สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ)
National Science and Technology Development Agency | |
ตราสัญลักษณ์ของสำนักงาน | |
ภาพรวมสำนักงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534 |
ประเภท | หน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 |
บุคลากร | 2,901 คน (พ.ศ. 2565)[1] |
งบประมาณต่อปี | 5,028,838,700 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน |
|
ต้นสังกัดสำนักงาน | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักงาน |
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. หรือ NSTDA) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่พัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยดำเนินกิจกรรมด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2534[3]
ผู้อำนวยการ
[แก้]ผู้อำนวยการ สวทช. ดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 วาระ[3]
ลำดับ | ผู้อำนวยการ | วาระ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ | 2 | ตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 |
2 | ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ | 2 | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
3 | รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน | 2 | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553 |
4 | ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล | 2 | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 |
5 | ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล | - | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 |
6 | ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์[4] | - | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - |
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]- ศูนย์วิจัยแห่งชาติ
- ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
- ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
- ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค)
- ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค)
หน่วยงานและโครงการอื่นๆ ในสังกัดที่สำคัญได้แก่
- ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี) ภายใต้สังกัด สำนักงานกลาง
- สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ภายใต้สังกัด สำนักงานกลาง
- เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย (Software Park)
- อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park)
- โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (สบวท)
- โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP)
- โครงการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งประเทศไทยและสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (TAIST-Tokyo Tech)
ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์
[แก้]สวทช. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านวิจัยและพัฒนาภายใต้การดำเนินการของนักวิจัยจากศูนย์แห่งชาติ โดยมีผลงานวิจัยจำนวนมาก ทั้งนี้ผลงานวิจัยที่ออกสู่เชิงพาณิชย์ ได้แก่[5]
- หัวเชื้อไวรัสไข้เลือดออก เพื่อการพัฒนาต่อเป็นวัคซีน
- ฟิล์มเคลือบอิฐประดับและวัสดุก่อสร้าง กันตะไคร่น้ำและคราบสกปรก
- ซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลจุลินทรีย์และวัสดุชีวภาพ (Software iCollect Microbial Information Management System)
- เทคโนโลยีแปรรูปมะม่วงสดตัดแต่งผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยที่สุดเพื่อการส่งออก
- Traffy:ศูนย์ข้อมูลการจราจรทางมือถือ
- ชุดเปิด-ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าเอนกประสงค์ RF Remote Control 1:4 และแจ้งเหตุฉุกเฉินชุมชน
- เครื่องตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ NetHAM modul เวอร์ชัน 1.0 สำหรับบริหารเครือข่ายขนาดเล็ก
- โปรแกรม 3D model สำหรับการรายงานสภาพการจราจรบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟน (iPhone)
- โปรแกรมรู้จำตัวอักษรภาษาไทยสำหรับผู้พิการทางสายตา (OCR version for the blind)
- สวิตช์เดี่ยวแบบกดติดปล่อยดับ (Single Switch) สำหรับคนพิการ
- เครื่องวัดความหนาแบบไม่สัมผัสสำหรับ ควบคุมคุณภาพการผลิตเลนส์
- โครงการออกแบบและพัฒนารถบรรทุกอเนกประสงค์เพื่อการเกษตร
- เครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับครัวเรือนและชุมชน
- น้ำปลาผง
- ซอฟต์แวร์ช่วยวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียมเดนตี้แพลน (Dental Implant Planning Software:DentiPlan)
- โมโนโคลนัลแอนติบอดี ที่จำเพาะต่อไวรัสกุ้ง (WSSV/YHV/TSV/IHHNV)
