ปลื้มจิตร์ ถินขาว
ปลื้มจิตร์ ถินขาว | |||
---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||
ชื่อเต็ม | ปลื้มจิตร์ ถินขาว | ||
ชื่อเล่น | หน่อง | ||
สัญชาติ | ไทย | ||
เกิด | 09 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย | ||
ภูมิลำเนา | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.80 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว) | ||
น้ำหนัก | 68 กิโลกรัม (150 ปอนด์) | ||
กระโดดตบ | 303 เซนติเมตร (119 นิ้ว) | ||
บล็อก | 283 เซนติเมตร (111 นิ้ว) | ||
ข้อมูล | |||
ตำแหน่ง | บอลเร็ว | ||
สโมสรปัจจุบัน | สุพรีม ชลบุรี | ||
หมายเลข | 5 | ||
ทีมชาติ | |||
| |||
เกียรติยศ | |||
อัปเดทล่าสุด: ตุลาคม 2017 |
ปลื้มจิตร์ ถินขาว ชื่อเล่น หน่อง (เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526) เป็นอดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย และ ได้มีงานอำลาทีมชาติอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 7 พ.ย. 2564 [1] เป็นผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งMiddle Blocker รูปแบบการเล่นคือบอลเร็ว ปลื้มจิตร์ ถินขาว ติดทีมชาติตอนอยู่มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 หลังจากติดทีมชาติตั้งแต่ตอนนั้น ก็เล่นให้กับทีมชาติมาตลอดจนถึงอายุ 37 ปี (ติดมาตลอดตั้งแต่ตอนนั้น - จนถึงอำลา)
ปัจจุบันปลื้มจิตร์ ยังคงเล่นวอลเลย์บอลในไทยแลนด์ลีกอยู่ หลังจากประกาศอำลาทีมชาติแล้ว เล่นให้กับสโมสรวอลเลย์บอลสุพรีม ชลบุรี เบอร์เสื้อที่ใส่ คือ 5 (เบอร์เดียวกับเสื้อทีมชาติ) และ ได้ทำงานเป็นนักการตลาด กองนโยบายและแผน ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ด้วย อีกทั้งยังเป็นเจ้าของช่องYouTube ชื่อ PJ story [2]
ปลื้มจิตร์ ถินขาว มีโอกาสไปแข่งขันวอลเลย์บอลอาชีพ ในต่างประเทศมาแล้วมากมาย ได้แก่ จีน, รัสเซีย, เวียดนาม, ตุรกี, อาเซอร์ไบจาน (ไปเล่นแต่ละที่ นานหลายปี)
ประวัติ
ปลื้มจิตร์ ถินขาว เกิดที่อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรสาวของวันชัย (บิดา) และ สมฤดี (มารดา) มีพี่ชายชื่อพีรเวท ชอบเล่นกีฬาตั้งแต่เด็ก โดยมีบิดาเป็นผู้สอนและส่งเสริมด้านกีฬา ตอนเด็กเล่นทั้งฟุตบอล, บาสเก็ตบอล, ปิงปอง และ อื่นๆ
ปลื้มจิตร์ เริ่มเล่นวอลเลย์บอล ตอนเรียนอยู่มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 และ ได้ติดทีมชาติตอนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 หลังจากนั้นก็ติดทีมชาติมาตลอด จนถึงวันที่อำลาทีมชาติ
สมัยเรียนชั้นประถมศึกษา ปลื้มจิตร์ได้เป็นนักปิงปองของโรงเรียน เมื่อจบการศึกษา ก็ได้ไปเข้าศึกษาต่อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ด้วยโควต้าพิเศษ จึงไปคัดตัวเป็นนักวอลเลย์บอลโรงเรียน (โดยมีบิดาเป็นผู้ส่งเสริมให้เล่นวอลเลย์บอล)
เมื่อปลื้มจิตร์ จบการศึกษาปริญญาตรี ก็ได้บรรจุเข้าเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในตำแหน่งนักการตลาด กองนโยบายและแผน ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) [3]
นอกจากนี้ ยังเคยร่วมถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณา กับสายการบินแอร์เอเชีย ในปี พ.ศ. 2555 และ น้ำยาล้างจาน ไลปอนเอฟ , แปรงจัดฟัน SYSTEMA OD. ในปี พ.ศ. 2557 [4] , [5]
การศึกษา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- มัธยมต้นจากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม
- มัธยมปลายจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- ตอนนี้กำลังศึกษาต่อปริญญาโท ที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สโมสร
- กรุงเทพมหานคร (2548-2549)
- Ereğli BSK (2551-2552)
- Fujian (2554-2555)
- สุพรีม-นครศรี
(2552-2556)
- อิกติซาดชิ บากู (2555-2556)
- บางกอกกล๊าส
(2557-2561)
(2562-ปัจจุบัน)
รางวัล
- รางวัล Top Talk-About Sportswoman 2012 นักกีฬาหญิงที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด จากเว็บไซต์ MThai.com
- อันดับ 13 (จาก 24 ทีม) วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2010 ที่ประเทศญี่ปุ่น
- แชมป์ วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2009 ที่ประเทศเวียดนาม
- อันดับ 3 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2007 (พ.ศ. 2550) ที่ประเทศไทย (ได้สิทธิ์แข่งวอลเลย์บอลเวิลด์คัพ 2007 และวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น)
- แชมป์ปริ๊นเซส คัพ แสงโสมวีเม่น วอลเลย์บอล อินวิเตชั่น ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2549) ที่ประเทศไทย คว้าอันดับ 1 ได้ในรอบ 24 ปี โดยเอาชนะเวียดนามได้ 3 - 0 เซต
- อันดับ 10 (จาก 12 ทีม) ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพ 2007 ที่ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2555 รางวัลสุดยอดนักกีฬาขวัญใจมหาชน สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 6[6]
