ไชยเชษฐ์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ไชยเชษฐ์ เป็น นิทานพื้นบ้าน สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี มีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเป็นเรื่องสนุก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน ให้ผู้ชายแสดงเป็นตัวละครทั้งหมด พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ เพื่อให้เป็นบทละครนอกของหลวง และทรงให้ผู้หญิงที่เป็นละครหลวงแสดงอย่างละครนอก ซึ่งทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดย บริษัท สามเศียร และ บริษัท ดาราวิดีโอ เคยนำมาสร้างเป็นละครพื้นบ้านแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ในชื่อ ไชยเชษฐ์ โดยละครเรื่องนี้ออกอากาศเมื่อ ปี 2527 บทโทรทัศน์ โดย เกล้าเกศ นำแสดงโดย สุริยา ชินพันธุ์, ผุสรัตน์ ดารา ยุวนารี ธิดารัตน์, ชัย ราชพงษ์, วิไลลักษณ์ ไวงาน, สมาน คัมภีร์ ต่อมาเมื่อปี 2555 สามเศียร ได้นำมาทำใหม่อีกครั้งนำแสดงโดย กิตติวงศ์ โพธิ์ปี, ทิชา ตันติประสุต, วิจิตรา ฉายสุวรรณ, ตวงรัตน์ คะชะสะ, ฑรัญภัค เศรษฐีธร, นันทรัตน์ ชาวราษฏร์, ธนภัทร ดิษฐ์ไชยวงศ์, กฤติยา ยอดครู, หนุ่ม มาวิน, ธัญธารีย์ โรจนเรืองไชย, รัฐธรรมนูญ ศรีฤกษ์, พัชรมัย สุขประเสริฐ, ปริษา ทนาวิวัฒน์, ศุภชัย เธียรอนันต, น้ำทิพย์ เสียมทอง, เลอสรรค์ คงเจริญ
เนื้อเรื่อง
[แก้]"ท้าวอภัยนุราช" เจ้าเมืองเวสาลี มีพระธิดาองค์หนึ่ง พระนามว่า "นางจำปาทอง" เพราะเมื่อนางร้องไห้จะมีดอกจำปาทองร่วงลงมา ครั้นนางจำปาทองเจริญวัยขึ้น นางได้นำไข่จระเข้จากสระในสวนมาฟักจนเป็นตัวและเลี้ยงจระเข้ไว้ในวัง ครั้นจระเข้เติบใหญ่ขึ้น ก็ดุร้ายตามวิสัยของมัน มันเที่ยวไล่กัดชาวเมืองจนชาวเมืองเดือดร้อนไปทั่ว ท้าวอภัยนุราชทรงขัดเคือง จึงขับไล่นางจำปาทองออกจากเมืองเวสาลี "นางแมว" ซึ่งเป็นแมวที่นางจำปาทองเลี้ยงไว้ได้ติดตามนางไปด้วย นางจำปาทองกับนางแมวเดินซัดเซพเนจรอยู่ในป่า ไปพบยักษ์ตนหนึ่งชื่อ "นนทยักษ์" ซึ่งกำลังจะไปเฝ้า "ท้าวสิงหล" นางตกใจกลัวจึงวิ่งหนีไปพบ "พระฤๅษี" พระฤๅษีช่วยนางไว้ นางจำปาทองกับนางแมวจึงขออาศัยอยู่รับใช้พระฤๅษีในป่านั้น
ท้าวสิงหลเป็นยักษ์ครองเมืองสิงหล ไม่มีพระโอรสและพระธิดา คืนหนึ่งท้าวสิงหลบรรเทาหลับและทรงพระสุบินว่า มียักษ์ตนหนึ่งมาจากป่านำดอกจำปามาถวาย ดอกจำปามีสีเหลืองเหมือนทองคำงามยิ่งนัก ท้าวสิงหลจึงทรงให้โหรทำนายพระสุบิน โหรทำนายว่าท้าวสิงหลจะได้พระธิดา วันนั้นนนทยักษ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหลและทูลว่าพบหญิงสาวอาศัยอยู่กับพระฤๅษีที่ในป่า ท้าวสิงหลจึงเสด็จไปหาพระฤๅษี และขอนางจำปาทองมาเป็นธิดา ประทานนามว่า "นางสุวิญชา"
ฝ่าย "พระไชยเชษฐ์" เป็นโอรสเจ้าเมืองเหมันต์ พระไชยเชษฐ์มีพระสนมอยู่ 7 คน วันหนึ่งพระองค์เสด็จประพาสป่า และหลงทางเข้าไปในสวนเมืองสิงหล นางสุวิญชามาเที่ยวชมสวนพบพระไชยเชษฐ์ จึงนำความทูลให้ท้าวสิงหลทราบ ท้าวสิงหลให้พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้า พระไชยเชษฐ์จึงทูลขอรับราชการในเมืองสิงหล ต่อมามีข้าศึกยกทัพมาตีเมืองสิงหล พระไชยเชษฐ์อาสาสู้ศึกจนชนะ ท้าวสิงหลจึงทรงยกนางสุวิญชาให้เป็นชายาพระไชยเชษฐ์ พระไชยเชษฐ์จึงพานางสุวิญชากลับเมืองเหมันต์
