ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยศิลปากร

พิกัด: 13°45′10.93″N 100°29′27.98″E / 13.7530361°N 100.4911056°E / 13.7530361; 100.4911056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Silpakorn University
ตราพระคเณศ
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมโรงเรียนประณีตศิลปกรรม
ชื่อย่อมศก. / SU[1]
คติพจน์Ars longa vita brevis
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา12 ตุลาคม พ.ศ. 2486; 81 ปีก่อน (2486-10-12)[2]
ผู้สถาปนาศิลป พีระศรี
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ1,592,307,100 บาท
(พ.ศ. 2568)[3]
นายกสภาฯศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ
อธิการบดีศาสตราจารย์ เภสัชกร ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์
อาจารย์1,289 คน (พ.ศ. 2565)
บุคลากรทั้งหมด2,904 คน (พ.ศ. 2565)
ผู้ศึกษา28,456 คน (พ.ศ. 2560)[4]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตพื้นที่และวิทยาเขต
4
  • พื้นที่ท่าพระ
  • วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
  • พื้นที่เมืองทองธานี
เพลงซานตาลูชีอา (Santa Lucia)
ศิลปากรนิยม
กลิ่นจัน
สี  สีเขียวตั้งแช (สีเขียวเวอร์ริเดียน)[5]
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Silpakorn University; อักษรย่อ: มศก. – SU)[1] เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ห้าของประเทศไทย แต่เดิมมีชื่อเสียงทางด้านศิลปะ การออกแบบ สถาปัตยกรรม และดนตรี แต่ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา

มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัด กรมศิลปากร" ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "โรงเรียนศิลปากร" และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น ได้พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร"[6] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนมาบริหารจัดการแบบมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร

[แก้]
ต้นกร่าง หรือ ปู่กร่างแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการบันทึกให้เป็นต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครจากการสำรวจของกรุงเทพมหานคร มีความสูงมากกว่า 25 เมตร[7]

มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[8] เดิมคือ "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัด กรมศิลปากร" ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2476 โดยหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น และ พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) มี ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี หรือชื่อเดิม กอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) ชาวอิตาลีซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทยในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาจารย์ผู้สอนหลัก โดยใช้พื้นที่วังกลางและวังตะวันออกของ วังท่าพระ ซึ่งในตอนนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จไปประทับตำหนักปลายเนินแล้ว รัฐบาลจึงรับซื้อมาจากทายาทของพระองค์ และทำการเปิดสอนให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ต่อมา พ.ศ. 2478 ได้รวมเอาโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ที่ตั้งอยู่วังหน้าไว้ด้วย พร้อมเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนศิลปากร"

วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) อธิบดีกรมศิลปากร ได้พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร"[6] เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะวิทยาการและภูมิปัญญาเพื่อสังคม พร้อมทั้งจัดตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) โดย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นคณบดีคนแรก และใน พ.ศ. 2498 ได้จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีศาสตราจารย์ พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ก่อตั้ง (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) และ คณะโบราณคดี จากการวางรากฐานโดย ศาสตราจารย์ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) และหลังจากนั้นได้จัดตั้ง คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งได้แยกตัวจากคณะจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในปีต่อมา และ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นคณบดีคนแรก

ต่อมาเมื่อผู้แทนของ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ให้คำแนะนำในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยให้มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการสากล คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการปรับปรุงมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายการศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปะและโบราณคดีเท่านั้น ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ดำเนินการจัดตั้ง คณะอักษรศาสตร์ ขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 และเป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตแห่งใหม่ คือ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และคณะอักษรศาสตร์ได้ถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ตลอดมา และได้ทำการจัดตั้ง คณะศึกษาศาสตร์ ขึ้นใน พ.ศ. 2513 คณะวิทยาศาสตร์ ใน พ.ศ. 2515 คณะเภสัชศาสตร์ ใน พ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใน พ.ศ. 2535 (ปัจจุบันคือ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม)

เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 36 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 และเพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น จึงเริ่มจัดตั้ง คณะดุริยางคศาสตร์ ใน พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อโครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำริของ ศาสตราจารย์ ดร. ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีผู้อำนวยการคนแรก คือ เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ และทำการจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรที่สำนักงานอธิการบดีตลิ่งชัน

ใน พ.ศ. 2542 ศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อธิการบดีในขณะนั้น จึงขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในการย้ายวิทยาเขตใหม่ไปที่ หมู่ที่ 1 หมู่บ้านไร่ใหม่พัฒนา ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และมีแผนในการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตรขึ้นเป็นคณะแรก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าพื้นที่โดยรอบมีประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มหาวิทยาลัยจะได้ให้บริการได้โดยตรง จากการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2544 ได้อนุมัติโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง อาจารย์ ดร. สุภสร ชโยวรรณ เป็นผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร

ต่อมาสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2544 จึงได้เปลี่ยนชื่อจากโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นโครงการจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และอนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ในปัจจุบัน) และใน พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดตั้ง คณะวิทยาการจัดการ เป็นคณะวิชาลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร จากนั้นคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรจึงได้ย้ายมาเปิดการเรียนการสอนเต็มรูปแบบที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ตามด้วยการจัดตั้ง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อม วิทยาลัยนานาชาติ ใน พ.ศ. 2546 เป็นสองคณะวิชาล่าสุด

วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2559" โดยได้ยกเลิก "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2530[9] และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541[10]" และกำหนดให้มหาวิทยาลัยมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559[11]

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ครอบคลุมทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีหน่วยงานจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 14 คณะวิชา และ บัณฑิตวิทยาลัย ใน 3 วิทยาเขต ได้แก่ วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศิลปากร

[แก้]

ชื่อและความหมาย

[แก้]

มหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้คำว่า "ศิลปากร" (อ่านว่า สิน–ละ–ปา–กอน) เป็นชื่อภาษาไทยของมหาวิทยาลัย และใช้อักษรโรมันว่า "Silpakorn"

"ศิลปากร" เป็นคำสนธิระหว่าง "ศิลป" หมายถึง ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร และ "อากร" หมายถึง บ่อเกิด, ที่เกิด ดังนั้น "ศิลปากร" จึงมีความหมายว่า "บ่อเกิดแห่งศิลปะ"

อีกทั้งชื่อของมหาวิทยาลัยศิลปากร ยังพ้องกับชื่อของ กรมศิลปากร เนื่องจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร" และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "โรงเรียนศิลปากร" จนกระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ในปัจจุบัน ซึ่งชื่อ "ศิลปากร" นั้นมาจาก

...แยกการช่างที่เป็นประณีตศิลปไว้ส่วนหนึ่ง แลให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ มารวมกันตั้งขึ้นเป็น "กรมศิลปากร" มีผู้บัญชาการกรมขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน...

— พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชโองการ ณ วันที่ 27 มีนาคม ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454)[12], left

ดังนั้น การใช้ชื่อ "ศิลปากร" จึงดูเหมาะสมและถูกต้อง เพราะมหาวิทยาลัยศิลปากรมีความเกี่ยวข้องกับกรมศิลปากรในอดีต ต่อมาในสมัยที่ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอธิการบดีมหาวิทยาลัย ได้แยกมหาวิทยาลัยศิลปากรกับกรมศิลปากรออกจากกัน ในปัจจุบันทั้งสองส่วนราชการจึงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแล้ว

สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยศิลปากร

[แก้]

พระคเณศ เป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ทั้งยังเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ พระหัตถ์ขวาบนทรงตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างทรงงาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนทรงปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงครอบน้ำ ประทับบนบัลลังก์เมฆที่เขียนด้วยลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" โดยประกาศใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2494[13] ซึ่งคล้ายคลึงกับกรมศิลปากร

และเมื่อมหาวิทยาลัยศิลปากรปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยได้มีประกาศใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่แทนตราสัญลักษณ์ครุฑเพื่อใช้ในหนังสือราชการ หนังสือประทับตรา บันทึกข้อความ คำสั่ง และประกาศต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559[14]

