ข้ามไปเนื้อหา

อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ

พิกัด: 51°00′45″N 1°30′15″E / 51.0125°N 1.5041°E / 51.0125; 1.5041
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งช่องแคบอังกฤษ (ช่องแคบโดเวอร์)
พิกัด51°00′45″N 1°30′15″E / 51.0125°N 1.5041°E / 51.0125; 1.5041
สถานะทำงาน
เริ่มต้นฟอล์กสโตน, เคนต์, อังกฤษ,
สหราชอาณาจักร
(51°05′50″N 1°09′21″E / 51.0971°N 1.1558°E / 51.0971; 1.1558 (Folkestone Portal))
สิ้นสุดCoquelles, จังหวัดปาดกาแล, แคว้นโอดฟร็องส์, ประเทศฝรั่งเศส
(50°55′22″N 1°46′49″E / 50.9228°N 1.7804°E / 50.9228; 1.7804 (Coquelles Portal))
การดำเนินงาน
เปิด
  • 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (1994-05-06) (อุโมงค์)
  • 1 มิถุนายน 1994 (บรรทุกสินค้า)
  • 14 พฤศจิกายน 1994 (บริการผู้โดยสาร)
เจ้าของGetlink
ผู้ดำเนินงาน
ลักษณะรถไฟส่งผู้โดยสารและสินค้า. รถรับส่งยานพาหนะ.
ข้อมูลทางเทคนิค
ความยาวสาย50.45 km (31.35 mi)
จำนวนทางรถไฟ2 อุโมงค์ไปทางเดี่ยว
1 อุโมงค์บริการ
ช่วงกว้างราง1,435 mm (4 ft 8 12 in) (สแตนดาร์ดเกจ)
ระบบจ่ายไฟฟ้า25 kV AC OHLE, 5.87 m[1]
ความเร็วปฏิบัติการ160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (99 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ภาพตัดขวาง แสดงโครงสร้างอุโมงค์
ภาพตัดตามยาว แสดงระดับอุโมงค์
แผนการสร้างอุโมงค์ในปี 1856

อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ (อังกฤษ: Channel Tunnel; ฝรั่งเศส: Le tunnel sous la Manche) เป็นอุโมงค์รถไฟใต้ทะเลที่สร้างเชื่อมระหว่างเมืองฟอล์กสโตน เทศมณฑลเคนต์ บริเตนใหญ่ กับตำบลกอแกล จังหวัดปาดกาแล ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อุโมงค์แห่งนี้สร้างลอดใต้ช่องแคบอังกฤษบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุด มีความกว้าง 34 กิโลเมตร

อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษมีความยาวทั้งสิ้น 50.5 กิโลเมตร มีส่วนที่อยู่ใต้ทะเลยาว 37.9 กิโลเมตร ส่วนที่อยู่ใต้น้ำต่ำที่สุดที่ 75 เมตรและลึกสุดที่ 230 เมตร[2][3]

อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษก่อสร้างและบริหารงานโดยบริษัท ยูโรทันเนล ซึ่งจัดการเดินรถไฟความเร็วสูงยูโรสตาร์ การก่อสร้างเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เปิดใช้งานอุโมงค์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994 การก่อสร้างใช้งบประมาณ 4,650 ล้านปอนด์ มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 80%[4]

แนวคิดในการก่อสร้างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ ได้รับการเสนอมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีการเสนอโครงการต่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในปี ค.ศ. 1856 ด้วยงบประมาณ 170 ล้านฟรังก์ (7 ล้านปอนด์) [5] และต่อวิลเลียม แกลดสตัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1865[5] แต่โครงการนี้ได้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากปัญหาด้านการเมือง ความมั่นคง และการป้องกันประเทศ

โครงการนี้ถูกนำมาพิจารณาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1955 โดยตัดปัญหาเรื่องการป้องกันประเทศออกไป เนื่องจากในขณะนั้นการรุกรานประเทศสามารถกระทำได้ด้วยการโจมตีทางอากาศ แต่โครงการก็ล่าช้าไปเนื่องจากปัญหาทางการเมืองในสหราชอาณาจักร จนกระทั่งปี ค.ศ. 1981 มาร์กาเรต แทตเชอร์ และฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้นำของทั้งสองประเทศจึงได้บรรลุข้อตกลงในการก่อสร้างอุโมงค์แห่งนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Institution of Civil Engineers (Great Britain) (1995). The Channel Tunnel: Transport systems, Volume 4. Vol. 108. Thomas Telford. p. 22. ISBN 9780727720245.
  2. "The Channel Tunnel". raileurope.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  3. "Turkey Building the World's Deepest Immersed Tube Tunnel". Popular Mechanics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-08. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  4. "Measuring Worth: Purchasing Power of the British Pound". Measuringworth.com. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  5. 5.0 5.1 "The Proposed Tunnel Between England and France". The New York Times. 1866-08-07. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
แผนที่พิกัดทั้งหมด กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML