พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท | |||||||||||||||||
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา[1] | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 8 กันยายน พ.ศ. 2352 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 (14 ปี 316 วัน) | ||||||||||||||||
ราชาภิเษก | 17 กันยายน พ.ศ. 2352 | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | ||||||||||||||||
ถัดไป | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||||||||||
พระมหาอุปราช | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | ||||||||||||||||
สมุหนายก | ดูรายชื่อ | ||||||||||||||||
สมุหพระกลาโหม | |||||||||||||||||
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล | |||||||||||||||||
ดำรงพระยศ | 15 มีนาคม พ.ศ. 2350 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352 (2 ปี 176 วัน) | ||||||||||||||||
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | ||||||||||||||||
อุปราชาภิเษก | 15 มีนาคม พ.ศ. 2350 | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท | ||||||||||||||||
ถัดไป | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | ||||||||||||||||
พระราชสมภพ | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม อาณาจักรธนบุรี (ปัจจุบัน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย) | ||||||||||||||||
สวรรคต | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 (56 พรรษา) พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระราชวังหลวง กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) | ||||||||||||||||
ถวายพระเพลิง | พ.ศ. 2368 พระเมรุมาศ ทุ่งพระเมรุ | ||||||||||||||||
บรรจุพระอัฐิ | หอพระธาตุมณเฑียร | ||||||||||||||||
พระภรรยาเจ้า | |||||||||||||||||
สนม | |||||||||||||||||
พระราชบุตร | 73 พระองค์ | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ราชวงศ์ | จักรี | ||||||||||||||||
พระราชบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี | ||||||||||||||||
ศาสนา | เถรวาท |
พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367; ครองราชย์ 8 กันยายน พ.ศ. 2352[2] – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 2 ของสยามในสมัยราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 46 ตามประวัติศาสตร์ไทย ปกครองระหว่าง พ.ศ. 2352 ถึง พ.ศ. 2367 ในปี พ.ศ. 2352 เจ้าฟ้าฉิมหรือกรมหลวงอิศรสุนทรพระราชโอรสองค์โตสืบราชบัลลังก์ต่อจากรัชกาลที่ 1 พระราชบิดาผู้สถาปนาราชวงศ์จักรีเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชสมัยของพระองค์สงบสุข ปราศจากความขัดแย้ง และเป็น "ยุคทองของวรรณคดี" เนื่องจากพระองค์ทรงอุปถัมภ์กวีหลายคนในราชสำนัก และพระองค์เองก็มีชื่อเสียงในฐานะกวีและศิลปิน กวีที่โดดเด่นที่สุดในราชสำนักคือสุนทรภู่[3]
พระนาม
หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้สืบทอดบัลลังก์ในทันทีพร้อมด้วยพระนามชั่วคราวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[4] ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นราชประเพณีว่าพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีพระบรมราชาภิเษกจะได้รับพระอิสริยยศชั่วคราวเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเต็มเมื่อทรงรับการบรมราชาภิเษกแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ซึ่งเหมือนกับพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์
ในพระราชกำหนด สักเลข ขานพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกราชา นราธิบดี ศรีสุริยวงษ์ องคราเมศวรราช บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว
ในพระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลชื้อขายฝิ่น ขานพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกราชาธิบดี ศรีวิสุทธิคุณ วิบุลยปรีชา ฤทธิราเมศวรราช บรมนารถบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามรัชกาลที่ 2 ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงโปรดให้สร้างอุทิศถวาย[5] และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อยพระนามเป็น "นภาลัย" และเฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เป็น พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐ มเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย[6]
ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปเป็น พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย[7]
พระราชประวัติ
พระราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน นพศก จ.ศ. 1129 ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 (เมื่อเทียบปฏิทินสุริยคติแล้ว) เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ขณะทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกรบัตรเมืองราชบุรี) พระราชสมภพแต่ท่านผู้หญิงนาค (ภายหลังเฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) เมื่อเจริญพระชนม์ได้ทรงศึกษาในสำนักพระพนรัตน์ (ทองอยู่) วัดบางว้าใหญ่ และได้ติดตามสมเด็จพระบรมชนกนาถไปในการสงครามทุกครั้ง[8]
ในปี พ.ศ. 2325 เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว จึงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร[9]
ผนวช
เมื่อปีวอก สัมฤทธิศก พ.ศ. 2331 พระชันษาครบกำหนดที่จะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดให้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสังวรเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงผนวชแล้ว วันแรกเสด็จประทับอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีการฉลองเสร็จแล้ว จึงเสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ทรงศึกษาสมณกิจในสำนักพระปัญญาวิสารเถร (นาค) ตลอดพรรษา 1 แล้วจึงลาผนวช[10]
