ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:ประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยินดีต้อนรับสู่
สถานีย่อย:ประเทศจีน
วันนี้ตรงกับวันพุธที่ 25 เดือนธันวาคม พุทธศักราช 2567 เวลา 00:42 ~ (อัปเดต)

บทความแนะนำประจำเดือนธันวาคม^

แผนที่สามก๊ก
แผนที่สามก๊ก

สามก๊ก (อังกฤษ: Romance of the Three Kingdoms ; จีนตัวย่อ: 三国演义; จีนตัวเต็ม: 三國演義; พินอิน: Sānguó yǎnyì) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาและมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่งขึ้นประมาณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคสมัยราชวงศ์หยวน บทประพันธ์โดยหลอกว้านจง (จีน: 羅貫中) แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ. 2345 ในรูปแบบสมุดไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. 2408 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 2 โดยแปลหลังจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย(อ่านต่อ...)

 

บุคคลสำคัญของจีน^

เล่าจื๊อ (พินอิน: Lǎo zǐ; อังกฤษ: Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงชาวจีนที่สุดท่านหนึ่งของชนชาติจีน ที่เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 400 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching) (道德經) ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ เล่าจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางเต๋า ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรารู้จักเล่าจื๊อ (เหลาจื่อ) น้อยมาก แต่มีพงศาวดารจีนหลายชิ้นที่กล่าวถึงเล่าจื๊อ ในฐานะที่เป็นผู้แต่งคัมภีร์ เต๋าเต็กเก็ง หรือ เต้าเต๋อจิง ซึ่งเนื้อหาในคัมภีร์นี้ มีความสำคัญกับวัฒนธรรมจีนในรุ่นต่อๆมาอย่างมาก ถือได้ว่าเทียบเท่าได้กับ ขงจื๊อ ตามพงศาวดารระบุไว้ว่า เล่าจื๊อ เกิดในแคว้นขู่ (苦縣 Kǔ Xiàn) ซึ่งในปัจจุบันคือบริเวณ อำเภอลู่อี้ (鹿邑) ของมณฑลเหอหนาน บางตำนานกล่าวไว้ว่าเล่าจื๊อเมื่อเกิดมามีผมสีขาว และอยู่ในครรภ์มารดานานถึง 8 ทศวรรษ หรือ 80 ปี ชื่อของเล่าจื๊อแปลโดยนัยได้ 2 แบบว่า "อาจารย์ผู้อาวุโส" หรือ "เด็กผู้อาวุโส" เกิดที่หมู่บ้านชีเหยินลี อำเภอขู่เสี้ยน แคว้นฉู่ เมื่อวันที่ 15 เดือนยี่ ก่อนค.ศ.ราว 576 ปี (ก่อนพ.ศ. 33 ปี)

จากพงศาวดารของซือหม่าเซียน (Sima Qian) กล่าวว่า เล่าจื๊อมีอายุมากกว่าขงจื๊อ แต่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน และเคยได้พบปะเสวนากัน เล่าจื๊อได้ทำงานในราชวงศ์โจว ขงจื๊อและเล่าจื๊อได้มาพบเจอโดยบังเอิญกันในแคว้นโจว (ปัจจุบันคือแถบเมืองลั่วหยาง) โดยขงจื๊อได้มาค้นหาตำราในห้องสมุด จากเรื่องเล่านี้ ทั้งสองได้แลกเปลี่ยนทรรศนะคติความเห็นในหลายๆด้าน เป็นเวลาหลายเดือน หลังจากการเสวนาในครั้งนี้ ขงจื๊อกล่าวว่า "การได้เสวนากับท่านเล่าจื๊อ ถือว่าเป็นการศึกษาที่ล้ำลึก และดีเยี่ยมกว่าหนังสือในห้องสมุดเสียอีก" (อ่านต่อ...)

 

ข่าว^

  • สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ส่งสถานีอวกาศเทียนกง 1 ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของจีนและจะใช้ทดสอบพัฒนาขีดความสามารถการนัดพบและการเทียบท่าซึ่งจำเป็นสำหรับการสนับสนุนศูนย์อวกาศที่ใหญ่ขึ้นต่อไป (จาก:Xin hua)


  • ประเทศจีนปล่อยฉางเอ๋อ 2 (ภาพวาดในภาพ) ยานสำรวจอวกาศลำที่สองของประเทศ ขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 เวลา 18 นาฬิกา 59 นาที 57 วินาที(ตามเวลาท้องถิ่น) (จาก:ผู้จัดการ)
 

เรียนรู้ภาษาจีน^

คุณรู้หรือไม่?^

หอสมุดเซี่ยงไฮ้
หอสมุดเซี่ยงไฮ้

วันนี้มีอะไร?^

มีส่วนร่วม^

ภาพแนะนำ^

ซากโบสถ์เซนต์ปอล
 

บทความประเทศจีน^

 
 


สถานีย่อยอื่น :