ข้ามไปเนื้อหา

อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

พิกัด: 48°51′11″N 2°21′00″E / 48.85306°N 2.35000°E / 48.85306; 2.35000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มหาวิหารนอเทรอดาม)
อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส
ด้านหน้าทิศใต้และบริเวณกลางโบสถ์ของอาสนวิหารน็อทร์-ดามใน ค.ศ. 2017 สองปีก่อนเหตุอัคคีภัย
แผนที่
48°51′11″N 2°21′00″E / 48.85306°N 2.35000°E / 48.85306; 2.35000
ที่ตั้งParvis Notre-Dame – Place Jean-Paul-II, ปารีส
ประเทศFrance
นิกายโรมันคาทอลิก
เว็บไซต์www.notredamedeparis.fr/en/
ประวัติ
ชื่อเดิมแทนที่อาสนวิหารเอเตียน
สถานะอาสนวิหาร, มหาวิหารรอง
ก่อตั้ง24 มีนาคม ค.ศ. 1163 ถึง 25 เมษายน ค.ศ. 1163 (วางศิลาฤกษ์)
ผู้ก่อตั้งมอริส เดอ ซูว์ลี
เสกเมื่อ19 พฤษภาคม ค.ศ. 1182 (แท่นบูชาสูง)
Relics heldมงกุฎหนามศักดิ์สิทธิ์ ตะปูจากกางเขนแท้ และเศษไม้ของกางเขนแท้
สถาปัตยกรรม
สถานะการใช้งานเปิดใหม่ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2024
ประเภทสถาปัตย์กอทิก
รูปแบบสถาปัตย์กอทิกแบบฝรั่งเศส
ปีสร้าง1163–1345
งานฐานราก1163; 862 ปีที่แล้ว (1163)
แล้วเสร็จ1345; 680 ปีที่แล้ว (1345)
โครงสร้าง
อาคารยาว128 m (420 ft)
อาคารกว้าง48 m (157 ft)
เนฟสูง35 เมตร (115 ฟุต)[1]
จำนวนหอคอย2
ความสูงหอคอย69 m (226 ft)
จำนวนยอดแหลม1 (อันที่ 3, สร้างเสร็จในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2023)[2]
ความสูงยอดแหลม96 m (315 ft)
วัสดุหินปูนและหินอ่อน
ระฆัง10 (สัมฤทธิ์)
การปกครอง
อัครมุขมณฑลปารีส
นักบวช
อัครมุขนายกLaurent Ulrich
RectorOlivier Ribadeau Dumas
ฆราวาส
ผู้อำนวยการเพลงSylvain Dieudonné[3]
นักออร์แกนOlivier Latry (ตั้งแต่ ค.ศ. 1985);
Vincent Dubois [fr] (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016);
Thierry Escaich (ตั้งแต่ ค.ศ. 2024);
Thibault Fajoles (ผู้ช่วง assistant, ตั้งแต่ ค.ศ. 2024)
เกณฑ์I, II, IV[4]
ขึ้นเมื่อ1991
เป็นส่วนหนึ่งของปารีส ริมฝั่งแม่น้ำแซน
เลขอ้างอิง600
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนCathédrale Notre-Dame de Paris
ประเภทCathédrale
ขึ้นเมื่อ1862[5]
เลขอ้างอิงPA00086250
"ครีบยันลอย" (flying buttress) ที่ยื่นออกไปรอบบริเวณร้องเพลงด้านหลังโบสถ์

อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส[6] (ฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame de Paris [nɔtʁ(ə) dam də paʁi] ) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส อาสนวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส

การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นอาสนวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิก ประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น

น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบอาสนวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงเริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว

ในปี ค.ศ. 1793 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส โบสถ์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก อาสนวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำลาย

เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2019 เกิดเหตุเพลิงไหม้อาสนวิหาร สร้างความเสียหายอย่างหนัก โดยไฟได้โหมไหม้ตรงด้านบนของอาสนวิหาร (สาเหตุเพลิงไหม้ คาดว่าเกิดมาจากการบูรณะวิหารตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 จนถึงปัจจุบัน) บริเวณยอดแหลมของอาสนวิหารได้พังลง กระจกสีเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเยซูและคริสต์ประวัติได้รับความเสียหาย งานศิลปะบางส่วนได้รับความเสียหายเช่นกัน[7][8]

