โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) | |
---|---|
Bodindecha (Sing Singhaseni) | |
พระเกี้ยวโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.ด. (B.D.) |
ประเภท | มัธยมศึกษา |
คติพจน์ | ลูกบดินทรเป็นผู้ประพฤติดีและมีความรู้ |
สถาปนา | 30 เมษายน พ.ศ. 2514 |
ผู้ก่อตั้ง | คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1000104501 |
ผู้อำนวยการ | ดร.กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย |
เพศ | สหศึกษา |
การลงทะเบียน | 4,130 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562) |
สี | สีน้ำเงิน |
เพลง | ธงน้ำเงิน |
สังกัด | สพฐ. |
ศิษย์เก่า | สมาคมนักเรียนเก่าบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) |
เว็บไซต์ | www.bodin.ac.th |
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานคร ประเภทสหวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ขนาดเนื้อที่ 39 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา
ประวัติ
[แก้]เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก และแม่ทัพใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ท่านเห็นว่าโรงเรียนจะเป็นสถานที่ดักความชั่ว และเป็นที่ที่สอนความเป็นคน แนวความคิดของท่านได้รับการสืบสานโดยทายาทชั้นเหลนของท่าน ในปีพ.ศ. 2507 คุณหญิงนครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) ได้บริจาคที่ดินผืนนี้อันเคยเป็นที่พักทัพของท่าน [1]เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษา
พ.ศ. 2511 กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
30 เมษายน 2514 ประกาศจัดตั้งโรงเรียน โดยกระทรวงศึกษาธิการ
7 พฤษภาคม 2514 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์[2]ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ 1 ในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก็ได้รับนักเรียนรุ่นแรกโดยใช้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นสถานที่เรียน โดยมีนายเฉลิม สิงหเสนี เป็นอาจารย์ใหญ่
ในปีการศึกษา 2514 กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งนายเฉลิม สิงหเสนี เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ได้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ห้องเรียนและนักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 12 ห้องเรียน มีนักเรียน 838 คน ครู-อาจารย์ 43 คน โดยใช้สถานที่เรียนครั้งแรก ณ โรงเรียนเตรียมอุดม เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียนร้อยแล้ว จึงย้ายมาเรียน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2516
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนใช้ตรา "พระเกี้ยว" เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน และโรงเรียนได้อัญเชิญตรานี้ประดับอกเสื้อเหนืออักษรย่อ บ.ด. สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย [3]
พ.ศ. 2516 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และในปีต่อมานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก็ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในปีเดียวกันนั้นสมาคมครูและผู้ปกครองก็ถือกำเนิดขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจการต่างๆของโรงเรียน
24 มิถุนายน 2521 เป็นวันคล้ายวันอสัญกรรมของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่ง 24 มิถุนายน ของทุกปีถือเป็นวันสำคัญของโรงเรียน ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของท่านขึ้นและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิด
พ.ศ. 2529 มีการสร้างพระพุทธรูปประจำโรงเรียน โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ประทานนามว่า "พระพุทธบดินทรพิทักษ์บริรักษ์ศิษยา"
พ.ศ. 2530 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ คุณจวงจันทร์ สิงหเสนี และสมาคมศิษย์เก่าได้สมทบทุนสร้าง "อาคารเฉลิมพระเกียรติ" ขึ้น โดยชั้นบนของอาคารใช้เป็นหอประชุม ชั้นล่างคือ "หอสมุดคุณหญิง นครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี)" ซึ่งได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา และของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2532 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้รับคัดเลือกให้เป็น "โรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่"
