ข้ามไปเนื้อหา

กอร์ดอน บราวน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กอร์ดอน บราวน์
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
(2 ปี 318 วัน)
กษัตริย์เอลิซาเบทที่ 2
ก่อนหน้าโทนี แบลร์
ถัดไปเดวิด คาเมรอน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ก่อนหน้าเคนเนท คลาร์ก
ถัดไปอลิสแตร์ ดาร์ลิง
หัวหน้าพรรคแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2550 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าโทนี แบลร์
ถัดไปแฮเรียต ฮาร์แมน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (73 ปี)
เรนฟริวเชอร์, สกอตแลนด์
ศาสนาคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์
พรรคการเมืองพรรคแรงงาน
คู่สมรสซาราห์ บราวน์

เจมส์ กอร์ดอน บราวน์ (อังกฤษ: James Gordon Brown; 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494) เป็นชาวสกอตแลนด์ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรและควบตำแหน่งลอร์ดแห่งสภาการคลัง, รัฐมนตรีการสวัสดิการสังคม และหัวหน้าพรรคแรงงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งในฐานะหัวหน้าพรรคแรงงานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยก่อนหน้านั้นเขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนายโทนี แบลร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2540–2550 และดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งเขตเคิร์คแคลดีและเขตคาวเดินบีธมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527[1]

ชีวิตในช่วงต้น

[แก้]

นายบราวน์เกิดที่เขตกิฟฟ์นอค, เรนฟริวเชอร์, สกอตแลนด์ โดยบิดาชื่อนายจอห์น อีเบเนเซอร์ บราวน์ ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาคริสต์นิกายเชิร์ชออฟสกอตแลนด์ เป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากต่อนายบราวน์ ใน พ.ศ. 2541 บิดาของนายบราวน์เสียชีวิตลงด้วยวัย 84 ปี ส่วนมารดาของเขาน์มีชื่อว่าเจสซี อลิซาเบธ ซูเตอร์ (เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2547 ด้วยวัย 86 ปี) บราวน์ได้รับการเลี้ยงดูร่วมกับพี่น้องคือจอห์น บราวน์ และแอนดรูว์ บราวน์ โดยอาศัยอยู่ในบ้านสำหรับพระสอนศาสนาในเมืองเคิร์กคาลดี ซึ่งบ่อยครั้งทำให้เขาถูกกล่าวถึงในฐานะ "บุตรชายแห่งเคหาสน์พระ" (son of the manse) บราวน์เริ่มต้นรับการศึกษาที่โรงเรียนประถมเคิร์คแคลดีดีตะวันตก ที่ซึ่งเขาได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนหลักสูตรเรียนเร่งรัดแบบทดลอง นั่นทำให้เขาสามารถเข้าศึกษาที่โรงเรียนมัธยมเคิร์คแคลดีได้เร็วกว่ากำหนด 2 ปี เมื่อมีอายุได้ 16 ปี เขาเขียนไว้ว่าเขารังเกียจและขุ่นเคืองการทดลองอัน "น่าหัวเราะ" ต่อเยาวชนเช่นนี้

ช่วงอายุ 16 ปี มหาวิทยาลัยเอดินบะระรับเขาเข้าศึกษาด้านประวัติศาสตร์ แต่เขาต้องทรมานจากอาการจอประสาทตาลอก (Retinal Detachment) หลังจากถูกเตะที่ศีรษะระหว่างแข่งขันรักบี้ปลายเทอมนัดหนึ่งเมื่อครั้งศึกษาที่โรงเรียนเก่า ถึงแม้จะรับการรักษาตั้งแต่การผ่าตัดหลายครั้งไปจนถึงการนอนในห้องมืดเป็นเวลาหลายสัปดาห์ แต่ท้ายที่สุดตาซ้ายของเขาก็บอดในเวลาต่อมา ส่งผลให้ตั้งแต่นั้นมาเขาจึงต้องใส่ลูกตาเทียมแทน เมื่อเข้าศึกษาที่เอดินบะระ ขณะกำลังเล่นเทนนิสเขาสังเกตถึงอาการลักษณะเดียวกันกับตาข้างขวา เขาจึงเข้ารับการศัลยกรรมที่โรงพยายาลหลวงแห่งเอดินบะระ (Edinburgh Royal Infirmary) ซึ่งทำให้สามารถรักษาตาข้างขวาไว้ได้ทัน

บราวน์สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิตศิลปศาสตร์เกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระเมื่อ พ.ศ. 2506 และอยู่ศึกษาต่อจนได้รับปริญญาเอกใน พ.ศ. 2515 จากวิทยานิพนธ์หัวข้อ พรรคแรงงานและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสก็อตแลนด์ปี พ.ศ. 2461-2472 (The Labour Party and Political Change in Scotland 1918-1929) เดิมทีบราวน์ตั้งใจให้วิทยานิพนธ์ครอบคลุมตั้งแต่พัฒนาการของคณะแรงงานตั้งแต่ครสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นไป แต่ต่อมาได้ลดลงเหลือเพียงการอธิบายถึง "การดิ้นรนของพรรคแรงงานเพื่อตั้งมั่นตนเองเป็นตัวเลือกแทนพรรคอนุรักษนิยมในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20"

ใน พ.ศ. 2515 ถึงแม้จะยังเป็นเพียงนักศึกษา บราวน์ก็ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการแห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระเป็นผู้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี พ.ศ. 2518 ในช่วงนั้นเขายังเป็นบรรณาธิการหนังสือ เดอะเรดเพเพอร์ออนสกอตแลนด์ (The Red Paper on Scotland) เขาทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายวิชาชั่วคราวที่เอดินบะระ แต่ถูกปฏิเสธที่จะให้ทำหน้าที่เป็นการถาวรเนื่องจากความเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เขาได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้บรรยายวิชาสาขารัฐศาสตร์ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งกลาสโกลว์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2523 หลังจากนั้นเขาก็เข้าทำงานเป็นนักข่าวประจำสถานีโทรทัศน์แห่งสกอตแลนด์ และได้เป็นบรรณาธิการข่าวสังคมและการเมืองจวบจนได้รับการเลือกตั้งเข้ารัฐสภาในปี พ.ศ. 2526

ในการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2522 นายบราวน์เป็นตัวแทนลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตเอดินบะระใต้ แต่พ่ายแพ้ผู้ลงสมัครจากพรรคอนุรักษนิยม นายไมเคิล แอนแครม

รัฐสภาและตำแหน่งในฝ่ายค้าน

[แก้]

นายบราวน์ได้รับการเลือกตั้งเข้ารัฐสภาในการลงสมัครครั้งที่ 2 ในฐานะตัวแทนลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคแรงงานเขตดันเฟิร์มไลน์ตะวันออก ในการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2526 และรับตำแหน่งโฆษกฝ่ายค้านด้านการพาณิชย์และอุตสาหกรรมใน พ.ศ. 2528 ถัดมาหนึ่งปีใน พ.ศ. 2529 นายบราวน์ตีพิมพ์ชีวประวัติของนักการเมืองพรรคแรงงานอิสระ นายเจมส์ แม็กซ์ตัน ซึ่งเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา และดำรงตำแหน่งเลขาธิการเงาเอกสภาการคลังตั้งแต่ พ.ศ. 2530–2532 ซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมก่อนจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีเงากระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2535

หลังจากการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของนายจอห์น สมิธ ผู้นำพรรคแรงงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537 บราวน์ถูกคาดหมายว่าจะเป็นผู้นำพรรคคนต่อไป แต่ในท้ายที่สุดเขาไม่ได้ลงสมัครเป็นหัวหน้าจนกระทั่งนายโทนี แบลร์ กลายมาเป็นที่ชื่นชอบของสมาชิกพรรค นอกจากนี้ยังมีข่าวลือมานานแล้วว่านายแบลร์และนายบราวน์ได้มีการทำข้อตกลงกันที่ภัตตาคารแกรนิตาในเขตอิสลิงตัน, ลอนดอน โดยตกลงกันว่าจะให้นายบราวน์ได้ควบคุมนโยบายเศรษฐกิจเป็นการตอบแทนที่บราวน์ไม่ลงสมัครแข่งขันกับนายแบลร์ในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค ไม่ว่าเรื่องนี้จะเป็นความจริงหรือไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองคนถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของความรุ่งโรจน์ของ พรรคแรงงานโฉมใหม่ และส่วนใหญ่แล้วทั้งสองยังคงดูมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันต่อหน้าสาธารณชน แม้จะมีข่าวลือถึงความขัดแย้งส่วนตัวที่รุนแรงก็ตาม

ในฐานะรัฐมนตรีเงา นายบราวน์ทำงานเพื่อนำเสนอตนเองในฐานะผู้มีความสามารถพอจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคธุรกิจและชนชั้นกลางว่าพรรคแรงงานเป็นที่ไว้วางใจได้ในการบริหารเศรษฐกิจโดยไม่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินไป, อัตราการว่างงานสูงขึ้น หรือการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ทศวรรษที่ 1970 (พ.ศ. 2513–2522) เขาให้คำมั่นสัญญาอย่างเปิดเผยว่าจะดำเนินตามแผนการใช้จ่ายของพรรคอนุรักษนิยมในช่วง 2 ปีแรกของการเข้ารับตำแหน่ง ต่อมาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการแบ่งเขตเลือกตั้งในสกอตแลนด์ เขาก็ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาเขตเคิร์คแคลดีและเขตคาวเดินบีธในปี พ.ศ. 2548

บทบาทในฐานะรัฐมนตรี

[แก้]

ช่วงเวลา 10 ปี 2 เดือน ของเขาในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สร้างสถิติใหม่ ๆ ขึ้นหลายอย่างเช่น เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่มาจากพรรคแรงงานซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเวลายาวนานที่สุดและเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับแต่นิโคลัส แวนซิตทาร์ต ซึ่งเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่พ.ศ. 2355–2366 อย่างไรก็ตามวิลเลียม แกลดสโตน คือรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมนานที่สุดคือ 12 ปี 4 เดือน จากการดำรงตำแหน่ง 4 วาระระหว่าง พ.ศ. 2395–2425

เว็บไซต์ของสำนักนายกรัฐมนตรียกย่องความสำเร็จ 3 อย่างเป็นพิเศษในช่วงเวลา 10 ปีของการดำรงตำแหน่งของนายบราวน์คือ

อ้างอิง

[แก้]