การศึกษา

[แก้]

มหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ครอบคลุมทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีหน่วยงานจัดการเรียนการสอนทั้งหมด ดังต่อไปนี้[15]

คณะกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

[แก้]


วิทยาเขต

[แก้]

วังท่าพระ

[แก้]

วังท่าพระ ตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังและท่าช้างวังหลวง มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เดิมเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นวิทยาเขตแรกและเป็นจุดกำเนิดของมหาวิทยาลัย

เป็นที่ตั้งของ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะโบราณคดี คณะมัณฑนศิลป์ และหอศิลป์ต่าง ๆ และยังรวมไปถึงพื้นที่...

ตลิ่งชัน

[แก้]

เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี คณะดุริยางคศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ และ บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

[แก้]

เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ม.ทับแก้ว" ตั้งอยู่ในบริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา แต่ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยเพียง 428 ไร่

เป็นที่ตั้งของ คณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเปิดให้มีการเรียนการสอนแบบสหศึกษาแก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษาปีที่ 1–6 และชั้นมัธยมปีที่ 1–6 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการต่าง ๆ

สาเหตุที่เลือกจังหวัดนครปฐมเป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ พระราชวังสนามจันทร์ เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยเหตุผลดังนี้

  • ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทางโบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะทางวรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์
  • ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากรอยู่แล้ว
  • ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

[แก้]

สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคของประเทศไทยในรูปแบบของวิทยาเขตสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงมีปณิธานและปรัชญาการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่พื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ ให้ใช้ที่ราชพัสดุ ณ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 621 ไร่ และได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โดยกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ใช้พื้นที่เพิ่มเติม จำนวน 200 ไร่ เพื่อรองรับการเรียนการสอนของ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

เป็นที่ตั้งของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคลังโบราณวัตถุของคณะโบราณคดี

สถานที่สำคัญ

[แก้]

วังท่าพระ

[แก้]
  • ประตูและกำแพงวังท่าพระ

กำแพงก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาประกอบ กำแพงนี้คาดว่าก่อสร้างพร้อมกับ วังท่าพระ ตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะด้านริมถนนหน้าพระลาน ถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

  • ท้องพระโรงและกำแพงแก้ว

ปัจจุบันเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัย ลักษณะท้องพระโรงเป็นแบบเรือน 5 ห้อง เฉลียงรอบหันหน้ายาวออกหน้าวัง รูปทรงท้องพระโรงที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นภายนอกคงยึดตามแบบที่ปรากฏเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ภายในคงไว้แต่เสาเดิม มีบันไดใหญ่เข้าทางด้านหน้าได้ทางเดียว กำแพงนั้นเป็นสถาปัตยกรรมใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลูกกรงที่ทำด้วยเหล็กหล่อเป็นลายสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

  • ตำหนักกลางและตำหนักพรรณราย

สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรุ่นแรก ๆ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือเป็นตึกสองชั้น มีเฉลียงหลังหนึ่งหันเข้าหาอีกหลังหนึ่ง ส่วนหลังนอกนั้นอยู่ข้างสวนแก้ว ตึกหลังในที่มีเฉลียงทำเรียบกว่าหลังนอก และมีเสาทึบ หัวเสาเป็นแบบศิลปะโรมัน ช่องคูหาด้านล่างเป็นช่องโค้ง มีการตกแต่งที่ส่วนต่าง ๆ ภายนอกอาคารเล็กน้อย ส่วนตึกหลังนอกมีรูปทรงทึบกว่า มีการตกแต่งผิวหนังโดยการเซาะเป็นร่องในชั้นล่าง ส่วนชั้นบนผนังเรียบ มีเสาติดผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูต่าง ๆ ด้วยลายปูนปั้นหรือตีตารางไม้ไว้ในช่องแสงเหนือประตูบางส่วน ตึกหลังนอกมีกันสาด มีเท้าแขนรับกันสาดทำอย่างเรียบ ๆ และประดับชายคาด้วยลายฉลุไม้ ตึกหลังในนี้เป็นที่ประทับของ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมารดาของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยตำหนักกลางนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของหอศิลป์และหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