พ.ศ. 2537 เป็นปี "กาญจนาภิเษก" ด้วยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองศิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี และเป็นปีที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ก่อตั้งมาครบรอบ 25 ปี ทายาทสกุลสิงหเสนี คณาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนเก่า จึงได้ร่วมใจสร้างพิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
วันที่ 24 มิถุนายน 2539 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพีธีเปิดพิพิธภัณฑ์
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) มีผู้บริหารทั้งหมด 14 คน ดังต่อไปนี้
ที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
0 | คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู | ผู้ก่อตั้งโรงเรียน | - |
1 | นายเฉลิม สิงหเสนี | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2514-2516 |
2 | คุณหญิงพรรณชื่น รื่นศิริ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2516-2522 |
3 | นางสงัด จิตตะยโสธร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2522-2530 |
4 | นางประจวบ ชำนิประศาสน์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2530-2533 |
5 | คุณหญิงลักขณา แสงสนิท | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2533-2539 |
6 | นายเฉลิมชัย รัตนกรี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2540-2541 |
7 | นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2541-2542 |
8 | นางพรรณี เพ็งเนตร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2542-2544 |
9 | นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2544-2545 |
10 | นายอมรรัตน์ ปิ่นเงิน | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2545-2552 |
11 | ดร.สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2552-2555 |
12 | ดร.อารีรัสมิ์ วัฒนทองผิว | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2555-2558 |
13 | ดร.กล้าศักดิ์ จิตต์สงวน | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2558-2561 |
14 | ดร.วิสิทธิ์ ใจเถิง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2561-2564 |
15 | ดร.สมพร สังวาระ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2565-2567 |
16 | ดร.กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- วิเชียร เมฆตระการ บ.ด.1 - ประธานคณะกรรมการบริษัท บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
- ยุวบูรณ์ จันทร์แจ่มจรูญ บ.ด.2 - อดีตคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ชาติชาย ลือกุลวัฒนะชัย บ.ด.3 - กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด
- อธิป พีชานนท์ บ.ด.4 - กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
- สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล บ.ด.8 - ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
- วิชา พูลวรลักษณ์ บ.ด.8 - ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
- พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ บ.ด.9 - ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร บ.ด.10 - ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี, จังหวัดลำปาง, จังหวัดพะเยา และ จังหวัดเชียงราย
- นพพร วิฑูรชาติ บ.ด.10 - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
- สุวรรณี ศรีธัญญะโชติ บ.ด.10 - กรรมการผู้จัดการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ จำกัด
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนีย์ สอนตระกูล - ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา (อดีตผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ เชี่ยวชาญ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี)
- รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ - อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์.ดร.ฐาปนันท์ นิพิฐกุล -อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์
- กฤตพร มณฑีรรัตน์ - (มุก Olives) ศิลปินนักร้อง
- กันยารัตน์ ติยะพรไชย (ลุลา) - ศิลปินนักร้อง
- กิตติศักดิ์ ปฐมบูรณา (แจ็ค) - ดารานักแสดง
- เข็มอัปสร สิริสุขะ (เชอรี่) - ดารานักแสดง
- รามาวดี สิริสุขะ (ปูเป้) - ดารานักแสดง
- เขมรัชต์ สุนทรนนท์ (อ๋อง) - นักร้อง/พิธีกร/ดีเจ
- คมกฤษ ตรีวิมล (เอส) - ผู้กำกับภาพยนตร์
- คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ (เอ้ก) นักแสดง/นายแบบ
- จรินทร์พร จุนเกียรติ (เต้ย) บ.ด.36 - นางแบบ/ดารานักแสดง
- เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ (เจนี่) - ดารานักแสดง
