โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
![]() | |
ข้อมูล | |
คติพจน์ | การศึกษา คือ แสงสว่างของชีวิต |
ผู้บริหาร | ซิสเตอร์ ดร.น้ำทิพย์ งามสุธา |
สี | สีขาว สีแดง |
เพลง | มาร์ชขาวแดง |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ราชพฤกษ์ |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา เป็นโรงเรียนเอกชนโรมันคาทอลิกหญิง ประเภทสามัญศึกษา ที่ตั้งอยู่บริเวณซอยโอเรียนเต็ล (ซอยเจริญกรุง 40) เขตบางรัก ในพ.ศ. 2476 บาทหลวง เลโอ เปรูดอง ได้มาสร้างโรงเรียนคาทอลิกขึ้นมา ซึ่งเริ่มจัดการบริหารงานอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งการบริหารงานเป็นฝ่ายต่างๆ เป็นโรงเรียนแรกในสังกัดมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
ประวัติ
[แก้]
โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในปี พ.ศ. 2496 จึงขออนุมัติแยกเป็นสองโรงเรียน โดยใช้นามใหม่ว่า “โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา” มีบาทหลวงทองดี กฤษเจริญ เป็นเจ้าของ นายเฉลิมวงศ์ ปิตรังสี เป็นผู้จัดการ นางนวม วานิชโช เป็นครูใหญ่ การเรียนการสอนดำเนินการมาด้วยดีเป็นลำดับจนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายม พ.ศ. 2498 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า แต่เดิมนั้นโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์จึงใคร่ขอกล่าวถึงประวัติของโรงเรียน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ (สาขา) ไว้ที่นี่เพื่อเป็นกาแสดงกตัญญูกตเวทิตา ต่อท่านผู้ก่อตั้งโรงเรียนมาแต่แรกเริ่ม คือบาทหลวงเลโอ แปรูดอง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ คุณพ่อเลโอ แปรูดอง จัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาขึ้นซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม อัสสัมชัญคอนแวนต์ (สาขา) หรือโรงเรียนวัดอัสสัมชัญขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) โดยรับบุตรหลานของสัตบุรุษชายหญิงของวัดอัสสัมชัญมาฝากเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยทางโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เป็นผู้รับผิดชอบ ครั้งแรกมีจำนวน 65 คน ซึ่งจำนวนนักเรียนฝากเรียนนี้ทวีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่ง นักเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มีจำนวนรวมกันถึง 1,757 คน เป็นนักเรียนของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ 848 คน และเป็นนักเรียนของวัดอัสสัมชัญในบัญชีฝากเรียนจำนวน 909 คน ซึ่งนับเป็นจำนวน นักเรียนที่มากพอจะตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นส่วนของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จึงขออนุญาตแยกโรงเรียนทั้งสองในปี พ.ศ. 2496 และตั้งชื่อโรงเรียนที่แยกออกมานี้ว่า “โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา” จึงนับว่าโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาถือ กำเนิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2496 หลังจากที่เป็นโรงเรียนสาขาฝากเรียนอยู่ในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 (ค.ศ.1933)
ความดำริชอบของบาทหลวงเลโอ แปรูดอง ในการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นนั้น ประการหนึ่งเพราะความกรุณาแก่ปวง กุลบุตรและกุลธิดาของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งจะได้มีที่พึ่งในในการช่วยอบรมเสริมสร้างอนาคตให้แก่บุตรหลานของเขาให้เป็นผู้มีศีลธรรมจรรยาดี อีกประการหนึ่ง ก็คงจะเป็นเพราะเกิดความมีจิตเมตตาสงสารและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของตัวท่านและในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญนี้เอง คงจะเป็นเหตุหนึ่งที่บรรดาสัตบุรุษผู้มีฐานะยากจนเป็นอันมากได้มาขอร้องท่านในเรื่องไม่สามารถจะหาเงินส่งบุตรหลาน ให้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่ดีและเป็นโรงเรียนในสถานศึกษาคาทอลิกด้วยได้ เมื่อเป็นดังนี้ สถานศึกษา “แห่งความปราณี” แห่งนี้จึงได้จัดตั้งขึ้น เมื่อท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญได้ไม่นานนักและท่านยังรับเป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนนี้สืบมา
สภาพของโรงเรียนเริ่มต้นจากโรงเรียนเล็กที่สุด และเจริญเติบโตใหญ่ขึ้นเป็นโรงเรียนใหญ่ที่มีคุณภาพยิ่งในกาลต่อมา เดิมตัวโรงเรียนประกอบด้วยเรือนไม้ชั้นเดียวเล็กๆ มีห้องเรียน 5 ห้อง มีครูประมาณ 4-5 คน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของ สัตบุรุษคริสตังที่ยากจน บางคนก็มีค่าเล่าเรียนพอชำระอยู่บ้างไม่พอชำระบ้าง ผู้ใดยากจนจริงๆ ก็ได้รับความอุปการะจาก คุณพ่อ เลโอ แปรูดอง โดยไม่ต้องชำระค่าเล่าเรียนเลย ซึ่งนักเรียนประเภทนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก
ด้วยความมานะพยายามของคุณพ่อ เลโอ แปรูดอง ในครั้งนั้น โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นโรงเรียนที่ทันสมัยและมีคุณภาพดีแห่งหนึ่ง มีนักเรียนมากจนไม่สามารถบรรจุนักเรียนได้ทั้งหมด อนึ่งในจำนวนนักเรียนดังกล่าวนี้ มีทั้งเด็กที่เป็นคาทอลิกและเด็กที่นับถือศาสนาอื่นด้วย นั่นย่อมหมายถึงว่าความกรุณานั้นไม่จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่คาทอลิกเท่านั้น แม้เด็กที่ถือศาสนาอื่นก็ได้รับการเกื้อกูลจากคุณพ่อ เลโอ แปรูดองด้วย ทั้งๆ ที่ท่านเองก็มีภาระหนักทางด้านศาสนกิจมากพออยู่แล้ว
น้ำใจเมตตาปราณีของคุณพ่อ เลโอ แปรูดอง นั้นเป็นที่ประจักษ์ชัดในบรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายที่สอนอยู่ในโรงเรียนของท่าน ซึ่งนับได้ว่าอยู่ในความอุปการะของท่านอีกสถานหนึ่งเช่นเดียวกัน ทุกคนต่างมีจิตเลื่อมใสศรัทธาเห็นพร้องด้วยในเจตนาดีของคุณพ่อเลโอ แปรูดอง จึงเป็นแรงผลักดันให้บังเกิดความมานะสามัคคีพากเพียรตั้งใจ ทำการอบรมสั่งสอนเด็กนักเรียนให้เจริญด้วยวิทยาการ ศีลธรรมและจรรยามารยาทอันดีงาม สมดังปณิธานที่คุณพ่อเลโอ แปรูดอง ได้อุตส่าห์เสียสละความเหนื่อยยากทั้งกายและใจ สละความคิด ตลอดจนทุนทรัพย์ที่ต้องใช้จ่ายในการนี้ อีกทั้งคอยให้คำแนะนำแนวทางการดำเนินงาน แก่บรรดาคณะครูอาจารย์ตลอดมา จนกระทั่งเป็นที่เชื่อถือแก่บรรดาผู้ปกครองทั้งหลายโดยทั่วกัน
เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาแยกตัวออกมาจากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์นั้นได้เลือกบุคคลที่เคยดำเนินงานในโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี มาดำเนินกิจการของโรงเรียนต่อไป
หลังจากท่านบาทหลวงทองดี กฤษเจริญ มรณภาพ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2508 หน้าที่ผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษานั้น ท่านบาทหลวงวิลเลียม ตัน เป็นผู้ดำเนินงานต่อไป ท่านได้ดำเนินมาด้วยความราบรื่นและเจริญขึ้นเป็นลำดับเป็นนักพัฒนาโดยแท้ ด้วยความสามารถอันยอดเยี่ยมของท่าน อาคารเรียนไม้เก่า 3 หลังก็ได้กลายสภาพเป็นตึกอันโอ่โถง มีห้องเรียนและห้องอุปกรณ์ต่างๆ สมกับเป็นโรงเรียนที่ได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนของรัฐ นอกจากท่านจะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญและเป็นผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาแล้วท่านยังเอาใจใส่อบรมมารยาทแก่นักเรียนในความดูแลของท่าน และที่สำคัญก็คือท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศแก่ลูกศิษย์ระดับมัธยมของโรงเรียนสำเร็จไปแล้วหลายรุ่นซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายก็ ยังระลึกถึงพระคุณของท่านมิรู้ลืมเลือนตลอดไป
สำหรับหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนทั้งสอง คงดำเนินไปเช่นเดียวกันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เปิดสอนชั้น ป.1–ป.4/ม.1–ม.3 (เทียบเท่า ป.7) โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเปิดสอนชั้น ป.1–ป.4 เป็นสหศึกษา
พ.ศ. 2496 | ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา |
---|---|
ปีการศึกษา 2498 | วันที่ 21 มิถุนายน กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล |
ปีการศึกษา 2503 | เลิกรับนักเรียนชาย จนถึง พ.ศ. 2510 นักเรียนชายจึงหมดรุ่นไปจากโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา |
ปีการศึกษา 2508 | สร้างอาคาร เทเรซา อาคารเซซีลีอา และอาคารมารีอา |
ปีการศึกษา 2516 | โรงเรียนปรับปรุงสนามใหญ่ และขยายตึกเรียนจากตึกมารีอาเดิมออกไปอีก สองปีก |
ปีการศึกษา 2518 | เปิดแผนกอนุบาล คุณพ่อชัชวาล แสงแก้วเป็นผู้ดูแล รับนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2,295 คน |
ปีการศึกษา 2520 | ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา |
ปีการศึกษา 2535 | ก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา |
ปีการศึกษา 2536 | จัดฉลองการก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาครบ 60 ปี |
ปีการศึกษา 2540 | ต่อเติมชั้น อาคารมารีอา ปีกด้านตะวันออก และส่วนกลางทำเป็นหอพักและที่พักซิสเตอร์ |
ปีการศึกษา 2542 | ปรับปรุงด้านอาคารสถานที่ โดยสร้างหลังคาคลุมสนามหลังอาคารมารีอาด้านติดวัดสวนพลู รื้อกำแพงโถงใต้ตึกมารีอาออกให้บริเวณใต้ตึกต่อเนื่องกับสนามที่สร้างหลังคาใหม่ ปรับขนาดห้องสมุดโดยขยายออกมาถึงระเบียงเดิม ทำให้กว้างและมีบรรยากาศโปร่งตาขึ้น |
ปีการศึกษา 2543 | ขยายห้องเรียนระดับประถม จาก 4 ห้อง เป็น 5 ห้อง โดยใช้บริเวณชั้น 3-4 ของอาคารเซซีลีอาทำเป็นห้องเรียน 4 ห้อง ห้องพักครู 1 ห้อง และต่อเติมชั้น 5 อาคารมารีอา ปีกด้านตะวันตกทำเป็นห้องเรียนได้ 2 ห้องเรียนและห้องหมวดได้ 1 ห้อง สร้างลิฟท์ที่บริเวณหัวตึกมารีอา ต่อเติมชั้นลอยใต้ตึกมารีอาขึ้นอีก 1 ส่วน เป็นห้องคำสอน ห้องกิจการนักเรียน ห้องรับแขก และห้องเก็บของรวมทั้งส่วนซ่อมบำรุง ช่วงเวลาเดียวกันก็ได้มีการรื้อบ้านที่ได้คืนมาด้านติดวัดสวนพลูออกไป 2 หลัง ทำให้ลงมือสร้างอาคาร 6 ชั้นขึ้นที่บริเวณดังกล่าวในปีเดียวกันนี้เอง นอกจากนั้น ยังได้มีการสร้างหลังคาถาวรขนาดใหญ่ขึ้นคลุมบริเวณสนามหน้าตึกมารีอา
ในปีการศึกษานี้มีการปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 2 ห้อง ห้องบริการ 1 ห้อง ติดตั้งห้องคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าบนInternet ที่ห้องสมุด จำนวน 8 เครื่อง และติดตั้งคอมพิวเตอร์ เพื่อการใช้งานให้ฝ่ายและหมวดต่างๆ ในปีการศึกษา 2543 นี้ โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาได้รับการคัดเลือกจากกรมศาสนาให้เป็นสถานศึกษาที่จัดจริยศึกษาดีเด่นประจำปีการศึกษา 2542 ด้วย นอกจากนั้น ทางโรงเรียนยังได้ขอรับประกันคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนด้วย |
ปีการศึกษา 2543 | โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 ถึงปีการศึกษา 2547 |
ปีการศึกษา 2543 | โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา2543 ถึงปีการศึกษา 2547 |
ปีการศึกษา 2545 | โรงเรียนได้ขยายหลักสูตรในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยแบ่งออกเป็น 2 แผนการเรียน คือแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ และแผนศิลป์ภาษา อังกฤษ-ฝรั่งเศส และในปีนี้ โรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนเครือข่ายนำร่องในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับชั้น ป.1, ป.4, ม.1 และ ม.4 นอกจากนั้นยังได้มีการสร้างห้องศูนย์สื่อสำหรับเด็กอนุบาลและโรงอาหาร ได้รับการตรวจจากสำนักงานรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษา (สมศ.) ในปีการศึกษา 2545 โดยได้รับระดับคุณภาพ 3 ทุกมาตรา (14 มาตรา 53 ตัวบ่งชี้ ) ปีการศึกษา 2545 - 2549 |
ปีการศึกษา 2546 | โรงเรียนได้ขยายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโครงการโรงเรียนเครือข่ายนำร่องในระดับ ป.2, ป.5, ม.2 และ ม.5 |
ปีการศึกษา 2547 | กิจกรรมฉลองครบรอบ 72 ปี พร้อมมีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารเรียนหลังใหม่ โดย ฯพณฯ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ในวันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2548 เวลาประมาณ 17.00 น. |
ปีการศึกษา 2548 | ได้ดำเนินการต่อเติมหลังคา และติดตั้งพัดลมเพดานทุกห้องเรียนและห้องปฏิบัติการต่างๆ |
ปีการศึกษา 2549 | ได้รับการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบสองระดับดีทุกมาตรฐาน |
ปีการศึกษา 2550 | อาคารใหม่สร้างเสร็จ นักเรียนชั้น ป.5 – ม.6 ย้าย ทำการเรียน การสอนที่อาคารใหม่เดือนตุลาคม |
ปีการศึกษา 2551 | เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย แผนกภาษาจีน – อังกฤษ |
ปีการศึกษา 2552 | จดโดเมนเนมและเปิดใช้งานเว็บไซต์ http://www.as.ac.th |
