ข้ามไปเนื้อหา

กรมอนามัย

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรมอนามัย
Department of Health
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง12 มีนาคม พ.ศ. 2495; 72 ปีก่อน (2495-03-12)
กรมก่อนหน้า
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 88/22 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
บุคลากร3,259 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี1,796,912,800 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • อัมพร เบญจพลพิทักษ์, อธิบดี
  • นงนุช ภัทรอนันตนพ, รองอธิบดี
  • ปองพล วรปาณิ, รองอธิบดี
  • ธิติ แสวงธรรม, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงสาธารณสุข
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

กรมอนามัย (อังกฤษ: Department of Health) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่ที่ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๔๙๕ ดังประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๑๖ วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๕ โดยเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงการสาธารณสุข เป็นกระทรวงสาธารณสุข และกรมสาธารณสุข เป็นกรมอนามัย ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ด้วยเหตุนี้กรมอนามัยจึงถือเอาวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๙๕ เป็นวันสถาปนากรมอนามัย

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีพัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่การบริหารจัดการและการแบ่งส่วนราชการให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การปกครองและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือให้เท่าทันกับสภาพปัญหาสาธารณสุขและระบบสุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์ ในปีพ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ จึงมีการถ่ายโอนบุคลากรและภารกิจบางส่วนของกรมอนามัยให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกาศ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๕

หน่วยงานส่วนกลาง

  1. สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. ศูนย์สื่อสารสาธารณะ
  3. สำนักงานเลขานุการกรม
  4. สำนักส่งเสริมสุขภาพ
  5. สำนักทันตสาธารณสุข
  6. สำนักโภชนาการ
  7. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
  8. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
  9. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
  10. ศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  11. กองคลัง
  12. กองการเจ้าหน้าที่
  13. กองแผนงาน
  14. กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
  15. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
  16. กลุ่มตรวจสอบภายใน
  17. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  18. ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข
  19. ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย
  20. สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
  21. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ
  22. สขรส.

หน่วยงานส่วนภูมิภาค

  1. ศูนย์อนามัยที่ 1
  2. ศูนย์อนามัยที่ 2
  3. ศูนย์อนามัยที่ 3
  4. ศูนย์อนามัยที่ 4
  5. ศูนย์อนามัยที่ 5
  6. ศูนย์อนามัยที่ 6
  7. ศูนย์อนามัยที่ 7
  8. ศูนย์อนามัยที่ 8
  9. ศูนย์อนามัยที่ 9
  10. ศูนย์อนามัยที่ 10
  11. ศูนย์อนามัยที่ 11
  12. ศูนย์อนามัยที่ 12
  13. ศูนย์พัฒนาสุขภาวะเขตเมือง
  14. ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ
  15. ศูนย์ความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ

อ้างอิง

  1. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, รายงานข้อมูลบุคลากรด้านสาธารณสุข ประจำปี 2566, สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗

แหล่งข้อมูลอื่น