- จันทร์จิรา จูแจ้ง (ตุ๊ก) - ดารานักแสดง
- ชุติมา นัยนา (เอ้) - นางสาวไทย
- เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ (พลอย) - ดารานักแสดง
- ณฐพร เตมีรักษ์ (แต้ว) - ดารานักแสดง
- พิมพาภรณ์ เสริมพณิชกิจ (แพทตี้) บ.ด.37 - ดารานักแสดง
- ณวัฒน์ อิสรไกรศีล - พิธีกร/ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์
- ปิยาภรณ์ แสนโกสิก - ผู้จัดนางงาม
- ณัฐพล ลียะวณิช(ต่าย) - ดารานักแสดง
- ธีระ สลักเพชร บ.ด.6 - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- นันทิดา แก้วบัวสาย (ตู่) - นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- นราพัฒน์ แก้วทอง - นักการเมือง
- ปวันรัตน์ นาคสุริยะ (มะเหมี่ยว) - พิธีกร/ดารานักแสดง
- ปนัดดา วงศ์ผู้ดี (บุ๋ม) - ดารานักแสดง
- ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (ยุ้ย) - ศิลปิน
- ปลื้มจิตร ถินขาว (หน่อง) - นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติ
- อัจฉราพร คงยศ (เพียว) - นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติ
- ปิยะนุช แป้นน้อย (แป้น) - นักกีฬาาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย
- เป็นเอก การะเกตุ (ไอ) บ.ด.36 - นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย
- พัชรศรี เบญจมาศ (กาละแมร์) - พิธีกร/ผู้ประกาศข่าว
- พลอย จินดาโชติ - ดารานักแสดง
- พิชยดนย์ พึ่งพันธ์ - ดารานักแสดง
- มิณฑิตา วัฒนกุล (มิ้น) บ.ด.34 - ศิลปิน/นักแสดง
- ยุทธพิชัย ชาญเลขา (โดโด้) - ดารานักแสดง
- รฐกร สถิรบุตร (กี้) - รองมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส/นักแสดง/นางแบบ
- วรเวช ดานุวงศ์ (แดน) - ศิลปิน/นักแสดง/ผู้จัดละคร/โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง
- วินทร์ เลียววาริณ - สถาปนิก/นักเขียนรางวัลซีไรต์
- เภสัชกรหญิงสิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์ (บิ๊นท์) บ.ด.40 - นางสาวไทย ปี 2562/Miss International 2019 (ราชินีแห่งทวีปเอเชีย)
- สุภัชชา ปิตินันท์ (ตูน) - นักร้อง พิธีกร
- สุวนันท์ คงยิ่ง (กบ) - ดารานักแสดง
- สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา (นุ๊ก) - ดารานักแสดง
- สุนิสา สุขบุญสังข์ (อ้อม) - ศิลปิน/ผู้จัดรายการวิทยุ/ผู้ดำเนินรายการ
- สุฐิตา ปัญญายงค์ (นิหน่า) - ศิลปิน/พิธีกร/ผู้ประกาศข่าว
- สุภจรรยา สิริพูน (พลอย) - พิธีกร/ผู้ประกาศข่าวกีฬา
- สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (เอ๋/นิ้วกลม) บ.ด.25 - นักเขียน/คอลัมนิสต์/ครีเอทีฟ
- หทัยวรรณ งามสุคนธภูษิต (ผึ้ง) - ศิลปินนักแสดง
- อนุชา นาคาศัย - นักการเมือง
- อุษามณี ไวทยานนท์ (ขวัญ) - ดารานักแสดง
- อารยา เอ ฮาร์เก็ต (ชมพู่) - ดารานักแสดง/พิธีกร
- ดนู สิงหเสนี (ตุ้ม) - ดีเจ/พิธีกร
- ธนทัต ชัยอรรถ (แกงส้ม) - นักร้อง/ดารานักแสดง
- นนธวรรณ ทองเหล็ง (เมญ่า) - Miss Thailand World 2014/นางแบบ/นักร้อง/นักแสดง
- นันทพร สว่างแจ้ง (แนนซี่) - นักร้อง
- นภัสสร บูรณศิริ (โมเม) - นักร้อง/นักแสดง
- ณัฏฐา โกมลวาทิน (ลูกเต๋า) - ผู้ประกาศข่าว/บรรณาธิการข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
- ยงวรี อนิลบล (ฟ้า) - นักแสดง/นักบิน/นักกฎหมาย
- อรัชพร โภคินภากร (ก้อย) - นักแสดง
- ดาวิชญ์ กรีพลฤกษ์ (เต้) - นักแสดง
- สพล อัศวมั่นคง (เกรท) - นายแบบ/นักแสดง
- ภัทร เอกแสงกุล (เฟย) - นักแสดง
- ณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์ (ภณ) บ.ด.42 - นักแสดง
- พลอยชมพู ศุภทรัพย์ (แจน) - นักแสดง
- ดร. กัณตภณ สุระประสิทธิ์ (ด้อม) - สุดยอดแฟนพันธุ์แท้ สัตว์ดึกดำบรรพ์
- วรวิวรรณ์ ศิริเกษมทรัพย์ - ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ณัฐวัฒน์ เปล่งศิริวัธน์ (เชน) - นักแสดง
- อภินันท์ ประเสริฐวัฒนกุล (เอ็ม) - นักแสดง/นายแบบ/นักธุรกิจ
- ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน (อลิศ) บ.ด.53 - รองชนะเลิศอันดับ 2 The Golden Song เวทีเพลงเพราะ Season 2/ศิลปิน
- กวิสรา สิงห์ปลอด (มายยู) - อดีตสมาชิกวง BNK48/ศิลปิน
- ณิชชาพัณณ์ สุขสวัสดิ์นำโชค (ปอร์เช่) บ.ด.51 - สมาชิกวง RedSpin
- ณัฐวดี พิภพพรชัย (ฮ๋วง/อาฮ๋วง) บ.ด.51 - อดีตสมาชิกวง VioletWink/ศิลปิน
- ปฏิภานี ทิวเสถียร (เฟิร์ม) บ.ด.51 - อดีตสมาชิกวง Aliszt
สถานที่ใกล้เคียงบริเวณโรงเรียน
[แก้]- สยามแม็คโคร สาขาโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- โรงเรียนอุดมศึกษา
- โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- วัดเทพลีลา
- โรงเรียนเทพลีลา