  • ศาลาในสวนแก้ว

เรียกว่า ศาลาดนตรี เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์เจ้าของวังเคยประทับที่ศาลานี้เพื่อชมการแสดงหรือประชันดนตรีซึ่งจะตั้งวงกันในสวนแก้ว เพราะในวังท่าพระขณะนั้นมีวงดนตรีประจำวังที่มีชื่อเสียง ศาลาในสวนนี้ทำเป็นศาลาโปร่งมีผนังด้านเดียว หันหน้าเข้าหาสวนแก้ว หลังคาเป็นแบบปั้นหยา มีลายประดับอาคารอย่างละเอียดซับซ้อนกว่าตัวตำหนัก จึงเข้าใจว่าสร้างทีหลัง ลายฉลุไม้ทั้งที่ชายคาท้าวแขนระเบียบทำอย่างประณีตงดงาม

  • อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี

เป็นหนึ่งในศูนย์รวมใจของชาวศิลปากร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี หลังตึกกรมศิลปากร

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

[แก้]

พระตำหนักที่โดดเด่นที่สุดในหมู่พระตำหนักและพระที่นั่ง และเป็นสัญลักษณ์ของ พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2451 โดยมี หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาท ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะเรอเนซองส์ของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ของอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า "พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์"[16] และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460

พระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วนให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพาน จากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนัก สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้อง และติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราว พ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ

  • พระตำหนักทับแก้ว

อาคารตึกสองชั้นในพระราชวังสนามจันทร์ เคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในอาคารมีเตาผิงและหลังคา มีปล่องไฟตามแบบตะวันตก ในระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่า พระตำหนักเป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่ากองเสนาน้อยราบเบารักษาพระองค์ โดยพื้นที่ด้านหลังของพระตำหนักเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อันเป็นที่มาของคำว่า "ม.ทับแก้ว"

เป็นเรือนไทยภาคกลางที่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ และใช้พระตำหนักองค์นี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ โดยบริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันใหญ่แผ่กิ่งก้านไว้ให้ร่มเงาอยู่ เหตุนี้ต้นจันจึงถูกกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

  • เทวาลัยคเณศร์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ณ ที่อันเป็นศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์ สำหรับประดิษฐานพระคเณศ ซึ่งนับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง และเพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งพระราชวังสนามจันทร์ และเมื่อมองจากพระที่นั่งพิมานปฐม จะเห็นพระปฐมเจดีย์ เทวาลัยคเณศร์ และพระที่นั่งพิมานปฐมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน

  • อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ก่อตั้งวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่บริเวณหน้าคณะศึกษาศาสตร์ ทางทิศเหนือของสำนักงานอธิการบดี

  • สระแก้ว สะพานสระแก้ว และศาลาสระแก้ว

สระน้ำขนาดใหญ่กลางมหาวิทยาลัย อยู่คู่กับพระราชวังสนามจันทร์ มีบรรยากาศร่มรื่น มีการสร้างสะพานข้ามสระหลายแห่ง แต่ที่โดดเด่นคือสะพานไม้หน้าโรงอาหารสระแก้ว ใกล้กันมีศาลาไม้แปดเหลี่ยมแบบโปร่ง ฉลุตามแบบตะวันตก สระน้ำนี้เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและใช้จัดงานลอยกระทงที่มีชื่อเสียง

  • ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

สร้างขึ้นในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นอาคารขนาดใหญ่ ขนาดความสูง 2 ชั้น ใช้ในกิจกรรมสำคัญของมหาวิทยาลัย อาทิ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา พิธีปฐมนิเทศและบายศรีสู่ขวัญนักศึกษาชั้นปีที่ 1

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

[แก้]
  • เทวาลัยพระคเณศ

พระคเณศหล่อโลหะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 96 นิ้ว ประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. 2550 ปัจจุบันอยู่บริเวณลานเทวาลัยพระคเณศ เนื่องในปีมหามงคลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อองค์พระคเณศ ออกแบบปั้นและหล่อโดย อาจารย์ เสวต เทศน์ธรรม ประติมากรอาวุโส ศิษย์คนสำคัญของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

