อาสนวิหารอ็องกูแลม
อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งอ็องกูแลม | |
---|---|
อาสนวิหารอ็องกูแลม | |
45°38′56″N 0°9′6″E / 45.64889°N 0.15167°E | |
ที่ตั้ง | อ็องกูแลม ประเทศฝรั่งเศส |
ประเทศ | ประเทศฝรั่งเศส |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
เว็บไซต์ | อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ (ค.ศ. 1840) |
สถานะ | อาสนวิหาร |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1017 |
ประเภทสถาปัตย์ | กางเขน |
รูปแบบสถาปัตย์ | โรมาเนสก์ |
ปีสร้าง | คริสต์ศตวรรษที่ 4 |
อาสนวิหารอ็องกูแลม (ฝรั่งเศส: Cathédrale d'Angoulême) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งอ็องกูแลม (Cathédrale Saint-Pierre d'Angoulême) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก[1] ประจำมุขมณฑลอ็องกูแลม ตั้งอยู่ที่เมืองอ็องกูแลม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ อาสนวิหารอ็องกูแลมซึ่งเป็นอาสนวิหารตัวอย่างโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ได้รับการสถาปนาเป็นอาสนวิหารในปี ค.ศ. 1017
ประวัติ
[แก้]อาสนวิหารแรกที่สร้างสร้างบนสถานที่เดิมเป็นศาสนสถานก่อนสมัยศาสนาคริสต์ ในอาสนวิหารอ็องกูแลมใช้เวลาสร้างทั้งหมดเริ่มสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 วัดถูกทำลายเมื่อโคลวิสที่ 1 เข้ามายึดเมืองหลังจากยุทธการที่วูเย ในปี ค.ศ. 507 อาสนวิหารต่อมาได้รับการสถาปนาในปี ค.ศ. 560 แต่ก็มาถูกเผาโดยชาวไวกิงและนอร์มันราวสองร้อยปีต่อมา
อาสนวิหารที่สามสร้างขึ้นภาพใต้การอำนวยการของบิชอปกรีมออาร์ อธิการอารามแซ็ง-ปีแยร์แห่งบร็องโตม และได้รับเสกในปี ค.ศ. 1017 เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ประชาชนเห็นพ้องกันว่าโบสถ์มีขนาดเล็กไปกว่าฐานะของเมือง การออกแบบอาสนวิหารใหม่ทำโดยบิชอปเฌราร์ที่ 2 ผู้เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของฝรั่งเศสในยุคนั้นผู้เป็น ศาสตราจารย์ สมณทูตสี่พระองค์ และเป็นศิลปินผู้มีฝีมือด้วย งานสร้างอาสนวิหารเริ่มขึ้นราวปี ค.ศ. 1110 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1128
ลักษณะรูปทรงของอาสนวิหารก็ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการซ่อมแซมและขยายตัวในช่วงหลายร้อยปีที่ตามมา เช่นหอระฆังที่ถูกทำลายไประหว่างสงครามศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกจากนั้นก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์โดยปอล อาบาดีระหว่างปี ค.ศ. 1866–1885 ที่รวมทั้งการสร้างหอใหม่สองหอที่คลุมด้วยหลังคาทรงกรวย จะมีก็แต่มุขด้านตะวันตกหรือด้านหน้าเท่านั้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสถาปัตยกรรมยุคกลาง
สถาปัตยกรรมและศิลปะ
[แก้]ด้านหน้าของอาสนวิหารตกแต่งด้วยประติมากรรมถึงกว่า 70 รูปที่จัดเป็นสองหัวข้อ "พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์" และ "การพิพากษาครั้งสุดท้าย" ที่ผสานกันอย่างกลมกลืน พระเยซูปรากฏพระองค์ในกรอบมันดอร์ลา (mandorla) ขณะที่ทูตสวรรค์สององค์ชี้ให้สาวกเห็นมโนทัศน์ ใบหน้าของผู้ศรัทธาภายใต้ซุ้มโค้งต่างก็มองไปทางพระมหาไถ่ ขณะที่ผู้สร้างบาปถูกผลักเข้าไปตามซอกซุ้มโค้งให้ถูกลงโทษเป็นเหยื่อของซาตาน นอกจากสองหัวข้อนี้แล้วประติมากรก็ยังสร้างภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตประจำวันที่รวมทั้งการล่าสัตว์
ภายในสิ่งก่อสร้างเป็นทางเดินกลางที่อยู่ภายใต้โดมสามโดม แขนกางเขนยาวจรดหอทางด้านเหนือและใต้ มุขตะวันออกเป็นชาเปลกระจายออกไปสี่ห้อง ตรงบริเวณจุดตัดระหว่างทางเดินกลางและแขนกางเขนเป็นโดมขนาดใหญ่ที่สร้างแทนโดมเดิมที่ถูกทำลายไประหว่างการถูกล้อมโดยกองกำลังฝ่ายโปรเตสแตนต์ในปี ค.ศ. 1568 เดิมแขนกางเขนส่องสว่างด้วยหอตะเกียง (lantern tower) สองหอ แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงหอเดียว (ปอล อาบาดี ได้ขยายต่อเติม และย้ายประติมากรรมของยุคกลางออกไป)
บริเวณร้องเพลงสวดครึ่งวงกลมขนามด้วยมุขขนาดเล็กสองมุขที่คลุมด้วยโดมครึ่งโดม
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ผังอาสนวิหาร
-
ด้านหน้าอาสนวิหาร
-
หอนาฬิกาและมุขโค้งด้านสกัด
-
หน้าบัน
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งอ็องกูแลม