พ.ศ. 2410
หน้าตา
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2410 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1867 MDCCCLXVII |
Ab urbe condita | 2620 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1316 ԹՎ ՌՅԺԶ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6617 |
ปฏิทินบาไฮ | 23–24 |
ปฏิทินเบงกอล | 1274 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2817 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 30 Vict. 1 – 31 Vict. 1 |
พุทธศักราช | 2411 |
ปฏิทินพม่า | 1229 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7375–7376 |
ปฏิทินจีน | 丙寅年 (ขาลธาตุไฟ) 4563 หรือ 4503 — ถึง — 丁卯年 (เถาะธาตุไฟ) 4564 หรือ 4504 |
ปฏิทินคอปติก | 1583–1584 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3033 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1859–1860 |
ปฏิทินฮีบรู | 5627–5628 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1923–1924 |
- ศกสมวัต | 1789–1790 |
- กลียุค | 4968–4969 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11867 |
ปฏิทินอิกโบ | 867–868 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1245–1246 |
ปฏิทินอิสลาม | 1283–1284 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเคโอ 3 (慶応3年) |
ปฏิทินจูเช | N/A |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 12 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4200 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | 45 ก่อน ROC 民前45年 |
พุทธศักราช 2410 ตรงกับ
- 5 เมษายน ค.ศ. 1867 - 23 มีนาคม ค.ศ. 1868 (นับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่)
- ค.ศ. 1867 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ค.ศ. 1868 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1229 (วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- มหาศักราช 1789
- รัตนโกสินทรศก 86
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์ไทย: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่: พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง: เจ้าวรญาณรังษี
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: เจ้าอนันตวรฤทธิเดช
- เจ้าผู้ครองนครแพร่: พระยาพิมพิสารราชา
- เจ้าประเทศราช:
- จักรพรรดิจีน: จักรพรรดิถงจื้อ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 - 12 มกราคม พ.ศ. 2418)
- จักรพรรดิญี่ปุ่น: จักรพรรดิเมจิ (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455)
- พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร: สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (20 มิถุนายน พ.ศ. 2380 - 22 มกราคม พ.ศ. 2444)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม - มีนาคม
[แก้]- 18 มกราคม - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งราชทูตไปประจำ ณ กรุงปารีส
- 30 มกราคม - จักรพรรดิโคเมสวรรคตอย่างกระทันหันด้วยพระชนมายุเพียง 36 พรรษา ทิ้งพระราชโอรสพระชนมายุเพียง 14 พรรษาไว้สืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิเมจิ
- 3 กุมภาพันธ์ - โชกุน โทกูงาวะ โยชิโนบุสละตำแหน่ง และเจ้าชายมุตสึฮิโตะ พระราชโอรสของจักรพรรดิโคเม ขึ้นเป็นจักรพรรดิเมจิในพระราชพิธีสั้น ๆ ที่เกียวโต เป็นการสิ้นสุดรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
- 21 กุมภาพันธ์ - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จำลองปราสาทนครวัด ไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์
- 23 กุมภาพันธ์ - สุริยุปราคาวงแหวน (ทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก และทวีปแอฟริกา)[1]
- 15 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ขึ้นเป็นกรมขุนพินิตประชานารถ
เมษายน - มิถุนายน
[แก้]- 9 เมษายน - การซื้ออะแลสกา: วุฒิสภาสหรัฐอเมริกาตกลงที่จะซื้ออะแลสกาจากประเทศรัสเซีย
- 3 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตวิสามัญ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายไทยประจำยุโรป
- 19 มิถุนายน - จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเม็กซิโก ทรงถูกสำเร็จโทษโดยการยิงเป้า
กรกฎาคม - กันยายน
[แก้]- 1 กรกฎาคม - รัฐแคนาดา รัฐนิวบรันสวิก และรัฐโนวาสโกเชีย ผนวกกันเป็นสมาพันธรัฐแคนาดา
- 5 กรกฎาคม - แอนนา ลีโอโนเวนส์ เดินทางจากสยามกลับไปอังกฤษ