อาร์คบิชอปแห่งปารีส ลอแร็งต์ อุลริช ประกอบพิธีเปิดโบสถ์หลังการบูรณะหลังไฟไหม้ในวันที่ 6 ธันวาคม 2024 โดยมีประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง เข้าร่วม[9] และในวันที่ 8 ธันวาคม มีการจัดพิธีมิสซาอุทิศ ที่มีการประกอบพิธีเสกพระแท่นบูชาใหม่ ตามด้วยการประกอบพิธีมิสซาแก่สาธารณะในวันต่อ ๆ มา[10][11]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

คริสต์ศตวรรษที่ 4 – มีการสร้างอาสนวิหารนับุญเอเตียนที่อุทิศแด่นักบุญสตีเฟนทางตะวันตกของอาสนวิหารในปัจจุบัน[12]

การก่อสร้าง

[แก้]

เมื่อปี ค.ศ. 1160 บิชอปมอริส เดอ ซูว์ลี (Maurice de Sully) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งปารีส ท่านเห็นว่าโบสถ์ที่ตั้งอยู่เดิมไม่สมฐานะ จึงสั่งให้รื้อทิ้งไม่นานหลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งใหม่ ตามตำนานว่ากันว่าบิชอปเห็นภาพลักษณ์ของอาสนวิหารแห่งปารีสอันสวยงาม ท่านจึงรีบร่างแบบที่เห็นไว้บนทรายนอกโบสถ์เดิม ก่อนจะสร้างวิหารใหม่ต้องรื้อบ้านเรือนบริเวณนั้นออกไปหลายหลัง และต้องสร้างถนนใหม่เพื่อจะได้สะดวกต่อการขนวัสดุก่อสร้างได้สะดวก

อาสนวิหารเริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1163 ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ส่วนผู้วางศิลาฤกษ์นั้นไม่แน่ชัด บางหลักฐานว่าบิชอปซุลยีเอง บางหลักฐานว่าสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 เป็นผู้วาง แต่ที่แน่คือทั้งสองคนเข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ และตั้งแต่นั้นมาบิชอปซุลยีอุทิศชีวิตให้กับการสร้างอาสนวิหารนี้

เริ่มการก่อสร้างทางด้านหน้าหรือด้านตะวันตก (west front) ซึ่งมีหอคอยสองหอ เมื่อราวปี ค.ศ. 1200 ก่อนที่จะสร้างโถงกลางของตัวโบสถ์เสร็จ ซึ่งไม่ตรงกับหลักการสร้างสิ่งก่อสร้างตามแบบฉบับ โบสถ์นี้มีสถาปนิกหลายคนที่มีส่วนในการก่อสร้าง จะเห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปตามสมัยนิยมของสถาปนิก เป็นต้นว่าหอสองหอทางด้านตะวันตกจะไม่เท่ากัน

ระหว่างปี ค.ศ. 1210 ค.ศ. 1220 สถาปนิกคนที่สี่เป็นผู้ดูแลการสร้างระดับหน้าต่างกลมและโถงภายใต้หอ หอสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1245 และอาสนวิหารสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1345

อ้างอิง

[แก้]
  1. Watkin, David (1986). A History of Western Architecture. Barrie and Jenkins. p. 134. ISBN 0-7126-1279-3.
  2. Libert, Lucien (16 December 2023). "Notre-Dame rooster back on Paris cathedral's spire as renovation enters final stage". Reuters. สืบค้นเมื่อ 23 December 2023.
  3. "Musique Sacrée à Notre-Dame de Paris". msndp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
  4. Centre, UNESCO World Heritage. "Paris, Banks of the Seine". UNESCO World Heritage Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2024.
  5. Mérimée database 1993
  6. ตาม ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส
  7. "Paris' Notre Dame Cathedral on fire". CNBC (ภาษาอังกฤษ). 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
  8. https://www.bbc.com/thai/international-47940254
  9. "Paris prepares to host 50 heads of state at high-security reopening of Notre-Dame Cathedral". France 24. 2 December 2024. สืบค้นเมื่อ 6 December 2024.
  10. Notre Dame de Paris website, "Reopening Ceremonies". Retrieved 9 December 2024.
  11. Notre Dame de Paris website, "Octave of Reopening, December 8−15". Retrieved 9 December 2024.
  12. 12.0 12.1 Lours 2018, p. 292.
  13. Official website of Notre-Dame de Paris, 25 November 2024
  14. AP Contributor (December 13, 2024). "'Crown of Thorns' returns to Notre Dame Cathedral for public veneration". Associated Press. สืบค้นเมื่อ December 13, 2024. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]