ข้ามไปเนื้อหา

ปางอุ้มบาตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ที่เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารรัชกาลที่ 2

ปางอุ้มบาตร เป็นชื่อเรียกของพุทธลักษณะของพระพุทธรูป ทำนั่งขัดสมาธิอย่างปางสมาธิ หรือยืน แต่พระหัตถ์ทั้งสองประคองถือบาตร

ประวัติ

[แก้]

เมื่อพระพุทธเจ้าได้แสดงเวสสันดรชาดกโปรดพระประยูรญาติแล้ว พระประยูรญาติต่างถวายนมัสการทูลลากลับสู่พระราชสถานที่พักของตน แต่ไม่มีใครทูลนิมนต์พระพุทธองค์ให้รับภัตตาหารเช้าเลย โดยเข้าใจเอาเองว่า คงเสด็จไปเสวยภัตตาหารในพระราชนิเวศน์ ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระพุทธเจ้าในอดีตเมื่อเสด็จมาประทับ ณ พระนครของพุทธบิดา ตามพุทธประเพณีได้เสด็จบิณฑบาตเพื่อโปรดมหาชน พระพุทธองค์จึงเสด็จออกบิณฑบาตตามพุทธประเพณี และมีความปีตียินดีประณมหัตถ์นมัสการ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็น พระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาโปรดประชาสัตว์ เป็นการเพิ่มพูนความปีติ โสมนัส พระพุทธจริยาตอนนี้เป็นเหตุให้พุทธบริษัทสร้างพระพุทธรูป เรียกว่า ปางอุ้มบาตร

ความเชื่อและคตินิยม

[แก้]
  • เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนที่เกิดวันพุธ
  • คาถาสวดมนต์บูชา สวด 17 จบ ดังนี้

สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง

อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห

อ้างอิง

[แก้]
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ. หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษม บุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย. อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย. ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล