ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ

พิกัด: 13°47′19″N 100°20′03″E / 13.788611°N 100.334167°E / 13.788611; 100.334167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
Dipangkornwittayapat (Taweewattana) Under the Royal Patronage of His Royal Highness Crown Prince Maha Vajiralongkorn School
แผนที่
ข้อมูล
คติพจน์ประพฤติดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำเทคโนโลยี
สพเพสํ สงฆภูตานํ สามคคี วุฑฒิสาธิกา
(ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ยังความเจริญให้สำเร็จ)
สถาปนา12 มิถุนายน พ.ศ. 2551
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1000104801
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สี  สีเหลือง-  สีฟ้า
เพลงมาร์ชทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา)ฯ
เว็บไซต์http://www.dipangkorntawee.ac.th
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - นนทรี
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ
ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ (กรุงเทพมหานคร)

โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

เกี่ยวกับโรงเรียน

[แก้]

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[แก้]

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

"โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ" เดิมคือโรงเรียน “โรงเรียนศาลาธรรมสพน์" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2498 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสหศึกษา สังกัดกรมวิสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับอนุมัติจากกองคลังให้สร้างขึ้นด้วยเงิน กศ.ส. ราคา 500,000 บาท บนพื้นที่ 10 ไร่ 3งาน 64 ตารางวา ในระยะเริ่มต้นที่อาคารเรียนยังสร้างไม่เสร็จจึงไปอาศัยเรียนที่โรงเรียนประชาบาลคลองทวีวัฒนา (โรงเรียนคลองทวีวัฒนา ทองน่วมอนุสรณ์) เป็นการชั่วคราว เปิดทำการสอนครั้งแรก มีนักเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 44 คนเป็นชาย 32 คน หญิง 12 คน ครู 1 คน ซึ่งทำหน้าที่เป็นครูใหญ่และครูประจำชั้นคือ นายสะอาด จั่นแย้ม มีภารโรง 2 คน ตัวอาคารเรียนสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2498 เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 8 ห้องเรียน เริ่มใช้อาคารเรียนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 จนถึงเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2520 จึงอนุมัติรื้อเพราะความทรุดโทรม โรงเรียนศาลาธรรมสพน์ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนทวีวัฒนา" เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2504 ตามชื่อแขวงทวีวัฒนา ที่แยกมาจากแขวงศาลาธรรมสพน์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อ ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (ขณะยังดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ) เสด็จเยี่ยมโรงเรียนทวีวัฒนา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เพราะเห็นว่าชื่อโรงเรียนสอดคล้องกับชื่อวังทวีวัฒนาและเขตทวีวัฒนา จึงเป็นที่สนพระทัย และได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ พระองค์ได้ทอดพระเนตรกิจกรรมต่างๆของนักเรียน ตลอดจนมีพระกระแสรับสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนและทรงรับจะดูแลโรงเรียน อยากจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไม่บ้างก็น้อย เพื่อที่จะหาแนวทางพัฒนาการศึกษาให้แก่เยาวชนในพื้นที่ ที่อยู่บริเวณเขตทวีวัฒนา ยังความปราบปลื้มและซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานนาม โรงเรียนทวีวัฒนา ใหม่เป็น โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ และได้มีพระราชานุญาต เชิญพระนามาภิไธยอักษรย่อ ม.ว.ก. เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนและ ท.ป.๓ เป็นอักษรย่อประจำโรงเรียน

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูปบูชาพระราชทานประจำโรงเรียน มีนามว่า “พระพุทธเกตุชัยมงคล พรหมรังษี” และทางโรงเรียนได้ทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปบูชาพระราชทานจากวัดศาลาแดง มายังโรงเรียน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 09.09 น. เพื่อความเป็นสิริมงคลของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ

ปัจจุบันโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตนั้น มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น ประมาณ 600-800 คน แต่ในปัจจุบันทางโรงเรียนได้ขยายโอกาสแก่นักเรียนและรับจำนวนนักเรียนเพิ่มมากกว่า 1,500 คน โดยทางโรงเรียนได้ทำการเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยทำการเปิดสอน EP ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ปี 2550 โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มใด ๆ และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทางโรงเรียนได้มีแผนการเรียนทั้งสิ้น 9 สายการเรียนด้วยกันโดยแบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นดังนี้ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ) ภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน ธุรกิจ-คอมพิวเตอร์ ธุรกิจค้าปลีก ภาษาไทย-สังคมศึกษา พลศึกษา และ จิตรกรรมและการออกแบบ

รางวัลเกียรติยศ

[แก้]
  • นักเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2531
  • นักเรียนรางวัลดีเด่น กรมสามัญศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2533
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ปีการศึกษา 2534
  • โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2535
  • โรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ปีการศึกษา 2546
  • โรงเรียนวิถีพุทธ ปีการศึกษา 2547

รายนามผู้อำนวยการโรงเรียน

[แก้]
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
1 นายสะอาด จั่นแย้ม พ.ศ. 2498-2511
2 นายสุชาติ ไชยมะโน พ.ศ. 2511-2518
3 นายชาติชาย เทพพิทักษ์ พ.ศ. 2518-2524
4 นายวุฒิชัย ไกรเสม พ.ศ. 2524-2533
5 นายปัญญา คล้ายจันทร์ พ.ศ. 2533-2535
6 นายประเสริฐ กมลนาวิน พ.ศ. 2535-2539
7 นายสุธน เรืองเดช พ.ศ. 2539-2541
8 นายรังษี ยังพะกูล พ.ศ. 2541-2543
9 นายนพดล พรสุขอารมณ์ พ.ศ. 2543-2543
10 ว่าที่ร้อยตรีสุวิทย์ สรณารักษ์ พ.ศ. 2544-2545
11 นางสาวรัตนา อรรคนิตย์ พ.ศ. 2545-2549
12 นายชัยอนันต์ แก่นดี พ.ศ. 2549-2554
13 นายสุพจน์ หล้าธรรม พ.ศ. 2554-2555
14 นายนพรัตน์ วิวัฒนากุล
(รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียน)
พ.ศ. 2555-2556
15 นายธนเสฏฐ์ นิติธนากานต์ พ.ศ. 2556-2557
16 นายอารีย์ วีระเจริญ พ.ศ. 2557-2558
17 นายชลอ เขียวชลัว พ.ศ. 2558-2561
18 นางลัดดา เจียมจูไร พ.ศ. 2561-2565
19 นายสุริยัน จันทรา พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

โรงเรียนมัธยมศึกษาใกล้เคียง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°47′19″N 100°20′03″E / 13.788611°N 100.334167°E / 13.788611; 100.334167