ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:ประเทศฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


PORTAIL

FRANCE

สถานีย่อยประเทศฝรั่งเศส


Le Pays des Droits de l'Homme   •   The Country of the Human Rights   •   ประเทศแห่งสิทธิมนุษยชน





แก้ไข   

สถานีย่อยประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic) (ฝรั่งเศส: République française ออกเสียง [ʁepyˈblik fʁɑ̃ˈsɛz]) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ชาวฝรั่งเศสมักจะเรียกฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ว่า "หกเหลี่ยม" (L'Hexagone) เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศและอาณาเขตของประเทศฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์รา และสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิลและซูรินาเม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และหมู่เกาะอินดีสเนเธอร์แลนด์ตะวันตก (ติดกับแซงต์-มาแตง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย

สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี โดยมีอุดมการณ์จากคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แผ่อาณาเขตบริเวณทวีปแอฟริกาตะวันตกและเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการมีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมและการเมืองการปกครองในอาณานิคมนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกว่า 79 ล้านคนต่อปี (รวมทั้งนักท่องเที่ยวทางธุรกิจ แต่ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่อยู่ภายในประเทศน้อยกว่า 24 ชั่วโมง) ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในสมาชิกสหภาพอีกด้วย ฝรั่งเศสเองยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ, ประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก, G8 และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์อีกด้วย (อ่านต่อ...)

แก้ไข   

บทความแนะนำ

รัฐสภาฝรั่งเศส (Parlement français) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติในระบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส โดยยึดระบบสองสภา (Bicamérisme) ซึ่งประกอบไปด้วย

  • สภาสูง (Chambre haute) หรือเรียกว่า วุฒิสภา (Sénat) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม
  • สภาล่าง (Chambre basse) หรือเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée nationale française) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือชาวฝรั่งเศสทั้งหญิงและชาย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (Conditions de candidature et d'éligibilité) มีดังนี้

1. คุณสมบัติ (Eligibilité)

บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสทั้งเพศหญิงและชายมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

2. ลักษณะต้องห้าม (Inéligibilité)
2.1 ลักษณะต้องห้ามอันเกี่ยวข้องกับลักษณะบุคคล
• อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง การควบคุมในทางปกครอง
• ต้องโทษมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
• ถูกประกาศให้เป็นบุคคลล้มละลาย ถูกห้ามมิให้บริหารงานรัฐวิสาหกิจ หรือต้องสะสางบัญชีทรัพย์สินตามคำสั่งศาล
• ไม่ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารตามกฎหมาย อ่านต่อ ...
แก้ไข   

บุคคลประจำเดือน

อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย (Marie Louise d'Autriche) (พระนามเต็ม: มาเรีย ลูโดวิก้า ลีโอโพลดีน่า ฟรานซิสก้า เธเรเซีย โจเซฟ่า ลูเซีย, Maria Ludovika Leopoldina Francisca Theresia Josepha Lucia von Habsburg-Lorraine (Bonaparte)) ทรงเป็นอาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย ก่อนที่จะทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจักรวรรดิฝรั่งเศส และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ของนโปเลียน จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส และเมื่อปีพ.ศ. 2360 พระองค์ทรงเป็น ดัชเชสแห่งปาร์มา ปิอาเซนซ่า และกูแอสตาลล่า นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีมารี อังตัวเนตแห่งฝรั่งเศสอีกด้วย...

อาร์คดัชเชสมาเรีย ลูเซียทรงประสูติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2334กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทรงเป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) และพระมเหสีองค์ที่ 2 ของพระองค์ เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่าแห่งทู ซิชิลีส์ เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงได้รับการศึกษาด้านภาษาจากครูผู้สอนชาวเยอรมัน ตามพระบัญชาของสมเด็จพระราชชนกและสมเด็จพระราชชนนี ดังนั้น พระองค์จึงทรงสามารถตรัสและทรงอักษรเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาละติน และภาษาสเปน เป็นต้น อ่านต่อ ...

แก้ไข   

รูปภาพประจำเดือน

แก้ไข   

ข่าวเด่น

ลาซาเร ปอนติเชลลี (Lazare Ponticelli) เป็นหนึ่งในทหารกว่า 8.4 ล้านคนที่ได้ร่วมรบภายใต้ธงชาติฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นทหารผ่านศึกคนสุดท้ายในกองทัพฝรั่งเศสที่ได้ร่วมในมหาสงครามที่มีชีวิตยืนยาวที่สุด ปอนติเชลลีเสียชีวิตเมื่อวันพุธ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่บ้านพักในเครมลิน-บีแซ็ตร์ กรุงปารีส โดยมีอายุ 110 ปี

ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีได้ออกมาประกาศการเสียชีวิต และได้กล่าวว่าเป็นการเศร้าโศกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีนายทหารน้อยกว่า 24 คนที่เป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 และยังมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบัน ในปีนี้มีทหารผ่านศึกเสียชีวิตไปแล้ว 6 คน รวมถึงทหารผ่านศึกชาวเยอรมนีที่เพิ่งเสียชีวิตไปและต่อมาคือปอนติเชลลี่

การมีชีวิตรอดไม่ได้ถือว่าเป็นการประสอบความสำเร็จแต่อย่างใด และปอนติเชลลี่ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ในปีที่แล้วว่า "ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร" เขาได้กล่าวอยู่เสมอว่าเกียรติประวัตินั้นตกอยู่กับทหารฝรั่งเศสกว่า 1.3 ล้านคนที่ได้เสียชีวิตระหว่างสงคราม และเมื่อสัปดาห์เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรเบิร์ต เอ็ม. เกตส์ได้สดุดียกย่องทหารผ่านศึก โดยเฉพาะทหารผ่านศึกอเมริกันคนสุดท้ายที่ได้ถูกส่งไปรบในต่างประเทศ แฟรงค์ บักเคิลส์ ซึ่งมีอายุกว่า 107 ปี ในทางกลับกันรัฐบาลเยอรมนีกลับเพิกเฉยต่อการเสียชีวิตของทหารผ่านศึกชาวเยอรมนีคนสุดท้าย เอริช แคสต์เนอร์ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550

เมื่อฌากส์ ชีรักเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส เขาได้สาบานว่าจะแสดงความเคารพต่อทหารผ่านศึกคนสุดท้ายโดยให้มีงานศพอย่างสมเกียรติ แต่ปอนติเชลลี่กลับต่อต้านแนวความคิดของชีรัก โดยกล่าวว่ามันจะเป็นการลบหลู่ทหารคนอื่นๆ ที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยไม่มีพิธีหรืองานศพใดๆ

แต่หลังจากการเสียชีวิตในเดือนมกราคมของทหารผ่านศึกชาวฝรั่งเศส หลุยส์ เดอ กาเซอนาฟ (110 ปี) ปอนติเชลลี่ได้ตกลงที่จะให้มีงานระลึกเล็กๆ แด่เหล่าทหารผ่านศึกที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว "ไม่อึกทึกครึกโครม ไม่มีขบวน" เขากล่าว

แก้ไข   

เหตุการณ์ในประเทศฝรั่งเศส

แก้ไข   

รู้หรือไม่...?

แก้ไข   

คุณทำได้


คุณทำได้ คุณสามารถแปลบทความที่เกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศสจากภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ หรือภาษาใดๆ ก็ได้


แก้ไข   

แม่แบบที่เกี่ยวข้องกับประเทศฝรั่งเศส

แก้ไข   

สถานีย่อยอื่น ๆ

   ล้างแคชของหน้านี้ {แคชคืออะไร ?}