แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
แนวรบด้านตะวันตก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง | |||||||
ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: ทหารราบไอริชในสนามเพลาะ ไม่กี่อึดใจก่อนบุกในยุทธการที่แม่น้ำซอมม์วันแรก; ทหารบริติชนำตัวสหายร่วมรบที่ได้รับบาดเจ็บจากสนามรบในยุทธการที่แม่น้ำซอมม์วันแรก; ทหารหนุ่มชาวเยอรมันพร้อมอาวุธปืนเล็กยาว 98อา-เกเวร์ ระหว่างยุทธการที่แก็งชี; ทหารราบอเมริกันบุกบังเกอร์เยอรมัน; เครื่องบินทิ้งระเบิดหนักโกทา เก.4; รถถังอเมริกันและเรโนลต์ เอฟที-17 กำลังเคลื่อนที่ในป่าอาร์กอนมุ่งหน้าสู่แนวหน้าระหว่างการรุกมิวส์-อาร์กอน วันที่ 26 กันยายน 1918 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา | ออสเตรีย-ฮังการี | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
กำลัง | |||||||
13,250,000[12] | |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
7,500,000
|
5,500,000
|
แนวรบด้านตะวันตก (อังกฤษ: Western Front) คือเขตสงครามหลักในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังสงครามอุบัติในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 กองทัพเยอรมันเปิดแนวรบด้านตะวันตกด้วยการบุกครองเบลเยียมและลักเซมเบิร์ก จากนั้นยังสามารถยึดครองแคว้นอุตสาหกรรมที่สำคัญของฝรั่งเศส ฝ่ายตั้งรับพลิกสถานการณ์ได้อย่างมากหลังยุทธการที่แม่น้ำมาร์น หลังการแข่งขันสู่ทะเล ทั้งสองฝ่ายต่างยึดที่มั่นตามแนวสนามเพลาะคดเคี้ยวและมีการเสริมความมั่นคงอย่างแน่นหนา ลากตั้งแต่ทะเลเหนือต่อเนื่องไปจนแนวชายแดนฝรั่งเศสด้านที่ติดกับสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยยกเว้นต้นปี 1917 และในปี 1918
ระหว่างปี 1915 ถึง 1917 เกิดการบุกใหญ่หลายครั้งในแนวรบด้านนี้ มีการระดมยิงปืนใหญ่และการบุกโดยใช้ทหารราบปริมาณมาก อย่างไรก็ตามด้วยการปักหลักในที่มั่น การวางปืนกล รั้วลวดหนาม และปืนใหญ่ล้วนก่อให้เกิดกำลังพลสูญเสียใหญ่หลวงระหว่างการเข้าตีและการตีโต้ตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ผลจึงไม่มีการบุกอย่างสำคัญ การบุกครั้งที่มีกำลังพลสูญเสียมากที่สุด ได้แก่ ยุทธการที่แวร์เดิง (ปี 1916) มีกำลังพลสูญเสียรวม 700,000 นาย (ประมาณการ), ยุทธการที่แม่น้ำซอม (ค.ศ. 1916) มีกำลังพลสูญเสียกว่า 1,000,000 นาย (ประมาณการ) และ ยุทธการที่ปอสเชินดาเลอ หรือยุทธการที่อีปส์ครั้งที่สาม (ปี 1917) มีกำลังพลสูญเสีย 487,000 นาย (ประมาณการ)
เพื่อยุติภาวะอับจนของการสงครามสนามเพลาะในแนวรบด้านตะวันตก ต่างฝ่ายต่างทดลองเทคโนโลยีทางทหารใหม่ ๆ รวมทั้ง แก๊สพิษ อากาศยาน และรถถัง การใช้ยุทธวิธีที่ดีขึ้นและการอ่อนกำลังของกองทัพทั้งสองฝ่ายในแนวรบด้านตะวันตกทำให้สถานการณ์กลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในปี 1918 การรุกฤดูใบไม้ผลิของเยอรมันในปี 1918 เกิดขึ้นได้จากสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ที่ยุติการสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างฝ่ายมหาอำนาจกลางกับรัสเซียและโรมาเนีย กองทัพเยอรมันใช้การระดมยิงปืนใหญ่ "เฮอร์ริเคน" สั้น ๆ แต่เข้มข้น และยุทธวิธีแทรกซึม ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปได้เกือบ 100 กิโลเมตรทางทิศตะวันตก นับเป็นการบุกได้มากที่สุดนับแต่ปี 1914 แต่ผลไม่เด็ดขาด
การบุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่หยุดไม่ได้ในการรุกร้อยวันปี 1918 ทำให้กองทัพเยอรมันล่มสลายอย่างฉับพลันและโน้มน้าวให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายเยอรมันเชื่อว่าหลีกเลี่ยงความปราชัยไม่พ้น รัฐบาลเยอรมันยอมจำนนในการสงบศึกวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 โดยมีการชำระสะสางเงื่อนไขสันติภาพในสนธิสัญญาแวร์ซายในปี 1919
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Canada in the First World War and the Road to Vimy Ridge". Veteran Affairs Canada. 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 5 December 2006.
- ↑ "First World War 1914–1918". Australian War Memorial. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 5 December 2006.
- ↑ Corrigan 1999, p. 57.
- ↑ Nicholson 2007, p. 237.
- ↑ "New Zealand and the First World War – Overview". New Zealand's History Online. สืบค้นเมื่อ 26 January 2007.
- ↑ Uys, I.S. "The South Africans at Delville Wood". The South south African Military History Society. สืบค้นเมื่อ 26 January 2007.
- ↑ McLaughlin 1980, p. 49.
- ↑ "2nd Battle of the Marne". Spartacus Educational. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-15. สืบค้นเมื่อ 7 January 2009.
- ↑ Rodrigues, Hugo. "Portugal in World War I". The First World War. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 26 January 2007. ดูเพิ่มที่โปรตุเกสในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ↑ Cockfield 1999, p. ix.
- ↑ "Thailand in the First World War". สืบค้นเมื่อ 10 December 2013. ดูเพิ่มที่ประเทศสยามในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ↑ 12.0 12.1 ILO 1925, p. 29.
- ↑ SWO 1922, p. 742.
- ↑ Ayres 1919, p. 105.
- ↑ Hosch 2010, p. 219.
- ↑ Tucker et al. 1999.
- ↑ 17.0 17.1 Maurel 2001, §1.
- ↑ Massimiliano, Fassero (2015). "The II Italian Corps deployment on the Western Front during the First World War (April 1918-May 1919)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-21. สืบค้นเมื่อ 6 March 2019.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Jones, Ian (May 2019). "The Austro-Hungarian Divisions on the Western Front, 1918" (PDF). สืบค้นเมื่อ 6 March 2019.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Grebler & Winkler 1940, p. 78.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Western Front Museum
- Articles on the Western Front in Lorraine & Alsace at Battlefields Europe เก็บถาวร 2011-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 'That Contemptible Little Army' by E. Alexander Powell. The British Army Seen by an American Journalist in 1916
- Information and multimedia on the Western Front. An interactive forum area where Western front stories and pictures can be posted เก็บถาวร 2012-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Watch clips from the Australian War Memorial's collection of films made on the Western Front 1917–1918 on the National Film and Sound Archive's australianscreen online
- "Our Part in the Great War" by Arthur Gleason 1917. Includes quotations from German Army War Diaries of 1914
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน
- แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
- สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- จักรวรรดิบริติชในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- จักรวรรดิเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- สหราชอาณาจักรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- สหรัฐในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- อิตาลีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- โปรตุเกสในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- แคนาดาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ประเทศสยามในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์