  • ลานประติมากรรม

ลานเนินสูงต่ำหลายเนิน ปูคลุมทั้งหมดด้วยสนามหญ้า มีต้นไม้และสระน้ำขนาดใหญ่ กว้างขวาง จัดแสดงผลงานประติมากรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและต่างประเทศหลายชิ้น ตั้งอยู่บริเวณหน้าวิทยาเขต มีชื่อเล่นว่า "ลานเทเลทับบีส์" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับสถานที่ในละครทีวีเรื่องเทเลทับบีส์ เป็นสถานที่พักผ่อนและใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ พิธีบรวงสวงพระคเณศ เทศกาลตลาดศิลป์ และพิธีลอยกระทง

  • อาคารบริหาร

อาคารสูง 7 ชั้น มีลักษณะโดดเด่น ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้วัสดุและแนวคิดประหยัดพลังงาน เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดีและหน่วยงานต่าง ๆ ในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และเป็นสัญลักษณ์ของวิทยาเขต ด้านข้างอาคารมีทางเดินเชื่อมกับอาคารเรียนรวม 1 เรียกว่าระเบียงชงโค

  • สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ

ระเบียงภาพ

[แก้]

วันสำคัญของมหาวิทยาลัยศิลปากร

[แก้]
  • วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร

วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เป็นวันที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร"

  • วันศิลป พีระศรี

ด้วยคุณูปการที่ ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี มีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่า "วันศิลป พีระศรี" โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป พีระศรีนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ จะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี พร้อมไปกับการร้องเพลงซานตาลูชีอา และเพลงศิลปากรนิยม เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้

  • วันศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

เป็นบุคคลที่มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติและเกียรติคุณของท่าน ท่านมีคุณปการด้านการศึกษาที่โดดเด่น จนได้รับการยกย่องจาก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็น บุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา เนื่องในวาระฉลองชาติกาลครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำรงตำแหน่ง 3 วาระเป็นท่านแรก และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์ โดยตั้งคณะอักษรศาสตร์ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก แล้วจึงมีคณะอื่น ๆ ขึ้นมาตามลำดับดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ท่านจึงเป็นเป็นผู้มีส่วนพัฒนามหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้า ทำให้เกิดการขยายตัวทางการศึกษาหลายสาขาวิชา มหาวิทยาลัยมีความรำลึกถึงพระคุณของ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็น "วันศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" และได้จัดกิจกรรมในวันดังกล่าวเพื่อรำลึกถึงพระคุณท่านที่มีต่อมหาวิทยาลัยศิลปากรมาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 อันเป็นปีที่เปิดอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยศิลปากร

[แก้]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี อดีตผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเสด็จฯ ครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ[17]

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทำเนียบนายกคณะกรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร

[แก้]

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีนายกคณะกรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 11 คน ดังรายนามต่อไปนี้

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายกคณะกรรมการและนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
ลำดับ นายกคณะกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1
จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2500
2
พลโท ถนอม กิตติขจร พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2503
พ.ศ. 2507 – พ.ศ. 2512
3
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2507
ลำดับ นายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
2
จอมพล ถนอม กิตติขจร พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2514
4
พลเอก บุญเรือน บัวจรูญ 18 กันยายน พ.ศ. 2515 – 17 กันยายน พ.ศ. 2517[18]
18 กันยายน พ.ศ. 2517 – 17 กันยายน พ.ศ. 2519[19]
18 กันยายน พ.ศ. 2519 – 17 กันยายน พ.ศ. 2521[20]
18 กันยายน พ.ศ. 2521 – 17 กันยายน พ.ศ. 2523[21]
18 กันยายน พ.ศ. 2523 – 17 กันยายน พ.ศ. 2525[22]
18 กันยายน พ.ศ. 2525 – 17 กันยายน พ.ศ. 2527[23]
18 กันยายน พ.ศ. 2527 – 17 กันยายน พ.ศ. 2529[24]
5
อดุล วิเชียรเจริญ 18 กันยายน พ.ศ. 2529 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2531
29 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2533[25]
6
ชุมพล พรประภา 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2535[26]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2537[27]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2539[28]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2539 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2541[29]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2541 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2543[30]
7
เกษม วัฒนชัย 29 มิถุนายน พ.ศ. 2543 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (ขอลาออก)[31]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547[32]
8
เกษม สุวรรณกุล 29 มกราคม พ.ศ. 2544 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545[33]
9
คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549[34]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 2 เมษายน พ.ศ. 2552[35]
3 เมษายน พ.ศ. 2552 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553[36]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555[37]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557[38]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 12 มกราคม พ.ศ. 2558[39]
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567[40]
4 มิถุนายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน[41]
10
ชุมพล ศิลปอาชา 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551[42]
29 มิถุนายน พ.ศ. 2551[43] (ขอลาออก)[44]
11
ภราเดช พยัฆวิเชียร 13 มกราคม พ.ศ. 2558 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560[45]
21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[46][47]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

