปี
1. นายจี้ รักบ้านเกิด ครูใหญ่ พ.ศ. 2465 - 2466
2. นายชิต ช่วงสุคนธ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2466 - 2470
3. นายหลี ศุกรีเขตต์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2470 - 2473
4. ว่าที่อำมาตย์ตรีนพ จุลฤกษ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2473 - 2478
5. นายเกษม นิโลดม ครูใหญ่ พ.ศ. 2478 - 2485
6. นายยง จันเอม ครูใหญ่ พ.ศ. 2485 - 2493
7. นายบุลวิช สุวรรณประไพ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2493 - 2515
8. นายไพบูลย์ ฉิ่งทองคำ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2515 - 2517
9. นายอิสระ เกิดทอง อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2518 - 2520
10. นายวรรณิศ วงษ์สง่า ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2520 - 2522
11. นายอานนท์ นันทปรีชา ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2522 - 2526
12. ว่าที่ร้อยตรีมานิตย์ ป้อมสุข ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2526 - 2535
13. นายเจริญ สุขเกษม ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2535 - 2537
14. นายวิวัฒน์ พวงมะลิต ผอ. ระดับ 9 พ.ศ. 2537 - 2539
15. นายอุดม ปัญญา ผอ. ระดับ 9 พ.ศ. 2539 - 2541
16. นายคณิต ภิรมย์ไกรภักดิ์ ผอ. ระดับ 9 พ.ศ. 2541 - 2545
17. นายคำนึง นกแก้ว ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2545 - 2546
18. นายกิจจา ชูประเสริฐ ผอ. วิทยฐานะเชี่ยวชาญ พ.ศ. 2546 - 2553
19. นายวีรพงษ์ คล้อยดี ผอ. วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ พ.ศ. 2554 - 2560
- นายวิบูลย์ เปี่ยมอุดมสุข รองผอ.รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2560 - 2561
20. ดร.เอกพรต สมุทธานนท์ ผอ. วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ พ.ศ. 2561 - 2567
21. นายสมศักดิ์ สุมน ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]

https://www.facebook.com/pathumwilai?mibextid=JRoKGi

https://www.pw.ac.th/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

14°01′06″N 100°31′34″E / 14.018322°N 100.526225°E / 14.018322; 100.526225