- วัสดุชีวภาพ เพื่อทดสอบการตั้งท้องของแม่โค (โมโนโคลนัลแอนติบอดี ที่จำเพาะต่อ Progesterone)
- ชุดทดสอบไวรัสกุ้ง (WSSV) แบบ LAMP-LFD
- ชุดตรวจวินิจฉัยไวรัสแหลมสิงห์ (LSNV)
- ชุดตรวจโรคใบขาวในอ้อย (2553)
- หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ต
- NSTDA Online Learning Project: NOLP
- เครื่องตรวจวัดกลิ่น (E-nose)
- สารสกัดจากบัวบกและตะไคร้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
- กระดาษสากันน้ำและกระดาษสาทนไฟ
- เครื่องคั่วเมล็ดงา
- ถุงห่อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
- เทคนิคการตรวจไวรัสก่อโรคในกุ้งตัวใหม่ IMNV (Infection Myonecrosis Virus)
- ซอฟต์แวร์อัจฉริยะจำทะเบียนรถได้
- สูตรเคลือบเซรามิกส์ไร้สารตะกั่วในระดับอุตสาหกรรม
- แผ่นใยซีเมนต์จากไม้ยางพารา
- กรรมวิธีการตรวจหาปริมาณสารต้านมาลาเรียจากต้นชิงเฮา
- การผลิตและจำหน่ายเครื่องสำรองไฟฟ้าแบบประสิทธิภาพสูงจากแบตเตอรี่
- สูตรสมุนไพรควบคุมและกำจัดไรฝุ่นจากอบเชยและกานพลู
- กรรมวิธีการแยกเนื้อยางและสารอนินทรีย์ออกจากกากตะกอนน้ำยางธรรมชาติ
- ชุดทดสอบอนุพันธ์สารไนโตรฟูแรน แบบ ELISA
- แผ่นผ้ากรองใช้ในการเพาะเลี้ยงพืช
- ชุดตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยวิธีพีซีอาร์
- กระบวนการผลิตเอนไซม์เพนโตซาเนสจากเชื้อรา เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์บก
- ชุดตรวจเม็ดเลือดแดงเพื่อใช้ตรวจหาปฏิกิริยาแอนติเจน-แอนติบอดี ต่อเม็ดเลือดแดง
- เครื่องบดเมล็ดพืช
- เทคโนโลยีการตรวจสอบและประมวลผลสถิติ การเยี่ยมชมเว็บไซต์ประเทศไทย (Truehits.net)
- วัสดุพรุนจากขี้เถ้าแกลบสำหรับการบำบัดทางชีวภาพ และวัสดุเพาะปลูก
- ต้นแบบระบบควบคุมการฉีดก๊าซระบบหัวฉีด สำหรับเครื่องยนต์ดัดแปลงใช้ก๊าซ
- ชุดทดสอบความเป็นกรดของบโอดีเซลประเภทอัลคิลเอสเทอร์
- Hyaluronan เพื่อการเตรียมวินิจฉัยโรคตับ
- ระบบควบคุมการจุดระเบิดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลดัดแปลง (Ignition control Module for Modified Diesel Engine
- ผ้าพลาสติกคัดกรองแสงสำคัญคุลมโรงเรือนเพาะปลูก
- ชุดตรวจวินัจฉัยไข้หวัดนกโดยใช้หลักการไบโอเซ็นเซอร์
- อิเล็กโทรดวัดความชื้นสำหรับเมล็ดหรือเม็ดวัสดุที่มีรูปร่างไม่เป็นทรงกลม
- การพัฒนาเทคโนโลยีสกัดน้ำมันสบู่ดำเพื่อใช้งานในชุมชนเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
- เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ในลมหายใจ SAM-05 (Screening Alcohol)
- ชุดตรวจคัดกรองพาหะอัลฟ่าธาลัสซีเมียแบบ IC Strip test
- การยืดเวลาการให้กลิ่นในผลิตภัณฑ์ดอกไม้อบแห้ง
- เทคโนโลยี "รากฟันเทียม"
- ระบบแปลภาษาไทย - อังกฤษ "ภาษิต"
- ชุดน้ำยาตรวจนับเม็ดเลือดขาว สำหรับผู้ป่วยเอดส์ (CD4 Select)
- การวิเคราะห์และออกแบบไฟหน้าสำหรับรถเกี่ยวข้าว
- เสื้อกีฬานาโนยับยั้งเชิ้อจุลินทรีย์และกลิ่น
- ชีวอินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช (2549)
- การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอเครื่องหมายเพื่อการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์
- ดินเซรามิกแผ่นบาง
- ระบบประเมินวัดความพรุน/ปริมาณไฮโดรเจน ในงานหล่ออะลูมิเนียม (quantitative reduced-pressure test and porosity assessment system)
- เครื่องเชื่อมโลหะความถี่สูง
- เครื่องอ่านค่าสีสำหรับวัดความเข้มข้นของสารเคมี
- เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย และผลิตพลังงาน "ก๊าซชีวภาพ" สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร (2549)
- ชุดตรวจไวรัสกุ้งด้วยเทคนิคพีซีอาร์ (PCR)
- รถสามล้อสิงห์ธำรงไทย
- เทคโนโลยีการฉีดพลาสติกโดยใช้ก๊าซช่วย
- โปรแกรมช่วยวางแผนการจัดฟัน "CephSmile" Cephalometric Analysis and Treatment Simulation Software
- อุปกรณ์วัดความดันในหลอดเลือดหัวใจ Intravenous Blood Pressure Sensor
- ระบบผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Photovoltaic/Thermal (PVT) Solar system)
- การพัฒนากระบวนการผลิตท่อนพันธุ์ปทุมมาและขิงขนาดเล็ก
- การพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์แอคทีฟเพื่อยืดอายุการผลิต
- VAJA ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทยคุณภาพสูง
- การะประยุกต์ใช้อนุภาคนาโนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานประจำปี 2566 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ 3.0 3.1 พระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๓๔ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอน 204ก ฉบับพิเศษ
- ↑ ครม. ไฟเขียว ตั้ง “ชูกิจ” นั่ง ผอ.สวทช. คนใหม่
- ↑ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549-2553. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554.