ทอง ณ บางช้าง
หน้าตา
พระชนก ทอง ณ บางช้าง | |
---|---|
เกิด | ทอง อาณาจักรอยุธยา |
พิราลัย | อาณาจักรอยุธยา |
ตระกูล | ณ บางช้าง |
คู่สมรส | สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี |
บุตร | 11 คน; รวมถึง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี, เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล และเจ้าจอมมารดามา |
บิดา | พร ณ บางช้าง |
มารดา | ชี ณ บางช้าง |
พระชนกทอง ณ บางช้าง เป็นพระชนกในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี อัครชายาเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ประวัติ
[แก้]พระชนกทอง ณ บางช้าง เกิดที่บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา เป็นบุตรของพรกับชี และเป็นหลานตาของปะขาวพลาย[1] ต่อมาได้สืบทอดมรดกของบิดามารดาเป็นคหบดีและเป็นเศรษฐีแห่งบ้านบางช้าง มีพี่ชายและพี่สาวคือ แทน และมุก ทองสมรสกับสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี (พระนามเดิม สั้น) มีโอรส-ธิดาด้วยกัน 10 คน ทรงบัญญัติให้เรียกว่าเจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ 1 ทั้งสิ้น ได้แก่[2]
- เจ้าคุณหญิงแวน (บางแห่งว่า แว่น[3])
- เจ้าคุณหญิงทองอยู่ สมรสกับขุนทอง มีบุตรธิดา 2 คน คือ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา และเจ้าจอมหงส์ ในรัชกาลที่ 1
- เจ้าคุณชายชูโต (ต้นสกุลชูโต, แสง-ชูโต และ สวัสดิ์-ชูโต)
- สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (มีพระนามเดิมว่า นาค หรือ นาก)
- เจ้าคุณชายแตง
- เจ้าคุณหญิงชีโพ มีบุตรชายคนเดียวชื่อหงส์ แต่โดนจับไปเป็นเชลยและไม่ได้กลับมา[4]
- เจ้าคุณชายพู
- เจ้าคุณหญิงเสม
- เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล สมรสกับเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) (ต้นสกุลบุนนาค)[5]
- เจ้าคุณหญิงแก้ว สมรสกับพระยาสมุทรสงคราม (ศร) (ต้นสกุล ณ บางช้าง)
และมีธิดาที่เกิดจากภรรยาอื่น คือ
พระชนกทองถึงแก่พิราลัยในสมัยกรุงศรีอยุธยา[6]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของทอง ณ บางช้าง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เทพ สุนทรศารทูล. ประวัติวัดอัมพวันเจติยาราม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พระนารายณ์, พ.ศ. 2541. 192 หน้า. หน้า 34.
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (หม่อมหลวงศรีฟ้า ลดาวัลย์ มหาวรรณ). เวียงวัง เล่ม ๑. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เพื่อนดี บริษัท อักษรโสภณ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2551. 300 หน้า. หน้า หน้าที่ 60. ISBN 978-974-253-061-7
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (หม่อมหลวงศรีฟ้า ลดาวัลย์ มหาวรรณ). เวียงวัง เล่ม ๑. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เพื่อนดี บริษัท อักษรโสภณ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2551. 300 หน้า. หน้า หน้าที่ 60. ISBN 978-974-253-061-7
- ↑ "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2013-08-06.
- ↑ คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.. โครงกระดูกในตู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามรัฐ, พิมพ์ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2547. 109 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-131-1