โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา Triamudomsuksapattanakarn Ratchada School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 13°46′22.8″N 100°34′25.7″E / 13.773000°N 100.573806°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ต.อ.พ.ร. / T.U.P.R. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | ปรัชญา ความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม คติพจน์ เมธาวี ปญฺญาลงฺ การุตฺตโม โหติ นักปราชญ์ คือ ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องประดับอันสูงสุด |
สถาปนา | - (เก่า) 11 สิงหาคม พ.ศ. 2504 - (ใหม่) 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 |
ผู้ก่อตั้ง | กระทรวงศึกษาธิการ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1010720084 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นางสาวกรรณิกา ไผทฉันท์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 6 |
จำนวนนักเรียน | 2,736 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2566)[1] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น |
สี | ชมพู - น้ำเงิน |
เพลง | มาร์ชเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา |
เว็บไซต์ | http://www.tupr.ac.th |
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 (กรุงเทพมหานคร) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 170 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบสหศึกษา เป็นหนึ่งใน 281 โรงเรียนมัธยมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้เป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง และเป็นหนึ่งใน 40 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เดิมคือ โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดจังหวัดพระนคร เปิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2504 รับนักเรียนชั้นประถมศึกษามาโดยตลอด และได้พัฒนามาเป็นลำดับ
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้โอนไปสังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยความริเริ่มของอาจารย์ใหญ่ขณะนั้น คือ นายทับทิม บุญยพัชรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่มีความสามารถที่จะเรียนให้มีโอกาสเรียนต่อในระดับชั้น มัธยมศึกษา และค่อย ๆ ยุบเลิกชั้นประถมศึกษาไปในที่สุด
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2521 ได้โอนไปสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้ขยายเปิดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปี พ.ศ. 2522
ปี พ.ศ. 2527 เป็นปีแห่งการพัฒนาของโรงเรียนในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านอาคารสถานที่ ด้านระเบียบวินัยของโรงเรียน ด้านงานวิชาการ ระบบระเบียบวินัยของข้าราชครู และด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน จนทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานกระทรวงศึกษาธิการ และรางวัลโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นถึง 3 ปีซ้อน คือในปีพุทธศักราช 2527, 2528, 2529 ภายใต้การบริหารงานของ คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิด ผู้อำนวยการโรงเรียนในขณะนั้น
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติการเปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ มาเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา โดยการริเริ่มของ นายสมพงษ์ พลสูงเนิน ผู้อำนวยการโรงเรียน ในขณะนั้น [2]
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
[แก้]พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศา หรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ "มงกุฎ" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า "พระจอมเกล้าน้อย" อีกด้วย
เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเรขาประจำรัชกาลของพระองค์
เนื่องจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นโรงเรียนในเครืออัษฎเตรียมพัฒน์ จึงได้รับพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ใช้ พระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน
ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]ผู้อำนวยการโรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง | ||
นายประกาศ แสงเพชร | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2504 - 23 กันยายน พ.ศ. 2509 | ||||
นายทับทิม บุญยพัชรินทร์ | 24 กันยายน พ.ศ. 2509 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2519 | ||||
นายระงับ ศรีรุ่งเรือง | 19 กรกฎาคมพ.ศ. 2519 - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2523 | ||||
นายเลิศ สดแสงจันทร์ | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2523 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 | ||||
คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิด | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2526 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 | ||||
นางภิญญพร วัฒนเจริญ | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 | ||||
นายมาโนช ปานโต | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2531 | ||||
นายอดิศร ใสสุก | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2531 - 18 มกราคม พ.ศ. 2534 | ||||
นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง | 19 มกราคม พ.ศ. 2534 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 | ||||
นายศิริ สุงคาสิทธิ์ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 | ||||
นายบรรจบ เสริมทอง | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 - 30 กันยายน พ.ศ. 2542 | ||||
นายธงชาติ วงษ์สวรรค์ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 | ||||
นายสมพงษ์ พลสูงเนิน | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 | ||||
ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา | |||||
ลำดับ | รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง | ||
นายสมพงษ์ พลสูงเนิน | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 | ||||
นายโกศล พละกลาง | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552 | ||||
นายนคร เดชพันธ์ | 7 มกราคม พ.ศ. 2553 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555 | ||||
ดร.เลิศศิลป์ รัตนมุสิก | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | ||||
ดร.สันต์ธวัช ศรีคำแท้ | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566 | ||||
นางสาวกรรณิกา ไผทฉันท์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
อาคารสถานที่ภายในโรงเรียน
[แก้]อาคาร 1
[แก้]เป็นอาคารเรียน 7 ชั้น มีลิฟต์ขึ้นและลงอาคารเรียน บริเวณชั้นล่างสุดของตัวอาคารเป็นห้องโถงกว้างขนาดใหญ่มีเวที เครื่องเสียง พัดลม และระบบไฟฟ้า ซึ่งปกติจะใช้สำหรับเป็นสถานที่สำหรับฝึกสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับพละศึกษา เช่น กีฬาเทเบิลเทนนิส เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่สำหรับการประชุมระดับของนักเรียนในบางช่วงชั้น เป็นสถานที่จัดและชมการแสดงต่าง ๆ เป็นสถานที่ทำกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ และเป็นสถานที่ในการจัดแสดงผลงานทางวิชาการหรือนิทรรศการต่าง ๆ ในวันสำคัญต่าง ๆ ได้อีกด้วย
นอกจากนั้นบริเวณห้องโถงยังเป็นที่ตั้งของห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา และที่ตั้งของร้านบริการถ่ายเอกสารของโรงเรียน ส่วนชั้นบน เป็นห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์, นาฏศิลป์), ห้องพักครูของกลุ่มพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว), ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาจีน, ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น, ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศส, ห้องปฏิบัติการทางภาษาอื่น ๆ, ห้องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ, ห้องจริยธรรม, ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก (ศูนย์วิทยบริการ), ห้องศูนย์แนะแนว, ห้องพยาบาล, ห้องนาฏศิลป์, ห้องน้ำบนอาคารเรียน (มีทุกชั้น)
