ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย
Piyamaharachalai School
ที่ตั้ง
๔๒ ถนนปิยะมหาราชาลัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000
ข้อมูล
ชื่ออื่นป.ย. / P.Y.
ประเภทโรงเรียนสังกัด สพฐ.
โรงเรียนประเภทสหศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คติพจน์หมั่นเพียร เรียนดี มีวินัย ใจกตัญญู
ก่อตั้ง11 มีนาคม พ.ศ. 2452; 115 ปีก่อน (2452-03-11)
รหัส1048190456
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายอภิเชษฐ์ สุนทรส
ครู/อาจารย์170 คน[1]
จำนวนนักเรียน2,391 คน
ปีการศึกษา 2567[2]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
เวียดนาม ภาษาเวียดนาม
ลาว ภาษาลาว
ห้องเรียน65 ห้อง
สี   ชมพู-ฟ้า
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
สหวิทยาเขตศรีโคตรนคร
เว็บไซต์http://www.piya.ac.th

โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย (อังกฤษ: Piyamaharachalai School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนครพนม

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2452 ที่โรงเรียนสุนทรวิจิตร เดิมใช้ชื่อว่า โรงเรียน "บำรุงสตรี" ต่อมาพระยาตรังคภูมาภิบาล สมุหเทศาภิบาล มณฑลอุดร ให้ความเห็นชอบให้ใช้สถานที่ตรงศาลากลางหลังเดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียน พระยาอดุลยเดช เป็นผู้มอบให้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัด

ในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียน "นครพนมปิยะมหาราชาลัย" เพื่อเป็นบรมราชานุสรณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรงกับที่พระยาสุนทรเทพกิจจารึก เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด อาคารเรียนเดิมหลังคามุงด้วยหญ้า มีชั้นเรียนสูงสุดถึงชั้นเรียนมัธยมปี 4 นายทอง อนงค์ไชยเป็นครูใหญ่คนแรก

  • พ.ศ. 2473 ย้ายมาที่ปัจจุบัน (ด้านสนามฟุตบอล) ขณะนั้น นายเชวง ศิริรัตน์เป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2485 เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนอาคารถูกระเบิดชำรุด ได้งบประมาณสร้างใหม่ทางทิศใต้
  • พ.ศ. 2512 ได้รับคัดเลือกเข้าในโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสม โดยรวมโรงเรียนสตรีนครพนม โรงเรียนการช่างสตรี เข้าด้วยกันใช้ชื่อใหม่ว่า " โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย " จนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2532 โรงเรียนมีอายุครบ 80 ปี ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยะมหาราชในบริเวณโรงเรียนเพื่อเป็นจุดรวมน้ำใจของบุตรปิยะและประชาชนทั่วไป โดยพลเอกมานะ รัตนโกเศศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเป็นประธานกรรมการดำเนินการ นายวิรัช บำรุงสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่น รางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ โดยมี นายสมปรารถน์ มณีพรรณ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนมีอายุครบ 100 ปี

เกี่ยวกับโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

[แก้]
  • ตราประจำโรงเรียน มหามงกุฏครอบเลข ๕ และตัวอักษร ป.ย.

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

[แก้]
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย[3]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง
1 นายทอง อนงค์ไชย พ.ศ. 2452 - 2457 ครูใหญ่
2 นายเหล็ง เชษฐดิลก พ.ศ. 2457 - 2460 ครูใหญ่
3 นายโปร่ง บุณยารมย์ พ.ศ. 2460 - 2461 ครูใหญ่
4 นายเปลื้อง อินทุสมิต พ.ศ. 2461 - 2469 ครูใหญ่
5 นายถม ขรรค์เพชร พ.ศ. 2469 - 2473 ครูใหญ่
6 นายเชวง ศิริรัตน์ พ.ศ. 2473 - 2510 ครูใหญ่
7 นายวรพจน์ มะลิวัลย์ พ.ศ. 2510 - 2513 ครูใหญ่
8 นายไพโรจน์ ไชยแสง พ.ศ. 2513 - 2518 อาจารย์ใหญ่
9 นายแสงทอง กมลรัตน์ พ.ศ. 2518 - 2524 ผู้อำนวยการ
10 นายพิน ศรีอาจ พ.ศ. 2524 - 2527 ผู้อำนวยการ
11 นายอุดร มหาเมฆ พ.ศ. 2527 - 2529 ผู้อำนวยการ
12 นายสมคิด คมคาย พ.ศ. 2529 - 2531 ผู้อำนวยการ
13 นายวิรัช บำรุงสวัสดิ์ พ.ศ. 2531 - 2535 ผู้อำนวยการ
14 นายสมปรารถน์ มณีพรรณ พ.ศ. 2535 - 2538 ผู้อำนวยการ
15 นายคมสัน บุพศิริ พ.ศ. 2538 - 2545 ผู้อำนวยการ
16 นายสุรพงษ์ คูสกุลวัฒน พ.ศ. 2545 - 2547 ผู้อำนวยการ
17 นายไชยยง อาจวิชัย พ.ศ. 2547 - 2548 ผู้อำนวยการ
18 นายสุรพงษ์ คูสกุลวัฒน พ.ศ. 2548 - 2550 ผู้อำนวยการ
19 นายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ พ.ศ. 2550 - 2559 ผู้อำนวยการ
20 นายศิริชัย ไตรยราช พ.ศ. 2559 - 2562 ผู้อำนวยการ
21 นายบรรจง ศรีประเสริฐ พ.ศ. 2562 - 2565 ผู้อำนวยการ
22 นายอภิเชษฐ์ สุนทรส พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

แผนการเรียน

[แก้]
  • ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
    • สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
    • สาระการเรียนรู้ ห้องเรียนพิเศษโครงการ Education Hub
    • สาระการเรียนรู้ ห้องเรียนพิเศษ (MEP) Mini English Program
    • สาระการเรียนรู้ ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (SC) Science Class
    • สาระการเรียนรู้ ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SC-ICT) Science-Technology Gifted

ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

    • สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
    • สาระการเรียนรู้ ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (SC) Science Class
    • สาระการเรียนรู้ ห้องเรียนพิเศษผู้มีความสามารถพิเศษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (SC-G) Science Class - Gifted
    • สาระการเรียนรู้ ห้องเรียนพิเศษ (MEP) Mini English Program
    • สาระการเรียนรู้ ห้องเรียนพิเศษภาษาจีน อังกฤษ และญี่ปุ่น (LG) Language Gifted

สิ่งปลูกสร้างสำคัญ

[แก้]
  • อาคารสร้อยอินทนิล
  • อาคารทองกวาว
  • อาคารราชพฤกษ์
  • อาคารกันเกรา
  • หอประชุมรัตนโกเศศ
  • อาคารปิยะ 100 ปี
  • ตึกสมาคมศิษย์เก่าปิยะมหาราชาลัย
  • อาคารเรียนโปรแกรมห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ( MEP )
  • อาคารเรียนโปรแกรมห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ( MEP ) 2
  • ศูนย์กีฬา
  • สนามกีฬาแสงสิงแก้ว

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.piya.ac.th/datashow_44387[ลิงก์เสีย]
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.