- พ.ศ. 2557 นักกีฬาหญิงที่แฟนกีฬาชื่นชอบมากที่สุด อันดับที่ 1 (ร้อยละ 54.58) โดยสวนดุสิตโพล[7]
วอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียนคัพ
- พ.ศ. 2555 (อันดับ 1) ที่ประเทศคาซัคสถาน
- พ.ศ. 2553 (อันดับ 2) ที่ประเทศจีน
- พ.ศ. 2551 (อันดับ 3) ที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
วอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมเปี้ยนคัพ
- พ.ศ. 2556 (อันดับ 5) ประเทศไทยในฐานะแชมป์ทวีปเอเชีย
วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์
- พ.ศ. 2556 (อันดับ 13)
- พ.ศ. 2555 (อันดับ 4)
- พ.ศ. 2554 (อันดับ 6)
- พ.ศ. 2553 (อันดับ 10)
- พ.ศ. 2552 (อันดับ 8)
- พ.ศ. 2551 (อันดับ 11)
- พ.ศ. 2549 (อันดับ 11)
- พ.ศ. 2548 (อันดับ 12)
- พ.ศ. 2547 (อันดับ 10)
- พ.ศ. 2546 (อันดับ 9)
- พ.ศ. 2545 (อันดับ 8)
วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย
- พ.ศ. 2556 (อันดับ 1) ที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
- พ.ศ. 2554 (อันดับ 4)
- พ.ศ. 2552 (อันดับ 1)
- พ.ศ. 2550 (อันดับ 3)
- พ.ศ. 2548 (อันดับ 6)
- พ.ศ. 2546 (อันดับ 4)
- พ.ศ. 2544 (อันดับ 3)
ซีเกมส์
- แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 26 อินโดนีเซีย ปี 2011
- แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ลาว ปี 2009
- แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ไทย ปี 2007
- แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ฟิลิปปินส์ ปี 2005
- แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 22 เวียดนาม ปี 2003
- แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 21 มาเลเซีย ปี 2001
กีฬามหาวิทยาลัยโลก
- ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (อันดับ 4)
เอเชียนเกมส์
- พ.ศ. 2557 เหรียญทองแดง เอเชียนเกมส์ 2014 ที่ประเทศเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2561 เหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ 2018 ที่ประเทศอินโดนีเซีย
รางวัลที่ได้รับ
- พ.ศ. 2550 ตัวบล็อกยอดเยี่ยม ในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2007
- พ.ศ. 2550 เสริฟยอดเยี่ยม ในการแข่งขันวอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2007
- พ.ศ. 2556 ตัวบล็อกยอดเยี่ยม ในการแข่งขัน 2013 FIVB Volleyball Women's World Grand Champions Cup
- พ.ศ. 2557 ตัวตบยอดเยี่ยม ในการแข่งขัน 2013–14 Azerbaijan Women's Volleyball Super League
- พ.ศ. 2558 ผู้เล่นทรงคุณค่า และตัวบล็อกยอดเยี่ยมในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก 2014-15
- พ.ศ. 2558 ตัวบล็อกยอดเยี่ยม ในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2015
- พ.ศ. 2558 ผู้เล่นทรงคุณค่า ในการแข่งขันวอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2015
- พ.ศ. 2564 Best Middle Blocker ในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรเอเชีย 2021
- พ.ศ. 2564 Best Middle Blocker ในการแข่งขันSAT Thailand Volleyball Invitation Sisaket 2021
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[8]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[9]
อ้างอิง
- ↑ "7 Legends of Volleyball". www.facebook.com.
- ↑ "PJ story - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "[Thainewsonline - ไทยนิวส์ออนไลน์] 5 เซียนตบสาวไทย เข้าบรรจุทำงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เว้น อำพร หญ้าผา". www.blockdit.com.
- ↑ ปลื้มจิตร์กับปรากฏการณ์พลังเร็วมหาประลัย
- ↑ SYSTEMA OD. นวัตกรรมล่าสุด! ของแปรงจัดฟัน ขจัดพลัคได้เหนือกว่า
- ↑ สยามกีฬารายวัน, ปีที่ 27 ฉบับที่ 9865, วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555
- ↑ "ชัปปุยส์-ปลื้มจิตร์ ครองใจแฟนกีฬาปี 57". สยามกีฬา. 30 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ให้แก่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและเจ้าหน้าที่[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปลื้มจิตร์ ถินขาว
- ปลื้มจิตร์ ถินขาว ที่เฟซบุ๊ก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2526
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักวอลเลย์บอลหญิงชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- บุคคลจากอำเภอไชโย
- พนักงานรัฐวิสาหกิจชาวไทย
- ผู้เล่นสโมสรวอลเลย์บอลอิกติซาดชิ บากู
- นักกีฬาเหรียญทองแดงเอเชียนเกมส์ชาวไทย
- ตัวบล็อกกลางวอลเลย์บอล
- ผู้เล่นสโมสรวอลเลย์บอลสุพรีม ชลบุรี
- นักกีฬาจากจังหวัดอ่างทอง
- ชาวไทยในประเทศจีน