นอกจากนั้นบริเวณชั้น 4, 5, 6, 7 ยังเป็นห้องเรียนของนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ, ห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5, 6 ในบางแผนการเรียน อีกด้วย
อาคาร 2
[แก้]เป็นอาคารเรียน 4 ชั้นพิเศษ โดยชั้นล่างสุดแต่เดิมเป็นห้องโถงใช้สำหรับฝึกสอนในรายวิชาพละศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการปรับปรุงให้เป็นห้องประชุมอเนกประสงค์ มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องฉายมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ LCD ระบบเครื่องเสียง และการตกแต่งภายในต่าง ๆ เพื่อให้เป็นห้องประชุมอเนกประสงค์ โดยมีการตั้งชื่อว่า “ห้องประชุมอเนกประสงค์ศูนย์เรียนรวม อาคาร 2” และย้ายสถานที่สำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาพละศึกษามาอยู่บริเวณใต้อาคาร 1 แทน ส่วนชั้นบน เป็นห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ห้องศูนย์อัจฉริยะคณิตศาสตร์, ห้องน้ำบนอาคารเรียน (มีทุกชั้น) นอกจากนั้นบริเวณชั้น 2, 3, 4 ยังเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
อาคาร 3
[แก้]เป็นอาคารเรียน 4 ชั้นพิเศษ โดยชั้นล่างสุดเป็นห้องของกลุ่มบริหารงานต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น ห้องกลุ่มบริหารงานวิชาการ, ห้องกลุ่มบริหารงานงบประมาณ, ห้องรองผู้อำนวยการโรงเรียน (กลุ่มบริหารงานวิชาการ, กลุ่มบริหารงานงบประมาณ, กลุ่มบริหารงานทั่วไป), ห้องวิจัยและประเมินผลการศึกษา, ห้องงานนโยบายและแผน, ห้องทะเบียนและวัดผล, ห้องโรเนียว, ห้องกลุ่มบริหารงานทั่วไป, ห้องสำนักงานผู้อำนวยการโรงเรียน, ห้องประชุมสมาคมผู้ปกครองและครู, ห้องสำนักงานโครงการห้องเรียนพิเศษ และห้องประชุมรัชดา (ห้องประชุมเล็ก) ส่วนชั้นบน เป็นห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์, โสตทัศนศึกษา), ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องเรียนดิจิตอล, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, ห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ห้องศูนย์อัจฉริยะภาษาไทย, ห้องศูนย์อัจฉริยะสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ห้องน้ำบนอาคารเรียน (มีทุกชั้น) และบริเวณชั้น 3, 4 ยังเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5, 6 ในบางแผนการเรียน
อาคาร 4 (ตึกวิทยาศาสตร์)
[แก้]เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น โดยชั้นล่างสุดเป็นห้องของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น ห้องคหกรรม, ห้องงานประดิษฐ์, ห้องธุรกิจ, ห้องงานบ้าน, ห้องศูนย์สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ธุรกิจ, อุตสาหกรรม, เกษตร) ส่วนชั้นบน เป็นห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, ห้องศูนย์อัจฉริยะวิทยาศาสตร์, ห้องศูนย์การเรียนรู้พลังงานและสิ่งแวดล้อม, ห้องอัจฉริยะทางวิทยาศาสตร์, ห้องทดลองและปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน, ห้องทดลองและปฏิบัติการทางฟิสิกส์, ห้องทดลองและปฏิบัติการทางเคมี, ห้องทดลองและปฏิบัติการทางชีววิทยา, ห้องน้ำบนอาคารเรียน (มีทุกชั้น) และเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ทั้ง 3 ชั้นเรียน คือ ห้องเรียนของนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 อีกทั้งยังเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในบางแผนการเรียน นอกจากนั้นบริเวณชั้นบนของตัวอาคารเรียนยังมีรูปปั้นของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทั้งไทยและต่างประเทศ ประดับอยู่ตามแนวทางเดินและตามแนวบันไดทางขึ้น-ลง ของตัวอาคารเรียนอีกด้วย
อาคาร 5 (อาคารโรงฝึกงาน)
[แก้]เป็นอาคารเรียน 3 ชั้นพิเศษ โดยชั้นล่างสุดเป็นห้องของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น ห้องเกษตร, ห้องอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วนชั้นบน เป็นห้องของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เช่น ห้องดนตรีไทย, ห้องดนตรีสากล, ห้องทัศนศิลป์, ห้องลีลาศ
อาคารประชาสัมพันธ์-ห้องเกียรติยศ
[แก้]เป็นอาคารชั้นเดียว ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสุดของโรงเรียน แบ่งเป็น 3 ห้อง ห้องแรกเป็นห้องเกียรติยศของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเกี้ยว ประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา นอกจากนั้นยังมีเหรียญรางวัลและถ้วยรางวัล พระราชทานต่าง ๆ เก็บรักษาอยู่ ณ ภายในห้องเกียรติยศนี้ด้วย ห้องที่ 2 เป็นห้องประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา และห้องที่ 3 เป็นห้องของกลุ่มบริหารงานบุคคล (ห้องปกครอง) และห้องรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานบุคคล
อาคารหอประชุมโรงเรียน-โรงอาหาร
[แก้]เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่าง เป็นห้องโถงกว้างขนาดใหญ่ มีการต่อเติมเพื่อให้รองรับคนได้มากขึ้น ใช้เป็นโรงอาหารของโรงเรียน ภายในประกอบด้วย ร้านค้าสวัสดิการของโรงเรียน, ร้านขายอาหาร, เครื่องเสียง, โทรทัศน์สีจอแบน LCD, พัดลม, ห้องล้างจาน, เครื่องล้างจาน และเครื่องอบจานอัตโนมัติ และห้องรับประทานอาหารของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ปี พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นการลดความแอดอัดในการใช้โรงอาหารของโรงเรียน ทางโรงเรียนจึงได้มีการปรับปรุง ต่อเติมและขยายโรงอาหารออกไปยังบริเวณพื้นที่ด้านข้างเพิ่มเติมอีก รวมทั้งมีการต่อเติมและตกแต่งภายในเพิ่มเติม เพื่อให้มีความสวยงาม สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น และได้มีการติดตั้งตาข่ายเหล็กถาวรขึ้น เพื่อล้อมรอบโรงอาหารทั้ง 4 ด้าน ส่วนชั้นบนเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ของโรงเรียน ภายในติดตั้งเครื่องปรับอากาศระบบท่อ, เวที, เครื่องฉายมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ LCD, ระบบเครื่องเสียง, โทรทัศน์สีจอแบน LCD และบริเวณด้านหลังของหอประชุมยังมีห้องน้ำ จำนวน 2 ห้อง สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมประชุม โดยที่ผู้เข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องเดินลงบันไดมาด้านล่างเพื่อเข้าห้องน้ำ
ห้องสำนักงานธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
[แก้]เป็นอาคารที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2556 เพื่อสำหรับใช้เป็นอาคารสำนักงานธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมออกมาจากอาคาร 1 แต่เดิมอาคารนี้เป็นที่ตั้งของร้านบริการถ่ายเอกสารของโรงเรียน ต่อมาเมื่อมีความต้องการที่จะใช้เป็นอาคารสำนักงานธนาคารโรงเรียนจึงได้มีการย้ายร้านบริการถ่ายเอกสารไปอยู่สถานที่อื่นแทนและได้มีการขยายต่อเติมและปรับปรุงขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานธนาคารโรงเรียน
T.U.P.R. Coffee
[แก้]เป็นอาคารชั้นเดียวที่ได้รับการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2560 อยู่บริเวณด้านหน้าของอาคาร 5 เพื่อใช้สำหรับเป็นคาเฟ่ เพื่อบริการเครื่องดื่ม ประเภทกาแฟ น้ำปั่น และเครื่องดื่มอื่น ๆ รวมทั้งเบเกอรี่ เพิ่มเติมในการบริการให้แก่นักเรียน คณะครูและบุคลากรของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา รวมทั้งผู้ปกครองนักเรียน [3]
สนามอเนกประสงค์
[แก้]เป็นลานขนาดใหญ่ อยู่บริเวณกลางโรงเรียน ใช้เป็นสถานที่เข้าแถวของนักเรียน และเป็นสถานที่ในการเรียนวิชาพละศึกษาและใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ภายในสนามกีฬาอเนกประสงค์ ประกอบไปด้วยสนามย่อย 3 สนาม คือ สนามฟุตซอล 1 สนาม, สนามสนามวอลเลย์บอล 1 สนาม และสนามตะกร้อ 2 สนาม เรียงต่อกัน แต่เดิมสนามกีฬาอเนกประสงค์ เป็นสนามที่มีลักษณะโล่ง และบริเวณโดยรอบสนามมีการใช้ตาข่ายล้อมสนามทั้ง 2 ด้านสำหรับป้องกันลูกบอลกระเด็นออกนอกสนามและกระเด็นถูกรถยนต์ หรือ บุคคลที่เดินไปมา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้มีการสร้างหลังคาโดมขึ้น และเมื่อปี พ.ศ. 2556 ได้มีการสร้างตาข่ายเหล็กเป็นการถาวรขึ้น เพื่อล้อมรอบสนาม ทั้ง 2 ด้าน คือบริเวณด้านที่ติดกับถนนภายในโรงเรียน และบริเวณที่ติดกับโดมทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคาร 1 และ อาคาร 3 เพื่อป้องกันลูกบอลกระเด็นออกนอกสนามและกระเด็นถูกรถยนต์หรือ บุคคลที่เดินไปมาเป็นการถาวร
สนามบาสเกตบอล