- 15 กรกฎาคม - ไทยจำต้องยอมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส รับรองให้เขมรส่วนนอกด้านติดกับโคชินไชนารวมเกาะอีก 6 เกาะ เป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสบังคับกษัตริย์นโรดมแห่งกัมพูชาให้ยอมยกดินแดนดังกล่าวไปอยู่ใต้การปกครองของตนในปี พ.ศ. 2406 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๔)
- 29 สิงหาคม - สุริยุปราคาเต็มดวง (ตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้และมหาสมุทรแอตแลนติก)[1]
- 30 สิงหาคม - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นพระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ อันเป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดที่ราชทูตไทยได้รับ นับเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยา
- 14 กันยายน - จันทรุปราคาบางส่วน[2] (เห็นได้ในสยาม)
- 30 กันยายน - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเซอร์ จอห์น เบาริง เป็นอัครราชทูตพิเศษไทย ประจำกรุงลอนดอน
ตุลาคม - ธันวาคม
[แก้]- 18 ตุลาคม - สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองดินแดนอะแลสกาอย่างเป็นทางการ หลังจากซื้อมาจากประเทศรัสเซีย
- 9 พฤศจิกายน - รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะถวายพระราชอำนาจคืนแด่สมเด็จพระจักรพรรดิ เริ่มต้นการการฟื้นฟูสมัยเมจิ
- 12 พฤศจิกายน - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เรือพระที่นั่งอรรคเรศรัตนอาสน์ ออกไปรับผู้ว่าราชการเมืองมาเก๊า ซึ่งได้เชิญพระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการของกษัตริย์โปรตุเกสมาถวาย จากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพฯ
- 21 พฤศจิกายน - หนังสือแสดงกิจจานุกิจ ตีพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรก เป็นหนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และศาสนาอย่างทันสมัยที่สุด จัดพิมพ์โดยเจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- คาร์ล มาร์กซ ตีพิมพ์หนังสือ ทุน (Das Kapital) ฉบับแรก
- สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองหมู่เกาะมิดเวย์
- อัลเฟร็ด โนเบล จดสิทธิบัตรไดนาไมต์
วันเกิด
[แก้]- 16 เมษายน - เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ (ถึงแก่อสัญกรรม 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459)
- 16 เมษายน - วิลเบอร์ ไรต์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2455)
- 22 เมษายน - เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม (ถึงแก่อสัญกรรม 1 มีนาคม พ.ศ. 2504)
- 24 พฤษภาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพศรีสอาด พระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 (สิ้นพระชนม์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2453)
- 26 พฤษภาคม - แมรีแห่งเทก สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร (สวรรคต24 มีนาคม พ.ศ. 2496)
- 27 พฤษภาคม - อาร์โนลด์ เบนเน็ตต์ นักเขียนชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 27 มีนาคม พ.ศ. 2473)
- 8 มิถุนายน - แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 9 เมษายน พ.ศ. 2502)
- 7 พฤศจิกายน - มารี กูรี นักเคมีชาวโปแลนด์ (ถึงแก่กรรม 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2477)
- 19 ธันวาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ พระราชธิดาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2485)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- สก็อต จอปลิน นักดนตรีและคีตกวีชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 1 เมษายน พ.ศ. 2460)
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 30 มกราคม - จักรพรรดิโคเม (พระราชสมภพ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2374)
- 19 มิถุนายน - จักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งเม็กซิโก (พระราชสมภพ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2375)
- 25 สิงหาคม - ไมเคิล ฟาราเดย์ นักฟิสิกส์และนักเคมีชาวอังกฤษ (เกิด 22 กันยายน พ.ศ. 2334)
- 19 กรกฎาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ 6 มีนาคม พ.ศ. 2365)
- 31 กรกฎาคม - หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) นักเขียนชาวไทย (เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2363)
อ้างอิง
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พ.ศ. 2410
- ↑ 1.0 1.1 Solar Eclipses: 1801 to 1900 เก็บถาวร 2008-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Fred Espenak/Jean Meeus, NASA/GSFC (อังกฤษ)
- ↑ Lunar Eclipses: 1801 to 1900 เก็บถาวร 2008-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Fred Espenak/Jean Meeus, NASA/GSFC (อังกฤษ)