โรงเรียนศรีบุณยานนท์
โรงเรียนศรีบุณยานนท์ | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | |
![]() | |
พิกัด | 13°51′26.8″N 100°28′51.0″E / 13.857444°N 100.480833°E |
ข้อมูล | |
ชื่อเดิม | โรงเรียนวัดท้ายเมือง |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คติพจน์ | วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ (คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร) |
สถาปนา | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 |
ผู้ก่อตั้ง | พระครูเดช |
เขตการศึกษา | เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 1012230148 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นางกุสุมา ยี่ภู่ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1–6 |
เพศ | สหศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ไทย |
สี | ม่วง ชมพู |
เพลง | "มาร์ชศรีบุณยานนท์" |
ต้นไม้ | ทองกวาว |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนศรีบุณยานนท์ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนนทบุรี เปิดสอนในระบบสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลายมีนักเรียนชาย-หญิง รวม 2,475 คน
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนศรีบุณยานนท์เดิมชื่อว่า โรงเรียนวัดท้ายเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 ด้วยความริเริ่มของพระครูเดช เจ้าอาวาสวัดท้ายเมือง ร่วมกับพระยาสยามนนทเขตขยัน ปลัดจังหวัดนนทบุรี และเปิดสอนในระดับประถมศึกษา โดยมีครูชอบ มีชูเวท เป็นครูใหญ่
ใน พ.ศ. 2467 ทางราชการได้ยกฐานะโรงเรียนวัดท้ายเมืองขึ้นเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนนทบุรี ใช้อักษรย่อว่า น.บ.1 โรงเรียนเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาจนกระทั่งใน พ.ศ. 2470 จึงได้สร้างอาคารเรียนถาวรหลังแรกเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระครูเดช, พระยาศิริชัยบุรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, ขุนศิริแมน จ่าศาลจังหวัดนนทบุรี, ขุนการัญสิกขภาร ธรรมการจังหวัดนนทบุรี และนายซิวซองอ๊วน ศรีบุณเรือง ผู้อำนวยการบริษัทพัฒนาการ เป็นกำลังสำคัญในการจัดหาทุนในครั้งนั้น และในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารถาวรหลังแรกและประทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนศรีบุณยานนท์ โดยมีนามทางราชการว่า โรงเรียนประจำจังหวัดนนทบุรี ศรีบุณยานนท์ และมีครูชื่น นิวาศะบุตร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก
ปัจจุบันโรงเรียนศรีบุณยานนท์มีอาคารเรียนทั้งหมด 9 อาคาร ซึ่งได้จัดสร้างจากเงินงบประมาณและจากเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และเป็นศูนย์โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) อีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2540 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่[1]
- นายชื่น นิวาศะบุตร พ.ศ. 2459–2496
- นายฉัตร อินทรลักษณ์ พ.ศ. 2496–2511
- นายพิทยา ไทยวุฒิพงศ์ พ.ศ. 2512–2513
- นางบุญช่วย กาญจนอักษร พ.ศ. 2513–2515
- นายมนัส บ่างสมบูรณ์ พ.ศ. 2515–2517
- นายวิศิษฎ์ ดวงสงค์ พ.ศ. 2517–2518
- นางลาวัณย์ ชลาศัยสวัศดิ์ พ.ศ. 2518–2522
- นางสมหมาย วัฒนะคีรี พ.ศ. 2522–2527
- นายเกษียน ปราถน์วิทยา พ.ศ. 2527–2529
- นายสท้าน เฉลยผล พ.ศ. 2529–2532
- นายครรชิต ตรานุชรัตน์ พ.ศ. 2532–2533
- นายเกษียร ภู่กลาง พ.ศ. 2533–2535
- นายระลึก วรรณสิทธ์ พ.ศ. 2535–2537
- นายสมศักดิ์ แก้วสถิตย์ พ.ศ. 2537–2538
- นางลัดดา พร้อมมูล พ.ศ. 2538–2542
- นางปิยนันท์ ภิรมย์ไกรภักดิ์ พ.ศ. 2542–2544
- นายเฉลิม กลิ่นกุล พ.ศ. 2544–2551
- นางสุนีย์ สอนตระกูล พ.ศ. 2551–2553