[แก้]เป็นสนามที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของอาคารหอประชุมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา แต่เดิมสนามบาสเกตบอล เป็นสนามโล่ง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2556 ได้มีการสร้างหลังคาโดมขึ้น เพื่อป้องกันแสงแดดและฝนในขณะที่มีการฝึกสอนวิชาบาสเกตบอล และได้มีการสร้างตาข่ายเหล็กเป็นการถาวรขึ้นล้อมรอบ ทั้ง 2 ด้าน
แฟลตพักภารโรง
[แก้]เป็นอาคาร 2 ชั้น จำนวน 2 หลัง เรียงต่อกัน มีทั้งหมด 18 ห้อง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของโรงเรียน เป็นห้องพักสำหรับลูกจ้างประจำ-ลูกจ้างชั่วคราวของโรงเรียน และบางห้องถูกจัดให้เป็นห้องพักสำหรับนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยนที่เรียนของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
บ้านพักครู
[แก้]เป็นบ้านพัก 2 หลัง ใช้เป็นบ้านพักของคณะครูบางท่านของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
ห้องส้วมชาย
[แก้]เป็นห้องส้วมที่อยู่บริเวณด้านหลังอาคาร 5 มีทั้งสิ้น 3 หลัง จำนวน 29 ห้อง เรียงต่อกัน
ห้องส้วมหญิง
[แก้]เป็นห้องส้วมที่อยู่บริเวณด้านหลังอาคาร 2 มีทั้งสิ้น 1 หลัง จำนวน 17 ห้อง
แปลงเกษตร
[แก้]อยู่บริเวณด้านข้างของอาคาร 4 ด้านหน้าแฟลตพักภารโรง เป็นแปลงเกษตรล้อมรอบด้วยบ่อปูน และโรงเรือนเกษตรระบบปิดจำนวน 2 โรงเรือน ใช้เป็นสถานที่เรียนภาคปฏิบัติของวิชาเกษตร
การเดินทางมายังโรงเรียน
[แก้]- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ให้ลงที่สถานีห้วยขวาง ทางออก 2
- รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย สาย 54, 73, 136, 137, 179, 185, 206, 514, 517
สถานที่ใกล้เคียงกับโรงเรียน
[แก้]- เดอะสตรีท รัชดา
- บิ๊กซี เพลส สาขารัชดา
- อาคารฟอร์ม ทาวเวอร์
วันสำคัญที่เกี่ยวกับโรงเรียน
[แก้]ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
การศึกษา
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรมาตรฐานสากล นอกจากนั้นยังจัดโครงการพิเศษนอกเหนือไปจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางสมรรถภาพของผู้เรียน
ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 1 กลุ่มงานพัฒนาผู้เรียน คือ
|
|
|
การเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1-3
[แก้]- ห้องเรียนปกติ
ระดับชั้นละ 10 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษหลักสูตร English Program (EP)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Science and Mathematics Program : GSMP)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
การเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-6
[แก้]แบ่งออกเป็น 9 แผนการเรียน และ 2 ห้องเรียนพิเศษ
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (กลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – ภาษาอังกฤษ (กลุ่มวิชานิเทศศิลป์)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – ภาษาอังกฤษ (กลุ่มวิชาบริหารธุรกิจ)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาฝรั่งเศส (กลุ่มวิชาการสื่อสารภาษาฝรั่งเศส)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาจีน (กลุ่มวิชาการสื่อสารภาษาจีน)
ระดับชั้นละ 2 ห้องเรียน
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ – ภาษาญี่ปุ่น (กลุ่มวิชาการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- แผนการเรียนภาษาไทย – สังคมศึกษา (กล่มุ่วิชาทรัพยากรมนุษย์)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program (IEP)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI)
ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน
ห้องเรียนพิเศษ
[แก้]- หลักสูตร English Program (EP)
เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยจะเรียนกับคุณครูชาวต่างประเทศผู้เป็นเจ้าของภาษาทั้งวิชา วิชาคณิตศาสตร์, วิชาคอมพิวเตอร์, วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาวิทยาศาสตร์ โดยจะเรียนเป็นภาษาไทยกับคุณครูชาวไทยเพียงแค่ 5 รายวิชาคือ วิชาภาษาไทย, วิชาพลศึกษาและสุขศึกษา, วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, วิชาการงานอาชีพ และวิชาศิลปะ นอกจากนั้นจะเรียนเป็นภาษาต่างประเทศกับคุณครูชาวต่างประเทศทั้งหมด ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการสอนในหลักสูตร English Program (EP) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [4]
- หลักสูตร Intensive English Program (IEP)
เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเหมือนห้องเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ห้องเรียนปกติ (เรียนเป็นภาษาไทยกับอาจารย์ชาวไทย) แต่จะมีการเพิ่มชั่วโมงวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น เป็นห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบเข้ม (เรียนกับคุณครูชาวต่างประเทศผู้เป็นเจ้าของภาษา) โดยหลักสูตร Intensive English Program (IEP) ทางโรงเรียนจะเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดแผนการเรียนวิทยาศาตร์ – คณิตศาสตร์ (IEP) โดยเริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2562 เป็นปีแรก โดยทางโรงเรียนได้ทำการยุบแผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ (MEP) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเดิม แล้วเปลี่ยนมาเปิดเป็นแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (IEP) แทน[5][6]
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Science and Mathematics Program : GSMP)
เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2565 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นไปในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยจะเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ [7]
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI)
เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2565 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นไปในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ แบบเข้มข้น โดยจะเรียนในรายในวิชาคณิตศาสตร์, วิชาวิทยาศาสตร์, วิชาภาษาไทย, วิชาพลศึกษาและสุขศึกษา, วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, วิชาการงานอาชีพ และวิชาศิลปะ เป็นครูชาวไทย และเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างประเทศผู้เป็นเจ้าของภาษา [8]
ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของห้องเรียนพิเศษ
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา โครงการห้องเรียนพิเศษ MEP ได้จัดส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษ โซน A โครงการ EP/MEP ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในวันที่ 4-8 กรกฎาคม 2559 ซึ่งได้รับรางวัลรายการต่าง ๆ ดังนี้
ประเภทรางวัล | ระดับรางวัลที่ได้รับ |
---|---|
Story telling | เหรียญทอง |
Singing contest | เหรียญเงิน |
Science project | เหรียญเงิน |
Speliing bee | เหรียญทองแดง |
Math project | เหรียญทองแดง |
Impromptu speech | เหรียญทองแดง |
มิติด้านวิชาการ
[แก้]โครงการความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้มีโครงการความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับสถาบันระดับอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนักเรียนผู้ที่มีความรู้ความสามารถให้ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น อาทิเช่น
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เก็บถาวร 2016-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน (ความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-จีน)
- ทุนมหาวิทยาลัยพี่ โรงเรียนน้อง มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (การเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ด้านหุ่นยนต์และนวัตกรรม แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (โรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ)
- มหาวิทยาลัยอื่น ๆ[9]
โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
[แก้]- นักเรียนแลกเปลี่ยนของ Rotary Youth Exchange
Even still now I can't see all pictures that I took in my exchange year.