- ศูนย์การค้าเดอะซีน ทาวน์อินทาวน์ (The Scene Town in Town)
- อบอร่อย ทาวน์อินทาวน์
เกียรติประวัติ
[แก้]- รางวัลโรงเรียนดีเด่น กรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2515, 2516, 2518 และ 2519
- รางวัลพระราชทานประเภท โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายขนาดใหญ่พิเศษ ที่จัดการบริหารโรงเรียนดีเด่น ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2532
- รางวัลห้องสมุดดีเด่น ของกรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2531, 2538 และ 2539
- รางวัลห้องสมุด และห้องสมุดกาญจนาภิเษกของกรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2539
- รางวัลห้องสมุดดีเด่น และห้องสมุดยอดเยี่ยมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2531 และ 2539
- รางวัล "โรงอาหารมาตรฐานดีเด่น" กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2533
- รางวัลชนะเลิศการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่นของ สสวท. พ.ศ. 2535
- รางวัลโรงเรียนที่จัดจริยศึกษาดีเด่น จากกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2535, 2536 และ 2537
- รางวัลโรงเรียนดีเด่นด้านวินัยและการจราจร จากกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2536
- ป้ายเกียรติคุณ "สถานศึกษาที่ปลอดบุหรี่" จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2539
- ศูนย์กีฬาวอลเล่ย์บอล (หญิง) กรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2533
- ศูนย์ พสวท. ของสถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527
- ศูนย์ AFS เขตกรุงเทพมหานครเหนือ พ.ศ. 2533
- ศูนย์นิเทศวิชาภาษาไทย กรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2539
- ครู-อาจารย์ ได้รับรางวัลผู้บริหารดีเด่น รางวัลครูผู้สอนดีเด่น ครูจริยธรรมศึกษาดีเด่น ผู้กำกับการศึกษาวิชาทหารดีเด่น ผู้ฝึกสอนกีฬาดีเด่น ฯลฯ
- นักเรียนได้รับรางวัลพระราชทานดีเด่น นักกีฬายอดเยี่ยม ลูกเสือดีเด่น ฯลฯ
- ได้ใบรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จากสถาบันสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2544
- รางวัลชมเชยการประกวด Seacon Square Cheerleading ชิงแชมป์ประเทศไทย พ.ศ. 2544
- โรงเรียนในโครงการการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี พ.ศ. 2543
- ศูนย์วัฒธรรมเขตวังทองหลาง
- รางวัลชนะเลิศวงโยธวาทิต ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2546
- รางวัลชนะเลิศวงโยธวาทิต ประเภทพาเหรด ณ ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2545
- รางวัลชนะเลิศประกวดวงลูกทุ่งถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รายการยามาฮ่าลูกทุ่งคอนเทสต์ พ.ศ. 2545 2546และ2548
- รางวัลชนะเลิศประกวดวงลูกทุ่งชิงถ้วยประจำรอบฤดูร้อน รายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ พ.ศ. 2548
- รางวัลชนะเลิศประกวดกองเชียร์ ระดับมัธยมศึกษา ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. 2546
- โรงเรียนส่งเสริมการอ่านยอดเยี่ยม พ.ศ. 2547 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมาหานคร เขต 2 สาขากิจกรรมส่งเสริมยอดนักอ่าน และยอดนักอ่านสู่การเรียนรู้ ด้านส่งเสริมนักสร้างสรรค์สังคม และด้านส่งเสริมนักสื่อสารภาษาอังกฤษ
- รางวัลชนะเลิศประกวดกองเชียร์ ระดับมัธยมศึกษา ถ้วยประทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พ.ศ. 2548
- รางวัลชนะเลิศประกวดวงโยธวาทิตยามาฮ่าแห่งประเทศไทย ระดับไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2548
ดูเพิ่ม
[แก้]- โรงเรียนในเครือบดินทรเดชา
- เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- พิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- กีฬา 5 พระเกี้ยว
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์หลักของโรงเรียน
- เว็บไซต์บดินทรโซน เก็บถาวร 2006-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วงโยธวาทิตโรงเรียนบดินทรเดชา เก็บถาวร 2006-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
13°46′05.27″N 100°36′53.60″E / 13.7681306°N 100.6148889°E
- ↑ คมชัดลึก ร.ร.คือที่สร้างคนเคล็ดลับ บดินทร ติด 1ใน5
- ↑ พิธีวางศิลาฤกษ์ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงห์เสนี) เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 18-06-2553
- ↑ ตราประจำโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงห์เสนี) เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 18-06-2553