ปีการศึกษา 2553 | ปรับปรุงระบบเครือข่ายและเว็บไซต์ |
ปีการศึกษา 2554 | เปิดโครงการห้องเรียนทดลองวิทย์ (Gakken) จากประเทศญี่ปุ่น
เปิดรับนักเรียนชายในระดับปฐมวัย (เตรียมอนุบาลถึงอนุบาล 3) เปิดใช้ห้องกระดานอัจฉริยะ (Smart Board) ในการเรียนการสอน จำนวนสองห้อง ได้รับการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบสามระดับดีมากในทุกระดับ ได้ทำพื้นสนามบาสใหม่ และทำอัฒจรรย์ |
ปีการศึกษา 2555 | ได้ปรับปรุงสนามบาสและพื้นลานสนามอาคารเธเรซา และทำหลังคาอัฒจรรย์
เปิดรับนักเรียน Special Intensive English Program ใช้ครูเจ้าของภาษา สอนใน 5 วิชา ระดับ ป.1-2 |
ปีการศึกษา 2556 | เปิดรับนักเรียน Special Intensive English Program ใช้ครูเจ้าของภาษา สอนใน 5 วิชา ระดับ ป.1-3 |
ปีการศึกษา 2557 | เปิดรับนักเรียน Special Intensive English Program ใช้ครูเจ้าของภาษาสอนใน 5 วิชา ระดับ ป.1-4 ม.1 และ ม.4
เปิดรับนักเรียน Gifted ห้องวิทย์-คณิต ระดับ ม.1 และ ม.4 ทำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 ใหม่ ใช้ Computer All In One และ TV 4 ด้าน ใช้อาคารห้องประชุมชั้น 4 เป็นโบสถ์ อาสนวิหารปิดปรับปรุงชั่วคราว ได้รับการรับรองโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ที่มีคุณภาพมาตรฐานสู่สากล ผู้รับใบอนุญาตฯ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัล จากองค์สมเด็จพระสันตปาปาฟรังซิส |
ปีการศึกษา 2558 | เปิด Face book โรงเรียน ติดตั้งสื่อโทรทัศน์มัลติมีเดียในห้องเรียน |
ปีการศึกษา 2560 | ปรังปรุงอาคารเทเรซา ใหม่เป็นแผนกปฐมวัย ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเครื่องเล่น ห้องดนตรี |
สร้างสระว่ายน้ำแผนกปฐมวัย | |
ปีการศึกษา 2561 | ปรับปรุงห้องสมุด ระดับประถม
ติตตั้ง ระบบ Scan บัตรนักเรียนและผู้ปกครอง เข้า-ออก โรงเรียน ติดตั้ง ระบบ ซื้ออาหารและอุปกรณ์เครื่องเขียน ผ่านบัตร Smart Card |
สถานที่ตั้ง
[แก้]โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 22 ซอยเจริญกรุง 40 ถ.เจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 7-8 ไร่
โครงสร้างอาคาร
[แก้]ประกอบด้วยอาคารเรียน 6 หลัง ได้แก่
- อาคารเรียน 5 ชั้น 2 หลัง อาคารมารีอา และอาคารปีกมารีอา
- อาคารเรียน 4 ชั้น 1 หลัง อาคารเซซีรีอา
- อาคารเรียน 3 ชั้น 1 หลัง อาคารเทเรซา
- อาคารเรียนกิจกรรม-ห้องประชุม 1 หลัง อาคารเลโอแปรูดอง เปิดใช้งาน ปี 2549
- อาคารเรียน 6 ชั้น 1 หลัง อาคารเลโอแปรูดอง เปิดใช้งาน ปี 2549
- มีห้องเรียน 58 ห้อง ห้องกิจกรรม 30 ห้อง รวมทั้งสิ้น 88 ห้องเรียน
ตราสัญลักษณ์โรงเรียน
[แก้]- อสศ. หมายถึง อักษรย่อของคำว่า “อัสสัมชัญศึกษา”
- วงกลมใน หมายถึง เราอยู่ในโลกของการจัดการศึกษา การศึกษาจะต้องหมุนเวียนเปลี่ยนไปให้ทันเหตุการณ์
- วงกลมนอก หมายถึง โลกภายในของโรงเรียนจะต้องสัมผัส เป็นไปอย่างกลมกลืนกับโลกภายนอกที่อยู่รอบตัวเรา คือ ระบบการจัดของหน่วยงานที่เราต้องสังกัดอยู่
- กิ่งราชพฤกษ์ หมายถึง ความสามัคคี ความร่มเย็น
สีประจำโรงเรียน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- หนังสือฉลอง60ปี อัสสัมชัญศึกษา
- เว็บไซต์ทางการ