I really miss everything. I still can't believe that I don't go to triamudomsuksapattanakarn Ratchada school. When I thinking about all of my friends or Thailand I can't stop crying na
I love too much and it's hurting me
— ความในใจของ Rumi Sotome นักเรียนแลกเปลี่ยนในโครงการ Rotary Youth Exchange จากประเทศญี่ปุ่น ปี 2016-2017
I can't believe that today was my last day of school. I didn't think it will be so hard to leave this school and also my friends. Thank you TriamudomSuksaPattanakarnRatchada for welcome me in this school because if I wasn't in this school I will never meet this amazing person. It was the best year of my life and I don't want to imagine that in one month I'm gonna leave this beautiful country ( the country of smile). This year at this school taught me what is the meaning of life and also what is the real meaning of friendship. I want to thankful also my friends for taught me your wonderful thai language. I love you so much and hope to see you soon na. I will never forget you and all this memories will stay in my heart for the rest of life ฉันจะคิดถึงคุณมากๆๆนะและฉันรักคุณนะ
— ความในใจของ Melody Nadeau นักเรียนแลกเปลี่ยนในโครงการ Rotary Youth Exchange จากประเทศแคนาดา ปี 2016-2017
นักเรียนทุนต่างประเทศ
[แก้]รายชื่อนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ที่สอบได้ทุนต่างประเทศ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ปี | จำนวนนักเรียนที่สอบได้ (คน) | ประเภทของทุน | รายละเอียดของทุน | หน่วยงานที่จัด | ประเทศที่ไปศึกษา |
2 คน | ทุนการศึกษา | เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้านการบิน ที่ Japan Aviation Academy ประเทศญี่ปุ่น | โรงเรียนการบินญี่ปุ่น (Japan Aviation Academy) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน [10] | ประเทศญี่ปุ่น | |
2 คน | ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchage student) | เป็นเยาวชนแลกเปลี่ยน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ตั้งแต่ปี 2013-2014[11] | โครงการเยาวชนเอเอฟเอสเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ โครงการระยะ 1 ปี รุ่นที่ 52 | สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล | |
1 คน | ทุนเยาวชนแลกเปลี่ยน | เป็นเยาวชนแลกเปลี่ยน ณ ประเทศญี่ปุ่น เมืองโตเกียว และเมืองไอชิ ระหว่างวันที่ 12 – 20 มกราคม พ.ศ. 2558 | โครงการ Jenesys 2.0 หัวข้อ “Japanese Language 12th Batch” องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Jice) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | ประเทศญี่ปุ่น | |
1 คน | ทุนการศึกษา | เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยหมิงฉวน ประเทศไต้หวัน ระยะเวลา 1 ปี | ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต[12] | ประเทศไต้หวัน | |
1 คน | ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน | เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ Grade 10, Burnt River School, Unity, Oregon, United States ตั้งแต่ปี 2017-2018 [13] | โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมสหรัฐอเมริกา AYP (High School Academic Year Program in America) | สหรัฐอเมริกา | |
1 คน | ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน | เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ Grade 10, Burnt River School, Unity, Oregon, United States ตั้งแต่ปี 2017-2018 [14] | โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมสหรัฐอเมริกา AYP (High School Academic Year Program in America) | สหรัฐอเมริกา | |
1 คน | ทุนเยาวชนแลกเปลี่ยน | เป็นเยาวชนแลกเปลี่ยน ณ จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 20 - 29 ตุลาคม 2560 | โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย – ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2560 จัดโดยชมรมเยาวชนแลกเปลี่ยนไทย – ญี่ปุ่น TJYEC (Thailand – Japan Youth Exchange Club) ร่วมกับ ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [15] | ประเทศญี่ปุ่น | |
5 คน | ทุนการศึกษา | เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเอกภาษาจีน ณ.มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) นครฉงชิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน[16] | มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) | สาธารณรัฐประชาชนจีน | |
3 คน | ทุนการศึกษา | เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเอกภาษาจีน ณ.มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) นครฉงชิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน[17] | มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) | สาธารณรัฐประชาชนจีน | |
1 คน | ทุนการศึกษาและค่าที่พัก | เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยหมิงฉวน ประเทศไต้หวัน ระยะเวลา 1 ปี | ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต[18] | ประเทศไต้หวัน | |
1 คน | ทุนเยาวชนแลกเปลี่ยน | เป็นเยาวชนแลกเปลี่ยนในโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน JENESYS 2018 | ชนะเลิศการแข่งขันประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ 45 ระดับประเทศ จึงได้เข้าร่วมโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนเยาวชน JENESYS 2018 ณ ประเทศญี่ปุ่น[19] | ประเทศญี่ปุ่น | |
1 คน | นักเรียนแลกเปลี่ยน | เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ ประเทศเบลเยี่ยม ระยะเวลา 1 ปี[20] | โครงการเยาวชน AFS เพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ระยะ 1 ปี รุ่นที่ 61 (พ.ศ. 2565 – 2566) ประเทศเบลเยี่ยม แฟลนเดอร์ / เหนือ | ประเทศเบลเยี่ยม | |
1 คน | ทุนการศึกษา | เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีคณะภาษาและวรรณคดีจีน, มหาวิทยาลัย Shanxi Normal University, สาธารณรัฐประชาชนจีน[21] | โครงการทุนเรียนต่อประเทศจีน Jinbu study in China | สาธารณรัฐประชาชนจีน | |
1 คน | นักเรียนแลกเปลี่ยน | เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะเวลา 1 ปี[22] | โครงการเยาวชน AFS เพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ระยะ 1 ปี รุ่นที่ 62 (พ.ศ. 2566 – 2567) สาธารณรัฐประชาชนจีน | สาธารณรัฐประชาชนจีน | |
1 คน | นักเรียนแลกเปลี่ยน | เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ Grade 12 Terry fox secondary school, รัฐ British Columbia, ประเทศแคนาดา ระยะเวลา 1 ปี [23] | โครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม Engenius International รุ่นที่ 7 ประจำปี 2567-2568 | ประเทศแคนาดา | |
2 คน | ทุนการศึกษา | เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีคณะการสอนภาษาจีนเพื่อชาวต่างชาติ, มหาวิทยาลัยครูฝูเจี้ยน, สาธารณรัฐประชาชนจีน[24] [25] | ทุน fujian government scholarship | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
กิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการของโรงเรียน
[แก้]
|
|
มิติด้านกิจกรรม
[แก้]
|
|
กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน
[แก้]
|
|
กิจกรรมสำคัญของโรงเรียน
[แก้]พิธีประดับพระเกี้ยว เป็นพิธีการที่สำคัญของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เนื่องจากพระเกี้ยวเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จึงได้มีการอัญเชิญองค์พระเกี้ยวมาใช้สำหรับเป็นเข็ม สำหรับประดับที่หน้าอกเสื้อนักเรียนด้านขวาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา โดย
- นักเรียนชาย จะประดับเข็มพระเกี้ยวสีทอง เหนืออักษรย่อ ต.อ.พ.ร.