ทำเนียบผู้อำนวยการและอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

[แก้]

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 21 คน ดังรายพระนามและรายนามต่อไปนี้[48]

รายพระนามและรายนามผู้อำนวยการและอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
ลำดับ ผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2492
2
ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2494
3
ศาสตราจารย์ พลเอก หลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ กาญจนิทุ) พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2501
4
ศาสตราจารย์ ธนิต อยู่โพธิ์ พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2508
ลำดับ อธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
5
ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล 19 สิงหาคม พ.ศ. 2508 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2510[49]
19 สิงหาคม พ.ศ. 2510 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2512[50]
19 สิงหาคม พ.ศ. 2512 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2514[51]
6
ศาสตราจารย์ พันเอก หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2514 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2516[52]
19 สิงหาคม พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2517[53]
7
ศาสตราจารย์ แสวง สดประเสริฐ รักษาราชการแทนอธิการบดี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2518
8
ศาสตราจารย์ ดร. อดุล วิเชียรเจริญ 30 มกราคม พ.ศ. 2518 – 29 มกราคม พ.ศ. 2520[54]
30 มกราคม พ.ศ. 2520 – 28 มกราคม พ.ศ. 2522[55]
9
ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ทองใหญ่ ทองใหญ่ 29 มกราคม พ.ศ. 2522 – 28 มกราคม พ.ศ. 2524[56]
29 มกราคม พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2525 (ขอลาออก)[57]
10
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527[58]
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2529[59]
11
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอนก วีรเวชชพิสัย 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2531[60]
12
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2535[61]
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539[62]
13
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ตรึงใจ บูรณสมภพ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543[63]
14
อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2547[64]
15
รองศาสตราจารย์ ดร. วิวัฒน์ชัย อัตถากร 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[65]
16
อาจารย์ ภราเดช พยัฆวิเชียร รักษาราชการแทนอธิการบดี 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 – 30 เมษายน พ.ศ. 2551
รักษาราชการแทนอธิการบดี 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
17
อาจารย์ ดร. อุทัย ดุลยเกษม รักษาราชการแทนอธิการบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555[66]
18
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช รักษาราชการแทนอธิการบดี 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2556
13 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2560[67]
รักษาราชการแทนอธิการบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2562 – 25 กันยายน พ.ศ. 2562
26 กันยายน พ.ศ. 2562 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (ขอลาออก)[68][69]
19
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์ รักษาการแทนอธิการบดี 13 มีนาคม พ.ศ. 2560 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2560
23 มีนาคม พ.ศ. 2560 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (ขอลาออก)[70]
รักษาการแทนอธิการบดี 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[71]
20
อาจารย์ ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์ รักษาการแทนอธิการบดี 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2562[72]
21
ศาสตราจารย์ ดร. ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ รักษาการแทนอธิการบดี 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566[73]
18 มีนาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน[74]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร

[แก้]

ปูชนียบุคคล / ศิลปินแห่งชาติ

[แก้]

บุคคลในวงการบันเทิง / ศิลปิน

[แก้]