ฝ่ายนางสนมทั้ง 7 คนริษยานางสุวิญชาที่พระไชยเชษฐ์รักนางสุวิญชามากกว่า ครั้นนางสุวิญชาทรงครรภ์จวนจะถึงกำหนดคลอดนางสนมทั้ง 7 คน ก็ออกอุบายว่ามีช้างเผือกอยู่ในป่า พระไชยเชษฐ์จึงออกไปคล้องช้างเผือก ฝ่ายนางสุวิญชาคลอดลูกเป็นกุมารมีศรกับพระขรรค์ติดตัวมาด้วย นางสนมทั้ง 7 คน นำพระกุมารใส่หีบไปฝังที่ใต้ต้นไทรในป่า เทวดาประจำต้นไม้ช่วยชีวิตพระกุมารไว้ เมื่อพระไชยเชษฐ์เสด็จกลับจากคล้องช้างเผือก นางสนมทั้ง 7 คน ทูลว่านางสุวิญชาคลอดลูกเป็นท่อนไม้ พระไชยเชษฐ์จึงขับไล่นางสุวิญชาออกจากเมือง ขณะที่นางสุวิญชาคลอดกุมารนั้น นางแมวแอบเห็นการกระทำของนางสนมทั้ง 7 คน จึงพานางสุวิญชาไปขุดหีบที่ใต้ต้นไทร แล้วพาพระกุมารกลับไปเมืองสิงหล ท้าวสิงหลตั้งชื่อพระกุมารว่า "พระนารายณ์ธิเบศร์"
ต่อมาพระไชยเชษฐ์ทรงรู้ความจริงว่านางสุวิญชาถูกใส่ร้าย จึงออกติดตามนางสุวิญชาไปเมืองสิงหลและได้พบพระนารายณ์ธิเบศร์ ซึ่งกำลังประพาศป่ากับพระพี่เลี้ยง พระไชยเชษฐ์เห็นพระนารายณ์ธิเบศร์เป็นเด็กน่ารัก มีหน้าตาคล้ายพระองค์ก็มั่นใจว่าเป็นพระโอรส จึงเข้าไปขออุ้มและเอาขนมนมเนยให้ พระนารายณ์ธิเบศร์โกรธว่าเป็นคนแปลกหน้า จึงไม่ให้จับต้องและไม่ยอมเสวยขนม
พระนารายณ์ธิเบศร์โกรธพระไชยเชษฐ์ที่มาจับต้องตัวและจับหัวของพระพี่เลี้ยงของตนจึงใช้ศรธนูหมายจะฆ่าให้ตาย แต่ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้กระจายเติมพื้นดิน จึงทำให้พระไชยเชษฐ์เกิดความประหลาดใจยิ่งนัก จึงอธิษฐานจิตว่าถ้ากุมารองค์นี้เป็นลูกของตนที่เกิดกับนางสุวิญชาขอให้ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลายเป็นอาหาร ทันใดนั้นพระไชยเชษฐ์ก็แผลงศรออกไปและศรธนูที่ยิงออกไปนั้นก็กลายเป็นอาหารมากมายเต็มพื้น จึงทำให้พระไชยเชษฐ์มั่นใจเป็นแน่แท้ว่าเป็นบุตรของตนจริงจัง
พระไชยเชษฐ์ทรงไต่ถามพระนารายณ์ธิเบศร์เกี่ยวกับมารดา เพราะทรงจำแหวนที่พระนารายณ์ธิเบศร์สวมได้ พระนารายณ์ธิเบศร์บอกว่านางสุวิญชาเป็นแม่และท้าวสิงหลเป็นพ่อ พระไชยเชษฐ์จึงทรงเล่าเรื่องเดิมให้พระนารายณ์ธิเบศร์ฟัง ทั้ง 2 จึงทราบว่าเป็นพ่อลูกกัน พระนารายณ์ธิเบศร์พาพระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล พระไชยเชษฐ์ขอโทษนางสุวิญชา พระนารายณ์ธิเบศร์ช่วยทูลนางสุวิญชาให้หายโกรธพ่อ นางสุวิญชายกโทษให้ พระไชยเชษฐ์ นางสุวิญชาและพระนารายณ์ธิเบศร์ 3 คนพ่อแม่ลูกจึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
นักแสดง
[แก้]ปี | 2527 | 2555 |
---|---|---|
ไชยเชษฐ์ | สุริยา ชินพันธุ์ | กิตติวงศ์ โพธิ์ปี |
สุวิญชา | ผุสรัตน์ ดารา | ทิชา ตันติประสุต |
นางแมววิฬาร์ | ยุวนารี ธิดารัตน์ | ธัญธารีย์ โรจนเรืองไชย |
พระมเหสีศรีอุษา | บานเย็น มุกดาม่วง | ปริษา ทนาวิวัฒน์ |
พระมเหสีอุมาเทวี | จีรวรรณ พรวิเศษ | พัชรมัย สุขประเสริฐ |
ท้าวอภัยนุราช | ไหมไทย ใจตะวัน | รัฐธรรมนูญ ศรีฤกษ์ |
ราชาธรรมมิกราช | ชัย ราชพงษ์ | ศุภชัย เธียรอนันต |
พระมเหสีแก้วสัจจะ | วิไลลักษณ์ ไวงาน | น้ำทิพย์ เสียมทอง |
หมื่นขัน | หนุ่ม มาวิน | |
มารตี | วิจิตรา ฉายสุวรรณ | |
ฤฎีดวง | ตวงรัตน์ คะชะสะ | |
ปิ่นดารา | ฑรัญภัค เศรษฐีธร | |
พวงผกา | กฤติยา ยอดครู | |
อุษาวดี | นันทรัตน์ ชาวราษฏร์ | |
อรทิวา | ธนภัทร ดิษฐ์ไชยวงศ์ | |
คุณโขรน | ทรงพร ณ บางช้าง | |
ท้าวสิงหล | ราชิต ชูเมือง | ชุมพร เทพพิทักษ์ |
พระอินทร์ | สมาน คัมภีร์ | เลอสรรค์ คงเจริญ |
นนทยักษ์ | ณรงค์ พุทธโกษา | สุรพล ไพรวัลย์ |