- นักเรียนหญิง จะประดับเข็มพระเกี้ยวสีเงิน เหนืออักษรย่อ ต.อ.พ.ร.
กิจกรรมของโรงเรียนที่ได้รับความสนใจจากบุคคลภายนอก
[แก้]การแข่งขันกีฬาภายใน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จะมีการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในสถาบันขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือน พฤศจิกายน ภายใต้ชื่อ "เตรียมพัฒน์ รัชดาเกมส์ " โดยจะมีการแบ่งนักเรียน ออกเป็น 5 คณะ ได้แก่
โดยเมื่อมีการจัดการแข่งขันทุกครั้ง จะได้รับความสนใจจากทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และบุคคลภายนอกเป็นจำนวนมาก
งานนิทรรศการวิชาการ และ กิจกรรม OPEN HOUSE เป็นกิจกรรมเพื่อการนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักเรียนในรูปแบบโครงงานเชิงบูรณาการ อีกทั้งยังมีการสาธิตการให้ความรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้กับนักเรียนจากโรงเรียนและหน่วยงานภายนอกเข้าร่วมกิจกรรม อาทิเช่น การแข่งขันทักษะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ การเข้าร่วมชมงานนิทรรศการ การเยี่ยมชมโรงเรียน การจัดซุ่มสำหรับแสดงผลงานและให้ความรู้ของสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ภายนอก ซึ่งงานนิทรรศการวิชาการ จะจัดขึ้นในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี[27]
กิจกรรมพิเศษของโรงเรียน
[แก้]ธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
[แก้]ธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยมีท่านผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ในขณะนั้น ดร.เลิศศิลป์ รัตนมุสิก เป็นผู้ให้การสนับสนุน ได้ร่วมมือกับทางธนาคารออมสิน จัดทำโครงการธนาคารโรงเรียนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อให้นักเรียนมีวินัยในการใช้จ่าย
- เพื่อปลูกฝังนิสัยของนักเรียนให้รักการออม และการประหยัด
- เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์และรู้จักเสียสละ เวลาเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นโรงเรียนพอเพียง ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในปัจจุบันทางธนาคารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้ทำการเปิดทำการในวันจันทร์ – พุธ และวันศุกร์ ในเวลา 7.00 – 7.30 น. และเวลา 12.00 – 12.40 น.
กิจกรรมชุมนุม
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนภายในโรงเรียน ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะต่าง ๆ ในสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยนักเรียนสามารถเลือกชุมนุมต่าง ๆ ได้ตามความสนใจและความสมัครใจของนักเรียนในช่วงต้นภาคเรียน ซึ่งโรงเรียนมีชุมนุมต่าง ๆ ให้เลือกมากกว่า 100 ชุมนุม โดยในแต่ละสัปดาห์หรือหลังเลิกเรียนนักเรียนจะต้องเข้าชุมนุมของตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ และความสามารถต่าง ๆ ของตนเองตามที่ตนเองสนใจ
โครงการเด็กดีศรีเตรียมพัฒน์ รัชดา
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มีปรัชญาของโรงเรียน คือ “ความเป็นเลิศทาง วิชาการและคุณธรรม” ดังนั้น โรงเรียนจึงจัดทำโครงการ “เด็กดีศรีเตรียมพัฒน์ รัชดา” เพื่อเป็นการสนับสนุนและะส่งเสริมนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่นและความประพฤติดีของโรงเรียน โดยรางวัลสำหรับโครงการ “เด็กดีศรีเตรียมพัฒน รัชดา” มี 4 รางวัล ได้แก่
- โล่เชิดชูเกียรติ สำหรับเด็กดี ผู้มีความเป็นเลิศครบทั้ง 4 ด้าน
- เข็มเชิดชูเกียรติของโครงการ
- เกียรติบัตร
- เผยแพร่ชื่อเสียงในเว็บโรงเรียน วารสารของโรงเรียน
โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดไว้ 4 ด้าน
- ด้านวิชาการ
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม
- ด้านกีฬา ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์
- ด้านผู้นำ
พิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ในชื่อโรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ดังนั้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จึงถือเอาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เป็นวันสถาปนาโรงเรียนและในวันดังกล่าวของทุก ๆ ปี จะมีการจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน เช่น การทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน, การบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน, การบวงสรวงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, การแจกเหรียญที่ระลึกเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมี พิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติ สำหรับศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น นักเรียนที่มีผลคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุดในแต่ละคณะ, นักเรียนที่สามารถสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศได้, นักเรียนที่ได้ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ, นักเรียนที่ได้ทุนการศึกษามหาวิทยาลัยในประเทศ, นักเรียนที่สามารถทำข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในแต่ละรายวิชาได้คะแนนเต็ม, นักเรียนที่สามารถทำข้อสอบ GAT และ PAT ได้คะแนนเต็ม ตลอดจนศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียง เกียรติยศ และทำคุณประโยชน์ให้แก่โรงเรียนในด้านต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีการมอบโล่เกียรติคุณให้แก่บุคคล คณะบุคคล ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา อย่างต่อเนื่องและด้วยดีเสมอมาในรอบปีต่าง ๆ ที่ผ่านมาด้วย นอกจากการมอบโล่เชิดชูเกียรติและโล่เกียรติคุณให้แก่ศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนและคณะบุคคล หรือ องค์กรต่าง ๆ ที่สนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ด้วยดีเสมอมาแล้ว นอกจากนั้นยังมีการมอบเกียรติบัตรให้แก่นักเรียนปัจจุบันในระดับชั้นต่าง ๆ ที่สร้างชื่อเสียง และทำคุณประโยชน์ให้แก่โรงเรียนในด้านต่าง ๆ ในรอบปีต่าง ๆ ที่ผ่านมาด้วย
การรับน้องและการจับสายรหัส
[แก้]การรับน้องและการจับสายรหัส เป็นกิจกรรมที่รุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นนักเรียนใหม่ได้ทำรู้จักกับรุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 และเพื่อให้รุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ได้ทำความรู้จักและช่วยเหลือรุ่นน้องนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นนักเรียนใหม่ โดยรูปแบบของกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นกิจกรรมในลักษณะนันทนาการมีการเล่นเกมส์ การแสดงความสามารถ และการจับสายรหัส รวมทั้งอาจจะมีการมอบของที่ระลึกจากรุ่นพี่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 เช่น หนังสือ, อุปกรณ์ทางการเรียน หรือสิ่งของอื่น ๆ ให้แก่รุ่นน้องนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมการรับน้องและการจับสายรหัสดังกล่าว เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ก่อนจะแพร่ขยายไปยังแผนการเรียนอื่น ๆ ในเวลาต่อมา และมีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบเรื่อยมาตามยุคสมัยและการปรับเปลี่ยนแผนการเรียนของโรงเรียน แต่กิจกรรมการรับน้องและการจับสายรหัสดังกล่าวก็ยังมีการจัดขึ้นทุกปีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของกิจกรรมให้แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ในแต่ละปีการศึกษา แต่รูปแบบหลัก ๆ ของกิจกรรม ยังคงไว้ซึ้งรูปแบบเดิม คือ มีการจับสายรหัสแยกกันไปในแต่ละแผนการเรียน เพื่อให้พี่รหัสได้น้องรหัสที่เรียนอยู่แผนการเรียนเดียวกันกับตนเอง เพื่อความสะดวกในการส่งมอบสิ่งของ, เอกสารและอุปกรณ์การเรียน รวมทั้งเพื่อความง่ายในการติดต่อสื่อสารและการทำความเข้าใจในเรื่องของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