ข้าราชการ

[แก้]
  • ประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออก ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ปรับปรุง ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2562)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-11. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
  2. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2486 หน้า 1496 เล่ม 60 ตอนที่ 54
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  4. [1], กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  5. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  6. 6.0 6.1 พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช 2486, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๕๔ หน้า ๑๔๙๗ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๘๖
  7. นพรัตน์, มนต์ชัยธนพัฒน์. "พบปะปู่ต้นไม้อายุเกิน 100 ปี แหล่งพื้นที่สีเขียวในเขตพระนคร". The Standard. สืบค้นเมื่อ 23 December 2023.
  8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๗ ก หน้า ๗๙ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  9. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๓๐, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๗๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  10. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๖ ก หน้า ๖ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑
  11. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๕๙, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๔๙ ก หน้า ๑ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๙
  12. ประกาศจัดราชการ และเปลี่ยนนามกระทรวงโยธาธิการใหม่ กับตั้งกรมศิลปากรขึ้นใหม่ กรมหนึ่ง, ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๗ มีนาคม ๑๓๐ เล่ม ๒๔ หน้า ๕๖๗
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒๔) เรื่องกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒, ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๕๓ เล่ม ๖๘ หน้า ๑๒๙๖ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๙๔
  14. ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เก็บถาวร 2017-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง หน้า ๒๕ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙
  15. ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๙, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง หน้า ๒๖ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙
  16. ประกาศพระราชทานนามพระตำหนัก ที่พระราชวังสนามจันทร์ เมืองนครปฐม, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ หน้า ๔๑๕ วันที่ ๙ มกราคม ๒๔๕๘
  17. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยศิลปากร หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  18. คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติ ที่ ๓๘๔/๒๕๑๕ เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๕๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๗ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๕
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๗๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗ ๙ ตุลาคม ๒๕๑๗
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๕๗ หน้า ๔๐๑๓ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๙
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๒๒ ฉบับพิเศษ หน้า ๗ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๑
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๔๘ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ๒๔ กันยายน ๒๕๒๓
  23. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๑๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๖ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๕
  24. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๖ ๕ ตุลาคม ๒๕๒๗
  25. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๑๒ ฉบับพิเศษ หน้า ๖ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๑
  26. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๔๐ หน้า ๖๒๕๐ ๗ สิงหาคม ๒๕๓๓
  27. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๗ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๕
  28. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๕ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๗
  29. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๕ ๔ มิถุนายน ๒๕๓๙
  30. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๓๖ ง หน้า ๗ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑
  31. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๔ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓
  32. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๖๕ ง หน้า ๖ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๕
  33. เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๘ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๔
  34. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๒ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
  35. รายนามนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มวาระวันที่ 29 มิถุนายน 2551 – 28 มิถุนายน 2553, รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ระหว่างปี 2535 - 2557 หน้า 3
  36. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๒๗ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒
  37. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๑๙ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
  38. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๘๑ ง หน้า ๒ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕
  39. รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 29 มิ.ย. 2557 - 12 ม.ค. 2558, สำนักงานสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
  40. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓๕ ง หน้า ๓๑ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
  41. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง หน้า ๑๗ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๗
  42. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๖ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙
  43. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓๔ ง หน้า ๙ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๑
  44. ระเบียบวาระการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร วาระพิเศษ ครั้งที่ 3/2551, หน้า 5-6 2 เมษายน 2551
  45. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๑ ง หน้า ๔ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
  46. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๑๔ ง หน้า ๓ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๐
  47. รายนามนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยศิลปากร วาระการดำรงตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม 2560 – 20 สิงหาคม 2563, สำนักงานสภามหาวิยาลัยศิลปากร