- นายสมหมาย จันทร์เอี่ยม พ.ศ. 2553–2557
- นายโพยม จันทร์น้อย พ.ศ. 2557–2559
- นางธราภรณ์ พรหมคช พ.ศ. 2559–2562
- ว่าที่ร้อยเอก ณัฐธนพงษ์ ทองพลับ พ.ศ. 2562–2565
- นางกรชนก สุตะพาหะ พ.ศ. 2565–2566
- นางกุสุมา ยี่ภู่ พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- นาย พิเชษฐ นิวาศะบุตร (อดีตผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี)
- นาย ถนอม เปรมรัศมี (อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
- พันตำรวจเอก (พิเศษ) เพิ่ม ปวิตตสิริ (อดีตที่ปรึกษากฎหมายสำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ)
- นาย ประจวบ แสงอินทร์ (อดีตผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ)
- นาย ผวน จารุวรรณ (อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ อดีตสมัชชาแห่งชาติประจำจังหวัดนนทบุรี)
- นาวาอากาศโท สมพงศ์ นุชหมอน (อดีตผู้อำนวยการองค์การทอผ้า กระทรวงกลาโหม)
- นาย วิชัย สุขารมณ์ (อดีตรองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ)
- พันตำรวจโท ภักดิ์ อุ่นใจ (อดีตรองผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 จังหวัดอุดรธานี)
- พลโทเสรี กลีบจันทร์ (อดีตที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด)
- นาย ศรี นิลแสง (อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี)
- พลโทประสาร เปรมสกุล (อดีตราชองครักษ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
- นาย ณรงค์ กาญจนานนท์ (อดีตรองอธิบดีกรมสามัญศึกษา)
- จ่าสิบตำรวจ ณรงค์ บุญชื่น (อดีตประธานสภาเทศบาลนครนนทบุรี)
- นาย ณรงค์ เนตรหิน (อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร)
- นาย พินิต อารยะศิริ (อดีตเลขาธิการวุฒิสภา)
- ร้อยโท ปรีชา แจ่มจิรารักษ์ (อดีตอัยการพิเศษสำนักงานอัยการสูงสุด หัวหน้าสำนักงานคดีอาญา)
- นาย ชิน ประสงค์ (อดีตผู้อำนวยการส่วนประติมากรรม สถาบันศิลปกรรม กรมศิลปากร)
- นาย เฟื่อง สังข์ปาน (อดีตปลัดจังหวัดนนทบุรี)
- ดร. ธีรเวทย์ ประมวญรัฐการ (อดีตผู้อำนวยการก่อตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม และอดีตรองคณบดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ)
- พลโท ชุมพล เกิดนาค (อดีตผู้บังคับกากองพันทหารสื่อสารที่ 11 และ อดีตผู้บังคับศูนย์โทรคมนาคมกองทัพบก)
- นาย นันทศักดิ์ พูลสุข (อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง)
- นาย ณรงค์ จันทนดิษฐ (อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี)
- นาย อดิศักดิ์ ตันยากุล (รองเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
- นาย อภิชาต ดำทอง (ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร)
- นาย ชายน้อย จอนแจ้ง (อดีตนายกเทศมนตรี เทศบาลนครนนทบุรี)
- นาย สุวัฒน์ กลั่นเลี้ยง (ผู้อำนวยการ โรงเรียนวังเจ้าวิทยาคม จ.ตาก)
- พันตำรวจโท สมเจตน์ ธรรมบุตร (รองผู้กำกับสืบสวนสอบสวน สภ.เมืองนนทบุรี)
- วราภัทร์ เพชรสถิตย์ (นักแสดง)
- นลินทิพย์ สกุลอ่องอำไพ (นักแสดง)
- คณพันธ์ ปุ้ยตระกูล (นักแสดง)
- วีระเทพ ป้อมพันธุ์ (นักฟุตบอลทีมชาติไทย)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนศรีบุณยานนท์ เก็บถาวร 2008-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โรงเรียนศรีบุณยานนท์ ที่เฟซบุ๊ก
- ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนศรีบุณยานนท์ในระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ↑ "ประวัติโรงเรียน". www.sb.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-22. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.
- ↑ "ทำเนียบผู้บริหาร". www.sb.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-22. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.