อันดับและมาตราฐานการศึกษาของโรงเรียน
[แก้]การประเมินคุณภาพของโรงเรียน
[แก้]การประเมินคุณภาพโรงเรียน โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้ผ่านการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ รอบ 3 เมื่อวันที่ 4, 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ผลปรากฏว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งทางด้านผู้เรียน ด้านผู้บริหาร และด้านครู อยู่ในระดับดี[28]
การประเมินคุณภาพโรงเรียน โดยใช้ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มีผลคะแนนเฉลี่ยการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ซึ่งจัดการสอบและให้การรับรองมาตรฐานโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ ซึ่งผลปรากฏว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา มีผลคะแนนเฉลี่ยการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ทั้งในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- ประจำปีการศึกษา 2557 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ในทุกรายวิชา [29] [30]
- ประจำปีการศึกษา 2558 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ในทุกรายวิชา[31] [32]
- ประจำปีการศึกษา 2560 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ในทุกรายวิชา[33] [34]
- ประจำปีการศึกษา 2561 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ในทุกรายวิชา[35]
- ประจำปีการศึกษา 2563 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ในทุกรายวิชา[36]
- ประจำปีการศึกษา 2564 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ในทุกรายวิชา[37]
อันดับของโรงเรียน
[แก้]จัดอันดับโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้รับการจัดอันดับจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ ในปี พุทธศักราช 2553 ให้เป็นโรงเรียนมาตราฐานสากล (World Class Standard School) รุ่นที่ 1 เป็น 1 ใน 369 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งโรงเรียนมาตราฐานสากล (World Class Standard School) คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เทียบเคียงมาตรฐานสากล ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลเมื่องโลก (World Citizen, Global Citizen) เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการจัดการด้วยระบบคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นมาตรฐานสากล เป็นการต่อยอดคุณลักษณะที่เป็นมาตรฐานชาติ [38]
จัดอันดับโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
[แก้]โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้รับการจัดอันดับจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ ให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่ติดอันดับโรงเรียนมัธยมศึกษายอดนิยมและโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ของประเทศ มาตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2551 โดยที่
|
เกียรติประวัติของโรงเรียน
[แก้]รางวัลที่โรงเรียนได้รับ
[แก้]ปี | เกียรติประวัติ | หน่วยงานที่ให้การยกย่อง |
---|---|---|
2527 | รางวัลโรงเรียนพระราชทานกระทรวงศึกษาธิการ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รางวัลโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น (ครั้งที่ 1) | กรมสามัญศึกษา | |
2528 | รางวัลโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น (ครั้งที่ 2) | |
รางวัลห้องสมุดดีเด่น | ||
รางวัลบรรณารักษ์ดีเด่น | ||
2529 | รางวัลโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น (ครั้งที่ 3) | |
2530 | รางวัลนักเรียนประพฤติดีและช่วยเหลือสังคม | |
2542 | ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนสีขาว | กระทรวงศึกษาธิการ |
2545 | รางวัลเกียรติคุณสัญญา ธรรมศักดิ์ (ชมเชย) โครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษา การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[43] | มูลนิธิธารน้ำใจ |
2553 | ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School) รุ่นที่ 1 เป็น 1 ใน 369 โรงเรียนทั่วประเทศ | กระทรวงศึกษาธิการ |
ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน (Outstanding Energy Learning Center) ประเภท Joining the Campaign without evaluation[44] | การไฟฟ้านครหลวง ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม | |
2554 | ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
2556 | ประกาศเกียรติคุณ องค์กรที่ให้ความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ[45] | คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร |
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ[46] | กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | |
2557 | ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ประจำปี 2556[47] | กระทรวงศึกษาธิการ
(ประกาศเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ) |
2559 | ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ | กระทรวงศึกษาธิการ |
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการ UniNet To School | สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุมดมศึกษา ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
2562 | ได้โล่และเกียรติบัตร รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ปี 2561 ระดับOBECQA[48] | กระทรวงศึกษาธิการ |
รางวัลที่นักเรียนได้รับ
[แก้]- 2556
- รางวัลชนะเลิศ โล่พระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดบทร้อยกรองส่งเสริมพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2556
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 โล่พระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดบทร้อยกรองส่งเสริมพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2556
- รางวัลชนะเลิศ โล่พระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดกลอนสด ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการสืบสานสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ครั้งที่ 5
- 2557
- รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การแข่งขันประกวดแต่งกลอนสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2557 (ระดับประเทศ) หัวข้อ “สารานุกรมไทย...ก้าวไกล ทันโลก” ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ณ สโมสรสนามเสือป่าและโรงละครพระราชวังดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ
- 2558
- รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดบทกวีชิงถ้วยพระราชทานพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หัวข้อ ”หยาดพิรุน” ของมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในวันอัฏฐมราชานุสรณ์ 9 มิถุนายน 2558 ณ วิหารหลวงวัดสุทัศเทพวนารามราชวรมหาวิหาร
- รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สโมสรยุวกวีสมาคมเทพศรีกวีศิลป์ร่วมกับสำนักส่งเสริมวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร
- รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภทนักเรียน การแข่งขันประชันกลอนสด ครั้งที่ 25 ภายใต้หัวข้อ “แก้วกวีศรีสยาม” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดย ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- 2560
- รางวัลชนะเลิศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษา การแข่งขัน A-math เกมต่อเลขคำนวณ ในรายการ "แม็กซ์พลอยส์ ครอสเวิร์ดเกมเยาวชนนานาชาติ ครั้งที่ 29" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา ระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2560