  48. อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, กองทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  49. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒ ตอนพิเศษ ๗๐ หน้า ๒๑๙๘ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๘
  50. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๕ หน้า ๑๐๑ ๑๖ มกราคม ๒๕๑๑
  51. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๑๘ หน้า ๓๕๕๐ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๑๓
  52. คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติ ที่ ๑๑๘/๒๕๑๕ เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๓ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ๑ เมษายน ๒๕๑๕
  53. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๑๖ หน้า ๒๙๗๕ ๑๘ กันยายน ๒๕๑๖
  54. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒ ตอนพิเศษ ๓๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๗ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
  55. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๑๒๙๙ ๒๙ มีนาคม ๒๕๒๐
  56. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๑๒๘๙ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
  57. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๖๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๒ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๔
  58. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗๘ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘ ๑ ธันวาคม ๒๕๒๕
  59. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๙๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๑ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๗
  60. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๙๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๙
  61. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๕ หน้า ๙๑๑๙ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๑
  62. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๒๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕ ๗ ตุลาคม ๒๕๓๕
  63. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๑ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๙
  64. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๐ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
  65. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๐๐ ง หน้า ๑๕ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๗
  66. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๒๐ ง หน้า ๑๐ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑
  67. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๓๕ ง หน้า ๗ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖
  68. แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดี, คำสั่่งมหาวิทยาศิลปากรที่ 78/2565 9 พฤษภภาคม 2565
  69. Bhattarada (2022-05-02). "อธิการบดีศิลปากร "ลาออก" รับผิดชอบข่าวฉาว ถ่ายรูปแอร์บนเครื่องบิน". ประชาชาติธุรกิจ.
  70. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๙๔ ง หน้า ๒ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
  71. มติชนออนไลน์ (2022-05-09). "มติสภา ม.ศิลปากรตั้ง 'วันชัย สุทธะนันท์' นั่งรักษาการอธิการบดี หลัง 'ชัยชาญ' ยื่นลาออก". มติชนออนไลน์.
  72. อธิการมศก.ลาออกแล้ว สภามหา’ลัยออกประกาศ ตั้ง ‘รองอธิการบดี’ รักษาการแทน, มติชนออนไลน์ วันที่ 18 ธันวาคม 2561 – 16:08 น.
  73. แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 11/2565 หน้า 9 23 พฤศจิกายน 2565
  74. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๖๕ ง หน้า ๒๗ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖
  75. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร, หอสมุดสาขา วังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
  76. ทรงพระเจริญ...การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเข้าศึกษาปริญญาเอก สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ที่ ม.ศิลปากร, สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560 เวลา 09:39:35 น.
  77. ขอพระองค์ทรงพระเจริญ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ทรงเจริญพระชันษา๓๔ปี ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ, สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 13:25:21 น.
  78. เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  79. จักรพันธุ์ โปษยกฤต เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  80. จรูณ อังศวานนท์ , เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  81. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เก็บถาวร 2018-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  82. ชลูด นิ่มเสมอ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  83. ช่วง มูลพินิจ เก็บถาวร 2018-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  84. ถวัลย์ ดัชนี เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  85. ทวี รัชนีกร เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  86. นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  87. ประยูร อุลุชาฎะ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  88. ประเวศ ลิมปรังษี เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  89. ประหยัด พงษ์ดำ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  90. ปรีชา เถาทอง เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  91. พิชัย นิรันต์ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  92. พูน เกษจำรัส เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  93. เฟื้อ หริพิทักษ์ เก็บถาวร 2018-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  94. มานิตย์ ภู่อารีย์ เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  95. เมธา บุนนาค เก็บถาวร 2018-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  96. ฤทัย ใจจงรัก เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  97. วนิดา พึ่งสุนทร เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  98. สวัสดิ์ ตันติสุข เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  99. สุจิตต์ วงษ์เทศ เก็บถาวร 2018-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  100. อังคาร กัลยาณพงศ์ เก็บถาวร 2017-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  101. อาวุธ เงินชูกลิ่น เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  102. อิทธิพล ตั้งโฉลก เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  103. อินสนธิ์ วงศ์สาม เก็บถาวร 2020-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  104. เปิดใจ "มิว ลักษณ์นารา" เงือกน้อย แห่งอักษรศาสตร์, ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 9 มกราคม 2558
  105. ส่องประวัติ 'ตาหวาน BNK48' ไอดอลสายดีด ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความฝันและความพยายาม เก็บถาวร 2018-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ทรูปลูกปัญญา วันที่ 7 มิถุนายน 2561

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′10.93″N 100°29′27.98″E / 13.7530361°N 100.4911056°E / 13.7530361; 100.4911056