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ถึงวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล พ.ศ. 2349 (นับแบบปัจจุบันเป็นวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2350) เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จทิวงคต สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงให้รับอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล[11]
ครองราชย์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชประชวรพระโสภะอยู่ 3 ปีก็เสด็จสวรรคต[12]ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 73 พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ได้นานถึง 27 ปี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้สำเร็จราชการแผ่นดินต่อมา เมื่อจัดการพระบรมศพเสร็จแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ขุนนางและพระราชาคณะจึงกราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นผ่านพิภพ[13]
ต่อมาวันที่ 10 กันยายน พบหนังสือฟ้องว่าเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตกับพวกร่วมกันคิดการขบถ ไต่สวนแล้วโปรดให้ประหารชีวิตทั้งหมดในวันที่ 13 กันยายน[14]
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดขึ้นในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2352 โดยย้ายมาทำพิธีที่หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เนื่องจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทซึ่งสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทอันเป็นสถานที่ทำพิธีปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอยู่ ในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงใช้หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นสถานที่จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นสถานที่ตั้งพระบรมศพ หลังจากเสร็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์จึงเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราตามโบราณราชประเพณี[15]
สวรรคต
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน[ต้องการอ้างอิง] พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1186 ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367[ต้องการอ้างอิง] สิริพระชนมพรรษาได้ 56 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[ต้องการอ้างอิง] และได้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเมื่อ พ.ศ. 2368 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อัญเชิญพระบรมอัฐิ ไปประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร จากนั้นได้นำพระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุไว้ใต้พระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร[ต้องการอ้างอิง]
พระปรีชาสามารถ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา[ต้องการอ้างอิง] ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
ด้านกวีนิพนธ์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่น ๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้
ด้านประติมากรรม
นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย
ด้านดนตรี
กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้
พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรสพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์ โดยประสูติเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร 47 พระองค์ ประสูติเมื่อดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 4 พระองค์ และประสูติภายหลังบรมราชาภิเษกแล้ว 22 พระองค์
- พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ
หลังบรมราชาภิเษก ได้โปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเศกสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ พระบัณฑูรน้อยในรัชกาลที่ 1 ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2352[16] ต่อมาวันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2353 จึงสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเป็นสมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์[17]
กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง ดูเรื่อง ธงชาติไทย
- พ.ศ. 2311
- 24 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชสมภพ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม พระนามเดิม ฉิม
- พ.ศ. 2325
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
- ทรงได้รับการสถาปนาพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- พ.ศ. 2349
- ทรงได้รับการสถาปนาพระยศจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- พ.ศ. 2352
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต
- พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางกราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 2 แห่งพระราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความ
- สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง
- พ.ศ. 2353
- พ.ศ. 2354
- โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ
- โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา"
- ออกพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น
- จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
- เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่
- โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ"
- โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา
- อิน-จัน แฝดสยามคู่แรกของโลกถือกำเนิดขึ้น
- พ.ศ. 2355
- โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วผลึก (พระพุทธบุษยรัตน์) จากเมืองจำปาศักดิ์มายังกรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2356
- พม่าให้ชาวกรุงเก่านำสาส์นจากเจ้าเมืองเมาะตะมะมาขอทำไมตรีกับสยาม
- พระองค์เจ้าชายทับ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
- พ.ศ. 2357
- โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะสมณทูตเดินทางไปศรีลังกา
- โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง นครเขื่อนขันธ์ ขึ้นที่บริเวณพระประแดง เพื่อสำหรับรับข้าศึกที่มาทางทะเล
- พ.ศ. 2359
- โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น 9 ประโยค
- พ.ศ. 2360
- ทรงฟื้นฟูประเพณี วันวิสาขบูชา
- พ.ศ. 2361
- ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพนฯ โดยสร้างถนนท้ายวังคั่น
- โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการออกแบบและสร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
- คณะสมณทูตที่พระองค์ทรงส่งไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ ประเทศลังกาเดินทางกลับ
- เจ้าเมืองมาเก๊า ส่งทูตเข้ามาถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเพื่อเจริญทางพระราชไมตรี
- พ.ศ. 2363
- ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- สังคายนาบทสวดมนต์ภาษาไทยครั้งแรก ในประเทศไทย
- โปรตุเกสตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ นับเป็นสถานกงสุลต่างชาติแห่งแรกของสยาม
- พ.ศ. 2365
- เซอร์จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
- พ.ศ. 2367
- เสด็จสวรรคต
พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
การทูล | ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ |
พระบรมราชอิสริยยศ
- ฉิม (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 – สมัยรัชกาลที่ 1)
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (สมัยรัชกาลที่ 1 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2350)
- กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (15 มีนาคม พ.ศ. 2350 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (8 กันยายน พ.ศ. 2352 – 17 กันยายน พ.ศ. 2352)
- พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว (17 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ.2367)
ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 3
- พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย (สมัยรัชกาลที่ 3 – สมัยรัชกาลที่ 4)
ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 4
- พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (สมัยรัชกาลที่ 4 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 6
- พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – สมัยรัชกาลที่ 7)
ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 7
- พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (สมัยรัชกาลที่ 7 – ปัจจุบัน)
พงศาวลี
พงศาวลีของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แผนผัง
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ ""สยาม" ถูกใช้เรียกชื่อประเทศเป็นทางการสมัยรัชกาล". ศิลปวัฒนธรรม. 6 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 10
- ↑ "รัชกาลที่2 "ยุคทอง" ศิลปกรรมต้นกรุงรัตนโกสินทร์". สยามรัฐ. 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-08-08.
- ↑ ราม วชิราวุธ. ประวัติต้นรัชกาลที่ 6. หน้า 60.
- ↑ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 15.
- ↑ เทศนาพระราชประวัติ และพงษาวดาร กรุงเทพฯ, สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2546, หน้า 76
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม 33, ตอน 0ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459, หน้า 212
- ↑ พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 2 ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 : 3. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ↑ ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 : 123. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ↑ พระราชวิจารณ์ จดหมายเหตุความทรงจำ, ข้อ 222
- ↑ พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 1. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 สวรรคต
- ↑ พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 4. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ↑ พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 5. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ↑ พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 6. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ↑ พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 19. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501.
- ↑ พงษาวดารราชินิกูลบางช้าง (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส. 2457.
- บรรณานุกรม
- เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (11 สิงหาคม 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2470. 57 หน้า.
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6
ก่อนหน้า | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท | กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (15 มีนาคม พ.ศ. 2350 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352) |
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | ||
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | พระมหากษัตริย์ไทย (8 กันยายน พ.ศ. 2352 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
- ชาวไทยที่ได้รับการฉลองวาระครบรอบโดยยูเนสโก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2310
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2367
- พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี
- พระมหากษัตริย์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 19
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1
- รัชกาลที่ 2
- กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- เจ้าฟ้าชาย
- กวีชาวไทย
- บุคคลจากอำเภออัมพวา
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2325–2411
- นักเขียนจากจังหวัดสมุทรสงคราม