- 2561
- รางวัลชนะเลิศ ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดกลอนสด ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการประกวดกลอนสด เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- รางวัลชนะเลิศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นชาย ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษา การแข่งขัน A-math เกมต่อเลขคำนวณ ในรายการ “อีซีซี ครอสเวิร์ดเกม เยาวชนนานาชาติ ครั้งที่ 30 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา กรุงเทพมหานคร จัดโดยสมาคมครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ แห่ง ประเทศไทย[49]
- 2562
- รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแข่งขันประกวดกลอนสดครั้งที่ 15 เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม 2562 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ มหาวิทยาลันรังสิต [50]
- รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแข่งขันรายการ ACSPLOGIC GAMES ครั้งที่ 6 ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ[51]
- รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี การแข่งขันกีฬาลีลาศการกุศลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ณ โรงเรียนโสตศึกษา จ.ขอนแก่น วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562 [52]
- 2564
- รางวัลชนะเลิศ โล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแข่งขันแต่งคําประพันธ์ในรูปแบบของกวีวัจนะ "การประกวดร้อยกรองชิงโล่พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประจําปี 2564" จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[53]
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์
- อมรเทพ แววแสง อดีตนักยิมนาสติกทีมชาติไทย เหรียญทองประเภทห่วงนิ่ง ในการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 1998
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
- พิมพ์รดาภา ไรท์ นักร้อง นักแสดง
- อรจิรา แก้วสว่าง นักแสดง
- รามณรงค์ เสวกวิหารี นักกีฬาเทควันโดชายทีมชาติไทย
- ชัยวัฒน์ สดชื่น นักโหราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของไทย
- ปรัชญาลักษณ์ โชติวุฑฒินันท์ แชมป์ไมค์ทองคำ 4 (แชมป์หญิงคนแรกของเวทีไมค์ทองคำ) นักร้อง
- ภัทราพร หวัง มิสอินเตอร์คอนติเนนตัล 2014 และรองอันดับ 2 มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2014
- กอล์ฟ กฤษฎา สิงห์งาม นักร้องนำวง The Worm
- บอมบ์ ชัยยุทธ กลิ่นเจริญ มือกลองวง The Worm
- น้ำฟ้า ราชวิทย์ สุขทอง มือกีต้าร์วง The Worm
- ป๊อบ พุทธรัตน์ แตงจันทึก มือคีย์บอร์ดวง The Worm
- ตี๋ มนตรี ตั้งถนอมวงศ์ มือเบสวง The Worm
- ลี่ เสาวลักษณ์ ไชยศิริธัญญา รองนางสาวไทยอันดับ 2 ปี 2557
- กฤษณะ สถาปนพิทักษ์กิจ อดีตนักข่าวช่อง7 นักบินโดรนผู้นำไปสู่การวิสามัญคนร้ายในเหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา
- สิริพงษ์ สุวรรณประภักดิ์ อดีตผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ และช่องวัน 31, อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
- นนท์ ณพวุฒิ จารัตน์ ครูสอนเต้นวง BNK48
- นายแพทย์ชโนดม เพียรกุศล ผู้ได้รับรางวัลโครงการเยาวชนสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล, อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นายแพทย์ยุวพงศ์ สุทธินันท์ นักเขียน, แพทย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://data.bopp-obec.info/web/index_view_stu.php?School_ID=1010720084
- ↑ http://www.tupr.ac.th/images/History2555.pdf ประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เข้าชมเมื่อ 10 มิ.ย. 55
- ↑ http://www.tupr.ac.th/function/2560/60_299.pdf แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาผลประโยชน์อสังหาริมทรัพย์ ร้าน T.U.P.R. Coffee
- ↑ 65_02_14_ประกาศห้องเรียนพิเศษ ม.1 EP.pdf (tupr.ac.th) ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ English Program ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565
- ↑ http://www.tupr.ac.th/information/2562/62-02-20_IEP.pdf เก็บถาวร 2023-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562
- ↑ http://www.tupr.ac.th/information/2565/65_03_15_%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9_M4_%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A2.pdf ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565
- ↑ 65_02_14_ประกาศห้องเรียนพิเศษม.4 IEP.pdf (tupr.ac.th) ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565
- ↑ 65_02_14_ประกาศห้องเรียนพิเศษม.4 IEP.pdf (tupr.ac.th) ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เรื่องการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565
- ↑ http://www.tupr.ac.th/guide/60-03-16_691-60.pdf โครงการเรียนล่วงหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่นที่ 12 ปีการศึกษา 2560
- ↑ http://www.jaabkk.com/portfolios/testresult20140224/ เก็บถาวร 2016-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รายชื่อผู้สอบผ่านการคัดเลือก ทุนการศึกษาโรงเรียนการบินญี่ปุ่น ประจำปีการศึกษา 2557 ครั้งที่ 2
- ↑ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=640754072637334&set=t.100001082408980&type=3&theater การประชุมปัจฉิมนิเทศเยาวชนเอเอฟเอสเพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ
- ↑ https://web.facebook.com/photo.php?fbid=1281065245245723&set=a.1242393752446206&type=3&theater นักเรียนทุนไต้หวัน
- ↑ http://thaistudentexchange.com/more_program.php?id=17 เก็บถาวร 2020-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นายภูศิษฐ์ เกียรติชัยเลิศนภา นักเรียนแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมสหรัฐอเมริกา AYP (High School Academic Year Program in America) ที่ Grade 10, Burnt River School, Unity, Oregon, America ตั้งแต่ปี 2017-2018
- ↑ http://thaistudentexchange.com/more_program.php?id=17 เก็บถาวร 2020-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นายภูศิษฐ์ เกียรติชัยเลิศนภา นักเรียนแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมสหรัฐอเมริกา AYP (High School Academic Year Program in America) ที่ Grade 10, Burnt River School, Unity, Oregon, America ตั้งแต่ปี 2017-2018
- ↑ http://www.srv.ac.th/srv/documents/tjyec-namepass2560.pdf เก็บถาวร 2023-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลการคัดเลือกนักเรียนไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย – ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2560 ณ จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
- ↑ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=704887049695796&set=t.100000267784964&type=3&theater ภาพนักเรียนทุนด้านภาษาจีน มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ↑ https://web.facebook.com/photo.php?fbid=2067634749922098&set=a.1822632324422343&type=3&theater ภาพนักเรียนทุนด้านภาษาจีน มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเสฉวน (Sichuan International Studies University) สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1LyrPXd-GQyJ7WmcHPKjB3migvSOsiSWi/view นักเรียนทุนไต้หวัน
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1LyrPXd-GQyJ7WmcHPKjB3migvSOsiSWi/view หน้า 83 เยาวชนแลกเปลี่ยนในโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน JENESYS 2018
- ↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=618240359215040&set=pcb.618240745881668 โครงการเยาวชน AFS เพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ระยะ 1 ปี รุ่นที่ 61 (พ.ศ. 2565 – 2566) ประเทศเบลเยี่ยม แฟลนเดอร์ / เหนือ
- ↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=643486394549620&set=pcb.643486697882923 ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะภาษาและวรรณคดีจีน, มหาวิทยาลัย Shanxi Normal University, สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=610888734476053&set=a.525031993061728 นักเรียนแลกเปลี่ยน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โครงการเยาวชน AFS เพื่อการศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ระยะ 1 ปี รุ่นที่ 62 (พ.ศ. 2566 – 2567)
- ↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=709130311243383&set=a.48245412057767 โครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม Engenius International รุ่นที่ 7 ประจำปี 2567-2568
- ↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=582712870626973&set=a.525031996395061 ทุน fujian government scholarship 2566
- ↑ https://www.facebook.com/photo?fbid=582712153960378&set=a.525031996395061 ทุน fujian government scholarship 2566
- ↑ http://www.tupr.ac.th/function/2559/krudee-TUPR.pdf รายชื่อครูที่ได้รับรางวัล “ครูดีศรีเตรียมพัฒน์ รัชดา” รับรางวัลโล่เกียรติคุณเนื่องในวันครู ประจำปี 2560
- ↑ http://www.tupr.ac.th/download/vichakan/2559/59-01-21_well.pdf หนังสือเชิญเข้าร่วมและแข่งขันงานนิทรรศการวิชาการ
- ↑ https://drive.google.com/file/d/0B0RkNeXuHy2YUGZDMUxsMzZzZ3c/view สารสนเทศเพื่อการรายงาน ปีการศึกษา 2559
- ↑ http://www.tupr.ac.th/evaluate/58/57_onet/2_StatbySchool_2557_M3_1010022013.pdf ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2557
- ↑ http://www.tupr.ac.th/evaluate/58/57_onet/2_StatbySchool_2557_M6_1010022013.pdf ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2557
- ↑ http://www.tupr.ac.th/evaluate/59/58_onet/2StatbySchool_2558_M3_1010022013%20(1).pdf ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ประจำปีการศึกษา 2558
- ↑ http://www.tupr.ac.th/evaluate/59/58_onet/2StatbySchool_2558_M6_1010022013[1].pdf ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2558
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1Cmkpd00vlwfFTCYQODRgC3rW9tW7czX5/view ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ประจำปีการศึกษา 2560
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1e3MdHq7iBqDA0NIP6q38-HSYOC00qyCG/view ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2560
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1uT5QH8VN_JJhJf_Lej7YW7ayiQbYEVCV/view ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า 15 และผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน้า 16 ประจำปีการศึกษา 2561
- ↑ https://online.pubhtml5.com/dljb/uvgf/#p=32 ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า 32 และผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน้า 32 ประจำปีการศึกษา 2563
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1P8mG2mlTpDme0c7MvucdppA25jVOh9ev/view ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน้า 83 และผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน้า 96 ประจำปีการศึกษา 2564
- ↑ https://sites.google.com/a/hi-supervisory10.net/www/-500 รายชื่อโรงเรียนมาตราฐานสากล รุ่นที่ 1
- ↑ http://www.mathayom9.go.th/webspm9/data/student58/student05.pdf เก็บถาวร 2019-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2558
- ↑ http://www.nmrsw2.ac.th/St2558/St2559/racing-matyom59.pdf เก็บถาวร 2016-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2559
- ↑ http://9choke.com/wp-content/uploads/2017/02/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87.pdf โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2560
- ↑ http://www.e-newsbkk2.org/bkk2/forum/data/13/pic/1507.pdf เก็บถาวร 2019-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2561
- ↑ http://www.tarnnamjai.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539270297&Ntype=17รางวัลเกียรติคุณสัญญา ธรรมศักดิ์ (ชมเชย) โครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษา การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด ภายในสถานศึกษา
- ↑ http://www.energymindaward.com/2018/school_list.php?cid=13 โรงเรียนโครงการสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน (ลำดับที่ 141)
- ↑ https://5b7a113f-a-a467f165-s-sites.googlegroups.com/a/tupr.ac.th/sersthkic-phx-pheiyng/home/tupra.jpg?attachauth=ANoY7cprN3ad-nsYwJPl5lgMuM1vPYTnHq8bGIvi1POLUZCP561VUGhxtcYXlT6l-02D3le8i-6CUmjYf0qcJgUP2XWrVCYxfQJ71CtyKQJJVHNP72IcXYMVWgSZbSGleMfH6kT0r8Z3OxRiLEKcjISO_scEFvVWp5sjUnioW3Ht3HxuzIa8Ft42JTqmiFjcrgyjy6pgiMPrzG0Hj-NMYN4JlUUB9bqo0R2WcbPG_xFBotaMrJvbjVo%3D&attredirects=0[ลิงก์เสีย] ประกาศเกียรติคุณ องค์กรที่ให้ความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ
- ↑ http://www.vitheebuddha.com/main.php?url=school รายชื่อโรงเรียนในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธในกรุงเทพมหานคร
- ↑ https://suffecondotcom.files.wordpress.com/2015/12/e0b89be0b8a3e0b8b0e0b881e0b8b2e0b8a8_e0b8aae0b896e0b8b2e0b899e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2e0b89ee0b8ade0b980e0b89ee0b8b5e0b8a2e0b887_14.pdf รายชื่อสถานศึกษาพอเพียง ประจำปี ๒๕๕๖
- ↑ https://www.facebook.com/media/set/?vanity=tupr.ac.th&set=a.2406235082997694 ได้โล่และเกียรติบัตร รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ปี 2561 ระดับOBECQA
- ↑ https://web.facebook.com/tupr.ac.th/photos/a.2196804967274041/2196804983940706/?type=3&theater ภาพการรับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการแข่งขัน A-math เกมต่อเลขคำนวณ “อีซีซี ครอสเวิร์ดเกม เยาวชนนานาชาติ ครั้งที่ 30” ระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา กรุงเทพมหานคร
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1OKFrmt0n-IARnQBVFMj9OzyDiW4HL6tK/view การแข่งขันประกวดกลอนสดครั้งที่ 15 เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม 2562 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ มหาวิทยาลันรังสิต หน้า 23
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1OKFrmt0n-IARnQBVFMj9OzyDiW4HL6tK/view การแข่งขันรายการ ACSPLOGIC GAMES ครั้งที่ 6 ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการหน้า 26
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1OKFrmt0n-IARnQBVFMj9OzyDiW4HL6tK/view การแข่งขันกีฬาลีลาศการกุศลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ณ โรงเรียนโสตศึกษา จ.ขอนแก่น วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562 หน้า 74
- ↑ https://drive.google.com/file/d/1P8mG2mlTpDme0c7MvucdppA25jVOh9ev/view หน้า 24 รางวัลชนะเลิศ โล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแข่งขันแต่งคําประพันธ์ในรูปแบบของกวีวัจนะ "การประกวดร้อยกรองชิงโล่พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประจําปี 2564"