ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พิกัด: 13°43′09″N 100°34′56″E / 13.719155°N 100.582247°E / 13.719155; 100.582247
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมสถาบัน
ก่อตั้ง18 มกราคม พ.ศ. 2515; 53 ปีก่อน (2515-01-18)
ประเภทองค์การมหาชน
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 924 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
บุคลากร320 คน (พ.ศ. 2565)[1]
งบประมาณต่อปี1,806,072,500 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสถาบัน
  • ธีระเดช เจียรสุขสกุล, ผู้อำนวยการ
  • สุพัตรา ผาติวิสันติ์, รองผู้อำนวยการ
  • ว่าง, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดสถาบันกระทรวงศึกษาธิการ
ลูกสังกัดสถาบัน
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท. (อังกฤษ: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology : IPST) เป็นองค์การมหาชน[3]ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ[4] มีหน้าที่หลักในการพัฒนาขีดความสามารถในด้านการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ของครู และเยาวชนไทย

ประวัติ

[แก้]

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔๒ ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2515 [5] ภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและผู้เชี่ยวชาญจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2548[6]

กิจกรรมและผลงานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

[แก้]

ด้านส่งเสริม ค้นคว้าวิจัยหลักสูตร วิธีสอน

[แก้]

จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ และคู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544

ด้านการส่งเสริม พัฒนาและฝึกอบรมครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา

[แก้]

จัดอบรมครูโรงเรียนทั่วปรเทศโดยมีรูปแบบการอบรม 3 รูปแบบ คือ อบรมแบบ face to face อบรมโดยส่งสื่อเอกสาร อบรมครูทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ของกระทรวงศึกษาธิการ และอบรมผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการจัดประชุมวิชาการร่วมกับหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

ด้านการค้นคว้า ปรับปรุงเอกสาร สื่อและอุปกรณ์การศึกษา

[แก้]

จัดทำหนังสือเรียน คู่มือครู เอกสารอบรมครู ชุดการสอน เอกสารเสริมความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ซีดีรอม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โปสเตอร์ เกมและภาพประกอบการเรียนการสอน แผ่นภาพโปร่งใส วีดิทัศน์ และต้นแบบอุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์

ด้านการประเมินมาตรฐาน

[แก้]

งานพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พัฒนาเครื่องมือทดสอบสัมฤทธิ์ผล สมรรถภาพ เจตคติและจิตวิทยาศาสตร์ Metacognition รวมทั้งการทดสอบมาตรฐานด้วยแบบทดสอบและด้วยวิธีการทดสอบแบบออนไลน์

การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา

[แก้]
  • ดำเนินการส่งเสริมการใช้งานด้านต่างๆ ได้แก่ โครงการวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบเพื่อสิ่งแวดล้อมโลก (GLOBE) ประสานงานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทุกภูมิภาคของประเทศ 40 แห่ง
  • จัดตั้งศูนย์ให้การอบรมใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) โดย สสวท. จัดเตรียมวิทยากรและหลักสูตรให้เพื่อส่งเสริมครูคณิตศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในทุกช่วงชั้น โครงการ SMaRT School เป็นโครงการที่นำ ICT มาช่วยในการเรียนการสอนวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เช่น การสืบค้นข้อมูล การสร้างชิ้นงาน และการนำเสนอผลงาน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะในการทำงาน ผ่านการทำโครงงาน เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โครงการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์สู่สถานศึกษา เช่น Learning Object, E-Learning เป็นต้น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการศึกษา

[แก้]

ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาโรงเรียนแกนนำของ สสวท. ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนรวมทั้งนำผลงานดีเด่นมาเผยแพร่เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาครูทั่วภูมิภาค ร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อพัฒนาโรงเรียน ตชด. และโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร ให้สามารถจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรของ สสวท. และบุคลากรทางการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมมือกับโรงเรียนใน 175 เขตพื้นที่การศึกษาจัดทำแหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอน ร่วมมือกับโรงเรียนเตรียมทหารจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ เช่น สวนพฤกษศาสตร์ ธรณีวิทยา

การวิจัยด้านการศึกษา

[แก้]

จัดทำโครงการวิจัยร่วมกับนานาชาติ ได้แก่โครงการ TIMSS 2007 โครงการ PISA โครงการ SITES 2007

การพัฒนาและส่งเสริมความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

[แก้]

การส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้สำหรับประชาชน

[แก้]

จัดทำข่าว บทความผลงานของ สสวท. บทความเยาวชน เผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชน รายการเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางวิทยาศาสตร์ สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 นิตยสาร สสวท. นิทรรศการผลงานของ สสวท. เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ เผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ทั่วประเทศ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′09″N 100°34′56″E / 13.719155°N 100.582247°E / 13.719155; 100.582247

อ้างอิง

[แก้]
  1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, รายงานประจำปี 2565 สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เก็บถาวร 2023-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๔, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. องค์การมหาชนที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. เฉพาะ
  4. "รายชื่อหน่วยงานราชการในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-11. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
  5. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔๒ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ประกาศจัดตั้งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอน ๙ ก พิเศษ หน้า ๑-๑๔ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๕
  6. "ประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของ สสวท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.